PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณเชื่อว่าคุณเป็นโรคเบาหวานแล้วล่ะก็ จงไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเลย โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อีกแล้ว นับว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ตับอ่อนไม่ทำงาน โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ค่อนข้างมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมากกว่า (เกี่ยวข้องกับการขาดการออกกำลังกายและการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป) นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะรู้ทันสัญญาณเตือนและอาการของโรคเบาหวาน และเข้าใจการวินิจฉัย สำหรับการรักษาให้ทันท่วงทีหากคุณมีอาการดังกล่าว


ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้ทันสัญญาณเตือนและอาการของโรคเบาหวาน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณมีอาการตามข้อมูลด้านล่างนี้มากกว่าสองอาการขึ้นไป คุณควรไปพบแพทย์เพื่อการประเมินโรคเพิ่มเติม สัญญาณเตือนและอาการที่มีร่วมกันทั้งในโรคเบาหวานประเภทที่ 1 กับโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ [1]
    • หิวน้ำมากเกินไป
    • หิวรุนแรงมากเกินไป
    • สายตาพล่ามัว
    • ปัสสาวะบ่อย (ต้องตื่นกลางดึกถึงสามครั้งหรือมากกว่านั้นเพื่อลุกมาปัสสาวะ)
    • อ่อนเพลีย (โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร)
    • รู้สึกขี้โมโห
    • แผลไม่หายหรือแผลหายช้า
  2. ผู้ที่ใช้ชีวิตโดยที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว (ออกกำลังกายน้อยหรือไม่ได้ออกกำลังกายเลย) มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนพุงพลุ้ย หรือผู้ที่รับประทานขนมหวานหรือคาร์โบไฮเดรตขัดสีมากกว่าที่ควร มีความเสี่ยงสูงอย่างมากที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 [2]
    • ให้สังเกตว่าเมื่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดขึ้นกับชีวิตใครแล้ว ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับทางเลือกในวิถีชีวิตที่ด้อยประสิทธิภาพในคนนั้นอีกด้วย ในทางตรงข้าม โรคเบาหวานประเภทที่ 1 นับเป็นความเจ็บป่วยตั้งแต่กำเนิดและมักแสดงอาการให้เห็นในวัยเด็ก
  3. [3] หนทางเดียวที่สามารถยืนยันว่าคุณเป็นโรคเบาหวานได้หรือไม่นั้นคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย (วินิจฉัยในรูปแบบของการตรวจเลือด) ค่าตัวเลขที่คุณจะได้คืนมาในผลตรวจเลือดจะช่วยให้คุณสามารถจำแนกว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ “ปกติ” “ระยะก่อนเป็นเบาหวาน” (หมายความว่า คุณอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หากคุณไม่เปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณอย่างจริงจังเสียก่อน) หรือ “ระยะเบาหวาน”
    • การรู้ไว้ก่อนย่อมดีกว่ารู้ช้าไม่ว่าคุณจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เพราะหากว่าคุณเป็นโรคเบาหวานแล้วล่ะก็ การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมเป็นทางออกที่ดี
    • ผลเสียจากโรคเบาหวานที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณส่วนมากแล้วจะเป็นผลเสียระยะยาว ซึ่งเกิดจาก “ระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่สามารถควบคุมได้” ซึ่งหมายความว่า หากคุณได้รับการรักษาที่สามารถช่วยให้คุณรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ คุณสามารถป้องกันหรืออย่างน้อยก็สามารถชะลอผลระยะยาวทางสุขภาพที่เกิดจากโรคเบาหวานได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เผชิญกับการตรวจหาเบาหวาน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์ผู้ดูแลอาการเบื้องต้นของคุณจะใช้แบบทดสอบสองแบบเพื่อตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือด [4] โดยปกติแล้ว การตรวจเลือดอย่างรวดเร็วก็สามารถตรวจหาโรคเบาหวานได้ แต่ก็สามารถทำได้จากการตรวจปัสสาวะเช่นเดียวกัน
    • ระดับกลูโคสในเลือดที่ปกติจะอยู่ระหว่าง 70 ถึง 100
    • หากคุณอยู่ในระยะก่อนเป็นเบาหวาน ระดับกลูโคสในเลือดของคุณจะอยู่ระหว่าง 100 ถึง 125
    • หากระดับกลูโคสในเลือดของคุณอยู่สูงกว่า 126 คุณถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  2. ตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1c (ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี). [5] นี่นับว่าเป็นการทดสอบที่ทันสมัยกว่าการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แพทย์บางส่วนใช้ตรวจโรคเบาหวาน วิธีการนี้มองหาฮีโมโกลบิน (โปรตีน) ในเม็ดเลือดแดงของคุณและหาค่าว่ามีน้ำตาลมาเกาะอยู่มากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีฮีโมโกลบินสูงก็ยิ่งมีน้ำตาลเกาะอยู่ในเม็ดเลือดแดงมาก ซึ่งจะสอดคล้องกับความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานโดยตรง (อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานคือการกระจายของน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นในกระแสเลือด)
    • การเทียบค่า HbA1c กับ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ดังนี้ ค่า HbA1c 6 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 135, ค่า HbA1c 7 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 170, ค่า HbA1c 8 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 205, ค่า HbA1c 9 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 240, ค่า HbA1c 10 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 275, ค่า HbA1c 11 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 301, ค่า HbA1c 12 เท่ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือด 345
    • ในการทดลองส่วนใหญ่ ค่า HbA1c ที่ปกติจะอยู่ระหว่าง 4.0-5.9% สำหรับโรคเบาหวานที่ได้รับการควบคุมอย่างไร้ประสิทธิภาพจะมีค่า HbA1c ถึง 8.0% หรือมากกว่า ในส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพค่า HbA1c จะน้อยกว่า 7.0%.
    • คุณประโยชน์จากการตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมคือสามารถให้การตรวจสอบที่เชื่อถือได้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การตรวจวัดนี้สะท้อนให้เห็นค่าระดับน้ำตาลโดยเฉลี่ยในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ซึ่งดีกว่าการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดที่แสนง่ายดาย แต่กลับแสดงผลระดับน้ำตาลแค่ในระยะเวลาเดียว [6]
  3. ในการรักษาโรคเบาหวาน คุณอาจต้องฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาอินซูลินทุกวัน และคุณจะถูกบอกให้ระมัดระวังอาหารการกินและขอให้ออกกำลังกาย [7]
    • ในบางครั้ง หลายกรณีของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่อยู่ในระดับไม่รุนแรง เพียงแค่มีอาหารการกินที่ดีและออกกำลังกายก็เพียงพอแล้ว การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างพอดีจะช่วยเปลี่ยนแปลงจากโรคเบาหวานสู่ค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกติ ลองหาแรงจูงใจชั้นเยี่ยมเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองดูสิ
    • คุณจำต้องงดน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต และออกกำลังกายประมาณ 30 นาทีต่อวัน หากคุณทำตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณสามารถสังเกตเห็นค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงได้
    • โรคเบาหวานประเภทที่ 1 ในทางกลับกันยังคงต้องอาศัยการฉีดอินซูลิน เพราะถือว่าเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
    • นับว่าสำคัญอย่างมากๆ สำหรับการรักษาโรคเบาหวานอย่างเหมาะสม จงจำไว้ว่าหากปล่อยไว้ไม่รักษา ระดับน้ำตาลในเลือดจากโรคเบาหวานสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้ ยกตัวอย่างเช่น เส้นประสาทเสียหาย (โรคเส้นประสาท) ไตเสียหายหรือไตล้มเหลว ตาบอด ความผิดปกติรุนแรงในการไหลเวียนเลือดที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่รักษาได้ยาก ซึ่งสามารถนำไปสู่การตัดอวัยวะที่มีเนื้อตายได้ (โดยเฉพาะอวัยวะส่วนขา)
  4. นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะได้รับการตรวจเลือดทุกๆ สามเดือน ทั้งผู้ที่อยู่ในระยะก่อนเป็นเบาหวาน หรือในระดับเบาหวาน เพื่อที่จะติดตามพัฒนาการที่ดีขึ้นของอาการ (สำหรับผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปในทางที่ดี) หรือการแย่ลงของอาการ [8]
    • การตรวจเลือดซ้ำยังสามารถช่วยแพทย์ของคุณสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณอินซูลินและปริมาณยาที่คุณต้องรับ แพทย์ของคุณจะพยายามตั้งเป้าค่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้อยู่ภายในระดับนั้นๆ ดังนั้นการประเมินเชิงตัวเลขจากการตรวจเลือดซ้ำคือการไขปัญหาที่ดี
    • การตรวจอย่างต่อเนื่องสามารถสร้างแรงจูงใจให้คุณออกกำลังกายมากขึ้น และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่ออาหารการกินของคุณให้ไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย จงรู้ไว้เสมอว่าคุณอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในการตรวจเลือดครั้งต่อไปของคุณก็ได้!
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,477 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา