ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผู้หญิงบางคนพยายามหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์แบบสุดๆ ในขณะที่บางคนต้องการมันยิ่งกว่าสิ่งใด แต่กลับทำไม่สำเร็จสักที และถึงแม้จะมีผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม รวมถึงเทคนิควิธีการต่างๆ นานา มาเสนอเป็นตัวช่วยเต็มไปหมดในยุคสมัยนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะรับประกันผลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมายให้คำนึง อย่างไรก็ดี หากคุณมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไว้รองรับสักนิด มันก็ย่อมเพิ่มโอกาสให้คุณ ตั้งครรภ์ได้ดั่งใจเรียกร้อง ท้องได้สมใจอยาก ในเร็ววันนี้แน่นอน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

พื้นฐานของการตั้งครรภ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทั้งนี้ การคุมกำเนิดแต่ละวิธี มีระยะแสดงผลต่างกันไป หากคุณเพิ่งเริ่มหยุดการคุมกำเนิดมาหมาดๆ ก็อย่าเพิ่งหวังว่าร่างกายจะพร้อมตั้งครรภ์ในทันที
    • การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือแบบวงแหวนและแบบฉีด จะมีช่วงเวลาทิ้งท้ายต่อเนื่องยาวนานหลังหยุดคุมฯ ดังนั้น ร่างกายอาจต้องปรับตัวนานหน่อย
    • หากคุณคุมกำเนิดแบบใส่ห่วงอนามัย จำเป็นต้องให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเอาออกให้
    • หากคุณผ่านการคุมกำเนิดแบบอุปกรณ์ภายนอก เช่น ถุงยางอนามัย หรือหมวกยางครอบปากมดลูก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพร้อมตั้งครรภ์ได้ทันที เพียงแต่ร่างกายไม่ต้องปรับตัวอะไรแล้ว ขอแค่ไปตรวจเช็คโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้แน่ใจว่าไม่มี
  2. หากทำได้ ก็มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น ซึ่งคุณอาจค้นหาโดย:
    • เริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด ไปอีก 14 วัน ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ตกไข่กัน (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีเพศสัมพันธ์ก่อนหน้านั้นไม่ได้นะ ลองอ่านขั้นตอนที่ 3 ดู!)
      • หากประจำเดือนคุณมาสม่ำเสมอ คุณสามารถใช้วิธีแบ่งครึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เช่น หากประจำเดือนคุณมาทุกๆ 28 วัน หารครึ่งก็เท่ากับ 14 นั่นหมายถึง วันที่ตกไข่ คือประมาณวันที่ 14 นับจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก หากใครมาทุกๆ 40 วัน วันตกไข่ก็ราวๆ วันที่ 20 นับจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก เป็นต้น [1]
    • ดาวน์โหลดแอพฯมาใช้ ตอนนี้มีแอพพลิเคชันสมาร์ทโฟนหลายตัว ที่ช่วยคุณในการจดจำรอบเดือน โดยคุณอาจเสิร์ชคำว่า "Ovulation Calendar" แล้วเลือกดาวน์โหลดมาใช้ดู
    • วัดอุณหภูมิร่างกาย หลังตื่นนอนตอนเช้า หากวันไหนอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ก็อาจเป็นสัญญาณของช่วงตกไข่ [2] หาปรอทมาไว้ข้างเตียง เพื่อที่จะได้วัดอุณหภูมิร่างกายทันทีที่ตื่นนอน หรือช่วงเวลาเดียวกันทุกเช้า และบันทึกไว้ หากมันเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลามากกว่าหนึ่งวัน ก็น่าจะเป็นช่วงตกไข่แล้วล่ะ! [1]
      • การตกไข่จะหนาแน่นที่สุด ในช่วง 2-3 วัน ก่อน ที่คุณจะรู้สึกว่าตัวอุ่นขึ้น [1] ดังนั้น หากคุณใช้ข้อมูลดังกล่าว ในการวัดเปรียบเทียบเพื่อความชัวร์ แบบเดือนต่อเดือน ความแม่นยำก็จะสูงขึ้น
    • ให้สังเกตมูกไข่ตก หรือเมือกใสๆเหนียวๆ ที่ออกมากจากช่องคลอด คล้ายๆไข่ขาว (แต่ไม่ใช่ตกขาว) ซึ่งหากคุณมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3-5 วันนี้ ก็มีโอกาสตั้งครรภ์สูงมาก แต่หากเลยช่วงดังกล่าวไปแล้ว หรือมูกดังกล่าวเริ่มข้นและแห้ง โอกาสก็จะน้อยกว่า
    • ร้านขายยาบางแห่ง มีขายอุปกรณ์วัดระยะการตกไข่ด้วย แต่อาจจะมีราคาแพงหน่อย เราถึงได้แนะนำวิธีคำนวณเองให้คุณไง
  3. เมื่อรู้ระยะตกไข่ของตัวเองแล้ว ก็เริ่มเปิดอู่ได้เลย! อย่าลืมว่า ประเด็นการจู๋จี๋กับคนรัก ยังคงเป็นประเด็นหลักที่มีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ลองเอาเทคนิคต่อไปนี้ ไปใช้ดูสิ:
    • เมื่อรู้ระยะตกไข่แน่นอนแล้ว คุณอาจเริ่มมีเพศสัมพันธ์กันล่วงหน้าสัก 2-3 วัน หากไปเริ่มในวันดังกล่าวเลยอาจช้าไป เพราะไข่จะมีช่วงที่พร้อมสุดๆ ในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่เหมือนเจ้าอสุจิที่อยู่ได้เกือบสัปดาห์!
    • พยายามให้เชื้ออสุจิสดใหม่อยู่เสมอ ถึงแม้มันจะอยู่ได้เป็นสัปดาห์ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะสมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้น ในช่วงระยะตกไข่นี้ คุณควรร่วมรักกันอย่างน้อยวันเว้นวัน (หรือจะมากกว่านั้นก็ได้ แล้วแต่คุณเลย!)
    • อย่าใช้ยากำจัดอสุจิ น้ำมันหล่อลื่น หรือสารกระตุ้นใดๆ ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่กล่าวมา ถึงแม้จะช่วยให้เริงรมย์กันมากขึ้น แต่มันมีผลเสียต่อโอกาสในการปฏิสนธิ [3]
    • กะจังหวะถึงฝั่งฝัน การถึงจุดสุดยอดตามหลังคุณผู้ชายไปติดๆ จะช่วยให้มดลูกของคุณ กวาดเอาน้ำอสุจิเข้าไปสู่บริเวณเชิงกรานได้ลึกขึ้น เท่ากับเป็นการเปิดทางให้นั่นเอง
    • อย่าเพิ่งรีบกลับจากฝั่งฝัน นอนแผ่หลาหรือกอดก่ายกันเล่นๆ ไปก่อน หากคุณรีบลุกจากเตียง บรรดาอสุจิจะเล่นสไลเดอร์ ไหลกลับลงมากันยกใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า การนอนราบประมาณ 15 นาที หลังจากเสพสมอารมณ์หมายแล้ว จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นถึง 50% เลยเชียว [4]
  4. ทีนี้ก็ได้เวลาของการลุ้นกันแล้ว โดยคุณจะตื่นเต้นสุดๆ ก็ตอนใกล้ๆ ช่วงจะถึงเวลารอบเดือนครั้งถัดไปนั่นเอง หากถึงวันที่ควรจะมาแล้ว มันยังไม่มา ลองหาซื้อแผ่นทดสอบมาใช้ดูได้เลย มีขายตามร้านยาทั่วไป:
    • วัดอุณหภูมิอีกครั้ง หากครั้งนี้อุณหภูมิขึ้นสูงเหมือนครั้งก่อน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ก็คาดว่าน่าจะเกิดการปฏิสนธิขึ้นแล้ว
    • สังเกตอาการจากการฝังตัว หากคุณรู้สึกว่ามีเลือดออกในช่องคลอด อาจเป็นไปได้ว่า เจ้าตัวไซโกต (Zygote) หรือตัวอ่อน(ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นเอ็มบริโอ) อาจกำลังฝังตัวในผนังมดลูก ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 6-12 วัน หลังจากปฏิสนธิ โดยคุณอาจมีอาการปวดเกร็งด้วย
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เพิ่มโอกาสในการตกไข่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คู่แต่งงานจำนวนมาก ไม่สามารถมีลูกตามต้องการได้ทันที ในจำนวนคู่ที่พยายามตั้งครรภ์ 100 คู่ จะมีก็แค่ประมาณ 15-20 คู่ ที่ทำสำเร็จ แต่ข่าวดี คือ 95% มักจะทำสำเร็จภายในสองปี แต่คุณอาจจะลองอีกบางวิธี ที่ช่วยให้เห็นผลได้เร็วขึ้น
  2. ต่อให้คู่ของคุณไม่ได้มีปัญหาตั้งครรภ์ลำบาก แต่การตรวจสภาพร่างกายให้พร้อม ย่อมเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะหลังจากตั้งครรภ์แล้ว หากใครไม่พร้อมจริง สุขภาพก็อาจจะย่ำแย่ลงไปอีก นอกจากนี้ คุณยังจะได้รู้อีกด้วยว่า คุณอาจเป็นโรคอะไรบางอย่างที่ยากต่อการมีบุตรหรือไม่ :
    • โรครังไข่ทำงานผิดปกติ หรือ Polycystic ovarian syndrome (PCOS) ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ สาเหตุของปัญหาการมีบุตรยาก
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ Endometriosis เป็นโรคที่ยับยั้งการตกไข่ตามปกติ จึงอาจเป็นสาเหตุของภาวะตั้งครรภ์ลำบาก
    • เบาหวาน: หากคุณมีโอกาสเสี่ยงหรือกำลังเป็นเบาหวาน ก็ยังไม่ควรคิดมีบุตร เพราะอาจเกิดภาวะบกพร่องในการให้กำเนิดได้ จำเป็นต้องรักษาให้ปกติดีเสียก่อน
    • โรคไทรอยด์: โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้กำเนิดบุตร หากรู้ล่วงหน้าและรักษาอย่างถูกวิธี [5]
  3. หากยังไม่เริ่มตั้งครรภ์ คู่ของคุณก็สามารถใช้ช่วงนี้ ในการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ซึ่งเมื่อโอกาสมาถึง จะได้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงอีก
    • ลดน้ำหนัก. ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่น้ำหนักเกินปกติ มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า และโอกาสเกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าด้วย [6] หากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณสูงไปนิด พยายามออกกำลังกายและลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์
      • ลองศึกษาข้อมูลโภชนาการขั้นพื้นฐาน ในเว็บไซท์ด้านโภชนาการต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย
      • ฟิตหุ่น. เอาพุงออกสักนิด ด้วยการวิ่งหรือเล่นโยคะก็ยังได้
      • อย่าโหมหนักเกินไป. ผู้หญิงที่น้ำหนักน้อยเกินไป หรือมีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 ก็อาจจะมีปัญหารอบเดือนผิดปกติ และตั้งครรภ์ลำบากเช่นกัน [7] พยายามเดินทางสายกลาง อย่าสุดโต่ง
  4. วิตามินเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเอ็มบริโอ หรือตัวอ่อนในระยะหลัง ซึ่งการพร่องวิตามินอย่างเช่น กรดโฟลิค อาจนำมาซึ่งภาวะผิดปกติของกระดูกสันหลัง และความพิการทางสมองของเด็กได้
    • พยายามเน้นวิตามินเสริม ที่ประกอบด้วยกรดโฟลิค แคลเซียม และธาตุเหล็ก [8]
  5. อาหารบางอย่างมีผลเสียต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ และบางอย่างยังมีผลเสียต่อเด็กทารกที่กำลังจะเกิดมาด้วย
    • การได้รับสารจากยาฆ่าแมลง ก็มีผลต่อภาวะมีบุตรยากด้วย ดังนั้น พยามเลือกทานผักผลไม้สด หรืออาหารออร์แกนิค
    • หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ (Trans Fat) ซึ่งพบมากในอาหารแปรรูป และขนมหวานหรือขบเคี้ยวอบกรอบต่างๆ โดยไขมันประเภทนี้ จะยับยั้งโอกาสของการตกไข่ในสตรี [9]
    • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกปลาดิบ ชีสที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ ถั่วงอก และอาหารสำเร็จรูป รวมถึงเนื้อสัตว์ที่อาจมีสารไนเตรตตกค้าง ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่สด และมีโอกาสเก็บรักษาไม่สะอาดเหล่านี้ นอกจากจะทำให้ป่วยแล้ว ยังมีผลต่อการคั้งครรภ์ด้วย
  6. ทานอาหารที่เชื่อกันว่า อาจเสริมสร้างภาวะเจริญพันธุ์ได้. โบราณมีความเชื่อว่า อาหารบางอย่างสามารถเสริมสร้างหรือบั่นทอนภาวะเจริญพันธุ์ รวมถึงความต้องการทางเพศได้ ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ยืนยันว่า ร่างกายคนเรามีกลไกและปฏิกิริยาตอบสนองต่ออาหารบางอย่าง ต่อภาวะเจริญพันธุ์จริง
    • ทานอาหารโภชนาการสูง ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากพืชออร์แกนิค เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วต่างๆ รวมถึงผักและผลไม้สด โดยสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ และวิตามินแร่ธาตุในอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกแข็งแรง
    • โปรตีนในอาหารบางประเภท เช่น เต้าหู้ ไก่ ไข่ และอาหารทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 เซเลเนียม และธาตุเหล็ก จะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มาก
    • การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากนมที่มีไขมันเต็มส่วน เช่น นมสดและโยเกิร์ตไขมันเต็มส่วนแช่แข็ง จะสามารถช่วยเสริมสร้างภาวะเจริญพันธุ์ได้ดีกว่าอาหารจากนมไขมันต่ำ หรือไร้ไขมัน [10]
  7. แนะนำอาหารที่มีประโยชน์ต่ออสุจิ ให้แก่คุณผู้ชาย. ซึ่งได้แก่ อาหารที่มีวิตามินอีและวิตามินซี ซึ่งอาจมาในรูปของวิตามินรวม หรือจากผักผลไม้ก็ดี และขอให้หลีกเลี่ยงพวกคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และไขมัน รวมถึงน้ำตาลด้วย [11]
    • เซเลเนียมก็มีคุณค่าต่อร่างกายของท่านชายเหมือนกัน โดยควรจะได้รับไม่ต่ำกว่าวันละ 55 ไมโครกรัม [12]
  8. เช่น บุหรี่ เหล้าเบียร์ ชา กาแฟ ซึ่งหากคุณติดสิ่งเหล่านี้ ก็ขอให้ช่วงที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์นี้ เริ่มลดละเลิกได้เลย เพราะมันจะทำให้รอบในการตกไข่น้อยลง:
    • เลิกบุหรี่. การสูบก่อนตั้งครรภ์ว่าแย่แล้ว การสูบระหว่างมีครรภ์ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ [13] หากคุณไปพยายามเลิกบุหรี่ ตอนที่กำลังตั้งครรภ์ อาจเป็นการกดดันตัวเองมากเกินไป ทำไมไม่เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลยล่ะ
      • คุณสุภาพบุรุษก็เหมือนกันนะ การสูบบุหรี่ จะทำให้คุณมีตัวอสุจิน้อยลง แถมโอกาสที่มันจะผิดปกติก็มากขึ้นด้วย [14] การดมควันบุหรี่จากผู้อื่น ยิ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสในการตั้งครรภ์เข้าไปใหญ่
    • หยุดดื่ม. คุณสุภาพสตรีที่วางแผนว่าจะตั้งครรภ์ ควรงดแอลกอฮอล์ทุกชนิด อย่างน้อยเป็นเวลา 2 เดือนล่วงหน้า
    • หลีกเลี่ยงคาเฟอีน. ซึ่งอยู่ในอาหารอย่างช็อกโกแลต และเครื่องดื่มประเภทกาแฟทั้งหลาย หากสตรีท่านใดดื่มเกินวันละ 3 ถ้วย จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มอย่างเห็นได้ชัด [15]
    • เลิกยาเสพติด. ยาเสพติดทุกประเภท เช่น ยาบ้า กัญชา เฮโรอีน และโคเคน มีผลเสียทั้งต่อการตั้งครรภ์ และพัฒนาการของเด็กทารก
  9. หากคุณหรือคนรัก มีความเหนื่อยหน่ายในเรื่องเพศ ก็ย่อมส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ในการบำบัดเรื่องดังกล่าว
    • อย่าให้ภาวะพร่องเจริญพันธุ์ มาทำลายชีวิตคู่ ความกดดันที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้ชีวิตเรื่องเพศของคุณทั้งคู่ ได้รับผลกระทบ และประสบปัญหาตั้งครรภ์ลำบากมากขึ้นไปอีก [16] พยายามผ่อนคลาย และนึกเสียว่าช่วงเวลานี้ เป็นโอกาสสุดท้ายแล้วที่คุณและคนรัก จะได้เต็มเหนี่ยวกันบนเตียง ก่อนที่จะมีเจ้าตัวน้อยมากั้นกลาง
  10. หลายคนเชื่อว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว นอกจากนี้ บางคนยังเชื่อว่า การที่คุณจะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์หรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับมุมมองความคิดของคุณที่มีต่อกระบวนการดังกล่าว รวมถึงความสัมพันธ์ด้วย ทั้งนี้ ความเครียดสามารถเล่นงานคุณได้ แม้ในเวลาที่ทุกอย่างกำลังไปได้ดี ดังนั้น พยายามรักษาทัศนคติในแง่บวกเอาไว้ จะช่วยให้คุณและคนรักมีสุขภาพจิตที่ดี และมีจิตใจสงบลง
    • โฟกัสไปที่โอกาสและความหวัง เวลาว่างๆ พยายามจินตนาการว่า คุณได้อุ้มลูกน้อยและเล่นกันอย่างมีความสุข หากคุณคิดแต่เรื่องแย่ๆ ที่บั่นทอนจิตใจ โอกาสตั้งครรภ์ก็ยิ่งน้อยลง แต่หากเครียดมากจนทนไม่ไหว รีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

หาผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเป็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอดทนรอคอยอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะหากคุณตั้งหน้าตั้งตาคอยว่า เมื่อไรจะตั้งครรภ์เสียที ดังนั้น คุณควรจะกำหนดเส้นตายเอาไว้ว่า เมื่อไรจึงจะควรไปพบแพทย์ ซึ่งจะช่วยลดคลายความกังวลใจได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการทำให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับความพยายามในขั้นต่อไป ซึ่งคุณสามารถใช้เกณฑ์ต่อไปนี้ ในการกำหนดว่าเมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์: [17]
    • คู่รักที่สุขภาพแข็งแรงทั้งคู่ และมีอายุต่ำกว่า 35 ปี หากมีเพศสัมพันธ์กันเป็นประจำ ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจมีโอกาสที่ฝ่ายภรรยาจะตั้งครรภ์ภายใน 12 เดือน (ไม่นับช่วงเตรียมตัวหลังคุมกำเนิด)
    • หากคุณอายุต่ำกว่า 35 ลองไปปรึกษาแพทย์ดู หากยังตั้งครรภ์ไม่สำเร็จภายใน 6 เดือน ส่วนผู้หญิงที่อายุมากกว่านั้น คุณอาจให้เวลาตัวเองมากกว่าเป็น 2 เท่า เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ย่อมมีผลให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น และต้องอาศัยเทคนิคอื่นๆ ช่วย
    • หากคุณเข้าข่ายต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ เช่น เป็นโรคเชิงกรานอักเสบ มีการตรวจพบเนื้อร้าย เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เคยทำแท้ง หรือมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  2. เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์ลำบาก มีตั้งแต่เรื่องเล็กอย่างอาการเครียด ไปจนถึงโรคร้ายอีกมากมาย
    • ให้ข้อมูลแก่แพทย์ของคุณโดยละเอียด เนื่องจากนิสัยการกินและประวัติการใช้ยาต่างๆ ต่างมีผลต่อปัญหาการมีบุตรยาก
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางประเภท มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ในขณะที่บางประเภทอาจทำให้หมดโอกาสไปตลอดชีวิต ดังนั้น พยายามไปตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ
    • เข้ารับการทดสอบทางนรีเวชศาสตร์. ในบางกรณี ผู้หญิงบางคนอาจมีแผงเนื้อเยื่อภายในโพรงมดลูกขวางกั้น ส่งผลให้ตัวอสุจิไม่สามารถเข้าไปจับคู่กับไข่ได้ และยังอาจมีภาวะรังไข่ทำงานผิดปกติ ที่ส่งผลต่อรอบเดือน [18] การเข้ารับการตรวจทางนรีเวชศาสตร์เป็นประจำ จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายคุณเป็นปกตีดี
  3. หากอยากค้นหาสาเหตุเบื้องลึกกว่านั้น คุณและคนรักก็สามารถเข้ารับการตรวจทดสอบอสุจิ รวมถึงทดสอบภาวะเจริญพันธุ์แบบครบวงจรได้
    • การตรวจของฝ่ายชาย จะรวมถึงการวิเคราะห์น้ำเชื้อ ตรวจเลือด และทำอัลตราซาวด์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของการหลั่งและระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง [19]
    • สำหรับฝ่ายหญิง การตรวจแบบครบวงจรจะรวมถึง การวิเคราะห์ฮอร์โมนอย่างเช่น ไทรอยด์ พิทูอิทารี และฮอร์โมนอื่นๆ ที่ร่างกายผลิตในช่วงตกไข่และมีรอบเดือน ที่สำคัญ จะมีการอัลตราซาวด์ดูบริเวณอุ้งเชิงกราน ท่อนำไข่ และตรวจภายในด้วยการส่องกล้อง เพื่อหาความผิดปกติในเยื่อบุโพรงมดลูก ผนังมดลูก และปีกมดลูก เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป [20]
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การรักษาภาวะเจริญพันธุ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวิเคราะห์ภาวะเจริญพันธุ์ในเชิงลึกดังที่กล่าวมา จะมีค่าใช้จ่าย และอาศัยระยะเวลาค่อนข้างนาน พยายามชั่งใจให้ดีๆ
    • พูดคุยกับคนรัก. พยายามอย่าตัดสินใจคนเดียว จงหาทางออกร่วมกับคนรัก เพราะเงินและเวลาที่เสียไป อาจทำใหเกิดอาการเครียดได้ง่าย พยายามหาจุดกึ่งกลางที่คุณทั้งคู่สบายใจ
    • ปรึกษาหน่วยงานของรัฐ ที่ให้การปรึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายดูก่อน อาจจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและงบประมาณได้มาก
    • ประเมินจากประวัติการรักษาอาการป่วยของคุณดู ก่อนที่จะเข้ารับการบำบัดหรือรักษาใดๆ เพราะบางวิธีอาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง
    • คำนึงถึงค่าใช้จ่ายเป็นอันดับต้นๆ ถ้าเป็นไปได้ คุณควรขอให้ทางโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่คุณไปปรึกษา ช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อที่คุณและคนรักจะได้เตรียมการล่วงหน้าได้อย่างรัดกุม
    • มองหาคนที่เชื่อถือได้ โดยคุณอาจจะสอบถามจากคู่รักที่เคยประสบผลสำเร็จมาแล้ว
  2. นัดหมายเพื่อพูดคุยเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณ.
    • พยายามเตรียมคำถามล่วงหน้าก่อนไปตามนัด เช่น ทางเลือกต่างๆ ค่าใช้จ่าย ความเป็นไปได้ และผลข้างเคียง รวมถึงระยะเวลาหวังผล
    • เวลาไปปรึกษาที่ไหนครั้งแรก อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ หรือเร่งรัดตัวเอง ขอให้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลอย่างค่อยเป็นค่อยไป
    • อย่าปล่อยให้ความเกรงใจ มาทำให้คุณตัดสินใจพลาด พยายามหาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง
  3. [21] NaPRO คือ การเสริมสร้างภาวะเจริญพันธุ์ผ่านกระบวนการผ่าตัดเฉพาะที่ และแก้ไขภาวะบางอย่างเป็นการจำเพาะบุคคล ซึ่งในบางประเทศ มีรายงานว่าได้ผลดีกว่าวิธี In-Vitro หรือการทำเด็กหลอดแก้ว แต่คุณควรตรวจเช็คดูว่ากระบวนการทั้ง 2 อย่าง มีค่าใช้จ่ายมากน้อยแตกต่างกันเพียงไร และประกันสุขภาพครอบคลุมหรือไม่
  4. IVF หรือ In-Vitro Fertilization เป็นวิธีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และอาจกล่าวได้ว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีช่วยในการสืบพันธุ์ [22]
    • การทำเด็กหลอดแก้ว คือ การนำเชื้ออสุจิของคุณผู้ชาย มาทำการปฏิสนธิกับไข่ของฝ่ายหญิง บนภาชนะแก้วในห้องปฏิบัติการ โดยอสุจิและไข่ดังกล่าว อาจเป็นของคุณและคู่รักเอง หรือเป็นของผู้บริจาค ข้นอยู่กับโอกาสและความเป็นไปได้
    • กระบวนการทั้งหมด จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีความเสี่ยงทั้งในขั้นตอนการสกัดไข่ออกมา รวมถึงขั้นตอนการฝังตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงด้วย [23]
    • การทำเด็กหลอดแก้ว มักไม่ประสบความสำเร็จ ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รวมถึงผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรมาก่อน และกรณีที่ใช้ตัวอ่อนแช่แข็ง ส่วนผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 มีอัตราประสบผลสำเร็จเพียง 5% เท่านั้น [24]
  5. หากภาวะปัญหาการมีบุตรของคุณ เกี่ยวข้องกับอุปสรรคของอสุจิ ในการเข้าไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิง การผสมเทียมโดยอาศัยน้ำเชื้อจากผู้บริจาค อาจเป็นทางออกที่ดี [25]
    • การผสมเทียม ทำโดยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกฝ่ายหญิงโดยตรง กรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่ง ซึ่งหากอสุจิของฝ่ายชายไม่พร้อม ก็อาจใช้ของผู้บริจาค โดยกระบวนการดังกล่าว มักจะทำภายในหนึ่งวันหลังจากฮอร์โมนรังไข่ของฝ่ายหญิง มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และวิธีนี้มักไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดของฝ่ายหญิง [26]
    • การผสมเทียมอาจกินเวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งหากไม่สำเร็จ คุณก็ยังมีทางเลือกในการบำบัดเพิ่มเติม เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีกว่า
  6. การรักษาหรือเสริมสร้างภาวะเจริญพันธุ์ มีทั้งการใช้ยาเพิ่มฮอร์โมน และเทคนิคแบบ Gamete Intra-fallopian Transfer (GIFT) ที่เรียกว่าการทำ ’กิฟท์’ [27] หรือเทคนิคแบบ ‘อุ้มบุญ’ (Surrogacy) อาจถูกนำมาใช้


เคล็ดลับ

  • หากคุณอยู่ในช่วงวัยทอง หรือหมดประจำเดือนโดยสมบูรณ์แล้ว หรือผ่านการผ่าตัดเอารังไข่ออก รวมถึงผ่าตัดรักษาปีกมดลูก คุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกแล้ว
  • อย่าเครียดใส่คนรักของคุณ มันจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง ค่อยๆ คิดหาทางกันไปดีกว่า
  • การใส่กางเกงใน ไม่ได้มีผลเสียต่อน้ำเชื้อหรืออสุจิ แต่การแช่น้ำร้อน น้ำวน การสวมชุดกีฬาบางประเภท การปั่นจักรยานระยะทางไกล และการวางคอมพิวเตอร์แล็ปท้อปไว้บนตัก กิจกรรมเหล่านี้ต่างหาก ที่มีผลทำให้ตัวอสุจิลดลง [28]
  • ภาวะน้ำหนักเกินของคู่รักทั้ง 2 ฝ่าย มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณทั้งคู่ควรร่วมกันลดน้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกินเฉลี่ย [29] [30]

คำเตือน

  • การพยายามตั้งครรภ์มากเกินไป โดยเฉพาะหากต้องทำอะไรเป็นเวลา อาจจะทำให้เครียดและกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรักได้
  • การเป็นพ่อคนแม่คน ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ พยายามถามใจของคุณทั้งคู่ดูก่อนว่า พร้อมในทุกๆ ด้านแล้วหรือไม่
  • ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า คุณและคนรัก ปลอดจากโรคติดต่อหรือติดเชื้อใดๆ ก่อนที่จะเลิกคุมกำเนิดกัน

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. http://humrep.oxfordjournals.org/content/22/5/1340.long
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/fertility/art-20047584?pg=2
  3. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002414.htm
  4. http://www.asrm.org/uploadedFiles/ASRM_Content/Resources/Patient_Resources/Fact_Sheets_and_Info_Booklets/smoking.pdf
  5. http://www.asrm.org/uploadedFiles/ASRM_Content/Resources/Patient_Resources/Fact_Sheets_and_Info_Booklets/smoking.pdf
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infertility/basics/prevention/con-20034770
  7. http://www.asrm.org/uploadedFiles/ASRM_Content/Resources/Patient_Resources/Fact_Sheets_and_Info_Booklets/Sexual_Dysfunction-Fact.pdf
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/female-infertility/basics/symptoms/con-20033618
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pcos/basics/symptoms/con-20028841
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infertility/basics/tests-diagnosis/con-20034770
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infertility/basics/tests-diagnosis/con-20034770
  12. http://www.naprotechnology.com/infertility.htm
  13. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/in-vitro-fertilization/basics/definition/prc-20018905
  14. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/intrauterine-insemination/basics/what-you-can-expect/prc-20018920
  15. http://www.mayoclinic.com/health/in-vitro-fertilization/MY01648/DSECTION=results
  16. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/intrauterine-insemination/basics/how-you-prepare/prc-20018920
  17. http://www.mayoclinic.com/health/intrauterine-insemination/MY00104/DSECTION=what%2Dyou%2Dcan%2Dexpect
  18. http://www.americanpregnancy.org/infertility/gift.html
  19. MayoClinic.com on low sperm count
  20. http://www.sciencedaily.com/releases/2007/12/071211233947.htm
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1924918/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,443 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม