ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีชีวิตปกติอาจฟังดูเป็นเป้าหมายง่ายๆ แต่ที่จริงแล้วมันเป็นแนวคิดที่ซับซ้อน สิ่งที่จัดว่าปกติสำหรับคนหนึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นสำหรับอีกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนต่างวัฒนธรรมหรือสังคม ขณะเดียวกันแนวคิดเรื่องสภาวะปกตินั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในการที่จะมีชีวิตที่ปกติ คุณจะต้องเลือกให้ได้ว่าอะไรเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณ ขณะที่แต่ละบุคคลต่างเพลิดเพลินกับเอกลักษณ์และความเป็นปัจเจกบุคคลของตน คนอื่นๆ อาจต้องการกิจวัตรและแบบแผนในชีวิต [1] หาสิ่งที่คุณมองว่าเป็นเรื่องปกติให้พบและสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีสำหรับตัวคุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หาให้เจอว่าสภาวะปกติสำหรับคุณคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะว่าคุณจะต้องทำหลายสิ่งมากในการจะ “เปลี่ยน” ตัวคุณ คุณจึงควรที่จะ “เข้าใจ” ตัวคุณเสียก่อน [2] สังคมทั้งหมดทั้งมวลต่างประกอบขึ้นด้วยปัจเจกบุคคลที่บุคลิกลักษณะแตกต่างกัน คุณต้องเลือกให้ได้ว่าอะไรถือเป็นสิ่งปกติสำหรับคุณ มันหมายถึงการหลุดออกจากกรอบหรือทำตามกฎเมื่ออยู่ในสังคมที่เคร่งครัด? เพื่อที่จะชี้ชัดว่าสภาวะปกติสำหรับคุณคืออะไร ถามตัวเองดูว่า:
    • คุณสบายใจที่สุดเมื่อทำตามสั่งและดำรงไว้ซึ่งโครงสร้างทางสังคมที่เคร่งครัดหรือไม่
    • คุณเพลิดเพลินกับความอิสระที่ได้คิดไขปัญหาอะไรๆ ด้วยตัวเองหรือไม่
    • คุณมีความสุขที่สุดเมื่อทุกคนรอบข้างคุณต่างยอมรับการกระทำของคุณหรือไม่
    • คุณอยากจะทดลองใช้ชีวิตแบบใหม่ๆ แบบบรรดาคนนอกกระแสบ้างมั้ย
  2. ลองคิดดูว่าอะไรที่จัดว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมของคุณ. แม้ว่าคุณเป็นปัจเจกบุคคล คุณก็ยังใช้ชีวิตอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะในระดับละแวกบ้าน ชุมชน หรือภูมิภาค แต่ละสังคมต่างมีชุดจารีตและค่านิยมที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าสิ่งไหนจัดว่าปกติ ลองคิดดูว่าแบบปฏิบัติและสถาบันต่างๆ ในสังคมของคุณสนับสนุนแนวคิดเรื่องสภาวะปกติอย่างไรบ้าง สิ่งนี้จะช่วยให้คุณแสดงอัตลักษณ์ของตนเองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ [3]
    • เช่น คุณอาจอยู่ในที่ที่การพูดเร็วและหยาบหน่อยๆ เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับได้ แต่กับอีกที่หนึ่ง การกระทำดังกล่าวอาจทำให้คุณถูกจัดว่าเป็นพวกนอกคอก การตระหนักรู้ถึงสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ในที่สาธารณะของคุณได้
  3. ทุกคนต่างเคยตกอยู่ในภาวะอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ทั้งนั้น จงเตรียมตัวรับมือและเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเองในช่วงเวลายากลำบาก เช่น หากคุณเกิดเถียงกันอย่างเป็นจริงเป็นจังกับใครสักคนเรื่องความเชื่อส่วนตัวของคุณ คุณควรรู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไรจึงจะเหมาะสม ไม่ขัดหู จงรู้ไว้ว่าการตอบโต้อย่างรุนแรงแสดงถึงปมลึกๆ ในใจที่คุณเองก็ต้องจัดการกับมัน
    • คุณจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหากคุณใช้ชีวิตบนความเชื่อและความรู้สึกของตนเอง มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้อื่นมาบงการชีวิตคุณว่าอะไรเหมาะสมหรือจัดเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณ [4]
  4. รับมือกับเหตุการณ์สะเทือนใจที่คอยฉุดรั้งคุณไว้. หากช่วงหนึ่งของชีวิต คุณเคยผ่านประสบการณ์น่าสะเทือนใจ มันไม่แปลกที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวหรือแตกต่างจากคนอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แผลในใจอาจมีผลกระทบอย่างถาวรต่อสารเคมีในร่างกาย ซึ่งอาจมีผลต่อวิธีที่คุณมองตัวเองและสิ่งรอบๆ ตัวตลอดไปก็เป็นได้ [5] ขณะที่คุณอาจมองว่าตัวเองไม่ปกติ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่เคยผ่านเรื่องราวร้ายๆ มาสามารถช่วยให้คุณรู้ว่าคุณก้าวผ่านเหตุการณ์นั้นๆ และใช้ชีวิตได้ตามปกติสุข ลองมองหากลุ่มสนับสนุนผู้มีบาดแผลทางจิตใจเพื่อเข้าร่วมดู [6] ประสบการณ์เหล่านั้นอาจเป็นบ่อเกิดของความกล้าและความเข้มแข็งสำหรับคุณหากคุณสามารถนำผลกระทบของมันมาใช้แทนที่จะพยายามเลี่ยง ไม่เผชิญหน้ากับมัน
    • เมื่อคุณสร้างกิจวัตรหรือจังหวะชีวิตที่ลงตัวได้แล้ว คุณก็สามารถทดลองดูได้ว่าอะไรคืออารมณ์ปกติสำหรับคุณ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณแสดงอารมณ์ที่อยู่ลึกที่สุดและอารมณ์ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งของคุณออกมาได้ [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

สร้างกิจวัตรเพื่อสร้างสภาวะปกติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย กิจวัตรที่คุณทำอยู่แล้วเป็นประจำ กิจวัตรสามารถช่วยสร้างสภาวะปกติและวินัยในตัวเองได้ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกมีความสามารถและสามารถเอาชนะอุปสรรคใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น คุณอาจลองออกเดินในช่วงเวลาเดิมๆ หรือทำอาหารเช้าทุกเช้าให้เป็นนิสัย สิ่งเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่มันจะช่วยสร้างจังหวะชีวิตและสร้างสภาวะปกติให้กับชีวิตของคุณ [8]
    • เลี่ยงรูปแบบการใช้ชีวิตที่มากเกินและเร็วเกินไป นั่นอาจยับยั้งความก้าวหน้าของคุณโดยการทำให้คุณมัวแต่ง่วนกับการทำสิ่งซ้ำๆ เดิมๆ [9]
    • การหากิจวัตรประจำวันหรือรูปแบบพฤติกรรมที่เหมาะสมกับคุณให้เจอสามารถลดความเครียดและทำให้คุณมีความมั่นใจที่จะลองแสดงความเป็นตัวเองออกมา
  2. การศึกษาช่วยเชื่อมโยงตัวคุณกับผู้คน ความคิด และทรัพยากรต่างๆ ที่ตัวคุณเองอาจไม่สามารถเข้าถึงได้ ตามโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ต่างมีวุฒิหลากหลายให้เลือกเรียน ลองมองหาดูว่ามีวุฒิไหนบ้างที่อาจเข้ากันกับสภาวะปกติที่คุณพยายามที่จะสร้างให้กับตัวคุณ หากไม่เจอเลย คุณอาจต้องเลือกทางที่แตกต่างสักหน่อยด้วยการมองหาโรงเรียนอาชีวะหรือช่างฝึกหัดในด้านที่คุณสนใจ อย่าปิดกั้นสภาวะปกติของตัวเองด้วยการทำตามสิ่งที่คนอื่นมองว่าปกติ
    • แม้ผู้คนต่างเรียนจบจากชั้นมัธยมปลายและเข้ามหาวิทยาลัยในอัตราที่สูงกว่าที่เคยเป็นมา [10] , มันกลับเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นกว่าเคยที่คนเรียนจบจากมหาวิทยาลัยโดยไม่มี ความพร้อมมากพอที่จะทำงานในสายที่ตนเรียนจบมา [11]
  3. เป็นไปได้ว่าคุณจะต้องมีงานทำเพื่อที่จะดูแลตัวเองได้ คุณจึงควรวางแผน เพราะคุณอาจต้องดูแลมากกว่าแค่ตัวคุณเอง อย่าเลือกงานเพียงเพราะงานนั้นเป็นที่นิยม ซึ่งไม่ได้จำเป็นเลยว่ามันจะทำให้คุณมีความสุขกับงานนั้น [12] ให้คุณถามตัวเองว่าคนหรือสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่คุณอยากจะเจอทุกๆ วันแทน หากงานนั้นดูจะไม่เข้ากับบุคลิกของคุณและคุณไม่คิดว่าคุณจะมีความสุขได้ ก็คิดหางานใหม่ที่คุณสามารถเป็นตัวของตัวเองได้เลย
  4. การแต่งงานอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับบางคนแต่มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นสำหรับทุกคน ให้คุณพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับคนจากกลุ่มสังคมที่หลากหลายขึ้นแทน การได้สัมผัสกับคนหลายรูปแบบสามารถช่วยให้คุณเจอคนที่เข้ากันได้อย่างแท้จริง
    • ไม่ว่าคุณจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มไหน คุณก็จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้คนรอบกายคุณ สิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่งในการที่จะช่วยให้คุณรู้สึกถึงสภาวะปกติในชีวิตประจำวันของคุณ [14]
  5. การดูแลสัตว์เลี้ยงที่ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากคุณเป็นประจำทุกวันสามารถสร้างสภาวะปกติได้ในหลายๆ ทาง การดูแลสัตว์เลี้ยงสามารถช่วยสร้างกิจวัตรประจำวันและสร้างความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ ของคุณในทุกๆ วันได้ การศึกษาวิจัยยังพบด้วยว่า โดยทั่วไป เจ้าของสัตว์เลี้ยงมักจะสุขภาพดีกว่าและมีความสุขกว่าคนที่ไม่เลี้ยงสัตว์ [15] และหากคุณไม่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์ในระยะยาวหรือมีลูก การเริ่มจากเลี้ยงสัตว์สักตัวสามารถนำคุณไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับผู้อื่นได้
    • ระลึกไว้เสมอว่าการเลือกสัตว์เลี้ยงให้เหมาะกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยและกิจวัตรประจำวันมีความสำคัญมาก หากคุณไม่มีเวลาหรือสถานที่เพียงพอ การดูแลสัตว์เลี้ยงอาจจบด้วยความเครียดเพิ่มและทำให้ปวดใจได้ในระยะยาว
  6. แม้มันอาจดูขัดกับความเชื่อ การเอาตัวเองไปเผชิญกับคนมากหน้าหลายตา ประเพณีและวัฒนธรรมอันหลากหลายจะทำให้คุณรู้สึกว่าคุณปกติกว่าการที่คุณเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่มาจากเมืองเดียวกัน การเดินทางสามารถช่วยให้คุณเห็นว่าโลกเราใหญ่และมีความหลากหลายมากเพียงใด ยิ่งออกเดินทางมากคุณก็จะยิ่งเห็นเองว่าความแตกต่างเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆ วัฒนธรรม
    • เลี่ยงการใช้การเดินทางเป็นการหลีกหนี แทนที่จะทำเช่นนั้น ให้คุณออกเดินทางเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับตัวคุณ ผู้อื่น และสิ่งที่คุณรู้สึกสนุกกับมันให้มากขึ้น [16]
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อช่วยได้ การออกจากโลกของตัวเองด้วยการช่วยเหลือผู้อื่นสามารถช่วยให้คุณใช้ชีวิตตามครรลองได้
  • แม้แต่บุคคลที่มีความแปลกหรือคนเจ๋งๆ ก็มักต้องการกิจวัตรประจำวันเพื่อบรรลุเป้าหมายของพวกเขา [17]
  • การเป็นคน ‘ปกติ’ ไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับการ ‘มีความสุข’
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.psychiatrictimes.com/major-depressive-disorder/association-between-major-mental-disorders-and-geniuses
  2. Sparrow, T. (2011). Ecological Necessity. Thinking Nature, 1. Retrieved from http://issuu.com/naughtthought/docs/ecological_necessitybytomsparrow
  3. Richardson, C., & Skott-Myhre, H. A. (Eds.). (2012). Habitus of the Hood. Bristol: Intellect Ltd.
  4. http://c.ymcdn.com/sites/www.nationalwellness.org/resource/resmgr/docs/sixdimensionsfactsheet.pdf
  5. Van der Kolk, B. (2014). The Body Keeps the Score: Brain, Mind, and Body in the Healing of Trauma (1 edition). New York: Viking.
  6. http://www.traumasurvivorsnetwork.org/pages/peer-support-groups
  7. Malabou, C. (2012). The New Wounded: From Neurosis to Brain Damage. (S. Miller, Trans.) (1 edition). New York: Fordham University Press.
  8. Sparrow, T., & Malabou, C. (2015). Plastic Bodies: Rebuilding Sensation After Phenomenology. Ann Arbor: Open Humanities Press.
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/changepower/201009/routines-comforting-or-confining
  1. http://www.ed.gov/news/press-releases/us-high-school-graduation-rate-hits-new-record-high
  2. http://www.insidehighered.com/sites/default/server_files/files/Bridge%20That%20Gap-v8.pdf
  3. Kim, J., Heo, J., Lee, I. H., & Kim, J. (2014). Predicting Personal Growth and Happiness by Using Serious Leisure Model. Social Indicators Research, 122(1), 147–157. http://doi.org/10.1007/s11205-014-0680-0
  4. Bélanger, J. J., Pierro, A., Kruglanski, A. W., Vallerand, R. J., De Carlo, N., & Falco, A. (2015). On feeling good at work: the role of regulatory mode and passion in psychological adjustment. Journal of Applied Social Psychology, 45(6), 319–329. http://doi.org/10.1111/jasp.12298
  5. Lin, N., Dean, A., & Ensel, W. M. (2013). Social Support, Life Events, and Depression. Academic Press.
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/the-mindful-self-express/201208/do-pets-help-or-hurt-our-health-look-the-research
  7. http://observer.com/2014/02/a-month-at-a-time-why-i-quit-travelling-and-started-living-mini-lives/
  8. http://mentalfloss.com/article/12500/11-historical-geniuses-and-their-possible-mental-disorders

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,136 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา