ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดเมื่อยเท้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปกติกับคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนที่ต้องยืนเป็นเวลานาน (อย่างพนักงานเก็บเงินหรือตำรวจจราจร) หรือเดินเป็นระยะทางไกล (อย่างพนักงานเสิร์ฟหรือบุรุษไปรษณีย์) อีกสาเหตุทั่วไปประการหนึ่งที่ทำให้เท้าปวดเมื่อยคือการสวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าส้นสูงของสุภาพสตรีและรองเท้าแฟชั่นบางแบบที่ใช้งานจริงไม่ได้ เช่นนั้นแล้วการเรียนรู้ว่าจะบรรเทาอาการปวดเมื่อยเท้าทั้งทำเองที่บ้านหรือให้ผู้เชี่ยวชาญรักษาก็เป็นความรู้ที่มีค่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดการเท้าที่ปวดเมื่อยที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เหตุผลส่วนหนึ่งที่ปวดเท้าก็เป็นเพราะว่าเท้ามันบวม ดังนั้นการยกเท้าขึ้นเวลานั่งพักจะช่วยกลับแรงโน้มถ่วง ทำให้เลือดและน้ำเหลืองได้ไหลออกจากขาส่วนล่างย้อนกลับสู่ระบบไหลเวียน การถอดถุงเท้ากับถุงน่องออกก็ช่วยให้เท้าเย็นลง จะยิ่งบรรเทาอาการได้มากขึ้น
    • การยกเท้าขึ้นอย่างน้อยระดับหัวใจจะดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต
    • ใช้หมอนเพื่อยกระดับเท้าในระหว่างนอนบนโซฟา แต่อย่าไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดโดยการเกี่ยวข้อเท้า
  2. รองเท้าที่หนัก ระบายอากาศไม่ดี หรือขนาดไม่พอดีเท้าล้วนส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยเท้า ดังนั้น สวมรองเท้าที่เบาใส่สบายแบบที่เหมาะกับงาน กีฬา หรือกิจกรรมที่คุณทำ [1] รองเท้าส้นสูงที่ใส่ก็อย่าใส่ที่ส้นสูงเกิน ½ นิ้ว รองเท้าส้นสูงนั้นจะบีบนิ้วเท้าและทำให้เกิดตาปลาได้ ถ้าคุณเป็นนักวิ่งอย่างจริงจัง ให้เปลี่ยนรองเท้าวิ่งทุกๆ 500 – 800 กิโลเมตรหรือทุกสามเดือน แล้วแต่ว่าอะไรมาถึงก่อน
    • จำไว้ว่าต้องผูกเชือกรองเท้าให้แน่นๆ เสมอ เพราะเชือกที่ผูกหลวมไปหรือรองเท้าแตะจะทำให้เท้ากับกล้ามเนื้อขาส่วนล่างรู้สึกตึงมากขึ้น
    • ให้ลองสวมรองเท้าก่อนซื้อในตอนเย็น เพราะมันเป็นช่วงที่เท้าจะขยายใหญ่ที่สุด อันมักจะเกิดจากการบวมและแรงกดตรงอุ้งฝ่าเท้า [2]
  3. ถ้าคุณมีเท้าแบนและใช้เวลาส่วนใหญ่ยืนหรือเดิน ให้ลองคิดซื้อแผ่นรองเสริมอุ้งเท้า แผ่นรองเสริมอุ้งเท้าเป็นแผ่นสอดเสริมรองเท้าที่จะช่วยรองรับโค้งอุ้งเท้า ช่วยให้มีกลไกการขยับตัวในระหว่างยืน เดิน และวิ่งที่ดีขึ้น แผ่นรองเสริมอุ้งเท้ายังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาที่เกิดตามไขข้อส่วนอื่น เช่น ข้อเท้า หัวเข่า หรือสะโพกอีกด้วย [3]
    • มืออาชีพด้านสุขภาพที่ทำแผ่นรองเสริมอุ้งเท้าได้แก่หมอด้านบาทาเวชศาสตร์และหมอกระดูกกับหมอจัดกระดูกสันหลัง
    • แผนประกันสุขภาพบางรายไม่ได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านการจำทำแผ่นรองเสริมอุ้งเท้าแบบตัดโดยเฉพาะ แต่ถึงแผนที่คุณทำจะไม่เป็นเช่นนั้น งั้นก็ลองหาซื้อรองเท้าที่เสริมพื้นรับอุ้งเท้าสำเร็จรูปที่วางขายทั่วไปได้ มันมีราคาถูกกว่าและอาจช่วยได้แบบทันใจ
  4. การลดน้ำหนักช่วยป้องกันปัญหาเท้าได้มากมาย เพราะจะลดแรงกดตรงกระดูกกับกล้ามเนื้อของเท้ากับขาส่วนล่าง สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ควรกินน้อยกว่า 2,000 แคลอรี่ต่อวันจะทำให้น้ำหนักลดลงทุกสัปดาห์แม้ว่าจะออกกำลังกายแค่เบาๆ ผู้ชายส่วนใหญ่จะลดน้ำหนักได้ถ้ากินน้อยกว่า 2,200 แคลอรี่ต่อวัน [4]
    • เปลี่ยนมากินเนื้อที่ไม่ติดมันกับเนื้อปลา โฮลเกรน ผักผลไม้สด และดื่มน้ำมากๆ เพื่อการลดน้ำหนักที่ให้ผลน่าพอใจ
    • คนที่น้ำหนักตัวเกินกว่าปกติส่วนใหญ่จะมีเท้าแบนและมักจะเดินเอียงเท้าเข้าด้านใน ดังนั้นการเลือกรองเท้าที่มีการเสริมอุ้งฝ่าเท้าจึงเป็นเรื่องจำเป็น
  5. ยาแก้อักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) อย่างเช่น ไอบูโพรเฟน นาพร็อกซิน หรือแอสไพรินเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเวลาเกิดปวดเท้าหรืออักเสบ แต่ต้องระวังว่ายาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อท้อง ตับและไต ทางที่ดีจึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
    • ปริมาณยาสำหรับผู้ใหญ่คือกิน 200-400 มก. ทุกๆ สี่ถึงหกชั่วโมง [5]
    • หรือจะใช้ยาแก้ปวดที่วางขายทั่วไปอย่างอะซีตามิโนเฟน (ไทลีนอล) ก็ได้ แต่ห้ามใช้ควบคู่ไปกับยา NSAIDs
    • ระวังอย่ากินยาตอนท้องว่าง เพราะมันจะไประคายเคืองทางเดินอาหารและเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
    • อย่าใช้ยา NSAIDs ถ้าคุณมีแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคหัวใจหรือโรคไต
  6. แช่เท้าในอ่างน้ำอุ่นใส่ดีเกลือฝรั่งจะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ดี โดยเฉพาะถ้าอาการปวดนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อตึง [6] แมกนีเซียมที่อยู่ในเกลือจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว อย่าให้น้ำร้อนจนเกินไป (เพื่อป้องกันถูกลวก) และอย่าแช่นานเกิน 30 นาที เพราะน้ำเกลือจะดึงน้ำออกจากร่างกายและเริ่มทำให้คุณขาดน้ำ
    • ถ้าปัญหาสำคัญคืออาการเท้าบวม หลังจากแช่น้ำเกลืออุ่นๆ เสร็จให้ตามด้วยการแช่น้ำแข็งจนกระทั่งเท้าเริ่มรู้สึกชา (ราว 15 นาทีหรือกว่านั้น)
    • อย่าลืมเช็ดเท้าให้แห้งหลังแช่ เพื่อป้องกันการลื่นล้ม
  7. การกลิ้งเท้าไปบนลูกกลิ้งไม้ (หาซื้อได้ตามร้านขายยา) เป็นวิธีที่ดีในการนวดอาการตึงให้หายจากเท้าและคลายอาการเมื่อยระดับเบาจนถึงปานกลางได้ [7] ด้วยเหตุผลอะไรสักอย่าง ไม้ธรรมชาติดูจะใช้คลายกล้ามเนื้อได้ดีกว่าพลาสติก แก้ว หรือโลหะ มองหาตัวเลือกแบบที่เป็นร่องหรือฟันหยัก
    • วางลูกกลิ้งไม้บนพื้นให้ตั้งฉากกับเท้า กลิ้งฝ่าเท้าไปมาช้าๆ อย่างน้อยข้างละ 5 ถึง 10 นาที
    • ทำได้อีกหลายครั้งตามที่ต้องการ ถึงแม้เท้าอาจจะเจ็บนิดหน่อยหลังการใช้ครั้งแรก
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รับการรักษาแบบอนุรักษ์นิยม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปนวดเท้าและน่องกับหมอนวดเท้า การนวดลดความตึงและการอักเสบของกล้ามเนื้อ ช่วยสลายเนื้อเยื่อของรอยแผลและให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น [8] ให้หมอนวดเริ่มนวดถูจากนิ้วเท้าไล่ขึ้นมาถึงน่อง เพื่อช่วยดันเลือดกับน้ำเหลืองเสียให้กลับขึ้นมาที่หัวใจ
    • หมอนวดอาจทำการกดกระตุ้นจุดตรงส้นเท้าซึ่งเป็นจุดสะสมแรงตึงจากจุดที่ปวดส่วนใหญ่ภายในอุ้งฝ่าเท้า
    • ถามหมอนวดให้ใช้น้ำมันหรือครีมเปปเปอร์มินต์กับเท้า เพราะมันจะทำให้รู้สึกซ่าและชุ่มชื่นขึ้น
    • ดื่มน้ำมากๆ ทันทีหลังจากนวดเสร็จเพื่อขับของเสียจากการอักเสบ กรดแลกติก และสารพิษออกจากร่างกาย ถ้าไม่ทำเช่นนั้นอาจทำให้ปวดหัวหรือคลื่นไส้เล็กน้อย
  2. การฝังเข็มจะใช้เข็มเล่มบางๆ แทงเข้าไปยังจุดพลังงานที่ระบุเอาไว้ภายในผิวหนังเพื่อจะลดอาการเจ็บปวดกับการอักเสบ [9] การฝังเข็มสำหรับการปวดเท้านั้นได้ผลดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อทำตั้งแต่เริ่มปรากฎอาการ ตามหลักการของแพทย์แผนโบราณของจีนแล้วนั้น การฝังเข็มใช้ได้ผลเพราะมันไปปล่อยสารอย่างเอ็นโดรฟินส์กับเซราโทนินให้หลั่งออกมา ซึ่งสารพวกนี้ทำหน้าที่ลดความเจ็บปวด
    • นอกจากนี้ยังอ้างด้วยว่าการฝังเข็มกระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณที่เรียกกันว่า ชี่
    • การฝังเข็มทำโดยมืออาชีพด้านสุขภาพหลากหลายเช่น หมอ หมอจัดกระดูกสันหลัง หมอแนวธรรมชาติบำบัด นักกายภาพบำบัด และหมอนวด
  3. คนบางคนสับสนระหว่างการนวดกดจุดสะท้อนกับการนวดธรรมดา แต่ถึงทั้งคู่จะใช้การสัมผัสและจุดตึงเหมือนกัน แต่การทำนั้นมีความแตกต่าง การนวดกดจุดสะท้อนนั้นเป็นการใช้แรงกดลงไปยังจุดกับบริเวณเฉพาะบนฝ่าเท้าเพื่อกระตุ้นอวัยวะที่สะท้อนตามจุดกดนั้นและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น [10]
    • หมอนวดเท้านั้นจะทำงาน "จากนอกสู่ใน" — จัดการกลุ่มกล้ามเนื้อหรือพังผืดให้คลายความตึงออกมา ส่วนนักกดจุดสะท้อนนั้นจะทำงาน "จากในสู่นอก" — กระตุ้นระบบประสาทให้ปลดปล่อยความตึงในเท้าและส่วนอื่นๆ
    • ศาสตร์การกดจุดสะท้อนนั้นเหมือนกับการฝังเข็มและการกดจุดตรงที่มันทำงานกับพลังลมปราณในร่างผ่านทางการกระตุ้นที่จุดบนฝ่าเท้า เช่นเดียวกับจุดในมือและใบหู
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดการโรคแทรกซ้อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอาการปวดเท้านั้นเรื้อรังหรือปวดเป็นอย่างมาก การไปหาหมอรักษาโรคเท้าก็น่าจะเป็นความคิดที่ดี หมอรักษาโรคเท้าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเท้าที่สามารถรักษาสภาวะของเท้าหลายประเภทได้ บางทีก็ด้วยการศัลยกรรมง่ายๆ แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีในแนวทางอนุรักษ์เช่น ตัดแผ่นรองเสริมเท้าพิเศษ รองเท้าเสริมเท้า การดามเหล็ก หรือการมัดเท้า
    • หมอรักษาโรคเท้าจะบอกคุณได้ว่าคุณมาภาวะเท้าผิดปกติทั่วไปหรือไม่ อย่างเช่น โรครองช้ำ, โรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต (เท้าติดเชื้อรา), เท้าแบน, เส้นเอ็นนิ้วหัวแม่เท้าอักเสบ, ตาปลา หรือเกาต์ ทั้งหมดล้วนทำให้ปวดเท้าในระดับต่างๆ กัน
    • หมอรักษาโรคเท้าเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีสำหรับสอบถามว่ารองเท้าชนิดไหนถึงเหมาะกับเท้าและท่าเดินของคุณ
  2. อาจจำเป็นต้องหาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อขีดฆ่าสาเหตุร้ายแรงส่วนใหญ่ที่ทำให้ปวดเท้าเรื้อรังออกไป เช่น เบาหวาน ติดเชื้อ ลิ่มเลือดอุดตัน กระดูกร้าว ไขข้ออักเสบ หรือมะเร็ง [11] อาการเหล่านี้แน่นอนว่าไม่ใช่สาเหตุปกติของอาการปวดเมื่อยเท้า แต่ถ้าการรักษาเองที่บ้านหรือการบำบัดทั่วไปยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้หายได้ ก็อาจต้องคิดถึงต้นเหตุปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้น
    • การเอ็กซเรย์ สแกนกระดูก ทำ MRI และทำ CT สแกน เป็นวิธีที่ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้เพื่อช่วยตรวจอาการปวดหลังช่วงบนของคุณ
    • หมออาจส่งคุณไปตรวจเลือดเพื่อขีดฆ่าสาเหตุจากเบาหวาน ไขข้ออักเสบหรือการติดเชื้อเรื้อรังออก
  3. การฉีดยาสเตียรอยด์ใกล้ๆ หรือฉีดตรงบริเวณกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่อักเสบบนฝ่าเท้าคุณนั้นจะลดอาการอักเสบและเจ็บปวดลงอย่างรวดเร็ว แต่วิธีนี้มักสงวนไว้ใช้เฉพาะกับนักกีฬาที่ต้องการหายเจ็บชั่วคราวอย่างเร่งด่วนเพื่อสามารถลงเล่นกีฬาต่อได้ [12] ยาที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ เพรดนิโซโลน (prednisolone), เด็กซาเมทาโซน (dexamethasone), และไตรแอมซิโนโลน (triamcinolone)
    • อาการแทรกซ้อนที่มีสิทธิเกิดขึ้นเมื่อฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้แก่ การติดเชื้อ มีเลือดไหล เส้นเอ็นอ่อนแรง กล้ามเนื้อตรงบริเวณนั้นฝ่อ และเส้นประสาทเกิดระคายเคืองหรือเสียหาย
    • ถ้าการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ไม่ทำให้หาย การผ่าตัดคือทางออกสุดท้าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยสภาวะของเท้าคุณด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เพื่อรักษาท่วงท่าที่ถูกต้องเวลายืน ให้ยืนโดยลงน้ำหนักไปที่เท้าทั้งสองข้างเท่าเทียมกันและหลีกเลี่ยงการเหยียดเข่า แขม่วท้องกับกล้ามเนื้อก้นเพื่อช่วยให้หลังตรง สวมรองเท้าที่พื้นรองเท้ารองรับน้ำหนักและคลายอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อโดยการวางขาบนกล่องพักขาเล็กๆ อยู่บ่อยๆ
  • อย่าสวมรองเท้าแตะเมื่อต้องเดินไกลๆ หรือใช้เล่นกีฬา พวกมันไม่ได้ดูดซับแรงกระแทกให้เท้า หรือปกป้องและรองรับอุ้งฝ่าเท้าได้ดีพอ
  • เลิกสูบบุหรี่เพราะมันไปกั้นการไหลเวียนเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนกับสารอาหารไม่ได้ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อต่างๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,901 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา