ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหารที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถของร่างกายในการใช้หรือผลิตอินซูลิน ซึ่งเป็นตัวทำให้ร่างกายสามารถใช้น้ำตาลในเลือดเป็นพลังงาน [1] เมื่อเซลล์เริ่มต่อต้านอินซูลินหรือร่างกายผลิตมันไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะพุ่งสูงขึ้น ก่อให้เกิดอาการโรคเบาหวานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหลายอย่าง โรคเบาหวานจาก “น้ำตาล” มีความแตกต่างกันอยู่สี่ชนิดด้วยกัน: ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน, ชนิดที่ 1, ชนิดที่ 2, และเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วคนจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [2] ในแต่ละชนิดนั้น จะมีอาการที่คล้ายคลึงกันและอาการที่จะแยกแต่ละชนิดออกจากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ตระหนักในปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคเบาหวานแต่ละชนิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประเมินความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์. [3] โรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เกิดขึ้นในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อยู่ ถ้าคุณมีความเสี่ยงสูง คุณอาจต้องรับการตรวจระหว่างการฝากครรภ์ครั้งแรกและตรวจอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่สอง ระหว่างสัปดาห์ที่ 24 กับ 28 ผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิด 2 ภายในสิบปีหลังจากให้กำเนิดบุตร ปัจจัยเสี่ยงได้แก่:
    • ตั้งครรภ์ในอายุที่เกิน 25 ปี
    • มีประวัติคนในครอบครัวหรือประวัติส่วนตัวเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน
    • มีน้ำหนักตัวเกินกว่าปกติในระหว่างตั้งครรภ์ (ดัชนีมวลกายอยู่ที่ 30 หรือมากกว่านั้น)
    • ผู้หญิงที่มีผิวสี มีเชื้อสายสแปนิช อินเดียนแดง เอเชีย หรือหมู่เกาะแปซิฟิค
    • เป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่สามหรือกว่านั้น [4]
    • มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ [5]
  2. [6] ภาวะก่อนเป็นเบาหวานเป็นสภาวะทางระบบเผาผลาญอาหารที่ซึ่งกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือดนั้นสูงกว่าระดับค่าปกติ (70-99) กระนั้น มันยังต่ำกว่าค่าที่ได้รับการแนะนำให้ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมกลูโคสในเลือด ปัจจัยเสี่ยงของภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้แก่:
    • อายุ 45 ปีขึ้นไป
    • มีน้ำหนักตัวเกินกว่าปกติ
    • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
    • มีวิถีชีวิตแบบอยู่กับที่ไม่ไปไหน
    • ความดันโลหิตสูง
    • เคยเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์มาก่อน
    • คลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิด 4 กิโลกรัมขึ้นไป
  3. ประเมินความเสี่ยงของคุณในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. [7] บางครั้งมันถูกเรียกว่าโรคเบาหวาน “สมบูรณ์แบบ” ในสภาวะนี้ เซลล์ในร่างกายจะต่อต้านอิทธิพลของเลปตินกับอินซูลิน มันจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นและก่อให้เกิดอาการของโรคเบาหวานและผลข้างเคียงในระยะยาว ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นเหมือนกับในภาวะก่อนเป็นเบาหวานและยังรวมถึง:
    • มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
    • น้ำหนักตัวสูงเกินปกติ
    • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
    • ความดันโลหิตสูง
    • มีประวัติเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
    • คลอดบุตรที่มีน้ำหนักตัว 4 กิโลกรัมขึ้นไป
    • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
    • มีอาการเครียดเรื้อรัง [8]
    • คุณมีเชื้อสายผิวดำ สแปนิช อินเดียนแดง เอเชีย หรือหมู่เกาะแปซิฟิค
  4. [9] ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าภาวะแบบนี้เกิดจากกรรมพันธุ์บวกกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
    • คนผิวขาวมีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 สูงกว่า
    • อากาศที่เย็นและไวรัสอาจกระตุ้นให้มีการพัฒนาของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในคนที่อ่อนแอ
    • มีความเครียดในวัยเด็ก [10]
    • เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยน้ำนมแม่และทานอาหารแข็งในตอนโตกว่าจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ต่ำกว่าต่อให้มีแนวโน้มทางพันธุกรรม
    • ถ้าคุณมีฝาแฝดแท้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 คุณมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคนี้เช่นกันได้ถึง 50% [11]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ดูอาการของโรคเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้ารับการตรวจหาโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เมื่อตั้งครรภ์. [12] ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักจะไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลย เมื่อเป็นเช่นนั้น คุณจึงควรร้องขอการตรวจหาถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ โรคนี้มีอันตรายเป็นอย่างยิ่งเพราะมันส่งผลทั้งกับตัวคุณและกับลูกในท้อง และเพราะมันมีผลกระทบกับลูกในท้องในระยะยาวได้ การเข้าตรวจหาและรักษาแต่เนิ่นๆ จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
    • ผู้หญิงบางคนจะรู้สึกกระหายน้ำและต้องการปัสสาวะบ่อยๆ อย่างไรก็ดี นี่เป็นสัญญาณทั่วไปของการตั้งครรภ์ปกติ [13]
    • ผู้หญิงบางคนรายงานว่าตนรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวหลังทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลสูง
  2. เช่นเดียวกับโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะก่อนเป็นเบาหวานก็ปรากฏอาการให้เห็นไม่กี่อย่าง โรคเบาหวานนั้นเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งคนที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวานจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยง คุณจะต้องระมัดระวัง เข้าตรวจทดสอบเป็นประจำ และสังเกตอาการเล็กๆ น้อยๆ ให้ดี ภาวะก่อนเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาเป็นโรคเบาหวานเต็มตัวได้ถ้าปราศจากการดูแลรักษา
    • คุณอาจมีภาวะก่อนเป็นเบาหวานหากคุณเป็น “โรคผิวหนังช้าง (acanthosis nigricans)" ตรงบริเวณจุดจำเพาะของร่างกาย มันจะเป็นรอยผิวหนังที่มีลักษณะหนาและดำคล้ำที่พบบ่อยตรงบริเวณรักแร้ ลำคอ ข้อศอก หัวเข่า และขาหนีบ [14]
    • คุณยังอาจรู้สึกไม่สบายตัวหลังจากทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลสูง
    • แพทย์จะทำการตรวจหาภาวะก่อนเป็นเบาหวานถ้าคุณมีระดับคอเลสเตอรอลพุ่งสูง มีความดันโลหิตสูง หรือฮอร์โมนไม่สมดุล เช่นโรคทางระบบเผาผลาญอาหาร หรือถ้าคุณมีน้ำหนักเกินกว่าปกติ
  3. [15] ไม่ว่าคุณจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นหรือไม่ คุณก็ยังมีสิทธิเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้อยู่ดี ควรสังเกตสุขภาพของตนเองและมองหาสัญญาณเหล่านี้ว่าน้ำตาลในเลือดของคุณกำลังพุ่งสูงขึ้นหรือเปล่า:
    • น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้
    • สายตาพร่ามัวหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางสมรรถภาพการมองเห็น
    • มีความกระหายน้ำเพิ่มขึ้นจากระดับน้ำตาลในเลือด
    • มีความต้องการจะปัสสาวะเพิ่มขึ้น
    • อ่อนเพลียและง่วงนอนทั้งๆ ที่ได้นอนหลับมาอย่างเพียงพอ
    • รู้สึกแปลบๆ หรือชาตามมือและเท้า
    • มีอาการอักเสบที่กระเพาะปัสสาวะ ผิว หรือปากอยู่บ่อยๆ หรือเกิดซ้ำๆ
    • ขาสั่นหรือหิวในตอนเช้าหรือตอนบ่าย
    • รอยแผลหรือรอยถลอกดูจะหายช้ามาก [16]
    • ผิวแห้งคันหรือมีตุ่มหรือตุ่มพองที่ผิดปกติ [17]
    • รู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติ
  4. สงสัยการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ตามอาการที่เกิดฉับพลัน. ถึงแม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพัฒนาการเป็นเบาหวานชนิดนี้มาตั้งแต่ยังเยาว์วัยหรือสมัยเป็นวัยรุ่น มันยังอาจพัฒนาเป็นได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือค่อยๆ ปรากฏขึ้นในระยะเวลานาน และอาจมีอาการดังนี้: [18]
    • กระหายน้ำกว่าปกติ
    • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
    • มีการติดเชื้อราในช่องคลอดของผู้หญิง
    • หงุดหงิดฉุนเฉียว
    • สายตาพร่ามัว
    • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ปัสสาวะรดที่นอนอย่างผิดปกติในเด็ก
    • หิวอย่างมาก
    • อ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง
  5. [19] ผู้คนมักจะละเลยอาการของโรคเบาหวาน ปล่อยให้สภาพแย่ลงจนถึงระดับที่เป็นอันตราย อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นจะค่อยๆ ปรากฏขึ้น แต่กับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น ร่างกายสามารถหยุดการผลิตอินซูลินได้โดยฉับพลัน คุณจะพบอาการที่รุนแรงกว่ามากซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เว้นแต่จะได้รับการรักษาในทันที อาการเหล่านั้นได้แก่:
    • หายใจแรงถี่ๆ
    • ใบหน้าแดง ผิวและริมฝีปากแห้ง
    • ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้
    • คลื่นเหียนอาเจียน
    • ปวดท้อง
    • สับสนและง่วงซึม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รับการรักษาโรคเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์จะต้องทำการตรวจวัดหลายอย่างก่อนจะลงความเห็นว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน และถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเป็นเบาหวานจริง คุณจะต้องเข้ารับการรักษาตามคำแนะนำของทางแพทย์
  2. การตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดจะทำเหมือนชื่อที่บอก: มันจะตรวจหาค่ากลูโคส (น้ำตาล) ในเลือดของคุณ [20] มันจะถูกใช้เพื่อดูว่าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือเสี่ยงที่จะเป็นหรือเปล่า การตรวจนี้จะกระทำภายใต้เงื่อนไขหนึ่งในสามประการดังนี้: [21]
    • การตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดตอนอดอาหารจะทำหลังจากที่คุณไม่ได้ทานอะไรมาอย่างน้อยแปดชั่วโมง หากเป็นเหตุฉุกเฉิน แพทย์จะทำการสุ่มตรวจน้ำตาลในเลือดไม่ว่าคุณจะเพิ่งทานอะไรมาหรือไม่
    • การตรวจหลังอาหารสองชั่วโมงจะทำสองชั่วโมงหลังจากที่ได้ทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปในปริมาณหนึ่งเพื่อทดสอบความสามารถในการรับมือปริมาณน้ำตาลของร่างกาย การทดสอบนี้มักจะทำในโรงพยาบาลเพื่อที่แพทย์จะสามารถวัดจำนวนคาร์โบไฮเดรตที่ทานเข้าไปก่อนทำการทดสอบได้
    • การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลจะต้องให้คุณดื่มเครื่องดื่มที่มีกลูโคสสูง พวกเขาจะทดสอบเลือดกับปัสสาวะของคุณทุกๆ 30-60 นาทีเพื่อวัดว่าร่างกายสามารถทนต่อปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มเข้าไปในดีแค่ไหน จะไม่มีการทดสอบเช่นนี้ถ้าแพทย์สงสัยว่าคุณจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
  3. [22] การตรวจเลือดแบบนี้เรียกอีกชื่อว่า glycated hemoglobin test มันจะวัดปริมาณน้ำตาลที่ยึดอยู่กับโมเลกุลของฮีโมโกลบินของร่างกาย ค่าที่ได้จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับแพทย์ถึงระดับค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดคุณใน 30 ถึง 60 วันที่ผ่านมา
  4. คีโตน (ketone) จะพบในเลือดเมื่อการขาดอินซูลินบังคับให้ร่างกายต้องสลายไขมันมาใช้เป็นพลังงาน [23] มันจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพื่อหาคีโตนเมื่อ: [24]
    • ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 240 มก./ดล.
    • ระหว่างการเจ็บป่วยเช่น โรคปอดบวม โรคสมองขาดเลือด หรือโรคหัวใจวาย
    • ถ้าคุณมีอาการคลื่นเหียนอาเจียน
    • ระหว่างตั้งครรภ์
  5. หากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือเสี่ยงที่จะเป็น มันสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสุขภาพและระดับค่าของน้ำตาลในเลือดอยู่สม่ำเสมอ [25] การมีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำความเสียหายต่อหลอดเลือดขนาดเล็กในอวัยวะต่างๆ ความเสียหายนี้จะสร้างปัญหาให้เกิดทั่วร่างกาย การตรวจวัดสุขภาพโดยรวมนั้นให้เข้ารับ:
    • การตรวจสายตาประจำปี
    • ประเมินการเกิดโรคเส้นประสาทเหตุเบาหวานที่เท้า
    • ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ (หรืออย่างน้อยก็ประจำปี)
    • ตรวจตับประจำปี
    • ตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน
    • ตรวจคอเลสเตอรอลเป็นประจำ
    • เข้าพบแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางด้านต่อมไร้ท่อเป็นประจำ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การรักษาโรคเบาหวาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกเปลี่ยนวิถีชีวิตเมื่อเป็นภาวะก่อนเป็นเบาหวานหรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ภาวะเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากหนทางที่เราเลือกมากกว่าจะมาจากกรรมพันธุ์ โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตคุณก็จะสามารถลดน้ำตาลในเลือดหรือป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้
  2. เวลาที่ร่างกายเผาผลาญคาร์บ พวกมันจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาล และร่างกายก็จะต้องการอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อมาใช้มัน ให้ลดข้าว พาสต้า ลูกอม ของหวาน น้ำอัดลม และอาหารอื่นๆ ที่มีแต่คาร์โบไฮเดรตสูง เพราะร่างกายจะย่อยมันเร็วเกินไปและทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงกระฉูด [26] ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการเกี่ยวกับการปรับคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มีไฟเบอร์สูงและมีอัตราของค่าไกลซีมิค (GI) ต่ำ คาร์บเชิงซ้อนที่มีค่า GI ต่ำได้แก่: [27]
    • ถั่วเป็นเม็ดและถั่วเป็นฝัก
    • ผักที่ไม่มีความเป็นแป้ง (ผักส่วนใหญ่ ยกเว้นอาหารอย่าง หัวผักกาด กล้วยกล้าย มันฝรั่ง ฟักทอง สควอช ถั่วลันเตา ข้าวโพด) [28]
    • ผลไม้ส่วนใหญ่ (ยกเว้นผลไม้บางชนิด เช่น ผลไม้อบแห้ง กล้วย และองุ่น) [29]
    • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ตเม็ด รำข้าว พาสต้าเส้นธัญพืช ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวกล้อง ควินัว [30]
    • อย่าจำกัดใยอาหาร. ให้ลดมันลงจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตรวม (ต่อหน่วยบริโภค) บนฉลากสารอาหาร ใยอาหารนั้นไม่ถูกย่อย [31] และป้องกันการพุ่งขึ้นของน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้รักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น [32] [33]
  3. ทานอาหารที่มีโปรตีนกับไขมันดี (ไขมันไม่อิ่มตัว [34] , โอเมก้า-3 และ โอเมก้า-9 ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว) ให้มากขึ้น. ถึงแม้ว่าครั้งหนึ่งพวกมันเคยถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ แต่ไขมันดีที่พบในอะโวคาโด น้ำมันมะพร้าว เนื้อจากวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าและไก่ที่ถูกเลี้ยงให้หากินอย่างอิสระนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นที่รู้กันในตอนนี้ว่าเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี พวกมันสามารถช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความเสถียรและลดอาการโหยอาหาร [35]
  4. [38] การต้านอินซูลินนั้นมีมากขึ้นตามรอบเอวที่สูงขึ้น เมื่อคุณรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ คุณก็จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นด้วย การควบคุมอาหารบวกกับการออกกำลังกายจะช่วยรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อสุขภาพ ให้ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีเพื่อช่วยร่างกายใช้กลูโคสในเลือดโดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน นี่จะช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์และทำให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพขึ้นด้ว
  5. ถ้าคุณสูบอยู่ จงเลิกซะ คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงกว่าคนที่ไม่สูบถึง 30-40% และความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนบุหรี่ การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงในคนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วอีกด้วย [39]
  6. [40] ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1, ชนิดที่ 2, หรือเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์อาจแนะนำยานอกเหนือจากการเปลี่ยนวิถีชีวิต กระนั้น คุณไม่อาจพึ่งพาแต่การใช้ยาว่าจะรักษาโรคได้ มันจะถูกใช้เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณเป็นหลัก
  7. ใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์. ยาเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบของยาเม็ด และช่วยลดน้ำตาลในเลือดไปตลอดทั้งวัน ตัวอย่างก็เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin), ยากลุ่มซัลฟอนิลยูเรีย (sulfonylureas), เมกลิทิไนด์ (Meglitinides), ยาออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อัลฟ่า-กลูโคส (Alpha-glucosidase inhibitors) [41] [42]
  8. รับการฉีดอินซูลินถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1. มันเป็นการรักษาแบบเดียวที่ใช้ได้ผลกับเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็สามารถใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 กับเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ด้วย การรักษานี้มีอินซูลินแตกต่างกันสี่ประเภท แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าประเภทไหนจะใช้ควบคุมน้ำตาลในเลือดของคุณได้ผลดีที่สุด คุณอาจใช้เพียงแค่ประเภทเดียวหรือรวมกันทั้งสี่ประเภทในช่วงเวลาต่างกันไปของวัน [43] แพทย์ยังอาจแนะนำปั๊มอินซูลินที่จะช่วยรักษาระดับอินซูลินให้คงที่ทั้ง 24 ชั่วโมง [44]
    • อินซูลินประเภทออกฤทธิ์ไวจะใช้ก่อนอาหาร และมักใช้ร่วมกับอินซูลินประเภทออกฤทธิ์นาน
    • อินซูลินประเภทออกฤทธิ์สั้นจะใช้ก่อนเวลาอาหาร 30 นาที และมักใช้ร่วมกับอินซูลินประเภทออกฤทธิ์นานกว่า
    • อินซูลินประเภทออกฤทธิ์ปานกลางมักใช้วันละสองหน และจะลดกลูโคสเมื่ออินซูลินประเภทออกฤทธิ์ไวกับออกฤทธิ์สั้นหยุดทำงาน
    • อินซูลินประเภทออกฤทธิ์นานจะถูกใช้ครอบคลุมเวลาที่อินซูลินประเภทออกฤทธิ์ไวและออกฤทธิ์สั้นหยุดทำงาน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตระหนักในปัจจัยเสี่ยง และมองหาคำแนะนำทางการแพทย์ถ้าคุณมีอาการของโรคเบาหวาน
  • ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษเวลาอยู่ในที่ร้อนหรือเย็นจัด สภาวะทั้งสองแบบล้วนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและมีผลต่อยากับอุปกรณ์ตรวจวัดของคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลองรักษาโรคเบาหวานด้วยตัวเองที่บ้าน ผลกระทบในระยะยาวของโรคเบาหวานนั้นมีตั้งแต่โรคไต ตาบอด ถูกตัดมือเท้าหรือขา โรคเส้นประสาทเหตุเบาหวาน และตาย คุณสามารถลดการใช้ยาลงได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตภายใต้การแนะนำของแพทย์
โฆษณา
  1. http://spectrum.diabetesjournals.org/content/18/2/121.full
  2. http://care.diabetesjournals.org/content/24/5/838.full
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gestational-diabetes/basics/symptoms/con-20014854
  4. http://americanpregnancy.org/pregnancy-complications/gestational-diabetes/
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prediabetes/basics/symptoms/con-20024420
  6. http://www.aafp.org/afp/2000/1101/p2137.html
  7. http://www.woundcarecenters.org/article/living-with-wounds/how-diabetes-affects-wound-healing
  8. http://www.diabetes.org/living-with-diabetes/complications/skin-complications.html
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-1-diabetes/basics/symptoms/con-20019573
  10. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000305.htm
  11. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003482.htm
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prediabetes/basics/tests-diagnosis/con-20024420
  13. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/diagnostic-tests/a1c-test-diabetes/Pages/index.aspx
  14. http://www.diabetes.org/living-with-diabetes/treatment-and-care/blood-glucose-control/checking-for-ketones.html?referrer=https://www.google.com
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000305.htm
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000305.htm
  17. http://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/carbohydrates/carbohydrates-and-blood-sugar/
  18. http://www.diabetes.org/food-and-fitness/food/what-can-i-eat/understanding-carbohydrates/glycemic-index-and-diabetes.html
  19. http://www.diabetes.org/food-and-fitness/food/what-can-i-eat/making-healthy-food-choices/grains-and-starchy-vegetables.html
  20. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  21. http://www.health.harvard.edu/healthy-eating/glycemic_index_and_glycemic_load_for_100_foods
  22. SF Gate, http://healthyeating.sfgate.com/can-fiber-digested-body-4829.html
  23. Canadian Diabetes Association, http://www.diabetes.ca/diabetes-and-you/healthy-living-resources/diet-nutrition/fibre
  24. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/carbohydrates/fiber/
  25. http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2015/08/10/saturated-fat-helps-avoid-diabetes.aspx
  26. http://annals.org/article.aspx?articleid=1846638&resultClick=3
  27. http://www.medscape.com/viewarticle/819533
  28. http://www.diabetes.org/mfa-recipes/tips/2012-08/seafood-a-smart-choice-for.html
  29. http://www.diabetes.org/food-and-fitness/weight-loss/
  30. http://www.cdc.gov/tobacco/campaign/tips/diseases/diabetes.html
  31. http://www.diabetes.org/living-with-diabetes/treatment-and-care/medication/
  32. http://www.joslin.org/info/oral_diabetes_medications_summary_chart.html
  33. http://spectrum.diabetesjournals.org/content/20/2/101.full
  34. http://www.joslin.org/info/insulin_a_to_z_a_guide_on_different_types_of_insulin.html
  35. http://www.diabetes.org/living-with-diabetes/treatment-and-care/medication/insulin/how-do-insulin-pumps-work.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,736 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา