ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ใครๆ ก็รู้ว่าถ้าอยากให้ร่างกายแข็งแรง ต้องหมั่นออกกำลังกายและอย่าอยู่เฉย แต่มีกี่คนที่รู้ว่าเราสามารถบริหารดวงตาได้เหมือนที่บริหารร่างกายนั่นแหละ บริหารดวงตาแล้วกล้ามเนื้อตาจะแข็งแรง ตาไม่แห้งฝืด มองอะไรชัดขึ้น แถมช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่ใช้ในการมองเห็นด้วย ถึงจะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าบริหารแล้วช่วยให้สายตาดีขึ้นจริง แต่อย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาสายตาอื่นๆ ไม่ให้สายตาคุณแย่ไปกว่าเดิม [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวบริหารตา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่างที่เราบอก ว่ายังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มารับรอง ว่าบริหารดวงตาแล้วทำให้สายตาคุณดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มบริหารดวงตาด้วยตัวเอง ให้ลองปรึกษาและรับการตรวจเช็คสายตาโดยนักทัศนมาตร (optometrist) ผู้เชี่ยวชาญซะก่อน ในเมืองไทยค่อนข้างหายากและค่ารักษาแพง อาจเปลี่ยนไปพบจักษุแพทย์แทนก็ได้ เพื่อให้รู้ปัญหาสายตาที่อาจมี และรับฟังคำปรึกษาและแนะนำ ว่าการบริหารดวงตานั้นจะส่งผลดีต่อสายตาของคุณหรือไม่อย่างไร [2]
    • ย้ำกันอีกที ว่าบริหารตาแล้วไม่ได้ช่วยรักษาหรือแก้ปัญหาดวงตาที่คุณมีอยู่ เช่น สายตาสั้น (myopia) สายตายาวตามวัย (presbyopia) และสายตาเอียง (astigmatism) [3] หมอตาทั้งหลายยืนยันได้ ว่าถ้าใครบอกว่าบริหารตาแล้วตาจะดีจน "โยนแว่นทิ้งไปได้เลย" น่ะเป็นพวกโม้ อวดอ้างทั้งเพ [4]
    • แต่ก็ไม่เสียหายอะไร ถ้าคุณจะลองบริหารดวงตาดู โดยเฉพาะคนที่สายตาปกติหรือไม่ได้เป็นโรคตาต่างๆ ที่อาจกำเริบได้ถ้าใช้สายตาบ่อยๆ แต่ถ้าคุณเป็นโรคตาร้ายแรงอย่างต้อกระจก (cataract) ตาบอดข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง หรือกำลังพักฟื้นหลังบาดเจ็บที่กระจกตา (cornea) เราแนะนำว่าไม่ควรบริหารดวงตา [5]
  2. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    เพื่อลดปิดกั้นดวงตาและสมองจากสิ่งเร้า ให้คุณหลับตา แล้วใช้ฝ่ามือประคบเบาๆ เพื่อกระจายน้ำตาที่เคลือบดวงตาอยู่ ทำให้ดวงตาผ่อนคลาย [6]
    • นั่งที่เก้าอี้ให้สบาย ประกบมือแล้วถูกันจนมืออุ่น
    • หลับตาลง จากนั้นใช้อุ้งมือประคบเบาๆ อย่าออกแรงกดลูกตา อย่าปิดจมูกจะได้หายใจเข้า-ออกตามปกติระหว่างประคบตา
    • อย่าให้แสงแยงตาผ่านช่องว่างระหว่างนิ้วมือ รวมถึงช่องว่างระหว่างสันมือกับจมูก เพราะเดี๋ยวแสงภายนอกจะไปกระตุ้น รบกวนดวงตา แทนที่จะผ่อนคลาย ระหว่างนี้ให้จินตนาการถึงความมืดสนิท เพ่งสมาธิไว้อย่างนั้น
    • หายใจเข้าช้าๆ สม่ำเสมอระหว่างสงบจิตใจ นึกถึงบรรยากาศผ่อนคลายอย่างชายหาดที่มีแค่คุณ ทะเลสาบราบเรียบ หรือภูเขาเงียบงัน พอเหลือแต่ความมืดแล้ว ให้คุณค่อยๆ เอามือออกจากตา
    • ประคบตาซ้ำตามขั้นตอนเดิมประมาณ 3 นาทีขึ้นไป
  3. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดรอบดวงตาและใบหน้า เป็นเหมือนการวอร์มดวงตาก่อนบริหาร [7]
    • ประคบร้อนและเย็น: ต้องใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นกับผ้าชุบน้ำเย็น เอาผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบนใบหน้า ให้แนบคิ้ว เปลือกตา ไปจนถึงแก้ม พอผ่านไป 3 นาทีให้เอาผ้าออก แล้วเปลี่ยนมาประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็นแทน เปลี่ยนผ้าร้อนผ้าเย็นสลับไปมาแบบนี้ตามต้องการ แต่ต้องปิดท้ายด้วยผ้าเย็นเสมอ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนใบหน้าจะทำให้หลอดเลือดหดตัว (vasoconstriction) แล้วขยายตัว (vasodilation) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ช่วยกระตุ้นใบหน้ากับผิวรอบดวงตา
    • นวดหน้าเต็มรูปแบบ: เอาผ้าชุบน้ำอุ่นมาถูต้นคอ หน้าผาก และแก้ม จากนั้นนวดหน้าผากและเปลือกตาเบาๆ ด้วยปลายนิ้ว
    • นวดเปลือกตา: ล้างมือให้สะอาดก่อน จากนั้นหลับตาแล้วใช้นิ้วนวดวนที่เปลือกตา 1 - 2 นาที อย่ากดแรงเกินไป แค่นวดเบาๆ ก็ช่วยกระตุ้นดวงตาแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

บริหารตา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นการบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา ช่วยคงระดับสายตาไม่ให้สั้นยาวไปกว่าเดิม [8]
    • นั่งที่เก้าอี้หรือยืนหันหน้าเข้ากำแพงโล่งๆ ชูนิ้วโป้งห่างจากหน้าประมาณ 10 นิ้ว (25 ซม.) แล้วจ้องที่นิ้วโป้ง หรือจะมองไปที่วัตถุอื่นที่อยู่ห่างคุณไป 5 - 10 ฟุต (1.5 - 3 เมตร) ประมาณ 10 - 15 วินาทีก็ได้
    • จากนั้นเพ่งมองวัตถุที่ห่างจากคุณ 10 - 20 ฟุต (3 - 6 เมตร) โดยไม่หันไปดู แล้วมองอยู่อย่างนั้น 10 - 15 วินาที
    • พอผ่านไป 10 - 15 วินาทีแล้ว ให้กลับมามองที่นิ้วโป้งของตัวเอง ฝึกซ้ำ 5 ครั้ง
  2. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    เป็นวิธีบริหารการโฟกัสภาพที่ดีมาก เพราะต้องคอยปรับระยะการมองวัตถุใกล้-ไกล [9]
    • นั่งให้สบาย
    • เหยียดแขนตรง ชูนิ้วโป้งเหมือนเวลาจะโบกรถ
    • เพ่งมองที่นิ้วโป้ง จากนั้นค่อยๆ ขยับนิ้วโป้งเข้ามาใกล้ คอยปรับสายตาไปเรื่อยๆ จนนิ้วอยู่ห่างตาคุณประมาณ 3 นิ้ว (8 ซม.)
    • ขยับนิ้วโป้งออกห่างอีกรอบ ให้แขนเหยียดตรง
    • ฝึกซ้ำอีก 3 ครั้ง บริหารให้ได้ทุกอาทิตย์
    • หรือจะเปลี่ยนไปใช้ดินสอแทนก็ได้ ถือแล้วเหยียดสุดแขนเลย จากนั้นก็ค่อยๆ ขยับดินสอเข้ามาใกล้จมูก คอยมองตามตลอดจนกระทั่งภาพเบลอ โฟกัสไม่ได้อีกต่อไป
  3. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    นี่คือสุดยอดวิธีฝึกควบคุมการเคลื่อนไหวของตา [10]
    • ให้จินตนาการว่ามีเลข 8 ยักษ์ติดอยู่บนพื้น ห่างจากคุณประมาณ 10 ฟุต (3 เมตร)
    • ไล่สายตาเขียนเลข 8 ในจินตนาการ
    • ไล่สายตาวนไป 2 - 3 นาทีจากนั้นวนกลับอีกข้างอีก 2 - 3 นาที
  4. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของตาและช่วยให้ตากับมือสัมพันธ์กันดี [11]
    • ไล่สายตาตามลูกกรง - เป็นวิธีฝึกทักษะของสมองในการจดจ่ออยู่ที่วัตถุ โดยทรงตัวและประสานการทำงานระหว่างมือกับตา ให้คุณยืนที่หน้ารั้ว หน้าต่างที่มีลูกกรง หรืออะไรก็ได้ที่มีเส้นตั้งไล่ไปเป็นระยะ จากนั้นเพ่งมองไปที่แท่งหรือลูกกรงไกลสุด ผ่อนคลายร่างกาย แล้วถ่ายน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้า หายใจให้สม่ำเสมอ สบายๆ อย่าลืมกะพริบตาด้วยตอนบริหารตา ทำซ้ำไปเรื่อยๆ 2 - 3 นาที
    • ตาจดจ่อ ขยับแต่ตัว - เป็นวิธีเสริมสร้างลานสายตาของคุณ โดยให้จดจ่ออยู่กับวัตถุไกลๆ ที่อยู่ใกล้พื้น ให้คุณขยับตัวเหมือนวิธีการที่แล้ว แต่สายตาต้องจดจ่ออยู่ที่เดิม อย่าให้วัตถุนั้นหลุดลานสายตา ทำซ้ำ 2 - 3 นาที
  5. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    มองไปยังทิศทางต่างๆ จะช่วยบริหารสายตาได้เป็นอย่างดี [12]
    • ยืนหรือนั่งตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า เหลือบไปทางซ้ายโดยไม่หันหน้าตาม จดจ่อกับสิ่งที่เห็นให้ดี จากนั้นเหลือบไปทางขวา สลับไปมาแบบนี้ 5 ครั้ง ทำซ้ำทั้งหมด 3 รอบ
    • มองลงโดยไม่ก้มหน้า จดจ่อกับสิ่งที่เห็น จากนั้นเหลือบมองข้างบน จดจ่อกับสิ่งที่เห็นเช่นกัน ทำซ้ำ 3 ครั้ง
    • กลับมามองตรงไปข้างหน้าโดยไม่ขยับหัว จากนั้นมองลง แล้วมองซ้าย จดจ่อกับสิ่งที่เห็น จากนั้นมองเฉียง มองขึ้น แล้วมองขวา จดจ่อกับสิ่งที่เห็นตลอด ทำซ้ำ 5 ครั้ง จากนั้นมองตรงไปข้างหน้า แล้วทำซ้ำ มองลง-มองขวา จากนั้นมองขึ้น-มองซ้าย ทำแบบนี้ทั้งหมด 3 รอบ
  6. Watermark wikiHow to บริหารดวงตา
    ทุกครั้งที่บริหารตาเสร็จให้ประคบตาด้วยฝ่ามือเพื่อผ่อนคลายดวงตา [13]
    • หรือจบการบริหารโดยหลับตาลง แล้วค้างไว้แบบนั้น ในบรรยากาศมืดๆ เงียบๆ หลายๆ นาที เพื่อคลายกล้ามเนื้อตาและพักผ่อนสายตา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าบริหารตาแล้วเกิดปวดหัว หรือตาล้า เห็นภาพเบลอ ให้หยุดทำแล้วพักสายตาทันที
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,096 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา