ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ติดต่อกันมาก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส varicella zoster [1] อาการของโรคมีดังนี้ ไข้ขึ้น ผื่นหรือตุ่มแดง น้อยกรณีจะพบว่ามีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย ปอดบวม สมองบวม การป้องกันโรคอีสุกอีใสโดยการดูแลร่างกายให้แข็งแรง อยู่ห่างจากเชื้อไวรัสต้นเหตุของโรคเป็นความคิดที่ดี แม้ว่าการได้รับวัคซีนป้องกันโรคจะแพร่หลายแล้วในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การป้องกันโรคอีสุกอีใส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การได้รับวัคซีนอีสุกอีใสเป็นวิธีทางการแพทย์ที่ช่วยป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ดี การฉีดวัคซีนเป็นการนำเชื้อไวรัสที่อ่อนแอแล้วเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ภูมิคุ้มกันร่างกายคุ้นเคยและสามารถสู้กับเชื้อไวรัสนี้ได้ดีขึ้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสตัวนี้ที่แข็งแรงและอันตรายกว่านี้ จากรายงายของกรมควบคุมและป้องกันโรค ก่อนจะมีการคิดค้นวัคซีนต้านเชื้อไวรัส varicella ในปีพ.ศ. 2538 ในแต่ละปีมีชาวอเมริกันกว่า 4 ล้านคนเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยลดลงเหลือเพียงปีละ 400,000 คน [2] วัคซีนต้านเชื้อไวรัส varicella จะถูกฉีดให้เด็กทารกวัย 12-15 เดือน และฉีดอีกครั้งเมื่ออายุระหว่าง 4-6 ปี [3] สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนในตอนที่เป็นทารก จะได้รับวัคซีน 2 เข็ม ฉีดห่างกันเข็มละประมาณ 1-2 เดือน
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าตนเองเคยได้รับวัคซีนต้านอีสุกอีใสแล้วหรือยัง สามารถให้แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต้านไวรัส varicella ได้
    • วัคซีนต้านอีสุกอีสใสอาจรวมกับวัคซีนโรคหัด คางทูมและหัดเยอรมันเป็นวัคซีนเข็มเดียวชื่อว่า วัคซีน MMRV
    • วัคซีนหนึ่งเข็มสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคอีสุกอีใสได้ร้อยละ 70-90 ในขณะที่การฉีดสองเข็มจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 98 หากคุณเป็นโรคอีสุกอีใสหลังจากที่เคยได้รับวัคซีนแล้ว โดยปกติแล้วอาการจะไม่รุนแรง
    • ถ้าคุณเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน varicella อีกเพราะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานเชื้อตามธรรมชาติแล้ว
    • วัคซีน varicella ห้ามฉีดให้กับสตรีตั้งครรภ์ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำเพราะวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดการติดเชื้ออีสุกอีใส และคนที่แพ้เจลาตินหรือยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน [4]
  2. การป้องกันโรคก็เหมือนกับการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราทั่วๆ ไปที่การป้องกันที่แท้จริงต้องอาศัยการทำงานอย่างเหมาะสมของภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันของเราสร้างขึ้นจากเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่จับและทำลายเชื้อโรค เมื่อไหร่ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเม็ดเลือดขาวลดจำนวนลง เชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคจะเติบโตและแพร่ไปทั่วร่างกาย จึงไม่น่าแปลกใจที่คนที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงโรคอีสุกอีใสมักจะเป็นเด็กทารกและคนที่มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน [5] ดังนั้นการสร้างความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายน่าจะเป็นวิธีที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรมชาติมากที่สุดสำหรับการป้องกันโรคอีสุกอีใส
    • นอนหลับให้เพียงพอ (หลับให้สนิท) กินผักและผลไม้สดเยอะๆ ลดปริมาณน้ำตาล ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ดูแลสุขอนามัยและออกกำลังเบาๆ ทั้งหมดนี้สามารถช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับภูมิคุ้มกันได้ [6]
    • อาหารเสริมสามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานได้ เช่น วิตามินซี วิตามินดี สังกะสี เอ็กไคนาเซีย สารสกัดจากใบมะกอก
    • ภูมิคุ้มกันคนเราอาจแย่ลงได้จากอาการป่วย เช่น มะเร็ง เบาหวาน การติดเชื้อเอชไอวี จากการรักษาทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การฉายรังสี การใช้สเตียรอยด์ การกินยามากเกินไป จากความเครียดเรื้อรังและการขาดสารอาหาร
  3. เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นอีสุกอีใส. โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เพราะสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสตุ่มอีสุกอีใสและผ่านทางอากาศ (ผ่านการไอและจาม) เชื้ออีสุกอีใสสามารถมีชีวิตอยู่ภายในอากาศได้ระยะสั้นในน้ำมูก เสมหะรวมทั้งตามสิ่งของต่างๆ [7] ดังนั้นการเลี่ยงที่จะอยู่กับผู้ป่วยอีสุกอีใสจึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีสุกอีใส การติดเชื้ออีสุกอีใสจะยังไม่แสดงอาการจนผื่นเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ 1-2 วัน เราจึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครติดเชื้ออีสุกอีใสบ้างเพียงแค่ดูอาการจากภายนอก อาการไข้ขึ้นอ่อนๆ มักเป็นสัญญาณแรกของการติดเชื้อ อาการไข้ขึ้นอาจเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกได้ว่าลูกของคุณติดเชื้ออะไรบางอย่างแล้ว
    • แยกให้เด็กอยู่อีกห้อง (ซึ่งต้องได้รับน้ำและอาหารที่ดีเหมาะสมเหมือนเดิม) และไม่ต้องให้ไปโรงเรียนอย่างต่ำ 1 สัปดาห์ การทำเช่นนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปสู่ผู้อื่น ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัยและตัดเล็บสั้นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อด้วย
    • โดยปกติใช้เวลาประมาณ 10-21 วันหลังจากสัมผัสเชื้ออีสุกอีใสร่างกายถึงจะมีอาการติดเชื้อ [8]
    • โรคอีสุกอีใสสามารถแพร่ได้โดยการสัมผัสผื่นแดงของผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด (แต่จะไม่ติดผ่านทางการไอหรือจามทางอากาศ) เพราะโรคงูสวัดก็เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับอีสุกอีใสที่ชื่อว่า varicella zoster
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การป้องกันการแพร่กระจายของโรคอีสุกอีใส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคอีสุกอีใสติดต่อกันง่ายมากและสามารถอยู่ในร่างกายคนได้ระยะเวลาสั้น ดังนั้นการทำให้บ้านสะอาดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้นจะช่วยป้องกันการติดโรคได้อีกทาง หากมีเด็กหรือสมาชิกในบ้านเป็นโรคอีสุกอีใส [9] หมั่นทำความสะอาดโต๊ะ เคาน์เตอร์ในห้องครัว ที่วางแขนของเก้าอี้ ของเล่น และผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ ที่ผู้ป่วยอาจสัมผัสก็ช่วยป้องกันการติดต่อโรคได้ ควรแยกห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะในขณะที่ป่วยเป็นอีสุกอีใส นอกจากนี้การล้างมือบ่อยๆ วันละหลายครั้งด้วยสบู่ธรรมดา ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา “ซูเปอร์บั๊ก”
    • สารทำความสะอาดบ้านหรือสารฆ่าเชื้อที่เป็นธรรมชาติหาได้ทั่วไป ได้แก่ น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำเกลือ น้ำยาฟอกขาวและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
    • คุณต้องซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนและผ้าขนหนูของผู้ป่วยอย่างสะอาดสม่ำเสมอ อาจใส่ผงฟูเวลาซักเพื่อให้สะอาดมากขึ้น
    • อย่าเอามือเข้าตาหรือเข้าปากหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วยอีสุกอีใส
  2. โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง การให้หายเองตามธรรมชาติจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัส varicella zoster เองตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ร่างกายสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสนี้ได้เองในอนาคต โรคอีสุกอีใสตามธรรมดาจะมีอาการประมาณ 5-10 วัน อาการพัฒนาจากผื่นแดง ไข้สูงอ่อนๆ ไม่อยากอาหาร ปวดหัวเบาๆ เหนื่อยล้า ไม่สบายตัว [10]
    • ทันทีที่ตุ่มแดงอีสุกอีใสขึ้นมา มักจะมีอาการ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นแรกเป็นตุ่มหนองชมพูแดง และจะลามตามตัวในไม่กี่วัน ต่อมาขั้นที่สองกลายเป็นตุ่มใส เมื่อแตกและแห้งจะกลายเป็นขั้นที่สามคือตกสะเก็ด ซึ่งใช้เวลาหลายวันกว่าจะหายดี
    • อาการผื่นคันมักเกิดตามใบหน้า หน้าอกและหลังเป็นบริเวณแรกแล้วจะกระจายไปทั่วร่างกาย
    • ตุ่มใสประมาณ 300-500 ตุ่มอาจขึ้นตามตัวระหว่างการติดเชื้ออีสุกอีใส [11]
  3. นอกจากวัคซีนป้องกันแล้ว ยาต้านไวรัสก็เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากอีสุกอีใส ผู้มีความเสี่ยงอาจได้รับยาต้านไวรัสระยะสั้นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ยาต้านไวรัสมีหน้าที่ฆ่าเชื้อไวรัสและหยุดการเติบโตแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใสที่แพทย์มักแนะนำให้ใช้ได้แก่ อะซิโคลเวียร์ วาลาซิโคลเวียร์ แฟมซิโคลเวียร์ และยา immune globulin intravenous (IGIV) [12] ยาเหล่านี้มักใช้เพื่อลดความรุนแรงของอาการอีสุกอีใส ดังนั้นจึงมักให้ยานี้แก่ผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีผื่นขึ้น
    • ยาวาลาซิโคลเวียร์และแฟมซิโคลเวียร์ใช้ได้กับผู้ใหญ่เท่านั้น เด็กห้ามใช้
    • ยาต้านเชื้อไวรัสที่ได้จากส่วนประกอบธรรมชาติก็ได้แก่อาหารเสริมวิตามินซี สารสกัดจากใบมะกอก กระเทียม น้ำมันออริกาโนและซิลเวอร์คอลลอยด์. อาจปรึกษาแพทย์แผนโบราณ แพทย์ทางเลือกหรือนักโภชนาการเพื่อหาวิธีป้องกันอีสุกอีใสโดยใช้ยาต้านไวรัสจากธรรมชาติ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ร้อยละ 15-20 ของคนที่ได้รับวัคซีนอีสุกอีใสหนึ่งเข็มยังเป็นโรคอีสุกอีใสได้หากได้รับเชื้อ แต่มักมีอาการไม่รุนแรงเลย
  • การฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสไม่สามารถฉีดให้กับสตรีตั้งครรภ์ได้ จึงมีการฉีดอิมมูนโกลบูลินของไวรัส varicella ให้กับสตรีตั้งครรภ์แทนวัคซีนอีสุกอีใส เพื่อป้องกันเชื้ออีสุกอีใส
  • แม้ว่าคุณจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ถ้าเป็นโรคอีสุกอีใสก็ยังสามารถแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นได้
โฆษณา

คำเตือน

  • พบแพทย์หากคุณไม่เคยฉีดวัคซีนแล้วไปอยู่ที่ที่เสี่ยงได้รับเชื้ออีสุกอีใส โดยเฉพาะเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่ภูมิต้านทานต่ำ
  • รีบพบแพทย์ทันทีเมื่อลูกของคุณแสดงอาการดังต่อไปนี้: ผื่นแดงที่มาพร้อมกับอาการเวียนหัว หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ไออย่างหนัก อาเจียน คอแข็ง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส [13]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,809 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา