PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ปวดท้องประจำเดือนเป็นภาวะที่กว่า 50-90% ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ต้องเคยประสบพบเจอ อาการปวดขณะมีประจำเดือนเกิดจากการเกิดตะคริวของกล้ามเนื้อบริเวณผนังมดลูก การหดเกร็งอย่างรุนแรงและคงค้างอยู่นานของกล้ามเนื้อผนังมดลูกทำให้เกิดตะคริวในกล้ามเนื้อ โดยตะคริวนี้จะเกิดในช่วง 1-2 วันแรกก่อนการเริ่มมีประจำเดือน และลดลงใน 1-2 วันหลังประจำเดือนเริ่มมา เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนล่างหรืออุ้งเชิงกรานปวดแปล๊บๆ เป็นช่วงๆ และรุนแรงแตกต่างกันไป แต่ในบางครั้งอาจจะปวดคงค้างตลอด ปวดตื้อๆ และปวดลามไปถึงหลัง ต้นขา และหน้าท้องส่วนบนได้ [1] [2] หากรู้สึกปวดปานกลางถึงมาก คุณสามาถลดอาการปวดได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ต่างๆ วิธีบำบัดโดยการแพทย์ทางเลือกต่างๆ วิธีทางธรรมชาติ อาหาร และทำกิจกรรมทางกาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยา NSAID อย่างเช่น Ibuprofen หรือ Naproxen นับเป็นยาตัวแรกๆ ที่ใช้เมื่อปวดประจำเดือน โดยยา NSAID นี้จะช่วยยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อที่จะทำให้เกิดตะคริว โดยตัว Ibuprofen จะเป็นตัวที่นิยมมากที่สุดเมื่อเทียบกันสองตัว สามารถรับประทาน Ibuprofen ขนาด 400-600 มิลลิกรัม ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือ 800 มิลลิกรัม ทุกๆ 8 ชั่วโมง ซึ่งปริมาณสูงสุดที่รับได้ต่อวันคือ 2400 มิลลิกรัม
    • ควรเริ่มรับประทานตั้งแต่เริ่มีอาการปวดและรับประทานต่อเนื่อง 2-3 วันได้ตามต้องการ ขึ้นกับอาการที่เป็น หากรอให้ปวดก่อนแล้วค่อยรับประทานทีหลัง โดยเฉพาะหากเคยปวดรุนแรงมาในรอบก่อนๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะปวดรุนแรง ซึ่งจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
    • ลองรับประทาน Ibuprofen ยี่ห้อ Advil และ Motrin และ Naproxen ยี่ห้อ Aleve [3]
  2. หากวิธีทางธรรมชาติ อาหารและโภชนาการ ออกกำลังกาย และยาแก้ปวด NSAID ไม่ช่วยลดอาการปวดในระดับที่พึงพอใจ การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายชนิดที่ได้ผลดีในเรื่องของลดปริมาณประจำเดือนและลดอาการปวด
    • วิธีนี้จะได้ผลอย่างไรขึ้นอยู่กับพื้นฐานด้านสุขภาพโดยทั่วไป กิจกรรมทางเพศ ความชอบส่วนบุคคลและงบค่าใช้จ่ายที่พึงพอใจ ลองนำวิธีที่ต้องการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือแพทย์ประจำตัวของคุณ [4]
  3. ยาเม็ดคุมกำเนิดคือฮอร์โมนคุมกำเนิดที่รับเข้าร่างกายผ่านทางปากที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน เนื่องจากสามารถควบคุมได้ว่าจะรับประทานเมื่อไรบ้าง ทำให้หยุดได้ง่าย จึงใช้กันอย่างแพร่หลาย มีจำหน่ายทั่วไป และราคาค่อนข้างถูก แต่อย่างไรก็ตามอาจสร้างความยุ่งยากให้ผู้ใช้เนื่องจากต้องรับประทานทุกวันในเวลาเดียวกันทุกวัน [5]
  4. แผ่นนี้จะทำงานคล้ายยาเม็ด หากต้องการแปะแผ่นจะต้องแปะทุกๆ สัปดาห์ และสามารถหยุดได้ง่ายเหมือนยาเม็ดคุมกำเนิด
    • แผ่นนี้อาจหลุดได้ง่าย สามารถมองเห็นและแปะได้ง่ายในบริเวณที่ต้องการ และต้องซื้อใช้ในทุกๆ เดือน [6]
  5. หากไม่ต้องการรับประทานยาเม็ดหรือแปะแผ่น อาจลองใช้ห่วงคุมกำเนิด รูปแบบนี้เป็นฮอร์โมนคุมกำเนิดแบบที่ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกเดือนและสามารถหยุดใช้ได้ง่ายเมื่อไม่ต้องการใช้อีกต่อไป และยังเป็นวิธีที่ส่วนตัวกว่าการแปะแผ่นหรือรับประทานยาเม็ดเพราะไม่ต้องรับประทานยาหรือแปะแผ่นที่คนอื่นสามารถเห็นได้
    • สามารถหลุดออกมาได้ขณะมีเพศสัมพันธ์และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกเดือน [7]
  6. หากไม่ชอบวิธีอื่นๆ อาจใช้การฉีดฮอร์โมน วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกเพราะจะฉีดเพียงทุกๆ 3 เดือน แต่จะต้องฉีดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีผลข้างเคียงมากกว่าวิธีอื่นๆ อาจทำให้ประจำเดือนหยุดไปและอาจมีบุตรยากนานถึง 1 ปี หลังหยุดฉีด
    • วิธีนี้อาจทำให้น้ำหนักขึ้น [8]
  7. วิธีฝังคือเป็นวิธีที่สามารถคุมอาการปวดประจำเดือนได้อย่างถาวร เพียงฝังทุกๆ 3-5 ปี แต่อย่างไรก็ตามในช่วงชีวิตของคุณ อาจกลับมาเป็นอีกได้ง่าย หากนำที่ฝังออกไป
    • บริเวณที่ฝังเข้าไปอาจจะรู้สึกค่อนข้างเจ็บ แต่ก็ทำเพียงไม่กี่ครั้งในหลายๆ ปี [9] การฝังฮอร์โมนอาจทำให้เลือดออกได้ง่าย
  8. หากวิธีฝังไม่ค่อยได้ผล อาจลองวิธีที่ได้ผลคงค้างนานกว่าด้วยการใช้ห่วงคุมกำเนิด โดยอุปกรณ์นี้จะได้ผลได้นานถึง 3-5 ปีโดยมีผลข้างเคียงน้อยมาก
    • อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานภายใน 30 วันหลังสอดห่วงคุมกำเนิดหากติดโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังสามารถกลับมาเกิดการปฏิสนธิได้ทันทีหากนำห่วงคุมกำเนิดออก
  9. หากอาการปวดรุนแรงกว่าปกติ รู้สึกแตกต่างจากครั้งอื่นๆ รวมถึงระยะเวลาหรือบริเวณที่ปวดเปลี่ยนแปลงไป ควรไปพบแพทย์ และควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดท้องนานกว่า 2-3 วัน เพราะอาจเกิดจากภาวะปวดประจำเดือนจากความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ซึ่งรุนแรงกว่าการปวดประจำเดือนธรรมดาและมักเกิดจากโรคแทรกซ้อนหรือความผิดปกติที่ต้องตรวจเพิ่มเติม [10]
    • มีความผิดปกติบางอย่างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนรองได้ ความผิดปกติเหล่านี้รวมถึงเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, ปากมดลูกตีบและเนื้องอกที่ผนังมดลูก [11]
    • ถ้าแพทย์สงสัยว่าจะมีอาการเหล่านี้ ก็จะตรวจสอบเพื่อดูว่าน่าจะเข้าข่ายอาการใดมากที่สุด แพทย์จะทำการตรวจอุ้งเชิงกรานและตรวจสอบความผิดปกติหรือการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์ของคุณ อาจอัลตราซาวน์ ทำสแกน CT scan หรือ MRI บางกรณีก็อาจทำการผ่าตัดส่องกล้อง (laparoscopy) ซึ่งเป็นขั้นตอนการรักษาผู้ป่วย ที่กล้องจะแทรกเข้าไปเพื่อตรวจสอบช่องท้องและอวัยวะสืบพันธุ์ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้วิธีการรักษาแบบทางเลือกและวิธีการทางธรรมชาติ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายวิธีการรักษาทางธรรมชาติที่มีการศึกษาและเผยแพร่ออกมาว่าช่วยลดอาการปวดประจำเดือน หนึ่งในวิธีที่แพร่หลายและสะดวกที่สุดคือการใช้ความร้อน ความร้อนจะให้ผลดีเทียบเท่าหรือดีกว่ายาแก้ปวดอย่าง Ibuprofen หรือ พาราเซตามอล [13] โดยความร้อนจะช่วยผ่อนคลายการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดตะคริว ควรใช้ความร้อนวางประคบไปที่ท้องน้อยหรือหลังส่วนล่างด้วยก็ได้ทั้งในรูปแบบของแผ่นประคบร้อนหรือแผ่นแปะร้อน ซึ่งแผ่นแปะดังกล่าวจะแนบติดไปกับผิวหนัง ส่วนแผ่นประคบที่ไม่มีตัวยาจะให้ความร้อนได้นานถึง 12 ชั่วโมง สามารถวางลงบนผิวหนังโดยตรงหรือผ่านเสื้อผ้าได้ แต่ต้องวิธีการใช้ให้ละเอียดก่อน
    • แผ่นแปะร้อนนั้นมีรูปร่าง ขนาด และการใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งสามารถใช้แผ่นดังกล่าวมาแปะเพื่อลดปวดประจำเดือนได้ ในบางยี่ห้อนั้นมีแผ่นแปะเฉพาะสำหรับอาการปวดประจำเดือน เช่น แผ่นแปะร้อนรัดรอบเอวยี่ห้อ ThermaCare
    • แผ่นแปะจะสะดวกกว่าแผ่นประคบเนื่องจากสามารถพกพาได้ง่าย และแปะติดตัวไปไหนมาไหนได้ตลอดวัน
    • หากไม่มีแผ่นประคบร้อนหรือแผ่นแปะร้อน อาจใช้การลงไปแช่ในอ่างน้ำอุ่นหรืออาบน้ำอุ่นก็สามารถช่วยผ่อนคลายและลดปวดประจำเดือนได้
  2. เป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถาวร โดยเฉพาะหากปวดมากอยู่ตลอดเวลา วิธีดังกล่าวได้แก่ วิธีฝึกความผ่อนคลาย ซึ่งใช้วิธีการทำซ้ำๆ เช่น หายใจลึกๆ ท่องบทสวดมนต์ หรือพูดตาม ร้องเพลงซ้ำๆ รวมกับการทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่วอกแวก และมองโลกในแง่ดี ทั้งหมดนี้จะชาวยให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายความปวดไปได้
    • อาจใช้การจินตนาการ โดยจินตนาการในเรื่องที่เป็นแง่บวกและควบคุมอารมณ์รวมถึงอย่าไปหมกมุ่นกับอาการปวดที่เป็นอยู่
    • สะกดจิตบำบัด เป็นวิธีที่ใช้การสะกดจิตเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดและอาการปวด
    • อาการปวดดังกล่าวจะเกิดจากกล้ามเนื้อเดียวกันกับตอนคลอดบุตร ผู้หญิงบางคนพยายามที่จะใช้เทคนิคการออกกำลังกายแบบลามาซเพื่อลดอาการปวดประจำเดือน โดยใช้การหายใจเป็นจังหวะการออกกำลังกายแบบลามาซเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือให้อาการปวดลดน้อยลง
    • หรือคุณอาจจะใช้วิธีควบคุมความสมดุลของร่างกาย ซึ่งวิธีนี้จะต้องเรียนรู้ถึงการควบคุมค่าสัญญาณชีพต่างๆ ของร่างกาย อย่างเช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และอุณหภูมิกายผ่านวิธีการสร้างความผ่อนคลายเพื่อฝึกให้ร่างกายสามารถควบคุมอาการต่างๆ ได้ [14] [15] [16]
  3. การเบี่ยงเบนความสนใจเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนับเป็นตัวกำจัดอาการปวดได้ดี หากคุณมีอาการปวดมาก ให้ทำอะไรกได้ที่ดึงดูดความสนใจคุณได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น พุดคุยกับเพื่อนซี้ที่รู้ใจ อ่านหนังสือ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดูหนัง ดูรายการโทรทัศน์หรือใช้เวลาไปกับการเล่นเฟสบุค
    • เลือกกิจกรรมที่มั่นใจว่าจะดึงความสนใจออกจากอาการปวดประจำเดือนได้และโน้มน้าวให้คุณหันไปสนใจสิ่งอื่นๆ ได้
  4. การฝังเข็มเป็นเทคนิคที่ใช้ลดปวดมาเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ตามเทคนิคจะใช้เข็มฝังเข็มฝังลงไปที่ผิวหนังในจุดเฉพาะ ตัวเข็มจะไม่ทำให้ปวดในคนส่วนใหญ่ และในสุภาพสตรีจำนวนหนึ่งได้ค้นพบว่าเทคนิคนี้ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
    • แม้จะมีการพูดกันปากต่อปาก แต่การวิจัยก็ยังไม่มีข้อสรุปสำหรับประเด็นนี้ [17]
  5. บางครั้งการนวดหน้าท้องก็จะช่วยให้มีแรงกดเบาๆ ลงบนบริเวณที่ปวด นอนวางเท้าให้สูงเมื่ออยู่ในท่านอนเอนหลัง นวดเบาๆ บนหลังส่วนล่างและหน้าท้อง [18]
    • องมั่นใจว่าไม่กดแรงจนเกินไป เพื่อไม่ให้ยิ่งปวดเพิ่มขึ้นแทนที่จะบรรเทาอาการลง วิธีนี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

อาหารและโภชนาการ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีงานวิจัยเผยแพร่ไว้ว่าอาหารเสริมและวิตามินนั้นสามารถลดอาการปวดประจำเดือนได้หากรับประทานเป็นประจำทุกวัน กลไกที่ให้ผลดังกล่าวยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด แต่อาหารเสริมหลายชนิดก็สามารถลดอาการปวดประจำเดือนได้ โดยรับประทาน วิตามิน E 500 ยูนิต, วิตามิน B1 100 มิลลิกรัม, วิตามิน B6 200 มิลลิกรัม และแพทย์ก็แนะนำให้รับประทานวิตามิน D3 ทุกวัน
    • การตรวจเลือดสามารถประเมินว่าคุณได้รับวิตามินจากอาหารเพียงพอหรือไม่ เพื่อนำมากำหนดปริมาณสารอาหารที่ต้องได้รับเพิ่มเติม
    • สามารถรับประทานอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาได้ [19]
  2. มีงานวิจัยหนึ่งกล่าวไว้ว่าให้รับประทานอาหารไขมันต่ำและรับประทานผักมากๆ จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือน [20] โดยรับประทานผักใบเขียวซึ่งมีวิตามิน A C E B K และ โฟเลต ซึ่งมีเช่นเดียวกับในอาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือน รวมทั้งอาหารจำพวกนี้จะช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางจากการเสียเลือดประจำเดือนด้วยการเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่
    • ควรรับประทานธาตุเหล็กให้เพิ่มขึ้นขณะมีประจำเดือน อาจเป็นเนื้อแดงหรือรับประทานอาหารเสริมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง
    • ผักสีเขียวและเบอร์รี่จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งต้านการอักเสบและอาการท้องผูก
    • อีกงานวิจัยหนึ่งได้กล่าวไว้ว่าผู้หญิงที่ดื่มนม 3-4 แก้วทุกวันจะลดอัตราการปวดประจำเดือนได้ แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะอาจท้องอืดท้องเฟ้อได้หากดื่มมากเกินไป [21]
  3. ชาชนิดต่างๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยเลือกชาชนิดที่ไม่มีคาเฟอีนเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดท้องเพิ่มขึ้นจากคาเฟอีน อย่างเช่น ชาราสเบอร์รี่ คาร์โมไมล์ และชารสขิง จะช่วยต้านการอักเสบทำให้บรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ [22] [23]
    • ควรหลีกเลี่ยงชาที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะทำให้เกิดภาวะกังวล เครียด ซึ่งทำให้อาการปวดยิ่งแย่ลง
    • ปริมาณของชาที่เหมาะสมที่จะช่วยลดอาการปวดนั้นไม่ได้กล่าวไว้ แต่ตราบใดที่ชานั้นไม่มีคาเฟอีนก็สามารถดื่มได้ตามใจชอบ
    • วิธีนี้จะช่วยกักเก็บน้ำไว้ในร่างกายได้ดี
  4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้มีน้ำคั่งค้างในร่างกายและท้องอืด ส่วนนิโคตินในบุหรี่จะทำให้เกิดความตึงเครียดและเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดแคบลง ซึ่งเรียกว่าภาวะหลอดเลือดตีบ เห็นสาเหตุให้เลือดไหลไปยังมดลูกน้อยลงและอาการปวดยิ่งแย่ลง [24]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เพิ่มกิจกรรมทางกาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายจะช่วยลดอาการต่างๆ ของการมีประจำเดือนได้ รวมทั้งลดอาการปวดด้วย โดยเมื่อออกกำลังกายร่างกายจะปล่อยสารเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารลดปวดโดยธรรมชาติ เอนโดรฟินจะไปยับยั้งผลของโพสตราแกรนดินในร่างกายซึ่งเป็นสารที่ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและปวด ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้การมีกิจกรรมทางกายนั้นช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ [25]
    • อาจลองเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ พายเรือ ปีนเขา หรือเข้าคลาสในฟิตเนส
  2. การยืดเหยียดจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดอาการปวดประจำเดือน โดยนั่งบนพื้นยืดขาออกไปข้างลำตัว ยืดไปด้านหน้าเอามือจับนิ้วเท้าหรือข้อเท้า หายใจเข้าขณะที่หลังเหยียดตรง หลังจากหายใจไปสักครู่หนึ่ง ให้ก้มตัวลงหาพื้น
    • สามารถลองยืดเหยียดด้วยวิธีอื่น เช่น ยืดเหยียดหลังหรือหน้าท้อง ขึ้นกับบริเวณที่ปวดมากที่สุด
  3. เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โยคะนั้นมีส่วนช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดอาการหน่วงๆ และปวดที่หลังส่วนล่าง ขา และหน้าท้อง เมื่อคุณเริ่มรู้สึกปวดประจำเดือน สามารถทำท่าโยคะเพื่อลดอาการปวดได้ โดยก่อนเริ่มให้สวมเสื้อผ้าที่สบายและเปิดเพลงให้ผ่อนคลายก่อน
    • ท่าศีรษะถึงเข่า โดยนั่งบนพื้นเหยียดขาสองข้างไปด้านหน้าลำตัว ดึงขาข้างหนึ่งเข้ามา งอ 90 องศาให้ส้นเท้าวางอยู่ในท่าชี้เข้าหาต้นขา หายใจเข้าแล้วจับหน้าแข้ง ข้อเท้า และเท้าไว้ แล้วบิดตัวให้อยู่ในแนวเหนือขาและเท้าที่เหยียดไปด้านหน้า ตามด้วยหายใจออกแล้วก้มตัวลงตั้งแต่ส่วนขาหนีบ เหยียดหลังให้ตรงแอ่นไม่โค้งงอ หายใจเรื่อยๆ ตลอดช่วงที่ทำท่านี้ เหยียดให้ตึงโดยกระดกส้นเท้าให้สุดแล้วพยายามกดกระดูกบริเวณก้นที่นั่งทับอยู่ทั้งสองข้างให้แนบกับพื้น ค้างไว้ 1-3 นาที แล้วสลับข้าง
    • ท่าบ่วงบาศ โดยอยู่ในท่านั่งยองเท้าเหยียบพื้นสองข้าง ย่อลงให้ก้นแตะส้นเท้า หายใจเข้าแล้วบิดเข่าสองข้างไปทางซ้ายโดยที่บิดตัวไปทางขวา และเมื่อหายใจออกใช้ต้นแขนด้านหลังข้างซ้ายโอบรอบเข่าสองข้างและขาทั้งสองข้าง ตามด้วยหายใจเข้าแล้วเหยียดแขนและมือด้านขวาโอบไปจับกับมือด้านซ้าย ตอนหายใจออกให้หันมองไปที่ไหล่ด้านขวา ค้างท่านี้ไว้ 30-60 วินาทีพร้อมกับหายใจไปด้วย แล้วสลับข้าง
    • ท่าอูฐ โดยยืนในท่าตั้งเข่าสองข้างให้กางกว้างเท่าระดับสะโพก หน้าแข้งและเท้าสองข้างกดแนบราบกับพื้น วางฝ่ามือลงบนส่วนบนสุดของสะโพกในทิศนิ้วมือชี้ลงพื้น เมื่อหายใจเข้าให้ยืดอกและเหยียดหัวไหล่ลงเข้าหาซี่โครง หายใจออกให้แอ่นสะโพกไปด้านหน้าให้หลังแอ่น เพื่อให้ทรงตัวได้ดีให้วางมือสองข้างบนส้นเท้าสองข้าง ยืดอกขึ้น หายใจต่อเนื่องตลอดจนครบ 30-60 วินาที [26]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือรู้สึกว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นโปรดติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อปรึกษาถึงอาการนั้น อาการปวดนั้นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่ต้องอาศัยการรักษา เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผิดปกติ, เนื้องอกในมดลูก, โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID), ความพิการแต่กำเนิด หรือมะเร็ง
  • สัญญาณและอาการอื่นๆ ที่ควรไปพบแพทย์ก็รวมถึงอาการไข้ อาเจียน เลือดประจำเดือนออกมามากติดต่อกันนานเกิดสองชั่วโมง มึนหัวหรือหน้ามืด ปวดกระทันหันหรือปวดหนักมาก ปวดไม่เหมือนกับที่เคยปวดปกติ ปวดเมื่อปัสสาวะ และปวดเมื่อทำกิจกรรมทางเพศ
  • ลองนอนลงและเอาขวดน้ำร้อนวางบนท้อง
  • เบี่ยงเบนความสนใจไปดูหรืออ่านหรือทำบางอย่างที่น่าสนใจ เพื่อไม่ให้นึกถึงอาการเจ็บอาการปวด
  • ลองรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมให้มากขึ้น เช่น กล้วย
  • ลองนอนคว่ำหรือตะแคงโดยให้เข่าอยู่ใต้ร่างกายของคุณ
  • ลองอาบน้ำให้นานขึ้น แม้จะไม่ช่วยเรื่องประหยัดน้ำ แต่ก็อาจทำให้หายปวดท้องได้
  • ซับน้ำร้อนด้วยผ้าขนหนู แล้ววางบริเวณที่ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  • ห้ามใช้ประคบน้ำแข็งหรืออะไรเย็นๆ มาบรรเทาอาการปวดท้อง
  • การใช้ยาอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารของคุณ การใช้ยาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง และร่างกายของคุณอาจดื้อยาได้
  • ลองนอนหงายแล้วทำท่าสะพานโค้ง มันจะช่วยยืดกล้ามเนื้อส่วนท้องได้
  • กินยาและลองนอนหรือผ่อนคลายดู ยาจะช่วยให้คุณผ่อนคลาย และร่างกายก็จะปวดน้อยลง
โฆษณา
  1. http://www.medicinenet.com/menstrual_cramps/page7.htm#what_is_the_treatment_of_secondary_dysmenorrhea
  2. http://www.webmd.com/women/menstrual-cramps?page=2
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/tests-diagnosis/con-20025447
  4. Smith RP, Kaunitz AM. “Treatment of primary dysmenorrhea in adult women.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/treatment-of-primary-dysmenorrhea-in-adult-women?source=search_result&search=menstrual+cramps&selectedTitle=1~150 .
  5. Smith RP, Kaunitz AM. “Treatment of primary dysmenorrhea in adult women.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/treatment-of-primary-dysmenorrhea-in-adult-women?source=search_result&search=menstrual+cramps&selectedTitle=1~150
  6. Strada EA, Portenoy RK. “Psychological, rehabilitative, and integrative therapies for cancer pain.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/psychological-rehabilitative-and-integrative-therapies-for-cancer-pain?source=search_result&search=imagery&selectedTitle=1~44
  7. Wichman S, Sharar SR. “Burn pain: Principles of pharmacologic and nonpharmacologic management.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/burn-pain-principles-of-pharmacologic-and-nonpharmacologic-management?source=search_result&search=imagery&selectedTitle=2~44
  8. http://www.onemedical.com/blog/live-well/from-our-acupuncturist-6-ways-to-reduce-period-pain/
  9. http://www.webmd.com/women/menstrual-cramps?page=2#
  10. Smith RP, Kaunitz AM. “Treatment of primary dysmenorrhea in adult women.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/treatment-of-primary-dysmenorrhea-in-adult-women?source=search_result&search=menstrual+cramps&selectedTitle=1~150
  11. Smith RP, Kaunitz AM. “Treatment of primary dysmenorrhea in adult women.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/treatment-of-primary-dysmenorrhea-in-adult-women?source=search_result&search=menstrual+cramps&selectedTitle=1~150
  12. Smith RP, Kaunitz AM. “Treatment of primary dysmenorrhea in adult women.” UpToDate. http://www.uptodate.com/contents/treatment-of-primary-dysmenorrhea-in-adult-women?source=search_result&search=menstrual+cramps&selectedTitle=1~150
  13. http://www.medicaldaily.com/menstrual-cramps-6-home-remedies-247558
  14. http://www.onemedical.com/blog/live-well/from-our-acupuncturist-6-ways-to-reduce-period-pain/
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025447
  16. Smith RP, Kaunitz AM. “Treatment of primary dysmenorrhea in adult women.” UpToDate. < http://www.uptodate.com/contents/treatment-of-primary-dysmenorrhea-in-adult-women?source=search_result&search=menstrual+cramps&selectedTitle=1~150 >
  17. http://www.active.com/yoga/articles/4-yoga-poses-to-ease-menstrual-cramps

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,619 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา