ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณฟอร์แมตไดรฟ์โดยใช้ Disks utility ที่ติดมากับ Ubuntu ได้เลย แต่ถ้าใช้ Disks utility แล้ว error หรือพาร์ทิชั่นเสียหาย ให้ฟอร์แมตด้วย GParted แทน คุณใช้ GParted ปรับขนาดพาร์ทิชั่นที่มีได้ด้วย เช่น สร้างพาร์ทิชั่นที่ 2 จากที่ว่างในไดรฟ์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ทำ Quick Format

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ง่ายที่สุดคือเปิด Dash แล้วพิมพ์ disks แล้วจะเห็นรายชื่อทุกไดรฟ์ที่เชื่อมต่ออยู่ ทางซ้ายของหน้าต่าง
  2. ทุกไดรฟ์จะโผล่มาในกรอบทางซ้าย เวลาเลือกไดรฟ์ต้องระวัง เพราะทุกอย่างในพาร์ทิชั่นจะถูกลบไปหลังฟอร์แมต
  3. เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่สำหรับปรับแต่ง file system
  4. ให้คลิกเมนู "Type" แล้วเลือก file system ที่จะใช้
    • ถ้าจะใช้ไดรฟ์ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Linux, Mac และ Windows รวมถึงทุกอุปกรณ์ที่รองรับ USB storage ให้เลือก "FAT"
    • ถ้าจะใช้ไดรฟ์เฉพาะใน Linux ให้เลือก "Ext4"
    • ถ้าจะใช้ไดรฟ์เฉพาะใน Windows ให้เลือก "NTFS"
  5. คุณใส่ label ให้ volume ที่ฟอร์แมตได้ โดยพิมพ์ในช่องว่าง จะได้หาเจอง่ายๆ เวลาเชื่อมต่อไดรฟ์ไว้
  6. ตามค่า default ขั้นตอนการฟอร์แมตจะลบแต่ไม่เซฟทับข้อมูลในไดรฟ์ ถ้าอยากลบข้อมูลข้างในแบบหมดจด ให้เลือก "Overwrite existing data with zeroes" ในเมนู "Erase" แบบนี้จะเสร็จช้ากว่าแต่แน่ใจได้ว่าไม่มีข้อมูลไหนตกค้าง
  7. จะมีให้ยืนยันก่อนเริ่มขั้นตอน ถ้าไดรฟ์ใหญ่ก็จะฟอร์แมตนานหน่อย ยิ่งถ้าเลือกฟอร์แมตแบบ secure erase ยิ่งนาน
    • ถ้ามีปัญหาตอนฟอร์แมตไดรฟ์ ให้ลองใช้ GParted ในวิธีการถัดไปแทน
  8. พอฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ให้คลิกปุ่ม "Mount" ที่โผล่มาใต้กราฟ Volumes เพื่อ mount พาร์ทิชั่น ทำให้เข้า file system แล้วใช้งาน storage เก็บข้อมูลได้ ให้คลิกลิงค์ที่โผล่มา เพื่อเปิดใน file browser หรือเปิด Files program แล้วมองหาไดรฟ์ในกรอบทางซ้าย [1]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ใช้ GParted

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณเปิด Terminal ได้ใน Dash หรือโดยกด Ctrl + Alt + T
  2. พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้เพื่อติดตั้ง GParted จะมีให้ใส่ user password โดยตอนพิมพ์รหัสจะถูกซ่อนไว้
    • sudo apt-get install gparted
    • กด Y ตอนที่ขึ้นเพื่อไปต่อ
  3. เปิด Dash แล้วพิมพ์ "gparted" เพื่อหา "GParted Partition Editor" จะมีแถบแทนแต่ละพาร์ทิชั่นของไดรฟ์ปัจจุบัน และพื้นที่ว่างที่มี
  4. คลิกเมนูมุมขวาบนให้ขยายลงมา แล้วเลือกไดรฟ์ที่จะฟอร์แมต ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นอันไหน ให้สังเกตจากขนาดของไดรฟ์
  5. ก่อนจะเปลี่ยนแปลงอะไรใน GParted ต้อง unmount พาร์ทิชั่นนั้นซะก่อน โดยคลิกขวาพาร์ทิชั่นในรายชื่อหรือกราฟ แล้วเลือก "Unmount"
  6. เป็นการลบพาร์ทิชั่นนั้นแล้วเปลี่ยนเป็น unallocated space (พื้นที่ว่างที่ยังใช้งานไม่ได้) จากนั้นก็สร้างพาร์ทิชั่นใหม่จากพื้นที่นั้นได้เลย แล้วฟอร์แมตด้วย file system
    • คลิกขวาพาร์ทิชั่นที่จะลบ แล้วคลิก "Delete"
  7. พอลบพาร์ทิชั่นแล้ว ให้คลิกขวา unallocated space แล้วเลือก "New" เพื่อเริ่มสร้างพาร์ทิชั่นใหม่
  8. ตอนสร้างพาร์ทิชั่น คุณเลื่อนแถบเพื่อเลือกได้ ว่าจะใช้พื้นที่ในพาร์ทิชั่นนั้นเท่าไหร่
  9. ใช้เมนู "File system" เลือกฟอร์แมตพาร์ทิชั่น ถ้าจะใช้ไดรฟ์กับหลายอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการ ให้เลือก "fat32" แต่ถ้าจะใช้ไดรฟ์เฉพาะใน Linux ให้เลือก "ext4"
  10. จะได้หาเจอง่ายๆ ในระบบ
  11. พาร์ทิชั่นจะถูกเพิ่มใน operations queue ท้ายหน้าจอ
  12. หนึ่งในฟีเจอร์ต่างๆ ของ Gparted ก็คือสามารถปรับขนาดพาร์ทิชั่นได้ เพื่อให้พาร์ทิชั่นใหม่ใช้พื้นที่ว่างที่เหลืออยู่ คุณเลยแบ่งไดรฟ์เดียวเป็นหลายพาร์ทิชั่นได้ โดยไม่ส่งผลใดๆ ต่อข้อมูลในไดรฟ์
    • คลิกขวาพาร์ทิชั่นที่จะปรับขนาด แล้วเลือก "Resize/Move"
    • ลากขอบพาร์ทิชั่นเพื่อกำหนดพื้นที่ว่างก่อนหรือหลัง
    • คลิก "Resize/Move" เพื่อยืนยันค่าใหม่ พาร์ทิชั่นใหม่ที่สร้างต้องไม่เกิน unallocated space ที่เหลือจากขั้นตอนด้านบน
  13. คลิกปุ่มติ๊กถูกสีเขียว เพื่อเริ่มใช้ค่าใหม่. ค่าใหม่จะยังไม่มีผลใช้งานจนกว่าจะกดปุ่มนี้ พอคลิกแล้ว พาร์ทิชั่นไหนที่กำหนดไว้ ก็จะถูกลบไปพร้อมข้อมูลข้างในทั้งหมด ต้องแน่ใจก่อนว่าตั้ง settings ถูกต้องแล้ว
    • กว่าขั้นตอนทั้งหมดจะเสร็จสิ้นต้องใช้เวลา โดยเฉพาะถ้ามีหลายพาร์ทิชั่นหรือไดรฟ์ค่อนข้างใหญ่
  14. พอฟอร์แมตเสร็จ ก็ปิด GParted แล้วเข้าไดรฟ์ใหม่ได้เลย จะอยู่ในรายชื่อไดรฟ์ ใน Files program [2]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,942 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา