ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เป็นไวรัสที่ติดต่อสู่มนุษย์ได้หลังถูกยุงกัด ยุงที่มีชิคุนกุนยายังเป็นพาหะของโรคอื่นๆ ด้วย เช่น ไข้เลือดออก (dengue) และไข้เหลือง (yellow fever) ชิคุนกุนยาพบได้ทั่วโลก รวมถึงแถบแคริบเบียน และเขตอากาศร้อนชื้นของเอเชีย ไปจนถึงแอฟริกา อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ ณ ตอนนี้ยังไม่มียา วัคซีน หรือวิธีกำจัดไวรัสชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ จะเป็นการบรรเทาอาการมากกว่า [1] สำคัญมากว่าต้องรีบสังเกตสัญญาณและอาการของโรคชิคุนกุนยา จากนั้นรักษาแก้อาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตอาการและสัญญาณบอกโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคระยะเฉียบพลัน (acute phase) จะแสดงอาการรวดเร็วในช่วงสั้นๆ [2] บางทีก็ไม่มีอาการเลยนาน 2 - 12 วันหลังถูกยุงที่มีเชื้อกัด ที่พบบ่อยคือไม่แสดงอาการ 3 - 7 วัน แต่พอแสดงอาการ จะเป็นอยู่ประมาณ 10 วันแล้วค่อยดีขึ้น [3] อาการต่อไปนี้คืออาการที่พบได้ช่วงระยะเฉียบพลัน
    • เป็นไข้ : ปกติไข้จะสูงประมาณ 39 - 40.5°C (102 - 105°F) และมักเป็นนานประมาณ 3 - 7 วัน [4] [5] ลักษณะคือจะเป็นไข้แบบ biphasic คือเป็นไข้ 2 ช่วง (เป็นแล้วหายไป 2 - 3 วัน จากนั้นเป็นไข้ต่ำๆ (38 – 39°C หรือ 101 – 102°F) อีก 2 - 3 วัน ระหว่างนั้นไวรัสจะสะสมในกระแสเลือด แล้วแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
    • Arthritis (ข้ออักเสบ) : จะเริ่มมีอาการตามข้อเล็กๆ ที่มือ ข้อมือ ข้อเท้า และข้อใหญ่ๆ อย่างเข่า และไหล่ แต่ไม่เป็นที่สะโพก [6] ผู้ป่วยประมาณ 70% จะมีอาการปวดลามจากข้อหนึ่งไปยังอีกข้อ คือพอเริ่มจะหายปวดข้อแรก ก็จะปวดข้ออื่นตาม [7] จะปวดเป็นพิเศษในตอนเช้า ถ้าบริหารเบาๆ ก็จะช่วยให้ทุเลาลง ข้อจะดูบวมหรือกดเจ็บด้วย รวมถึงมีอาการเอ็นอักเสบ (tenosynovitis) [8] ปกติอาการปวดข้อจะหายไปใน 1 - 3 อาทิตย์ และเจ็บมากแค่ช่วงอาทิตย์แรกเท่านั้น แต่ก็มีบางรายเหมือนกัน ที่ปวดข้อนานต่อไปเป็นปี
    • ผื่นผิวหนัง : ผู้ป่วยประมาณ 40% - 50% จะมีผื่นขึ้นด้วย ที่พบบ่อยสุดคือ morbilliform eruption (maculopapular) หรือผื่นนูนแดง คือเป็นผื่นแดงและมีตุ่มนูนเล็กๆ ผสมกัน ผื่นจะขึ้น 3 - 5 วันหลังเริ่มมีไข้ แล้วจะดีขึ้นใน 3 - 4 วัน ปกติผื่นจะเริ่มขึ้นที่แขนก่อน แล้วลามไปที่หน้ากับตัว [9] ให้ถอดเสื้อแล้วส่องกระจก สังเกตว่ามีตุ่มแดงตามตัวและคันไหม อย่าลืมส่องที่แผ่นหลัง ต้นคอ และรักแร้ด้วย
  2. โรคระยะกึ่งเฉียบพลัน (subacute phase) จะกินระยะเวลา 1 - 3 เดือนหลังผ่านระยะเฉียบพลัน ช่วงระยะนี้อาการหลักๆ คือข้ออักเสบ และอาจมีความผิดปกติในหลอดเลือดร่วมด้วย เช่น Raynaud’s phenomenon
    • อาการของ Raynaud’s phenomenon คือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมือและเท้าได้น้อยลง เมื่อถูกกระตุ้นด้วยความเย็นหรือตึงเกร็ง ให้ลองสังเกตปลายนิ้วดู ว่าเย็นและสีออกคล้ำๆ ม่วงๆ ไหม
  3. โรคระยะเรื้อรัง (chronic phase) จะเริ่มหลังมีอาการระยะเฉียบพลันไปได้ 3 เดือน สังเกตได้จากอาการปวดข้อต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วย 33% ปวดข้อ (arthralgia) นานถึง 4 เดือน ผู้ป่วย 15% ปวดนาน 20 เดือน และผู้ป่วย 12% ปวดต่อเนื่อง 3 - 5 ปีเลยทีเดียว [10] มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าผู้ป่วย 64% มีอาการข้อยึด และ/หรือปวดข้อนานเกิน 1 ปีตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ [11] คุณอาจจะมีอาการไข้กลับซ้ำ อาการ asthenia (อ่อนแรงหรืออ่อนเพลียผิดปกติ) arthritis คือข้อบวม/อักเสบหลายจุด และ tenosynovitis (เอ็นอักเสบ)
    • ถ้าเป็นโรคข้ออื่นอยู่แล้ว เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ก็ยิ่งเสี่ยงมีอาการชิคุนกุนยาในระยะเรื้อรัง [12]
    • ถึงจะพบน้อยมาก แต่ผู้ป่วยบางคนก็เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ โดยจะแสดงอาการในระยะเวลาประมาณ 10 เดือน [13]
  4. อาการที่พบบ่อยและเห็นเด่นชัด คือมีไข้ ผื่นขึ้น และปวดข้อ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่นกัน เช่น [14]
    • ปวดกล้ามเนื้อ/ปวดหลัง (Myalgia)
    • ปวดหัว
    • เจ็บระคายคอ
    • ปวดท้อง
    • ท้องผูก
    • ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม
  5. อาการของชิคุนกุนยาจะเหมือนกับอาการของโรคจากยุงส่วนใหญ่ เพราะงั้นต้องแยกให้ออก โรคที่อาการคล้ายกับชิคุนกุนยาก็เช่น
    • โรคฉี่หนู (Leptospirosis) : สังเกตว่าตัวเองปวดน่องหรือเดินแล้วเจ็บไหม รวมถึงลองส่องกระจกว่าตาขาวสีแดงสดหรือเปล่า (เลือดออกใต้เยื่อบุตา หรือ subconjunctival hemorrhage) เป็นอาการที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก ต้องนึกย้อนว่าช่วงนี้เพิ่งไปเที่ยวฟาร์ม สัมผัสกับสัตว์หรือน้ำที่ปนเปื้อนหรือเปล่า เพราะเชื้อแพร่ได้ทั้งทางน้ำและในดิน
    • ไข้เลือดออก (Dengue fever) : นึกย้อนว่าช่วงนี้ไปที่ที่ยุงเยอะหรือถูกยุงกัดหรือเปล่า โดยเฉพาะถ้าไปแถบร้อนชื้นอย่างแอฟริกา อเมริกาใต้ อเมริกากลาง แคริบเบียน อินเดีย และทางใต้ของอเมริกาเหนือ เพราะเป็นแถบที่ไข้เลือดออกชุม ให้ส่องกระจกดู ว่ามีรอยช้ำ จุดเลือด หรือปื้นแดงในตาขาวไหม รวมถึงเลือดออกที่เหงือก หรือเลือดกำเดาไหลเรื่อยๆ ไหม เลือดออกนี่แหละจุดต่างที่ชัดเจนระหว่างไข้เลือดออกกับชิคุนกุนยา
    • มาลาเรีย (Malaria) : นึกย้อนว่าช่วงนี้ไปที่ที่ยุงเยอะหรือถูกยุงกัดหรือเปล่า โดยเฉพาะถ้าไปแถบอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบบ้านเรา สังเกตว่าคุณรู้สึกหนาวสั่นไหม รวมถึงมีไข้และเหงื่อโทรมหรือเปล่า ถ้าเป็นจะเป็นอยู่ประมาณ 6 - 10 ชั่วโมง พอหายก็อาจเป็นซ้ำได้เรื่อยๆ
    • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) : มักระบาดในบริเวณที่คนอยู่หนาแน่น ถ้าคุณไปในที่ที่ว่า ก็เท่ากับสุ่มเสี่ยง ให้ลองวัดไข้ และเช็คร่างกายว่าคอแข็งหรือปวด/ขัดๆ ตอนหันหน้าหรือเปล่า จะมีอาการปวดหัวรุนแรงและอ่อนเพลีย/สับสนมึนงงร่วมด้วย บางทีก็มีผื่นกับตุ่มเล็กๆ สีแดง น้ำตาล หรือม่วง ที่อาจลามกลายเป็นรอยด่างขนาดใหญ่ กระทั่งแผลพุพอง ปกติผื่นจะขึ้นตามตัว ขา ฝ่ามือ และฝ่าเท้า
    • ไข้รูมาติก (Rheumatic fever) : มักเกิดหลังติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส เช่น คออักเสบ (strep throat) ไม่ได้เกิดจากยุงกัด มักพบในเด็กอายุ 5 - 15 ปี เด็กจะมีอาการปวดข้อหลายจุดแบบทยอยปวด (ข้อแรกดีขึ้นก็ปวดข้ออื่นต่อ) และไข้ขึ้นเหมือนชิคุนกุนยา แต่จะต่างกันตรงที่ไข้รูมาติกเด็กจะมีอาการเคลื่อนไหวหรือกระตุกแบบควบคุมและคาดเดาไม่ได้ (chorea) มีตุ่มเล็กๆ ที่ไม่เจ็บใต้ผิวหนัง และผื่นขึ้น ผื่นจะเป็นแบบราบหรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย ขอบไม่เรียบ (erythema marginatum) และดูเป็นปื้นหนาหรือเป็นวงขอบชมพูเข้ม ด้านในจะสีอ่อนลง [15]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาและบรรเทาอาการจากโรคชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณหมอจะตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และโรคอื่นๆ ที่มียุงเป็นพาหะ ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปตรวจร่างกายกับคุณหมอ [16]
    • เป็นไข้นานเกิน 5 วัน หรือไข้สูงกว่า 39°C (103°F)
    • วิงเวียน (เพราะความผิดปกติทางระบบประสาท หรือขาดน้ำ)
    • นิ้วมือนิ้วเท้าเย็น (โรค raynaud's)
    • เลือดออกในปากหรือใต้ผิวหนัง (อาจเป็นไข้เลือดออก)
    • มีผื่น
    • ปวดข้อ ข้อแดง ยึด หรือบวม
    • ฉี่น้อย (อาจจะเพราะขาดน้ำ แบบนี้อันตรายต่อไต)
  2. คุณหมอจะส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจที่แล็บ ซึ่งจะมีการทดสอบหลายๆ อย่าง วิธี ELISA (enzyme linked immunoassay) ใช้หาแอนติบอดีต้านไวรัสโดยเฉพาะ ปกติแอนติบอดีนี้จะถูกสร้างปลายอาทิตย์แรกที่ติดเชื้อ และแข็งแรงที่สุดช่วง 3 อาทิตย์ และอยู่ได้ 2 เดือน ถ้าผลเป็นลบ คุณหมออาจขอตรวจเลือดซ้ำว่าแอนติบอดีนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่ [17] [18]
  3. ตอนนี้ยังไม่มียาหรือวิธีรักษาไวรัสชิคุนกุนยาโดยเฉพาะหรือที่รับรองผลได้ และไม่มีวัคซีนป้องกันชิคุนกุนยา เพราะฉะนั้นมักมุ่งเน้นบรรเทาอาการ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) แนะนำให้ดูแลตัวเองอยู่ที่บ้านด้วยการพักผ่อนเยอะๆ จะช่วยบรรเทาอาการและให้เวลาร่างกายได้ฟื้นตัว ให้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่ไม่ชื้นหรือร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ปวดข้อกว่าเดิม [23]
    • ใช้เจลแพ็คประคบแก้ปวดลดอักเสบ จะใช้ถุงผักแช่แข็ง เนื้อแช่แข็ง หรือน้ำแข็ง/ถุงน้ำแข็งแทนก็ได้ แต่ไม่ว่าจะใช้อะไร ให้ห่อผ้าขนหนูก่อนแล้วค่อยเอามาประคบบริเวณที่ปวด ห้ามประคบที่ผิวโดยตรงแบบไม่ห่อผ้าก่อนเด็ดขาด เพราะจะอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
  4. ถ้าคุณมีไข้และปวดข้อ ให้กินยาพาราเซตามอล หรือ acetaminophen โดยกิน 1 เม็ด (เม็ดละ 500 มก.) แล้วดื่มน้ำตาม แบบนี้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อวัน สำคัญมากว่าต้องดื่มน้ำเยอะๆ ตลอดวัน เพราะมีไข้แล้วร่างกายอาจขาดน้ำได้ รวมถึงเกลือแร่ไม่สมดุล ต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน เติมเกลือผสมไปด้วย (แทน electrolyte sodium)
    • ถ้ามีปัญหาโรคไตหรือตับอยู่แล้ว ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนกินยาพาราเซตามอล/acetaminophen ถ้าคนป่วยคือลูก ให้ปรึกษาหมอเด็กหรือเภสัชกรเรื่องปริมาณยาที่เหมาะสม
    • อย่ากินยาแอสไพรินหรือยากลุ่ม NSAIDS (ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์) ตัวอื่นๆ เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน และอื่นๆ เพราะชิคุนกุนยาจะคล้ายกับโรคอื่นที่มียุงเป็นพาหะมาก เช่น ไข้เลือดออก ถ้ากินผิดจะทำให้เลือดออกไม่หยุด ยาแอสไพรินกับยากลุ่ม NSAIDS จะไปเจือจางเลือด ทำให้ยิ่งตกเลือด เวลาตรวจวินิจฉัย คุณหมอเลยต้องฟันธงก่อนเสมอว่าคุณไม่ได้เป็นไข้เลือดออก คุณหมออาจแนะนำให้กินยากลุ่ม NSAIDS เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อได้ ถ้าเช็คแล้วไม่เป็นไข้เลือดออก
    • ถ้าปวดข้อจนทนไม่ไหว หรือกินยา NSAIDS ตามที่หมอสั่งแล้วก็ไม่ดีขึ้น คุณหมออาจจ่ายยา hydroxychloroquine 200 มก. ให้กินวันละ 1 ครั้ง หรือ chloroquine phosphate 300 มก. วันละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 4 อาทิตย์
  5. ให้ออกกำลังกายเบาๆ จะได้ไม่ไปกระตุ้นให้ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อมากยิ่งขึ้น ถ้าเป็นไปได้ให้นัดทำกายภาพกับนักกายภาพบำบัด จะได้เสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบข้อ ช่วยบรรเทาปวดและข้อยึดได้ พยายามออกกำลังกายตอนเช้า เพราะข้อกำลังยึดได้ที่ ท่าออกกำลังกายที่แนะนำก็เช่น
    • นั่งบนเก้าอี้ ยืดขาข้างหนึ่งขนานกับพื้น แล้วค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นเอาลง ฝ่าเท้าราบไปกับพื้น ต่อมาทำซ้ำอีกข้าง ทำวันละหลายๆ ครั้ง ให้ได้ข้างละ 2 - 3 เซ็ต เซ็ตละ 10 ครั้ง
    • ยืนเท้าชิด เขย่งปลายเท้า ยกส้นเท้าขึ้นลง ซ้ำๆ
    • หันไปด้านข้าง ยกขาข้างหนึ่งขึ้นสักวินาทีแล้ววางบนขาอีกข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง จากนั้นหันไปอีกด้าน แล้วสลับขาทำซ้ำแบบเดิม ให้ทำข้างละ 10 ครั้ง วันละหลายๆ เซ็ต
    • จะออกกำลังกายแบบแอโรบิคเบาๆ ก็ได้ แต่ห้ามออกแรงเยอะหรือรวดเร็ว และห้ามเล่นเวท
  6. ตัวคุณอาจจะแห้งแตก เป็นเกล็ด (xerosis) หรือมีผื่นคัน (morbilliform rash) ซึ่งก็ไม่ต้องรักษาแต่อย่างใด แต่คอยดูแลแก้คันและคืนความชุ่มชื้นให้ผิวกลับมาสภาพดีตามธรรมชาติ ให้ทาน้ำมันแร่ (mineral oil) ครีมมอยส์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่นคาลาไมน์ก็ได้ [24] ถ้ามีผื่นคันให้กินยาแก้แพ้ เช่น diphenhydramine ตามคำแนะนำที่ฉลาก จะช่วยให้เซลล์ก่อการอักเสบลดการหลั่งโปรตีนที่ทำให้คัน
    • เวลากินยาแก้แพ้ต้องระวัง เพราะทำให้ง่วงซึมได้ กินแล้วห้ามขับรถหรือใช้เครื่องจักร
    • แช่น้ำอุ่นผสม colloidal oatmeal หรือข้าวโอ๊ตบดเป็นผงละเอียด ก็ช่วยบรรเทาอาการระคายผิวได้
    • ถ้าผิวด่าง มีจุดสีเข้มขึ้นไม่ยอมหาย ให้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี hydroquinone จะช่วยให้จุดด่างดำจางลงหรือขาวขึ้นได้ [25]
    • เดี๋ยวนี้มีน้ำยาและครีมช่วยบรรเทาอาการระคายผิวเยอะแยะ แต่ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อน ว่าเหมาะสมกับคุณไหม
  7. เขาว่าถ้าใช้สมุนไพรร่วมกับพืชชนิดต่างๆ แล้วช่วยบรรเทาอาการของโรคชิคุนกุนยาได้ ถึงส่วนใหญ่จะหาซื้อได้เองตามร้านขายยา แต่ก็ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมสมุนไพรต่างๆ เช่น [26]
    • Eupatorium perfoliatum 200C: เป็นยาโฮมีโอพาธีย์ที่คนนิยมใช้บรรเทาอาการของโรคชิคุนกุนยากันมากที่สุด เป็นสารสกัดจากพืชที่ควรใช้ตอนมีอาการ จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ และอาการปวดข้อได้ วิธีใช้คือให้กิน 6 หยดแบบเข้มข้น ติดต่อกัน 1 เดือน ตอนที่มีอาการ
    • Echinacea: เป็นสารสกัดจากดอกไม้ ใช้บรรเทาอาการของโรคชิคุนกุนยา โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกัน ให้กิน 40 หยดต่อวัน โดยแบ่งกินให้ได้ 3 ครั้งต่อวัน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ระวังโรคแทรกซ้อนและป้องกันชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องระวังโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) ให้ดี เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ [27] วิธีจับชีพจรง่ายๆ คือเอาปลายนิ้วชี้กับนิ้วกลางกดข้อมือต่ำจากนิ้วโป้งลงมา ถ้าเจอชีพจร นั่นคือหลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) ให้นับว่า 1 นาทีหัวใจเต้นกี่ครั้ง ถ้า 60 - 100 ครั้งถือว่าปกติ และให้สังเกตด้วยว่าหัวใจเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอไหม ถ้าเต้นหรือหยุดผิดจังหวะ แสดงว่าเป็น arrhythmia บางทีหัวใจจะเต้นถี่ขึ้นมาหรือหยุดเต้นไปบางจังหวะ ในรูปของอาการใจสั่น (palpitations) ถ้ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะให้รีบไปหาหมอทันที จะได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) โดยติดขั้วไฟฟ้า (electrodes) ที่หน้าอก คอยตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ
    • ไวรัสชิคุนกุนยาอาจโจมตีเนื้อเยื่อหัวใจจนเกิดการอักเสบ (โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis)) จนหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  2. เฝ้าระวังไข้ อาการอ่อนเพลีย และสับสนมึนงง เพราะพวกนี้เป็นสัญญาณของโรคไข้สมองอักเสบ (encephalitis) นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการว่อกแว่ก ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ถ้ารู้ตัวว่าปวดหัวรุนแรง คอแข็ง/ปวดคอ ไวต่อแสง มีไข้ ชักเกร็ง เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย เป็นไปได้ว่าคุณเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบ (meningoencephalitis) เป็นอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) กับโรคไข้สมองอักเสบ (เนื้อเยื่อไขสันหลังที่เชื่อมต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบ) รวมกัน [28]
    • ถ้ามีอาการบาดเจ็บที่เส้นประสาท ขึ้นมาจากขาหรือแขน เป็นไปได้ว่าเป็น Guillain Barre syndrome ให้คอยสังเกตร่างกายทั้ง 2 ฝั่ง ว่าความรู้สึก การตอบสนอง และการเคลื่อนไหวช้าลงไหม รวมถึงสังเกตอาการเจ็บปวด เช่น ปวดแปลบ แสบร้อน ชา หรือจี๊ดเหมือนเข็มแทง ถ้าลามขึ้นท่อนบน จะทำให้หายใจไม่สะดวกได้ เพราะเส้นประสาทของกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจนั้นบาดเจ็บ [29]
    • ถ้าหายใจลำบากหรือมีอาการที่กล่าวไป ให้รีบไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที [30]
  3. สังเกตว่าปวดตา ตาฉ่ำ หรือตาแดงไหม เพราะเป็นอาการเยื่อบุตาอักเสบ (conjunctivitis) ตาขาวอักเสบ (episcleritis) หรือภาวะม่านตาอักเสบ (uveitis) รวมถึงอาจตาพร่า มองเห็นภาพเบลอ ตาไวต่อแสงได้ (ม่านตาอักเสบ) ถ้ามีอาการตามที่ว่า ต้องไปหาหมอทันที
    • ถ้ามีปัญหาเรื่องการมองเห็นตรงกลาง (central vision) หรือสีของสิ่งต่างๆ ที่เห็นอยู่ทุกวันเกิดซีดจางลง แสดงว่าม่านตาและเส้นประสาทอาจอักเสบ (neuroretinitis) [31]
  4. ลองส่องกระจกดูว่าตัวเหลืองหรือตาขาวออกเหลือง (ดีซ่าน (jaundice)) ไหม เพราะเป็นสัญญาณบอกโรคตับอักเสบ (hepatitis) เป็นแล้วของเสียจากตับ (bilirubin) จะรั่ว ทำให้ผิวกลายเป็นสีเหลืองและคัน ต้องรีบไปหาหมอด่วน
    • ถ้าไม่รีบรักษา ตับอักเสบจะรุนแรงจนตับวายได้
  5. ชิคุนกุนยาทำให้ขาดน้ำ เพราะเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอจนทำงานผิดปกติ ทำให้ไตวายได้ เพราะงั้นต้องคอยสังเกตว่าตัวเองฉี่มากฉี่น้อย ถ้าฉี่น้อยลงมาก แถมข้น สีเข้ม ให้รีบไปหาหมอด่วน
    • คุณหมอหรือแผนกฉุกเฉินจะตรวจฉี่ในแล็บซึ่งบอกผลได้ชัดเจนกว่า รวมถึงเช็คการทำงานของไต และให้น้ำเกลือถ้ามีภาวะขาดน้ำ
  6. ให้เช็คแผนที่การระบาดของชิคุนกุนยาในเว็บของศูนย์ควบคุมโรคของประเทศหรือท้องที่นั้นๆ [32] ถ้าจำเป็นต้องไปยังพื้นที่นั้นจริงๆ ก็ป้องกันโรคได้ด้วยหลายวิธี เช่น [33]
    • เดินหรือไปข้างนอกตอนกลางคืน เพราะยุงกัดตลอดเวลา แต่ชิคุนกุนยาจะระบาดหนักช่วงกลางวัน
    • ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ปกคลุมร่างกายป้องกันยุงให้ได้มากที่สุด พยายามใส่เสื้อผ้าสีอ่อน จะเห็นยุงและแมลงต่างๆ ที่มาเกาะง่ายกว่า
    • ตอนกลางคืนให้กางมุ้งนอน แบบนี้ยุงไม่ไต่ไรไม่ตอม
    • ใช้ยากันยุงที่มีสาร DEET มากกว่า 20% นอกจากนี้ส่วนผสมอื่นๆ ก็เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส Picaridin และ IR3535 ยิ่ง active ingredient (สารออกฤทธิ์) เยอะ ก็ยิ่งออกฤทธิ์นาน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • Hydroxychloroquine กับ Chloroquine phosphate คือยาปรับเปลี่ยนการดำเนิน (disease-modifying) ของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ซึ่งก็ใช้กับอาการข้ออักเสบรุนแรงในคนที่เป็นชิคุนกุนยาได้เห็นผลเช่นกัน อาจต้องมีการ์เอกซเรย์ด้วย เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหายของกระดูกอ่อนที่ข้อ [34]
  • บางคนก็เชื่อว่าดื่มน้ำมะพร้าวเยอะๆ แล้วช่วยได้ดีเช่นกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้ตกเลือดในกระเพาะหรือลำไส้ได้ รวมถึงเกิด Reye’s syndrome ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งอย่างหลังถือว่าอันตรายมาก โดยเฉพาะเคสที่อายุ 4 - 12 ขวบ เพราะสมองกับตับอาจเสียหายรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Staples J, Hills S, Powers A. Chikungunya. Chapter 3 Infectious Diseases Related to Travel. CDC. May 2, 2014. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-3-infectious-diseases-related-to-travel/chikungunya
  2. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=2133
  3. Chikungunya Virus Clinical Fact Sheet. Armed Forces Pest Management Board. June 20, 2014. http://www.afpmb.org/sites/default/files/contingency/chikungunya/Chikungunya%20Virus%20Fact%20Sheet%20Clinical.pdf
  4. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  5. Staples J, Hills S, Powers A. Chikungunya. Chapter 3 Infectious Diseases Related to Travel. CDC. May 2, 2014. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-3-infectious-diseases-related-to-travel/chikungunya
  6. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  7. Information for Healthcare providers. Chikungunya fever. Pan American Health Organization. Jan 2014.
  8. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  9. Bandyopadhyay D, Ghosh S. MUCOCUTANEOUS MANIFESTATIONS OF CHIKUNGUNYA FEVER. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 64–67.
  1. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  2. Staples J, Breiman R, Powers A. Chikungunya Fever: An Epidemiological Review of a Re-Emerging Infectious Disease. Emerging Infections. 2009:49 (15 September).
  3. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  4. Bouquillard E, Combe B. A report of 21 cases of rheumatoid arthritis following Chikungunya fever. A mean follow-up of two years. Joint, Bone, & Spine Journal. 76 (2009) 654–657.
  5. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  6. Guidelines on clinical management of chikungunya fever. World Health Organization. October 2008.
  7. Guidelines on clinical management of chikungunya fever. World Health Organization. October 2008.
  8. Chikungunya Fact Sheet. World Health Organization. May 2015. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs327/en/
  9. Chikungunya virus Diagnostic testing. CDC. June 25, 2014. http://www.cdc.gov/chikungunya/hc/diagnostic.html
  10. Chikungunya Fact Sheet. World Health Organization. May 2015. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs327/en/
  11. Chikungunya virus Diagnostic testing. CDC. June 25, 2014. http://www.cdc.gov/chikungunya/hc/diagnostic.html
  12. Chikungunya Fact Sheet. World Health Organization. May 2015. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs327/en/
  13. Chikungunya virus Diagnostic testing. CDC. June 25, 2014. http://www.cdc.gov/chikungunya/hc/diagnostic.html
  14. Guidelines on clinical management of chikungunya fever. World Health Organization. October 2008.
  15. Bandyopadhyay D, Ghosh S. MUCOCUTANEOUS MANIFESTATIONS OF CHIKUNGUNYA FEVER. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 64–67.
  16. Bandyopadhyay D, Ghosh S. MUCOCUTANEOUS MANIFESTATIONS OF CHIKUNGUNYA FEVER. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 64–67.
  17. http://www.newsday.co.tt/features/0,203399.html
  18. Mendoza I. et al. ChIkungunya Myocarditis: An emergIng threAt to AmerIcA. American College of Cardiology-Heart Failure and Cardiomyopathies - Presentation Number: 1184-222. March 17, 2015 Volume 65, Issue 10S
  19. Kalita J, Kumar P, Misra U.K. Stimulus-sensitive myoclonus and cerebellar ataxia following chikungunya meningoencephalitis. A Journal of Infectious Disease. June 2013, Volume 41, Issue 3, pp 727-729.
  20. Lebrun G. et al. Guillain-Barré Syndrome after Chikungunya Infection. Journal of Emerging Infectious Diseases. 2009 Mar; 15(3): 495–496.
  21. Lebrun G. et al. Guillain-Barré Syndrome after Chikungunya Infection. Journal of Emerging Infectious Diseases. 2009 Mar; 15(3): 495–496.
  22. Mohan A. et al. EPIDEMIOLOGY, CLINICAL MANIFESTATIONS, AND DIAGNOSIS OF CHIKUNGUNYA FEVER: LESSONS LEARNED FROM THE RE-EMERGING EPIDEMIC. Indian Journal of Dermatology. 2010 Jan-Mar; 55(1): 54–63.
  23. http://www.cdc.gov/chikungunya/geo/index.html
  24. Nasci R, Gutierrez E, Wirtz R, Brogdon W. Protection against Mosquitoes, Ticks, & Other Insects & Arthropods. Chapter 2 Pre Travel Consultation. CDC. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/protection-against-mosquitoes-ticks-and-other-insects-and-arthropods
  25. Guidelines on clinical management of chikungunya fever. World Health Organization. October 2008.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 71,727 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา