ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถึงในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์จะยังถกเถียงกันอยู่ เรื่องว่าสรุปแล้วถือว่าไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเปล่า แต่ไม่ว่าผลสรุปจะเป็นยังไง เรื่องที่เห็นๆ กันก็คือติดเชื้อไวรัสแล้วจะตามมาด้วยหลายโรค หลายอาการเรื้อรัง กระทั่งมะเร็ง อาการเจ็บป่วยระยะยาว บางเคสก็ทุกข์ทรมานจนถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อีกเรื่องที่ยังถกกันก็คือ ตกลงแล้วอาการติดเชื้อไวรัสบางตัวสามารถ “รักษา” ให้หายขาดได้หรือเปล่า มีไวรัสหลายชนิดเลยที่อยู่รอดปลอดภัยในเซลล์ของมนุษย์เรา ทำให้เกิดอาการเรื้อรัง ต่อเนื่องในระยะยาว และไวรัสส่วนใหญ่ก็รักษาได้ยาก เพราะเซลล์ของเราดันไปปกป้องไวรัสนี่สิ [1] , [2] , [3] , [4] การติดเชื้อไวรัสมีทั้งแบบเฉียบพลัน (เป็นช่วงสั้นๆ รุนแรงต่างกันไป) แบบเรื้อรัง (ระยะยาว รุนแรงแตกต่างกันไป) และแบบติดเชื้อแฝง (latent) คือรอเวลา ไม่แสดงอาการ เหมือนการจำศีล จนมีอะไรมากระตุ้นให้ไวรัสเพิ่มจำนวน ติดเชื้อไวรัสแล้วแน่นอนว่าทำให้ไม่สบาย ทำอะไรไม่ได้ไป 2 - 3 วัน คุณดูแลตัวเองได้ (ยัง) ไม่ต้องไปหาหมอ โดยใช้สมุนไพร กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิม ก็ถึงเวลาต้องไปตรวจเช็คร่างกายแล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

ลดไข้แบบไม่ใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนก็ไม่แนะนำ แต่ปกติการมีไข้ถือเป็นกลไกการป้องกันรักษาตัวเองของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ เพราะงั้นให้พยายามอดทนกับอาการไข้ไปก่อนเท่าที่จะทำได้ [5]
    • ติดเชื้อเมื่อไหร่มักเป็นไข้ แต่บางทีก็เป็นเพราะอาการอักเสบ, โรคไทรอยด์, มะเร็ง, อาการหลังฉีดวัคซีนและได้รับยาบางตัว อุณหภูมิร่างกายจะเพิ่มขึ้นจากต่อมเล็กๆ ที่ศูนย์กลางสมอง เรียกว่าไฮโปทาลามัส (hypothalamus) จริงๆ แล้วต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ก็ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้เหมือนกัน อุณหภูมิร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดวัน แต่ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 37 องศาเซลเซียส
    • ระหว่างติดเชื้อ เชื้อนั้น (ไม่ว่าแบคทีเรียหรือไวรัส) จะสร้างสารที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายคุณสูงขึ้น เรียกว่าไพโรเจน (pyrogens) ไพโรเจนบางตัวก็เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของเรานี่เอง โดยไพโรเจนจะบอกไฮโปทาลามัสให้เพิ่มอุณหภูมิร่างกาย เลยไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ต้านเชื้อมากขึ้น ว่ากันว่ายิ่งคุณตัวร้อน แปลว่าร่างกายกำลังฆ่าเชื้ออยู่นั่นเอง [6] , [7]
    • ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ปกติมีไข้แล้วจะไม่อันตรายอะไร ก็ปล่อยให้ “เป็นไข้” ไป แต่ถ้าไข้สูงกว่า 103 องศาฟาเรนไฮต์ (39.4 องศาเซลเซียส) ติดต่อกันเกิน 12 - 24 ชั่วโมง ก็ต้องไปหาหมอ [8]
  2. ถึงจะบอกว่าเป็นไข้ก็ปล่อยไปก่อน แต่ก็มีข้อจำกัดว่าอย่าให้ไข้สูงเกินแค่ไหน [9]
    • ถ้าเป็นเด็กอ่อน อายุต่ำกว่า 4 เดือน วัดไข้ทางก้นแล้วได้ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) ขึ้นไป ให้รีบพาไปหาหมอทันที
    • ถ้าเป็นเด็กทั่วไป แล้ววัดไข้ทางก้นได้ 104 องศาฟาเรนไฮต์ (40 องศาเซลเซียส) ขึ้นไป ให้รีบพาไปหาหมอเช่นกัน
    • ถ้าเป็นเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป แล้ววัดไข้ได้ 103 องศาฟาเรนไฮต์ (39.4 องศาเซลเซียส) ขึ้นไป โดยวัดที่หน้าผาก หู รักแร้ ก็ควรไปหาหมอเช่นกัน
  3. ถ้าเป็นไข้แล้วมีอาการน่าเป็นห่วง ให้รีบไปหาหมอทันที. ถ้าเด็กเป็นไข้แล้วมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ให้รีบพาไปหาหมอ (หรือแผนกฉุกเฉิน) ทันที
    • ดูป่วย ไม่อยากอาหาร
    • หงุดหงิด
    • ง่วงซึม
    • มีอาการติดเชื้อชัดเจน (เป็นหนอง หรือมีของเหลวไหลออกมา มีผื่นแดงเป็นเส้น)
    • ชักเกร็ง
    • เจ็บคอ มีผื่น ปวดหัว คอแข็ง เจ็บหู
    • ในเด็กอ่อนที่ยังเล็กมาก กระโหลกด้านบนยังนิ่มๆ อาจมีอาการบวม
  4. ถ้ามีไข้ให้แช่น้ำอุ่นนิดๆ จะได้รู้สึกผ่อนคลาย สบาย ในขณะที่อุณหภูมิของน้ำค่อยๆ ลดลง ทำให้อุณหภูมิร่างกายค่อยๆ ลดลงตามไปด้วย ห้ามใช้น้ำเย็นไป เพราะอุณหภูมิร่างกายจะเปลี่ยนกะทันหัน เป็นอันตราย [10]
  5. เป็นวิธีรักษาแบบธรรมชาติบำบัด (naturopathic) หลักการคือพอเท้าเย็นแล้ว จะไปกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย [11] ผลคือร่างกายจะขับความร้อนออกมา ทำให้ถุงเท้าแห้ง ร่างกายเย็นลง วิธีนี้ใช้บรรเทาอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกได้ด้วย ถุงเท้าผ้าขนสัตว์จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ถ้าจะดูแลตัวเองด้วยวิธีนี้ ทำตอนกลางคืน (ตอนนอน) จะดีที่สุด
    • ให้ใช้ถุงเท้าผ้าคอตตอนที่ยาวพอคลุมข้อเท้า เป็น cotton 100% ได้จะดีที่สุด เพราะจะซับน้ำได้ดีกว่า
    • เอาถุงเท้าไปรองน้ำเย็นที่ก๊อกจนชุ่ม
    • บิดหมาด แล้วเอามาสวม
    • สวมถุงเท้าผ้าขนสัตว์ทับอีกชั้น ถ้าเป็น wool 100% ได้จะดีที่สุด เพราะเป็นฉนวนกันความร้อนอย่างดี
    • ใส่ถุงเท้าแล้วต้องห่มผ้าด้วย จะได้หลับสบายตลอดคืน ถ้าดูแลเด็กๆ ด้วยวิธีนี้ จะไม่ค่อยงอแง เพราะทำแล้วสบายตัว ตัวเย็นขึ้นในไม่กี่นาที
  6. เอาผ้าเย็นประคบลดไข้ที่หัว คอ ข้อเท้า และข้อมือ. หาผ้าขนหนูมา 1 - 2 ผืน แล้วพับตามยาว จากนั้นจุ่มน้ำเย็นจัดให้ชุ่ม หรือจะน้ำแช่น้ำแข็งก็ได้ บิดหมาดๆ แล้วเอาไปพันรอบหัว คอ ข้อเท้า หรือข้อมือ
    • อย่าประคบพร้อมกันเกิน 2 จุด เช่น พันผ้าเย็นรอบหัวกับข้อเท้า "หรือ" รอบคอกับข้อมือ ไม่งั้นร่างกายจะเย็นลงเร็วเกินไป เพราะผ้าเย็นดึงความร้อนจากร่างกาย ลดอุณหภูมิตัวลง
    • พอผ้าแห้งหรือไม่เย็นแล้ว ให้เปลี่ยนผ้าผืนใหม่ ประคบซ้ำได้ตามต้องการ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

เติมพลังให้ร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอป่วยแล้วไม่สบายตัวคงนอนยาก แต่บอกเลยว่าสำคัญ ถ้าไม่นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายจะสู้กับไวรัสได้ลำบาก ตอนนี้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณกำลังพยายามสุดความสามารถ จะเสียเปล่าถ้าคุณเอาแรงไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือเที่ยวดูแลคนอื่นในเวลาที่ควรดูแลตัวเอง เพราะงั้นให้ลางาน หยุดโรงเรียน แล้วอย่าทำอะไรมากนัก พักผ่อนให้เยอะดีกว่า
  2. ฝรั่งมีสำนวนที่ว่า “Feed a cold, starve a fever” คือถ้าเป็นหวัดให้กินบำรุงร่างกาย แต่ถ้าเป็นไข้ให้กินน้อยๆ แทน บทความเมื่อเร็วๆ นี้ของ Scientific American ก็เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ [12] แต่ไม่แนะนำให้ถึงกับ “starve” หรืออดอาหารตรงตามความหมาย แค่อย่ากินเยอะไป ร่างกายจะได้ไม่เสียพลังงานไปโดยใช้เหตุกับการย่อยอาหาร เพราะตอนนี้สำคัญกว่าคือทุ่มเทแรงกายไปยับยั้งการติดเชื้อ
    • ให้กินซุปไก่ (จะใสหรือข้นก็ตาม) กับข้าวและผักเล็กน้อย [13] , [14]
  3. ให้กินผลไม้สดเยอะๆ เช่น เบอร์รี่ แตงโม ส้ม และแคนตาลูป พวกนี้มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านไวรัสและลดไข้
  4. จะรสธรรมชาติหรือแต่งรสก็ได้ ขอแค่มีแบคทีเรียแบบ “active cultures” (แบคทีเรียดียังมีชีวิต) เขาศึกษากันมาแล้วว่าแบคทีเรียในลำไส้พวกนี้ จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  5. ให้เลือกโปรตีนดีที่ย่อยง่าย เช่น ไข่คน หรือไก่ ลองใส่เนื้อไก่เพิ่มไป 2 - 3 ชิ้นในซุปไก่ก็ได้
  6. พวกอาหารย่อยยาก มันๆ เลี่ยนๆ อย่างอาหารปิ้งย่างหรือของทอดนี่เลี่ยงไปเลย รวมถึงของเผ็ดอย่างส้มตำ ไก่แซ่บ ไส้กรอก เป็นต้น พวกนี้ย่อยยาก โดยเฉพาะสำหรับคนป่วย
  7. BRAT diet เป็นประเภทอาหารที่แนะนำ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไวรัสลงกระเพาะ เป็นอาหารเบาๆ ย่อยง่าย เช่น [15]
    • B ananas (กล้วย)
    • R ice (ข้าว)
    • A pplesauce (แอปเปิ้ลบด)
    • T oast (ขนมปังโฮลเกรนปิ้ง)
  8. เขาวิจัยกันมาแล้วว่า zinc หรือสังกะสี ช่วยให้หายหวัดเร็วขึ้น อาหารที่มี zinc ก็เช่น อาหารทะเล (หอยนางรม, ปูคิงแครบ, ล็อบสเตอร์), เนื้อวัว, เนื้อไก่ (dark meat เช่น น่อง สะโพก), โยเกิร์ต, ถั่วฝัก (beans) และถั่วเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nuts) เช่น มะม่วงหิมพานต์ และอัลมอนด์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

อย่าขาดน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นไข้แล้วร่างกายมักขาดน้ำ ต้องคอยระวัง เพราะไม่งั้นอาการอาจหนักกว่าเดิม เวลาป่วยแล้วทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชอบกินไอศครีมหวานเย็นเพราะทำให้เย็นสบายขึ้น แต่ต้องระวังเรื่องน้ำตาลเยอะเกินไป ให้เปลี่ยนเป็นทำหวานเย็นจากชาสมุนไพรแทน เช่น ชาคาโมไมล์ หรือ elderberry นอกจากนี้ก็มีไอศครีมเกล็ดหิมะจากผลไม้ เชอร์เบท หรือไอศครีมโยเกิร์ต แต่กินแล้วต้องดื่มน้ำเปล่าด้วยนะ!
  2. ให้ใช้ผงเกลือแร่ (ผงน้ำตาลเกลือแร่) เช่น CeraLyte กับ Pedialyte โดยเฉพาะในเด็ก แต่ให้ปรึกษาคุณหมอก่อน จะปลอดภัยที่สุด
    • ก่อนไปหาหมอ ให้เตรียมข้อมูล เช่น อาการที่พบ เด็กกิน/ดื่มอะไรไปบ้าง มากแค่ไหน และองศาของไข้ที่วัดได้
    • ถ้าเด็กเล็กต้องจดด้วยว่าเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแพมเพิร์สบ่อยแค่ไหน ถ้าเป็นเด็กโตก็จดว่าฉี่บ่อยแค่ไหนแทน
  3. ถ้าเป็นเด็กอ่อนแล้วเกิดติดเชื้อไวรัส ก็ยังต้องให้นมแม่ต่อไป ให้บ่อยๆ ด้วย เพราะถือเป็นแหล่งน้ำ/อาหารสำคัญ แถมอ้อมกอดแม่จะปลอบให้เด็กสงบสบายตัวขึ้นด้วย
  4. ถึงเด็กหรือผู้ป่วยจะแสดงอาการไม่มาก ก็ควรปรึกษาคุณหมอ โดยเฉพาะอาการในเด็กอ่อน เพราะทิ้งไว้จะกลายเป็นขาดน้ำรุนแรง อาการขาดน้ำขั้นเริ่มต้นก็เช่น [16]
    • ปากแห้ง น้ำลายเหนียว ถ้าเป็นเด็กอ่อน ให้สังเกตว่าปากแห้งหรือเป็นขุยรอบริมฝีปากและดวงตาหรือเปล่า และอาจมีพฤติกรรม “เคี้ยวปาก” ร่วมด้วย
    • ง่วง หงุดหงิด หรืออ่อนเพลียกว่าปกติ
    • คอแห้ง: ถ้าเป็นเด็กอ่อนจะดูยาก แต่ให้สังเกตพฤติกรรม “เคี้ยวปาก” หรือห่อปาก เหมือนกำลังดูดนมแม่
    • ฉี่น้อยลง: สำรวจผ้าอ้อมของลูก ปกติต้องเปลี่ยนทุก 3 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วผ้าอ้อมหรือแพมเพิร์สยังแห้งสนิท เป็นไปได้มากว่าเด็กขาดน้ำ ให้พยายามป้อนน้ำแล้วกลับมาเช็คใหม่ในอีก 1 ชั่วโมง ถ้าผ้าอ้อมยังแห้งอีก พาไปหาหมอจะดีกว่า
    • ฉี่สีอะไร ยิ่งสีเข้มก็ยิ่งค่อนไปทางขาดน้ำ ทั้งเด็กอ่อนและเด็กโต
    • ท้องผูก: เวลาสำรวจผ้าอ้อมลูก นอกจากดูฉี่แล้วต้องดูอึด้วย
    • ร้องไห้แล้วไม่ค่อยมีน้ำตาไหลหรือไม่มีเลย
    • ผิวแห้ง: ลองหยิกผิวหลังมือของเด็กดู (ดึงขึ้นมาเบาๆ) เช็คว่าผิวคืนตัวดีไหม ถ้าได้ดื่มน้ำเพียงพอ ผิวจะเด้งคืนทันที
    • วิงเวียนหรือบ้านหมุน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ใช้อาหารเสริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Orthomolecular medicine หรือแนวทางการรักษาโรคด้วยวิตามิน ชี้ว่าวิตามินซีนั้นจำเป็นมากในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน มีงานวิจัยหนึ่งเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่ร่างกายปกติดีแล้วเกิดเป็นไข้หวัดใหญ่ จากนั้นได้รับวิตามินซี 1,000 มก. ทุก 1 ชั่วโมง จำนวน 6 ขนานติดต่อกัน แล้วเปลี่ยนเป็นได้รับ 1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง ถ้ายังแสดงอาการ ผลลัพธ์คืออาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ดีขึ้นถึง 85% เทียบกับเคสที่ใช้ยาหลอก (placebo) [17]
    • เพราะงั้นแนะนำให้คุณกินวิตามินซี 1,000 มก. ทุก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันจนครบ 6 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนเป็น 1,000 มก. 3 ครั้งต่อวัน จนหายดี
  2. วิตามินดี 3 ถือเป็นวิตามินสำคัญ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ถ้าปกติไม่ได้กินอาหารเสริมวิตามินดี 3 เป็นประจำ ก็เป็นไปได้มากว่าคุณอาจจะขาดวิตามินดี เช็คได้โดยวัดระดับวิตามินดีในเลือด (25-hydroxyvitamin D blood level) แต่ถ้าเกิดเป็นไข้หวัดใหญ่ขึ้นมา ก็ต้องรีบแก้ไข เพราะป้องกันไม่ทันแล้ว
    • สำหรับผู้ใหญ่: ต้องได้รับวิตามินดี 3 ปริมาณ 50,000 IU ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีอาการ จากนั้นกินต่อในปริมาณเดิมทุกวัน ติดต่อกันไปอีก 3 วัน สุดท้ายค่อยๆ ลดปริมาณวิตามินดี 3 ในอีก 2 - 3 วันถัดมา ให้เหลือ 5,000 IU ต่อวัน
    • สำหรับเด็กวัยเรียน: อีกงานวิจัยชี้ว่าถ้าได้รับวิตามินดี 3 ปริมาณ 1,200 IU จะช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้มากถึง 67% เทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้กินอาหารเสริมวิตามินดี 3 [18]
  3. น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันสายกลาง (medium chain fatty acids) ที่มีสรรพคุณต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และเป็นยาถ่ายพยาธิ แถมไม่มีผลข้างเคียง ส่วนประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวก็คือกรดลอริก (lauric acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง (medium chain saturated fatty acid) ที่จะแทรกตัวผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัส ทำให้เซลล์ฉีกขาด กำจัดไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา
    • ให้กินน้ำมันมะพร้าว 1 - 2 ช้อนโต๊ะ 3 ครั้งต่อวัน จะผสมในน้ำส้มอุ่นๆ หรือใส่ในอาหารก็ได้ ภายใน 1 - 2 วัน ไวรัสก็น่าจะหมดไปจากร่างกายแล้ว โดยอาการจะทุเลาภายใน 1 วัน แต่กว่าจะหายจากไข้หวัดใหญ่สนิท ต้องใช้เวลา 5 - 7 วัน [19]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

ลองใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไวรัสพืชก็มีเหมือนกัน เพราะงั้นเลยออกแนววิวัฒนาการจนเกิดสารต้านไวรัส สมุนไพรที่ว่า มีขายในรูปของถุงชาพร้อมชงเลย ถ้ามีติดบ้าน ก็ให้ชงโดยเติมสมุนไพรแห้ง 1 ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว ถ้าคนดื่มเป็นเด็ก ให้ลดเหลือครึ่งช้อนชาพอ แช่ผงหรือใบชาในน้ำเดือด 5 นาที จะแต่งรสเพิ่มเติมด้วยเลมอนกับน้ำผึ้งด้วยก็ได้ จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นลงพอดื่มได้ แต่อย่าเติมนม เพราะผลิตภัณฑ์นมจะทำให้เหนียวคอ
    • ถ้าเด็กอ่อนห้ามดื่มชา เว้นแต่ปรึกษาคุณหมอแล้ว
    • ชงชาจากสมุนไพรต่อไปนี้ [20]
      • คาโมไมล์ (Chamomile): เด็กดื่มได้ ปลอดภัยดี แถมมีสรรพคุณต้านไวรัส [21] , [22]
      • ออริกาโน (Oregano): นี่ก็ปลอดภัยสำหรับเด็ก (แต่ต้องอย่าชงเข้มไป) และมีสรรพคุณต้านไวรัสเช่นกัน [23] , [24]
      • ไธม์ (Thyme): เป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (แต่ต้องอย่าชงเข้มไป) และมีสรรพคุณต้านไวรัส [25] , [26]
      • ใบมะกอก (Olive leaf): เป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (แต่ต้องอย่าชงเข้มไป) และมีสรรพคุณต้านไวรัส [27]
      • เอลเดอร์เบอร์รี่ (Elderberry): เป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (จะคั้นน้ำดื่มหรือชงเป็นชาก็ได้) มีสรรพคุณต้านไวรัสเช่นกัน [28] , [29]
      • ใบชะเอมเทศ (Licorice leaf): เป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (แต่ต้องอย่าชงเข้มไป) และมีสรรพคุณต้านไวรัส [30] , [31]
      • เอ็กไคนาเซีย (Echinacea): เป็นสมุนไพรที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (แต่ต้องอย่าชงเข้มไป) และมีสรรพคุณต้านไวรัส [32] , [33]
  2. ใช้กาเนติ (Neti Pot) . กาเนติใช้สวนล้างแก้คัดจมูกได้ เป็นอุปกรณ์ที่หน้าตาเหมือนกาน้ำชาทั่วไป เอาไว้เทน้ำลงในรูจมูกข้างหนึ่ง แล้วเอียงหน้าให้น้ำไหลออกมาจากโพรงจมูกอีกข้าง
    • เลือกน้ำมันหอมระเหย สมุนไพรที่ใช้ชงชาดื่ม ก็เอามาใช้แบบน้ำมันหอมระเหยได้ด้วย เช่น คาโมไมล์ เอลเดอร์เบอร์รี่ รากชะเอมเทศ เอ็กไคนาเซีย รากมะกอก ไธม์ และออริกาโน ให้ผสมน้ำมันหอมระเหยที่ชอบในปริมาณหยดที่เท่ากัน โดยรวมแล้ว "ไม่เกิน" 9 - 10 หยด
    • หาชามแยก แล้วเติมน้ำกลั่นอุ่นจัด 1 1/2 ถ้วยตวงลงไป อย่าใช้น้ำร้อน เพราะจะไปลวกเยื่อบุจมูกบางๆ ได้
    • เติมเกลือ sea salt บดละเอียดแบบไม่ผ่านการแปรรูป 6 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคนจนเกลือละลายหมด ที่ต้องเติมเกลือก็เพื่อปกป้องเยื่อบุจมูก
    • เติมน้ำมันหอมระเหยแล้วผสมให้เข้ากัน
    • เทน้ำที่ผสมแล้วลงกาเนติ
    • ยืนก้มหน้าเข้าหาอ่างล่างหน้า/อ่างล้างจาน เอียงคอไปข้างหนึ่ง ค่อยๆ เทน้ำจากกาเข้าไปสวนล้างโพรงจมูก
  3. เป็นวิธีที่เหมาะกับบ้านที่ป่วยพร้อมกันหลายคน เช่น ไซนัสอักเสบ หรือติดเชื้อทางเดินหายใจ น้ำมันหอมระเหยที่น่าสนใจก็เช่น คาโมไมล์ เอลเดอร์เบอร์รี่ รากชะเอมเทศ เอ็กไคนาเซีย รากมะกอก ไธม์ และออริกาโน หรือจะผสมกลิ่นเฉพาะตัวตามชอบก็ได้
    • ใช้เครื่องพ่นไอน้ำตามวิธีใช้ในคู่มือ ส่วนใหญ่จะต้องเติมน้ำ 1/2 ถ้วยตวง ต่อน้ำมันหอมระเหย 3 - 5 หยด
    • ถ้าเป็นไซนัสอักเสบ ให้นั่งชิดติดเครื่องพ่นไอน้ำให้มากที่สุด
  4. วิธีนี้ต้องใช้น้ำกับน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบ หรือผสมเองซะเลย โดยต้มน้ำให้เกิดไอคลุ้ง แล้วหายใจเอาไอเข้าไป
    • เติมน้ำ (น้ำกลั่นจะปลอดภัยที่สุด แต่จริงๆ ใช้น้ำประปาก็ได้) ให้สูงขึ้นมาจากก้นหม้อประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.)
    • ต้มน้ำจนเดือด จากนั้นปิดไฟ เติมน้ำมันหอมระเหย 8 - 10 หยด แล้วคนผสม
    • จะทิ้งหม้อไว้บนเตาต่อ หรือยกลงจากเตาก็ได้ แต่ก็ต้องคอยระวังทั้ง 2 ทาง
    • เอาผ้าขนหนูพันรอบหัว แล้วสูดไอน้ำเข้าไปทางจมูก แต่จะหายใจทางปากด้วยก็ได้ โดยเฉพาะคนที่เจ็บคอหรือคออักเสบติดเชื้อ
    • ทำไปเรื่อยๆ ตราบที่ไอน้ำยังคลุ้งอยู่ ถ้าอยากทำต่อ ก็ต้มน้ำอีกรอบ ใช้น้ำเดิมในหม้อที่ผสมไว้ซ้ำได้ จนน้ำระเหยไปหมด
  5. วิธีเดียวกับอบไอน้ำแบบดั้งเดิม แค่คราวนี้ผสมสมุนไพรในน้ำด้วย
    • เติมน้ำ (น้ำกลั่นจะปลอดภัยที่สุด แต่จริงๆ ใช้น้ำประปาก็ได้) ให้สูงขึ้นมาจากก้นหม้อประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.)
    • ต้มน้ำจนเดือด จากนั้นปิดไฟ แล้วเติมออริกาโน 2 ช้อนชา กับโหระพา 2 ช้อนชา ถ้าชอบ จะเติมพริกคาเยน (cayenne pepper) 1 หยิบมือด้วยก็ได้ แต่ระวังอย่าเยอะไป!
    • เอาผ้าขนหนูพันรอบหัว แล้วสูดไอน้ำเข้าไปทางจมูก แต่จะหายใจทางปากด้วยก็ได้ โดยเฉพาะคนที่เจ็บคอหรือคออักเสบติดเชื้อ
    • ทำไปเรื่อยๆ ตราบที่ไอน้ำยังคลุ้งอยู่ ถ้าอยากทำต่อ ก็ต้มน้ำอีกรอบ
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

ไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไม่หายเอง (ระบบภูมิคุ้มกันต้านเชื้อเองไม่ได้) ให้หาหมอ. ปกติถ้าผู้ใหญ่ที่ร่างกายแข็งแรงดีติดไวรัสทั่วไป จะหายเองในที่สุด ไม่ต้องหาหมอ แต่ถ้าภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนแสดงอาการติดเชื้อเมื่อไหร่ ให้รีบไปหาหมอทันที คนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็เช่น เด็กเล็ก คนชรา ผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDs คนที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านการทำคีโม โดยอาการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยก็คือ
    • มีไข้
    • ปวดข้อ
    • เจ็บคอ
    • ปวดหัว
    • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
    • ผื่นแพ้ตามผิวหนัง
    • อ่อนเพลีย
    • คัดจมูก
  2. ถ้าอาการที่ว่ามารุนแรงกว่าเดิม ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ถ้าคุณหมอประจำตัวไม่อยู่ก็ให้ไปแผนกฉุกเฉินแทน (หรือเรียกรถพยาบาลแต่แรก) [34]
  3. ถ้าเกิดอาการต่อไปนี้เมื่อไหร่ ให้ไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที [35]
    • ตื่นตัวหรือรู้ตัวน้อยลง
    • เจ็บหน้าอก
    • ไอทึบๆ แบบแน่นหน้าอก และมีเสมหะ บางทีก็สีเหลือง เขียว หรือออกน้ำตาล
    • เซื่องซึมหรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (เช่น เสียง แสง สัมผัส)
    • ชักเกร็งแบบต่างๆ
    • หายใจติดขัด คอตีบ (เสียงหายใจดังวี้ด) หรือหายใจผิดปกติแบบอื่นๆ
    • คอแข็ง ปวดคอ หรือปวดหัวรุนแรง
    • ตัวหรือตาขาวสีออกเหลือง
  4. ถ้าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ใช่เชื้อที่พบได้ทั่วไป ก็ต้องรักษาด้วยวิธีการพิเศษ ไวรัสในคนอย่างต่ำก็มีเป็นหลายร้อยสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน เช่น ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส งูสวัด และอื่นๆ
    • ปรึกษาคุณหมอถ้าจะฉีดวัคซีนต้านไวรัสบางตัว
  5. ถ้าคุณมีอาการติดเชื้อไวรัสนานเกิน 48 ชั่วโมงแล้วไม่ทุเลาลง ให้รีบไปหาหมอทันที ถ้าเป็นการติดเชื้อทั่วไป เช่น หวัด (rhinoviruses) ไข้หวัดใหญ่ (influenza) หัด (rubeola) หรือ mononucleosis (Epstein-Barr virus หรือ EBV) แค่ดูแลตัวเองเบื้องต้นก็จะทุเลาลงได้ แต่ไวรัสบางตัวอาจร้ายแรงกว่านั้น หรือถึงแก่ชีวิตได้เลย เช่น มะเร็ง และอีโบลา ไวรัสบางตัวก็ตายยาก กลายเป็นโรคเรื้อรังระยะยาว เช่น ไวรัสตับอักเสบ (hepatitis), HSV (เริม) และ varicella-zoster (อีสุกอีใส กับงูสวัด) และ HIV [36]
  6. จริงๆ แล้วเพิ่งมียาที่ใช้ต้านไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อไม่นานมานี้เอง เพราะมีการคิดค้นยาต้านไวรัสใหม่ๆ อยู่ตลอด [37] ไวรัสบางตัวเป็นแล้วก็ต้องใช้ยาต้านอยู่ตลอด เช่น ไวรัส herpes (HSV), cytomegaloviruses (CMV) และ human immunodeficiency virus (HIV)
    • อีกวิธีรักษาอาการติดเชื้อไวรัสก็คือใช้ interferons เป็นสารตามธรรมชาติ (cytokines) ที่ออกมาจากเซลล์ที่ติดเชื้อ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ [38] การใช้ interferons นั้นจำเป็นมากต่อการรักษาไวรัสตับอักเสบ (B และ C) โรคมะเร็งคาโปซี (Kaposi’s sarcoma) ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HIV และเชื้อที่ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ อย่างหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) [39]
    โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothermia/basics/definition/con-20020453
  2. http://www.bastyr.edu/news/health-tips/2009/11/dive-feet-first-wellness-natural-remedy
  3. http://www.scientificamerican.com/article/fact-or-fiction-feed-a-cold/
  4. Bender BS. Barbara, what’s a nice girl like you doing writing an article like this? : the scientific basis of folk remedies for colds and flu Chest 2000;118(4):887-888.
  5. Saketkhoo, K., Januszkiewicz, A., Sackner, MA. Effects of drinking hot water, cold water and chicken soup on nasal mucus velocity and nasal airflow resistance. Chest 1978; 74,408-410.
  6. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dehydration/basics/symptoms/con-20030056
  8. LifeExtension: “Disease Prevention and Treatment,” 2013, page 825-826.
  9. LifeExtension: “Disease Prevention and Treatment”, 2013, page 825.
  10. Bruce Fife, C.N., N.D: “The Coconut Oil Miracle”, 5th edition, Penguin Group, 2013, New York, New York 10014; page 70-77.
  11. http://www.botanical-online.com/english/feverremedies.htm
  12. Koch C, Reichling J, Kehm R, Sharaf MM, Zentgraf H, Schneele J, Schnitzler P.Efficacy of anise oil, dwarf-pine oil and chamomile oil against thymidine-kinase-positive and thymidine-kinase-negative herpesviruses. J Pharm Pharmacol. 2008 Nov;60(11):1545-50.
  13. Koch C, Reichling J, Schneele J, Schnitzler P. Inhibitory effect of essential oils against herpes simplex virus type 2. Phytomedicine. 2008 Jan;15(1-2):71-8.
  14. Sánchez G, Aznar R. Evaluation of Natural Compounds of Plant Origin for Inactivation of Enteric Viruses. Food Environ Virol. 2015 Jan 31
  15. Zhang XL, Guo YS, Wang CH, Li GQ, Xu JJ, Chung HY, Ye WC, Li YL, Wang GC. Phenolic compounds from Origanum vulgare and their antioxidant and antiviral activities. Food Chem. 2014;152:300-6.
  16. http://www.botanical-online.com/english/feverremedies.htm
  17. Zeina B, Othman O, al-Assad S. Effect of honey versus thyme on Rubella virus survival in vitro. J Altern Complement Med. 1996 Fall;2(3):345-8.
  18. Knipping K, Garssen J, van't Land B.An evaluation of the inhibitory effects against rotavirus infection of edible plant extracts. Virol J. 2012 Jul 26;9:137.
  19. Kinoshita E, Hayashi K, Katayama H, Hayashi T, Obata A. Anti-influenza virus effects of elderberry juice and its fractions. Biosci Biotechnol Biochem. 2012;76(9):1633-8.
  20. Krawitz C, Mraheil MA, Stein M, Imirzalioglu C, Domann E, Pleschka S, Hain T. Inhibitory activity of a standardized elderberry liquid extract against clinically-relevant human respiratory bacterial pathogens and influenza A and B viruses. BMC Complement Altern Med. 2011 Feb 25;11:16.
  21. Laconi S, Madeddu MA, Pompei R. Autophagy activation and antiviral activity by a licorice triterpene. Phytother Res. 2014 Dec;28(12):1890-2
  22. Liu H, Wang J, Zhou W, Wang Y, Yang L. Systems approaches and polypharmacology for drug discovery from herbal medicines: an example using licorice. J Ethnopharmacol. 2013 Apr 19;146(3):773-93.
  23. Ghaemi A, Soleimanjahi H, Gill P, Arefian E, Soudi S, Hassan Z Echinacea purpurea polysaccharide reduces the latency rate in herpes simplex virus type-1 infections. Intervirology. 2009;52(1):29-34.
  24. Birt DF, Widrlechner MP, Lalone CA, Wu L, Bae J, Solco AK, Kraus GA, Murphy PA, Wurtele ES, Leng Q, Hebert SC, Maury WJ, Price JP. Echinacea in infection. Am J Clin Nutr. 2008 Feb;87(2):488S-92S.
  25. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000073.htm
  26. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000073.htm
  27. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK8538/
  28. http://ghr.nlm.nih.gov/glossary=oncogene
  29. http://ghr.nlm.nih.gov/glossary=oncogene
  30. http://ghr.nlm.nih.gov/glossary=oncogene

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,079 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา