ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ท้องผูกทีไรทำเอาเครียด บางทีก็ต้องนั่งเบ่งจนเจ็บไปหมด บทความวิกิฮาวนี้เลยจะมาแนะนำวิธีการแก้ท้องผูกแบบด่วนทันใจแบบไม่ต้องกินยา ส่วนใหญ่ที่เราท้องผูกก็เพราะขาดอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์นั่นเอง รวมถึงขาดน้ำ และขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอสม่ำเสมอ แต่บางทียารักษาโรคบางชนิดก็ทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน คุณแก้ท้องผูกได้รวดเร็วแบบไม่ต้องใช้ยา โดยปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต เท่านี้ก็กลับมาขับถ่ายสะดวกอย่างที่ควรจะเป็น แต่ถ้าท้องผูกหนักมากจนเกิดอาการเจ็บปวด ถึงขั้นเลือดไหล หรือท้องผูกเรื้อรัง ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาและการรักษาต่อไป

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

บรรเทาอาการเฉพาะหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการท้องผูก ก็คืออึแห้งและแข็งนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าดื่มน้ำเยอะๆ ก็ยิ่งทำให้ขับถ่ายง่ายสบายท้อง ยิ่งถ้าเราปรับเปลี่ยนอาหาร กินอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งต้องดื่มน้ำเยอะตามไปด้วย ไม่งั้นอาจขับถ่ายยากกว่าเดิม เพราะก้อนกากใยที่แน่นแข็ง [1]
    • ผู้ใหญ่เพศชายควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 13 แก้ว (3 ลิตร) ส่วนผู้ใหญ่เพศหญิงควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 9 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตรกว่าๆ) ขึ้นไป [2]
    • งดเครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ช่วงท้องผูก เพราะเครื่องดื่มคาเฟอีน อย่างกาแฟหรือน้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เลยทำให้ฉี่บ่อย ส่งผลให้ท้องผูกหนักกว่าเดิม [3]
    • แนะนำเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีประโยชน์ อย่างน้ำผลไม้ ซุปใส น้ำแกง (ไม่ใส่กะทิ) และน้ำสมุนไพร/ชาสมุนไพร ย้ำว่าให้หลีกเลี่ยงชาปกติที่มีคาเฟอีน น้ำลูกแพร์และน้ำแอปเปิ้ลก็เหมาะมาก เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ตามธรรมชาติ [4]
  2. ไฟเบอร์หรือกากใยจะทำให้อึดูดซับน้ำดีขึ้น ทำให้ขับถ่ายคล่อง ผู้ใหญ่เพศหญิงควรได้รับไฟเบอร์ประมาณ 20 - 25 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่เพศชาย ควรได้รับประมาณ 30 - 40 กรัมต่อวัน จะเลือกกินอาหารที่มีกากใยสูง หรือในรูปของอาหารเสริมก็ได้ แต่ระวังว่าอยู่ๆ ก็เพิ่มไฟเบอร์เยอะๆ อาจทำให้ท้องอืด เกิดแก๊สในกระเพาะได้ ให้ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนอาหารไปจะดีกว่า [5] เช่น ในแต่ละมื้อ ให้กินอาหารไฟเบอร์สูงอย่าง [6]
    • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่กับผลไม้อื่นๆ โดยเฉพาะพวกที่กินได้ทั้งเปลือก เช่น แอปเปิ้ลและองุ่น
    • ผักใบเขียวเข้ม อย่างคอลลาร์ด มัสตาร์ด และบีท รวมถึงสวิสชาร์ดด้วย
    • ผักอื่นๆ เช่น บรอคโคลี ปวยเล้ง แครอท กะหล่ำดอก ถั่วงอกบรัซเซลสเปราท์ อาร์ติโชก และถั่วแขก
    • ถั่วฝักและถั่วชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วลูกไก่ ถั่วปินโต ถั่วลิมา ถั่วขาว ถั่วขาวเมล็ดเล็ก รวมถึงถั่วเลนทิล และถั่วตาดำด้วย
    • ธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพดคั่ว ข้าวโอ๊ตบดหยาบ (steel-cut oats)และข้าวบาร์เล่ย์ รวมถึงขนมปังโฮลเกรน และซีเรียลไฟเบอร์สูงด้วย
    • เมล็ดพืชและถั่วเปลือกแข็ง อย่างเมล็ดฟักทอง งา เมล็ดทานตะวัน หรือเมล็ดลินิน (flax seeds) รวมถึงอัลมอนด์ วอลนัท และพีแคน

    คำเตือน: ไฟเบอร์ในรูปของอาหารเสริม อาจทำให้ร่างกายดูดซึมยารักษาโรคได้น้อยลง แนะนำให้กินยาอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมง ก่อนกินอาหารเสริม [7]

  3. ลูกพรุน หรือจริงๆ แล้วก็คือลูกพลัมแห้ง เป็นของกินเล่นหวานอร่อยที่มีไฟเบอร์สูงมาก แถมมีซอร์บิทอล (sorbitol) น้ำตาลตามธรรมชาติ ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ โดย sorbitol นั้นมีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ถ่ายคล่อง ลดความเสี่ยงเกิดอาการท้องผูก [8]
    • ลูกพรุน 1 หน่วยบริโภค ก็คือลูกพรุน 3 ผล หรือประมาณ 30 กรัม
    • ถ้ารับไม่ค่อยได้กับลูกพรุนที่ดูเหี่ยวๆ แถมรสชาติแสนจะมีเอกลักษณ์ ให้เปลี่ยนไปดื่มน้ำลูกพรุนแก้วเล็กแทน แต่น้ำลูกพรุนก็จะไฟเบอร์น้อยกว่าลูกพรุนเป็นผลแน่นอน
    • พอกินลูกพรุน 1 หน่วยบริโภคแล้ว ก็ปล่อยให้ไหลไปตามทางเดินอาหารจนขับถ่าย แล้วค่อยกินเพิ่ม เพราะถ้ากินเยอะเกินไปในคราวเดียว จะท้องเสียแทน แต่ถ้ากินเป็น 2 - 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่าย ก็กินเพิ่มอีก 1 หน่วยบริโภคได้เลย
  4. ชีสหรือเนยแข็ง และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ จะมีแลคโตส (lactose) ทำให้บางคนกินแล้วเกิดแก๊สในกระเพาะ ท้องอืด และท้องผูก ถ้ากินอาหารประเภทนี้แล้วทำคุณท้องผูก แนะนำให้งดกินชีส นม และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ไปก่อน จนกว่าจะอาการดีขึ้น แต่ถ้าปกติกินได้ ไม่มีปัญหาอะไร ก็เอาไว้หายท้องผูกแล้วค่อยกลับมากินทีละน้อย [9]
    • ผลิตภัณฑ์นมที่ว่า ยกเว้นอย่างเดียวที่กินได้คือโยเกิร์ต โดยเฉพาะโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์แบบมีชีวิต (live probiotics) เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกส์ อย่าง Bifidobacterium longum หรือ Bifidobacterium animalis ช่วยให้ขับถ่ายบ่อยขึ้น ไหลลื่น ไม่เกิดความเจ็บปวด [10]
  5. กินสารเพิ่มปริมาณ (bulking agents) เพื่อให้ขับถ่ายง่ายขึ้น. มีสมุนไพรฤทธิ์อ่อนหลายชนิด ที่ช่วยเพิ่มปริมาณและทำให้อึนิ่มขึ้น บรรเทาอาการท้องผูกได้ จะใช้อาหารเสริมในรูปของแคปซูล เม็ด หรือผงก็ได้ หาซื้อได้ตามร้านขายยาและอาหารเพื่อสุขภาพ บางทีก็มาในรูปของชาให้ชงดื่ม ให้กินสารเพิ่มปริมาณพวกนี้ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำเยอะๆ แต่ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมใหม่ๆ โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ หรือให้นมอยู่ [11]
    • เทียนเกล็ดหอย (Psyllium) มีขายหลายรูปแบบด้วยกัน รวมถึงแบบผงและยาเม็ดเรียว (caplet) นอกจากนี้เทียนเกล็ดหอยยังเป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอย่าง Metamucil ด้วย ส่วนจะกินเท่าไหร่ ก็แล้วแต่คำแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ ต้องอ่านฉลากให้ละเอียด
    • ลองผสมเมล็ดลินินบด (flaxseed) 1 ช้อนโต๊ะ (7 กรัม) ในซีเรียลที่กินตอนเช้าๆ ดู เป็นวิธีเพิ่มไฟเบอร์และโอเมก้า-3 ในอาหารประจำวันง่ายๆ หรือจะผสมกับขนมอบอย่างมัฟฟินรำข้าว หรือจะโรยหน้าโยเกิร์ตเป็นท้อปปิ้งก็ได้
    • ลูกซัด (Fenugreek) เป็นพืชตระกูลถั่วที่อุดมไฟเบอร์ ถ้าเป็นอาหารเสริมมักอยู่ในรูปของแคปซูล แนะนำให้กินวันละ 1 เม็ด จะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ขับถ่ายลื่นไหลขึ้น แต่ยังไม่มีงานวิจัยมารับรองว่าลูกซัดปลอดภัยพอจะใช้ในหญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงเด็กเล็กหรือเปล่า เพราะฉะนั้นให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริม [12]
  6. น้ำมันละหุ่งอาจจะรสไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็น่าจะดีพอควร เพราะเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ใช้แก้ท้องผูกกันมานาน โดยน้ำมันละหุ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จนสุดท้ายก็ขับถ่ายออกมา รวมถึงช่วยหล่อลื่นลำไส้ให้อึง่ายถ่ายคล่องยิ่งขึ้น [13]
    • ปริมาณน้ำมันละหุ่งที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ คือ 15 - 60 มล. [14] แต่ถ้าเพิ่งเคยใช้ ยังไม่ชิน จะลดปริมาณให้น้อยลงก็ได้ ปกติกินแล้วจะเห็นผลใน 2 - 3 ชั่วโมง แต่ถึงจะเห็นผลช้ากว่านั้น ก็ขอให้กินแค่โดสเดียวพอ
    • น้ำมันละหุ่งโดยทั่วไปก็ใช้ได้ปลอดภัย แต่ต้องในปริมาณที่แนะนำเท่านั้น ต้องหาหมอถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรือลำไส้อุดตัน และโดยเฉพาะถ้าตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ [15]
    • ถ้ากินเยอะเกินไป น้ำมันละหุ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ แต่เป็นเคสที่นานๆ เกิดขึ้นที เลยย้ำว่าต้องใช้ในปริมาณที่แนะนำเท่านั้น ผลข้างเคียงที่ว่าก็เช่น ปวดเกร็งในช่องท้อง วิงเวียน เป็นลม คลื่นไส้ ท้องเสีย ผื่นแพ้ผิวหนัง หายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก และลำคอตีบตัน ถ้าเผลอกินน้ำมันละหุ่งเกินขนาด ให้รีบเรียกรถพยาบาลหรือติดต่อศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา

    คำเตือน: น้ำมันปลาทำให้ท้องผูกได้ ถ้าคุณหมอไม่ได้จ่ายให้ หรือแนะนำให้ใช้ ไม่ควรกินน้ำมันปลาแบบอาหารเสริมเวลาท้องผูก [16]

  7. กินอาหารเสริมแมกนีเซียม หรือยาระบายสูตรแมกนีเซียม. แมกนีเซียมช่วยเพิ่มน้ำในลำไส้ ทำให้อึนิ่ม ถ่ายคล่อง แต่ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมแมกนีเซียม เพราะจะไปต้านกับยารักษาโรค อย่างยาปฏิชีวนะ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาความดันได้ นอกจากแหล่งแมกนีเซียมในอาหาร อย่างบรอคโคลีและพืชตระกูลถั่วแล้ว ยังมีอีกหลายแหล่งที่อุดมแมกนีเซียม เช่น [17]
    • ร่างกายจะได้รับแมกนีเซียม ถ้าเติมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt หรือ magnesium sulfate) 1 ช้อนชา (10 - 30 กรัม) ลงในน้ำ 6 - 8 ออนซ์ (180 - 240 มล.) แน่นอนว่ารสชาติเอาเรื่องอยู่ แต่ก็ช่วยแก้ท้องผูกได้ในไม่เกิน 30 นาที [18]
    • Magnesium citrate มีขายทั้งในรูปของยาเม็ดและยาน้ำแขวนตะกอน ให้กินในปริมาณที่แนะนำไว้ข้างฉลาก หรือตามที่เภสัชกรหรือคุณหมอสั่งเท่านั้น โดยดื่มน้ำ 1 แก้วเต็มๆ หลังกินยาแต่ละครั้ง
    • Magnesium hydroxide หรือ milk of magnesia ก็ช่วยแก้ท้องผูกได้ดี
  8. น้ำมันแร่เหลวจะทำให้มีชั้นฟิล์มมันๆ กันน้ำ เคลือบก้อนอึไว้ ทำให้กักเก็บน้ำไว้ข้างในได้มากขึ้น ลื่นไหลไปตามลำไส้ แค่ไม่กี่ชั่วโมงก็ขับถ่ายสะดวก ปกติคุณหาซื้อน้ำมันแร่ได้ตามร้านขายยา โดยให้ผสมกับน้ำผลไม้หรือน้ำเย็น 8 ออนซ์ (240 มล.) จากนั้นดื่มเข้าไป ถ้าดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้แก้วที่ 2 ตามด้วยยิ่งดี [19]
    • ห้ามกินน้ำมันแร่ก่อนปรึกษาคุณหมอ ถ้าปกติมีโรคประจำตัว เช่น แพ้ยา/อาหาร ตั้งครรภ์อยู่ เคยหัวใจล้มเหลว เป็นไส้ติ่งอักเสบ มีปัญหาเรื่องการกลืน ปวดท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียน ถ่ายเป็นเลือด หรือไตมีปัญหา [20]
    • ห้ามใช้น้ำมันแร่กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ และไม่ควรใช้น้ำมันแร่เป็นประจำ เพราะจะทำให้ร่างกายไม่กระตุ้นการขับถ่ายตามธรรมชาติ ต้องพึ่งพาสรรพคุณยาระบายของน้ำมันแร่อยู่ตลอด นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค ไม่เพียงพอด้วย [21]
    • ห้ามกินน้ำมันแร่เกินปริมาณที่แนะนำ เพราะถ้ามากไปจะเกิดผลข้างเคียงอันตรายได้ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าเผลอกินเกินขนาด ให้รีบไปหาหมอ [22]
  9. ต้องให้เวลายาระบายได้ออกฤทธิ์ ซึ่งบางทีก็อาจจะหลายชั่วโมงหรือนานกว่านั้น เลยสำคัญว่าห้ามกินยา สมุนไพร และอาหารเสริมที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายผสมกัน เพราะถ้าทุกอย่างออกฤทธิ์หมด จะเกิดอาการท้องเสียได้ ถ้าท้องเสียหนักเข้าก็เกิดภาวะขาดน้ำ [23]
    • แต่กินยาระบายได้ ถ้าเสริมกับการปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น อยู่ในช่วงงดผลิตภัณฑ์นม หรือเพิ่มไฟเบอร์
    • ให้ดื่มน้ำเยอะๆ ถ้ากินยาระบาย ป้องกันภาวะขาดน้ำ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพิ่มโยเกิร์ตหรือของหมักของดองในมื้ออาหารประจำวัน. ลองกินโยเกิร์ตวันละถ้วย ดูว่าช่วยเรื่องการขับถ่ายไหม โยเกิร์ตมี live bacterial cultures (แบคทีเรียที่มีชีวิต) ที่เรียกว่าโพรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งจะไปปรับสภาพระบบย่อยอาหารให้เหมาะสมแข็งแรง [24]
    • เขาว่าแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะไปปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์ microflora ในลำไส้ของเรา ช่วยร่นระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหารจนขับถ่ายออกมา
    • อ่านฉลากก่อนว่าโยเกิร์ตที่จะซื้อนั้นมี “active cultures” ของแบคทีเรียที่มีชีวิต ถ้าไม่มี live cultures กินโยเกิร์ตไปก็ไม่เห็นผล
    • อาหารหมักดองอื่นๆ ก็เช่น kombucha (ชาหมักด้วยน้ำตาล) กิมจิ คีเฟอร์ (นมหมัก) และซาวเออร์เคราท์ (กะหล่ำปลีดอง) ก็มีแบคทีเรียดีที่ช่วยเรื่องการย่อยอาหารและแก้ท้องผูก [25]
  2. อาหารแปรรูปและฟาสต์ฟู้ด ถ้ากินเยอะๆ ก็ทำให้ท้องผูกเรื้อรังได้ เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง โดยเฉพาะคนที่ปกติก็ขับถ่ายไม่สะดวกอยู่แล้ว ที่เป็นแบบนี้เพราะอาหารประเภทนี้มักมีไขมันสูงแต่ไฟเบอร์ต่ำ แถมไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณท้องผูกก็เช่น [26]
    • ธัญพืชขัดสีหรือธัญพืชเติมแต่ง ขนมปังขาว ขนมอบ พาสต้าต่างๆ และซีเรียล มักใช้แป้งที่แทบไม่เหลือไฟเบอร์และคุณค่าทางอาหาร ให้เลือกธัญพืชเต็มเมล็ดแทน
    • ไส้กรอก เนื้อแดง และเนื้อกระป๋อง มักอุดมไปด้วยไขมันและเกลือ ให้เลือกเนื้อไขมันต่ำ อย่างปลา ไก่ และไก่งวงดีกว่า
    • มันฝรั่งทอด เฟรนช์ฟรายส์ และอื่นๆ ที่ใกล้เคียง นอกจากไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังแทบไม่มีไฟเบอร์ด้วย เลือกมันเทศอบหรือย่างแทนดีกว่า ไม่ก็ข้าวโพดที่คั่วด้วยลมร้อน
  3. ใครที่วันๆ ไม่ขยับตัว ก็ทำให้ลำไส้อ่อนแอได้ ขับถ่ายไม่สะดวกเป็นประจำ แค่เริ่มออกกำลังกายวันละ 10 - 15 นาที ก็ดีต่อร่างกายแล้ว [27]
    • ออกไปเดิน ว่ายน้ำ จ็อกกิ้ง และโยคะ เพื่อให้ร่างกายได้ขยับ ยืดเส้นยืดสาย ถึงจะไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนก็ทำได้
  4. ถึงจะอยู่นอกบ้าน แต่ก็อย่าพยายามกลั้นอึเมื่อถึงเวลาต้องเข้าห้องน้ำ ถ้าปวดท้องขึ้นมาแล้วรอไปก่อน พอนั่งชักโครกจริงๆ ตอนหลัง ระวังจะอึไม่ออก [28]
    • คนเราจะมี "ความถี่" ในการขับถ่ายของตัวเอง เช่น คนส่วนใหญ่จะอึวันละ 1 - 2 ครั้ง ในขณะที่บางคนก็แค่อาทิตย์ละ 3 ครั้ง ขอแค่เป็นกิจวัตรประจำตัวที่ทำให้ร่างกายคุณสุขภาพดี รู้สึกดี ก็พอแล้ว ไม่ต้องกังวลเรื่องจำนวนครั้งที่ขับถ่าย [29]
  5. อย่าใช้ยาระบายแบบกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้บ่อยเกินอาทิตย์ละ 2 - 3 ครั้ง. การใช้ยาระบายเยอะเกินไป โดยเฉพาะยาระบายกระตุ้น ร่างกายจะเสพติด จนไม่ยอมขับถ่ายเองตามธรรมชาติ ทีนี้ก็อาจจะท้องผูกเรื่อยๆ ที่สำคัญคืออย่าใช้ทุกวัน ถ้าคุณท้องผูกเรื้อรัง ลองรักษาจริงๆ จังๆ กับคุณหมอจะดีกว่า [30]
    • ถ้าใช้ยาระบายไปนานๆ จะทำให้ระดับอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายไม่สมดุลด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เมื่อไหร่ควรหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเจ็บปวดรุนแรงหรือเลือดออกปนมาตอนขับถ่าย ให้ไปโรงพยาบาลทันที. ถ้าปวดท้องรุนแรง ปวดเกร็งในช่องท้อง หรืออึออกมามีเลือดปน หรือเป็นสีเข้มดำหนืดๆ ให้ไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกโรคหรืออาการร้ายแรง อย่างลำไส้ทะลุ พอคุณหมอรู้สาเหตุของอาการแล้ว ก็จะรักษาได้ตรงจุด ถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ ให้รีบหาหมอ หรือไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเลย [31]
    • เลือดออกทางทวารหนัก
    • ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดปน
    • ปวดท้องไม่หาย
    • ท้องอืด
    • ผายลมไม่ออก
    • อาเจียน
    • ปวดหลังส่วนล่าง
    • มีไข้
  2. เพราะอาจต้องใช้ยาระบายที่แรงกว่า ซึ่งเป็นยาที่คุณหมอสั่ง นอกจากนี้เพื่อให้คุณหมอตีวง หาโรคอันเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกด้วย [32]
    • อยู่ในมือหมอแล้วปลอดภัยกว่าซื้อยากินเองแน่นอน
    • ยาระบายจะเห็นผลในประมาณ 2 วัน แต่ก็ห้ามกินต่อเนื่องนานเกิน 1 อาทิตย์
  3. ถ้าดูแลตัวเองแล้วอาการท้องผูกเรื้อรังไม่ยอมหาย ต้องไปหาหมอ. ถ้าท้องผูกอาทิตย์ละหลายวัน ต่อเนื่องกัน 3 อาทิตย์ขึ้นไป ถือว่าเป็นอาการท้องผูกเรื้อรัง คุณหมอจะช่วยหาสาเหตุว่าทำไมถึงท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำการรักษาเพิ่มเติม เช่น จ่ายยาระบาย ให้ถ่ายคล่องขึ้น [33]
    • เล่าให้คุณหมอฟังว่าปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตยังไงบ้าง คุณหมอจะได้แนะนำบางอย่างแตกต่างออกไป ที่น่าจะช่วยแก้ท้องผูกได้

    เคล็ดลับ: ในบางเคส อาการท้องผูกเรื้อรังก็เกิดจากยาที่คุณใช้ เช่น ยาต้านเศร้า ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ ยาความดันบางตัว และยาแก้แพ้บางตัว ก็ทำให้ท้องผูกได้ ให้ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น ถ้าคิดว่าอาการท้องผูกเกิดจากยา [34]

  4. ปรึกษาคุณหมอ ถ้าในครอบครัวมีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ตรง. ปกติแค่ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตแล้ว ก็น่าจะแก้ท้องผูกได้ในไม่นาน แต่ถึงไม่ได้มีปัญหาสุขภาพร้ายแรงอะไร ก็ควรเล่าประวัติสุขภาพให้คุณหมอฟัง จะได้วินิจฉัยได้ว่ามีสัญญาณบอกโรคร้ายแรงที่ต้องรักษาแต่เนิ่นๆ หรือเปล่า [35]
    • คุณหมออาจจะยังแนะนำให้คุณดูแลตัวเองต่อไปตามเดิม เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก แต่ถ้ามีอาการอะไรผิดแปลกออกไป ก็แนะนำให้มาหาหมอจะปลอดภัยที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลานั่งบนชักโครก ลองวางเท้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ แล้วชันเข่าดู จะช่วยให้ขับถ่ายสะดวกยิ่งขึ้น [36]
  • กินยาระบายแล้วคุณไม่มีทางกะเกณฑ์ได้ว่าจะออกฤทธิ์เมื่อไหร่ และขับถ่ายนานแค่ไหน เพราะฉะนั้นให้กินยาระบายตอนไม่มีธุระอะไร และห้องน้ำกำลังว่าง เข้าได้ทันที
โฆษณา

คำเตือน

  • ขอให้ใช้ยาหรือสมุนไพร ตามปริมาณที่แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • ปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนรักษาด้วยสมุนไพรหรือวิธีทางเลือก โดยเฉพาะถ้ามีโรคประจำตัว เพราะสมุนไพรหรืออาหารบางอย่าง จะไปมีผลกับยารักษาโรคและอาการของโรคประจำตัวได้
  • ห้ามใช้ยาระบายมากกว่า 1 ชนิดพร้อมกัน [37]
  • ถ้ากำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นม หรือคนที่มีปัญหาท้องผูกคือเด็กและเด็กแบเบาะ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนลองใช้วิธีการใดก็ตามในบทความวิกิฮาวนี้ [38]
  • อย่ากินยาระบาย ถ้าปวดท้องรุนแรง อาเจียน หรือคลื่นไส้อยู่ [39]
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3198021/
  2. https://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/Constipation/
  3. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1658077X15301065
  4. http://pennstatehershey.adam.com/content.aspx?productid=112&pid=33&gid=000041
  5. https://reference.medscape.com/drug/fleet-castor-oil-castor-oil-342010
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002768.htm
  7. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/omega-3-fatty-acids-fish-oil-alpha-linolenic-acid/safety/hrb-20059372
  8. http://pennstatehershey.adam.com/content.aspx?productid=112&pid=33&gid=000041
  9. https://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/fda/fdaDrugXsl.cfm?setid=8d0b341f-81b4-49a0-a712-1e0c79f778fc&type=display
  10. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/description/drg-20070683
  11. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/laxative-oral-route/precautions/drg-20070683
  12. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/constipation/treatment.html
  13. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002684.htm
  14. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/dont-bomb-the-bowel-with-laxatives
  15. http://www.health.harvard.edu/blog/probiotics-may-ease-constipation-201408217377
  16. https://www.health.harvard.edu/blog/fermented-foods-for-better-gut-health-2018051613841
  17. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000120.htm
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/basics/treatment/con-20032773
  19. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/constipation-causes-and-prevention-tips
  20. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17791-frequent-bowel-movements?view=print
  21. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/by_the_way_doctor_is_it_okay_to_take_a_stool_softener_long-term
  22. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/gastrointestinal-bleeding/symptoms-causes
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000120.htm
  24. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/constipation/symptoms-causes
  25. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/what-to-do-when-medication-makes-you-constipated
  26. https://www.niddk.nih.gov/health-information/digestive-diseases/constipation/symptoms-causes
  27. http://www.nhs.uk/Conditions/Constipation/Pages/Treatment.aspx
  28. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/dont-bomb-the-bowel-with-laxatives
  29. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/dont-bomb-the-bowel-with-laxatives
  30. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000120.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,080 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา