ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กรดไหลย้อน (Acid reflux) เกิดเมื่อกรดในกระเพาะย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร (esophagus) ทำให้ระคายคอ แสบร้อน และยิ่งอาการหนักเวลาก้มตัวหรือนอนลง รวมถึงมีรสเปรี้ยวหรือขมในปาก [1] เวลาเป็นกรดไหลย้อนจะทรมานน่าดู คนส่วนใหญ่เลยอยากหาวิธีรักษาตัวให้หายไวๆ ซึ่งก็โชคดีว่าคุณรักษาตัวได้ด้วยวิธีธรรมชาติ แต่ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนว่าสภาพอาการคุณเหมาะจะใช้สมุนไพรหรือเปล่า นอกจากนี้ต้องหาหมอเช็คร่างกาย ถ้าเป็นกรดไหลย้อนอาทิตย์ละ 2 ครั้งขึ้นไป อาการไม่ดีขึ้น หรืออาการรุนแรงกว่าเดิม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินอาหารมื้อเล็กลง และห้ามกินอะไร 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน. ค่อยๆ ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลง เพื่อลดความเครียดและลดภาระการทำงานให้กระเพาะ อย่ากินอาหาร 2 - 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาหารจะไปกดทับกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (LES) ระหว่างนอนหลับ
  2. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน. ต้องหาให้เจอ ว่าอาหารประเภทไหนกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน ลองบันทึกอาหารและเครื่องดื่มที่กินเข้าไปในแต่ละวันดู ว่าอะไรกินแล้วเกิดกรดไหลย้อน เริ่มจากรายชื่ออาหารที่มักกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน แล้วค่อยเพิ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ทำคุณกรดไหลย้อนเข้าไปเรื่อยๆ ถ้ากินอะไรเข้าไป 1 ชั่วโมงแล้วกรดไหลย้อน ให้งดอาหารชนิดนั้นไปเลย
    • ตัวอย่างอาหารที่มักทำให้กรดไหลย้อนก็เช่น อาหารเผ็ดๆ อาหารไขมันสูง มะเขือเทศ และอาหารอื่นๆ ที่ทำจากมะเขือเทศ (เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสสปาเก็ตตี้) ผลไม้รสเปรี้ยวและน้ำผลไม้รสเปรี้ยว แอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะไวน์แดง) ช็อคโกแลต และมิ้นท์
    • เช่น ถ้ากินสปาเก็ตตี้กับมีทบอล ราดซอสมะเขือเทศ (tomato sauce) เป็นอาหารเย็น แล้วเกิดกรดไหลย้อนภายใน 1 ชั่วโมง แสดงว่าตัวกระตุ้นอาจเป็นสปาเก็ตตี้ มีทบอล หรือซอสมะเขือเทศก็ได้ คราวหน้าลองเริ่มจากไม่ราดซอสดู ถ้ากรดน้อยลง เป็นไปได้มากว่าคุณกรดไหลย้อนเพราะซอสมะเขือเทศนี่เอง แต่ถ้ายังมีอาการ แสดงว่าอาจเป็นที่พาสต้าหรือมีทบอล วันถัดมาให้กินพาสต้าที่เหลือเดี่ยวๆ ไม่ใส่มีทบอลและซอส ถ้ายังกรดไหลย้อน แสดงว่าคุณต้องงดพาสต้าไปเลย [3]
  3. 3
    งดบุหรี่และยาสูบอื่นๆ. การสูบบุหรี่นอกจากทำให้สุขภาพร่างกายโดยรวมแย่ลงแล้ว ยังทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ด้วย [4] ถ้าตอนนี้คุณสูบบุหรี่อยู่ ให้ปรึกษาคุณหมอว่าจะ เลิกบุหรี่ ยังไงให้เห็นผลที่สุด บางทีคุณหมอจะจ่ายยาช่วยเลิกบุหรี่ให้ด้วย โดยจะช่วยทำให้คุณไม่ลงแดงรุนแรง
    • การสูบบุหรี่ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่แบ่งกระเพาะออกจากหลอดอาหารอ่อนแอลง ทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารง่ายขึ้น จนเกิดอาการแสบร้อนกลางอก (heartburn) [5]
  4. มีหลายอย่างในชีวิตประจำวัน ที่ถ้าเปลี่ยนแปลงแล้วจะช่วยเรื่องกรดไหลย้อนได้ อย่างเรื่องเสื้อผ้า แนะนำให้ใส่เสื้อผ้าสบายๆ ไม่คับแน่นจนรัดหน้าท้อง เพราะจะไปกดทับที่กระเพาะ จนแน่นท้อง กรดไหลย้อนได้
  5. บางคนก็กรดไหลย้อนเป็นพิเศษตอนกลางคืน ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนั้น ให้หนุนช่วงตัวสูงแบบกึ่งนั่งกึ่งนอน แรงโน้มถ่วงจะช่วยให้กรดในกระเพาะไม่ไหลย้อนขึ้นมา พอกรดไม่ไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร ตอนกลางคืนก็หลับสบาย
  6. หลังกินอาหารเสร็จ ลองแกะหมากฝรั่งแบบไม่แต่งรสหวาน (sugar-free) มาเคี้ยวดู ที่ช่วยได้เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายทำงาน ปล่อยไบคาร์บอเนตในน้ำตาล ตัวไบคาร์บอเนตนี่แหละที่ไปลดกรดเกินในกระเพาะได้ [8]
    • อย่าเคี้ยวหมากฝรั่งที่แต่งรสหวาน เพราะยิ่งทำให้กรดในกระเพาะเยอะกว่าเดิม
    • ลองเคี้ยวหมากฝรั่ง mastic gum ดู ทำจากเรซิ่นของต้นมาสติก ชื่อว่า Pistacia lentiscus มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย ใช้กำจัดเชื้อ H. pylori ที่มักเกี่ยวข้องกับแผลในกระเพาะ (peptic ulcers) หรือกรดเกินในกระเพาะได้ด้วย [9]
  7. โปรไบโอติกส์คือแบคทีเรียหลายๆ ชนิดผสมกัน ซึ่งปกติแบคทีเรียเหล่านี้พบได้ในกระเพาะ เช่น ยีสต์ saccharomyces boulardii, culture ของ lactobacillus และ bifidobacterium แบคทีเรียดีพวกนี้ปกติอยู่ในลำไส้ จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และกระเพาะแข็งแรงขึ้นได้ [10]
    • แหล่งอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ก็ เช่น โยเกิร์ต ที่มี active cultures (แบคทีเรียมีชีวิต) หรือจะกินอาหารเสริมก็ได้ แต่ต้องอ่านคำแนะนำและคำเตือนที่ฉลากให้ดี ให้เลือกโปรไบโอติกส์เสริมในโซนตู้แช่ของร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ
  8. เขย่ง 10 ครั้งทุกเช้า ช่วยเรื่องกรดไหลย้อนได้. ปกตินักจัดกระดูก (chiropractor) แนะนำท่านี้สำหรับรักษาไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernias) แต่ก็ใช้แก้ปัญหากรดไหลย้อนได้ด้วย ให้ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว ประมาณ 6 - 8 ออนซ์ (180 - 240 มล.) หลังตื่นนอน จากนั้นยืนตรง กางแขนออก งอข้อศอกเข้ามา จากนั้นประสานมือตรงหน้าอก เขย่งปลายเท้า สุดท้ายวางส้นเท้ากลับลงมา ทำซ้ำ 10 ครั้งด้วยกัน
    • พอทำครบ 10 ครั้ง อย่าเพิ่งเอาแขนลง แต่ให้หายใจตื้นๆ เร็วรัวสัก 15 วินาที ทำซ้ำทุกเช้าจนอาการกรดไหลย้อนดีขึ้น
    • ขั้นตอนนี้เหมือนจะช่วยจัดกระเพาะและกระบังลม ทำให้ไส้เลื่อนไม่มารบกวนหลอดอาหาร [11]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

ใช้วิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินแอปเปิ้ลเพราะเปลือกเป็นช่วยลดกรดตามธรรมชาติ. ฝรั่งมีคำกล่าวที่ว่า "กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ลูก แล้วจะห่างไกลหมอ" ซึ่งก็ถูกของเขา เพราะแอปเปิ้ลดีต่อสุขภาพมาก แถมช่วยลดกรดไหลย้อนได้ด้วย โดยเพคติน (pectin) ในเปลือกแอปเปิ้ลมีสรรพคุณลดกรดตามธรรมชาติ และดีต่อสุขภาพเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ช่วยให้ถุงน้ำดีทำงานได้ดียิ่งขึ้น [12]
    • ถ้าไม่ชอบกินแอปเปิ้ลเปล่าๆ ลองทำเป็นสลัดหรือปั่นเป็นสมูธตี้ดู
    • เน้นกินแอปเปิ้ลแดงหวานๆ จะดีกว่ากินแอปเปิ้ลเขียวเปรี้ยวๆ เพราะทำให้กรดไหลย้อนหนักกว่าเดิม
    • หรือกินกล้วยแทนแอปเปิ้ลก็ได้ เพราะกรดน้อย เพคตินสูงเหมือนกัน [13]
  2. ขิงมีสรรพคุณต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อยตามธรรมชาติ [14] แถมช่วยเรื่องคลื่นไส้อาเจียนด้วย คุณชงน้ำขิงได้โดยหั่นขิงสด 1 ช้อนชา (2 กรัม) ใส่ในน้ำเดือด ชงทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วรินใส่ถ้วย ดื่มได้เลย
    • จะดื่มวันละกี่ครั้งก็ได้ แต่เน้นประมาณ 20 - 30 นาทีก่อนอาหาร
    • หรือซื้อน้ำขิงแบบซอง/ถุงมาชงก็ได้ ถ้าไม่มีขิงสด
  3. มีชาและน้ำสมุนไพรอีกหลายชนิด ที่ดื่มแล้วแก้กรดไหลย้อนได้ อย่างผักชีล้อม (Fennel) ก็ช่วยให้ท้องไส้ไม่ปั่นป่วน ลดกรดเกินในกระเพาะได้ คุณชงน้ำผักชีล้อมได้โดยบดเมล็ดผักชีล้อม 1 ช้อนชา (2 กรัม) แล้วเติมน้ำเดือด 1 ถ้วยตวง (240 มล.) จากนั้นแต่งรสหวานด้วยน้ำผึ้งหรือหญ้าหวาน ใช้ดื่มวันละ 2 - 3 ถ้วยตวง (470 - 710 มล.) 20 นาทีก่อนอาหาร
    • หรือใช้ผง/เมล็ดมัสตาร์ดชงชาแทน มัสตาร์ดมีสรรพคุณต้านการอักเสบ และช่วยลดกรดเกิน ให้ละลายผงมัสตาร์ดในน้ำเพื่อชงชา แต่ถ้าไหว จะกินมัสตาร์ด 1 ช้อนชา (5 มล.) เพียวๆ เลยก็ได้
    • หรือชงชาคาโมไมล์ดื่มให้สบายท้องแทน เพราะมีสรรพคุณต้านการอักเสบ [15] ใช้ได้ทั้งชาคาโมไมล์แบบถุงและใบชา
  4. มีสมุนไพรอีกบางชนิดที่ใช้แก้กรดไหลย้อนได้ อย่างรากชะเอมเทศสกัด (Deglycyrrhizinated licorice root (DGL)) ก็ช่วยให้สบายท้อง ลดกรดเกินในกระเพาะได้ [16] มีแบบเม็ดเคี้ยวด้วย แต่รสชาติยากจะบรรยาย ใครไหวก็ตามสะดวก ปกติปริมาณ DGL ที่แนะนำคือ 2 - 3 เม็ด ทุก 4 - 6 ชั่วโมง
    • แนะนำให้เลือกแบบ DGL ไม่ใช่รากชะเอมเทศทั่วไป เพราะอย่างหลังยังไม่ผ่านการสกัด (deglycyrrhizinated) กินแล้วความดันสูงขึ้นได้
    • ลองใช้พืชชนิดหนึ่งชื่อ slippery elm มีทั้งแบบดื่ม 3 - 4 ออนซ์ (90 - 120 มล.) และแบบเม็ด จะช่วยไปเคลือบกระเพาะ บรรเทาอาการระคายเคือง [17] Slippery elm ถือว่าปลอดภัย ใช้กับหญิงมีครรภ์ได้ แต่ต้องเลือกที่เป็นแบบกินแก่นข้างใน และในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น [18]
    • ไม่ว่าจะใช้อะไร ในปริมาณเท่าไหร่ ต้องอ่านคำแนะนำและคำเตือนก่อนเสมอ
  5. จิบน้ำว่านหางจระเข้ก็ช่วยลดการระคายเคืองได้. ว่านหางจระเข้ไม่ได้ลดอาการระคายเคืองแค่ภายนอกเท่านั้น แต่น้ำว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณช่วยเยียวยาอีกหลายประการ ให้ซื้อน้ำว่านหางจระเข้แท้ๆ ไม่เสริมเติมแต่ง แล้วดื่ม 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.) จะจิบไปเรื่อยๆ ตลอดวันก็ได้ แต่ระวังว่ามีสรรพคุณเป็นยาระบาย แนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 1 - 2 ถ้วยตวง (240 - 470 มล.)
  6. ถึงจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่บอกเลยว่าน้ำส้มสายชูกลั่นจากแอปเปิ้ลช่วยลดกรดไหลย้อนได้ ลองผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) กับน้ำ 6 ออนซ์ (180 มล.) คนให้เข้ากัน ใช้ดื่มได้เลย น้ำส้มสายชูที่ว่าไม่จำเป็นต้องออร์แกนิก แต่ขอให้เป็นน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล
    • ถึงอย่างนั้นก็ยังมีหลักฐานงานวิจัยมารองรับไม่มากนัก ว่าน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลช่วยเรื่องกรดไหลย้อนได้ แถมถ้าดื่มมากไป อาจทำให้กรดไหลย้อนหนักกว่าเดิม [20] ถ้าจะใช้วิธีนี้ ต้องใช้อย่างระวัง และหยุดใช้ทันทีถ้าไม่ได้ผล หรืออาการหนักกว่าเดิม
  7. เบคกิ้งโซดาเป็นเบส เลยช่วยต้านฤทธิ์ของกรดได้ [21] เลยมีผลต่อกรดในกระเพาะด้วย คุณผสมน้ำดื่มได้โดยละลายเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา (ประมาณ 5 กรัม) ในน้ำประมาณ 6 ออนซ์ (180 มล.) คนให้เข้ากันแล้วดื่มได้เลย ช่วยลดกรดเกินในกระเพาะได้เห็นผลมาก
    • ย้ำว่าให้ใช้เบคกิ้งโซดา (baking soda) ไม่ใช่ผงฟู (baking powder) เพราะผงฟูแทบไม่ช่วยอะไร
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

จัดการความเครียด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเครียด โดยเฉพาะความเครียดเรื้อรัง มีผลต่อการเกิดกรดไหลย้อน [22] ถ้าอยากบรรเทาอาการ ต้องลดความเครียดในแต่ละวันให้ได้ คุณคลายเครียดได้โดยเข้าไปในห้องเงียบๆ หรือที่เงียบๆ ด้านนอก แล้ว หายใจเข้าออกลึกๆ สัก 2 - 3 นาที โดยหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก เวลาหายใจออก ให้นานกว่าตอนหายใจเข้า 2 เท่า แล้วทำซ้ำตามขั้นตอนบ่อยเท่าที่ต้องการ
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าต้องหายใจยังไง ให้นับเลขช่วย เช่น หายใจเข้านับถึง 6 - 8 และหายใจเข้า นับถึง 12 - 16
  2. ลองเทคนิคการเกร็งแล้วคลายกล้ามเนื้อ (progressive muscle relaxation). ใครๆ ก็เครียดกัน สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association (APA)) เลยแนะนำหลากหลายวิธีคลายเครียด เช่น เทคนิคการเกร็งแล้วคลายกล้ามเนื้อ (progressive muscle relaxation) [23] ขั้นตอนคือยืนตัวตรง เกร็งกล้ามเนื้อจากเท้า น่อง ไล่มาทีละจุด ให้เกร็งค้างไว้เยอะที่สุดใน 30 วินาที จากนั้นค่อยๆ คลายกล้ามเนื้อ แล้วไล่ขึ้นไปที่ขา และทำซ้ำ
    • ฝึกแบบเดียวกันกับมือ ท่อนแขน ต้นแขน ไหล่ ไปจนถึงกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระเพาะด้วย ทำแบบนี้ซ้ำทุกวัน [24]
  3. ไม่ว่าจะกำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน ถึงจะเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนจริงๆ ไม่ได้ก็ตาม แต่คุณก็พักสมอง ใช้จินตนาการคลายเครียดได้ [25] เริ่มจากหายใจลึกๆ 2 - 3 ครั้ง ผ่อนคลาย แล้วหลับตาลง จินตนาการถึงสถานที่สวยงามที่สุดที่เคยไป หรือจะเป็นสถานที่ในฝันก็ได้
    • พยายามจับความรู้สึก รับรู้ถึงสถานที่นั้นให้ละเอียดที่สุด ดมกลิ่นบรรยากาศ รู้สึกถึงสายลมที่พัดมา ฟังเสียงต่างๆ รอบตัว ให้ทำซ้ำแบบนี้ทุกวัน [26]
  4. สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association (AHA)) ได้แนะนำเทคนิค “คลายเครียดเฉพาะหน้า” ให้ได้ใช้กันในสถานการณ์ตึงเครียด [27] เช่น ถ้าพบว่าตัวเองกำลังเครียดจัด ให้นับ 1 ถึง 10 ก่อนจะอ้าปากพูด แล้วหายใจลึกๆ 3 - 5 ครั้ง ถ้าไม่ไหวจริงๆ ให้พาตัวเองออกไปจากสถานการณ์ตึงเครียด แล้วบอกว่าไว้ค่อยเคลียร์กันทีหลัง หรือจะไปเดินเล่นไกลๆ ให้หัวโล่งก็ได้
    • จะช่วยคลายความตึงเครียดได้ ถ้าทำผิดแล้วกล้าพูดออกไปว่า "ขอโทษ"
    • ตั้งปลุกเร็วขึ้น 5 - 10 นาที จะได้ไม่ต้องเครียดเพราะไปสาย ถ้าตื่นเช้าก็ขับรถช้าๆ ได้ แถมไม่ต้องเครียดกับรถติด ใจเย็นไปตลอดทาง
    • แตกปัญหาใหญ่ให้แยกย่อยเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น ตอบจดหมายหรือโทรติดต่อวันละครั้ง วันละเรื่อง อย่าเหมาทุกเรื่องในวันเดียวให้ปวดหัว
  5. นิสัยการนอนที่ว่า ก็คือทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนอนและรูปแบบการนอนในแต่ละวัน [28] มูลนิธิการนอนแห่งชาติ (The National Sleep Foundation (NSF)) แนะนำว่าอย่านอนกลางวัน เพราะจะไปรบกวนวงจรการนอนและตื่นนอนตามปกติ รวมถึงงดใช้สารกระตุ้นต่างๆ เช่น คาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ ใกล้เวลานอน ถึงดื่มแอลกอฮอล์แล้วทำให้ง่วงได้ก็จริง แต่ก็จะไปรบกวนการนอนทีหลัง ตอนที่ร่างกายเริ่มเผาผลาญแอลกอฮอล์
    • ให้ออกกำลังกายหนักๆ เฉพาะช่วงเช้าและเย็น ถ้าตอนดึก ทำได้แค่ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อการผ่อนคลายเท่านั้น เช่น ยืดเหยียด หรือโยคะ แบบนี้จะได้หลับเต็มอิ่ม
    • ตอนกลางคืน ก่อนนอน อย่ากินอาหารมื้อใหญ่ รวมถึงช็อคโกแลต และของเผ็ด
    • ร่างกายต้องได้รับแสงแดดตามธรรมชาติ เพื่อให้นอนหลับและตื่นนอนได้ตามปกติ
  6. อย่าให้มีอะไรมารบกวนสมอง จิตใจ และร่างกายก่อนเข้านอน อย่านอนทั้งๆ ที่ยังเครียดหรือมีเรื่องกังวล ถ้าพบว่าตัวเองย้อนคิดเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างวัน หรือทบทวนปัญหาที่มี ให้ลุกขึ้นจากเตียงก่อนสัก 10 - 15 นาที [29]
    • ระหว่างนี้ให้หาอะไรทำคลายเครียด เช่น อ่านหนังสือ หายใจเข้าออกลึกๆ หรือ นั่งสมาธิ แล้วค่อยกลับไปนอน
    • เชื่อมโยงเตียงกับการนอนหลับพักผ่อน อย่านอนดูทีวีบนเตียง ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือ เพราะจะไปเชื่อมโยงการทำกิจกรรมต่างๆ กับเตียงนอน พอจะนอนจริงๆ ร่างกายจะไม่ยอมหลับ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ซื้อยากินเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ แล้วมียาหลายตัวที่คุณซื้อมากินแก้กรดไหลย้อนเองได้ ซึ่งยาหลายยี่ห้อนี้มักจะออกฤทธิ์แบบเดียวกัน ยาลดกรดช่วยปรับกรดในกระเพาะให้สมดุล ปกติจะกินต่อเนื่องเพื่อบรรเทาอาการ ประมาณ 2 อาทิตย์ด้วยกัน [30] [31]
    • ถ้าหลังจากครบตามเวลาที่กำหนดแล้วยังต้องกินยาลดกรด แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอจะปลอดภัยกว่า เพราะถ้าใช้ยาลดกรดในระยะยาว จะทำให้แร่ธาตุเสียสมดุล มีผลต่อไต และทำให้ท้องเสียได้ด้วย
    • พอเม็ดยาละลายในกระเพาะ จะเกิดชั้นโฟมป้องกัน จากยาลดกรดกับสารก่อให้เกิดโฟม ช่วยป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ตอนนี้ยาลดกรดที่มีชั้นโฟมป้องกันแบบนี้มียี่ห้อเดียวในท้องตลาด คือ Gaviscon นั่นเอง
    • ทำตามคำแนะนำและคำเตือนอย่างเคร่งครัด อย่ากินยาเกินขนาด เพราะถ้ากินยาลดกรดมากไป จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ แทน
  2. H2 blockers ก็เป็นหนึ่งในยาที่ซื้อกินเองได้ตามร้านขายยาทั่วไป มีให้เลือกหลายยี่ห้อด้วยกัน โดยจะไปลดการผลิตกรดในกระเพาะ แทนการปรับสภาพกรดอย่างยาลดกรด H2 blockers ที่หาซื้อได้ก็เช่น cimetidine (Tagamet), famotidine (Pepcid) และ ranitidine (Zantac) ยาที่ขายกันจะมาในปริมาณน้อยๆ ถ้าปริมาณเยอะ คุณหมอจะเป็นคนจ่ายให้ [32]
    • ระวังเรื่องผลข้างเคียง เช่น ท้องผูก ท้องเสีย วิงเวียน ปวดหัว ผื่นแพ้ คลื่นไส้ อาเจียน และปัญหาเรื่องปัสสาวะ ส่วนผลข้างเคียงอันตรายก็เช่น หายใจลำบาก หรือหน้า ปาก คอ และลิ้นบวม
    • ถ้าจะใช้ H2 blockers ต้องทำตามคำแนะนำและคำเตือนอย่างเคร่งครัด
  3. ศึกษาเรื่องการใช้ proton pump inhibitors (PPIs) หรือยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร. ยา PPIs จะไปยับยั้งการผลิตกรดในกระเพาะ แบบเดียวกับ H2 blockers ปกติยี่ห้อที่ขายกันตามร้านขายยาก็มี esomeprazole (Nexium), lansoprazole (Prevacid), omeprazole (Prilosec), pantoprazole (Protonix), rabeprazole (Aciphex), dexlansoprazole (Dexilant) และ omeprazole sodium bicarbonate (Zegerid) [33]
    • ผลข้างเคียงของ PPIs คือปวดหัว ท้องผูก ท้องเสีย ปวดท้อง ผื่นแพ้ และคลื่นไส้ ถ้าใช้ PPIs ในระยะยาว ก็เพิ่มความเสี่ยงเป็นกระดูกสะโพก ข้อมือ หรือสันหลังหักได้เพราะกระดูกพรุน
    • ถ้าจะใช้ยา PPIs ต้องทำตามคำแนะนำและคำเตือนอย่างเคร่งครัด
    • ถ้าใช้ยาแล้วไม่ดีขึ้นใน 2 - 3 อาทิตย์ ย้ำว่าต้องไปหาหมอเพื่อตรวจรักษาทันที เพราะอาจต้องได้รับยาแรงกว่าเดิม หรือมีโรคอื่นนอกจากกรดไหลย้อน ซึ่งอาจเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรง [34]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

อาการที่ใช้วิธีธรรมชาติได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษากรดไหลย้อนด้วยวิธีธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะปลอดภัยกับผู้ใหญ่ แต่ถ้าการใช้สมุนไพรบางตัว ไม่ปลอดภัยพอจะใช้กับเด็กและวัยรุ่น แนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเบื้องต้นก่อน ว่าเด็กหายกรดไหลย้อนไหม ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ค่อยปรึกษาแพทย์ต่อไป หรือศึกษาข้อมูลให้แน่ใจก่อนใช้สมุนไพรกับเด็กโต
  2. การใช้สมุนไพรและวิธีธรรมชาติอื่นๆ จะปลอดภัยก็ต่อเมื่อใช้แต่พอควร ถ้าเยอะไป จากดีจะกลายเป็นร้ายได้ เวลาใช้สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน ให้อ่านปริมาณที่แนะนำในฉลากก่อน แต่ถ้าสมุนไพรนั้นไม่มีคำแนะนำหรือปริมาณที่กำหนดบอกไว้ ให้ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อน ว่าแค่ไหนถึงปลอดภัยต่อสุขภาพ
    • เช่น น้ำว่านหางจระเข้ทำให้ปวดท้อง และมีปัญหาการย่อยอื่นๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นมีน้ำยางผสมด้วย ถ้ากินเยอะๆ ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้มีปัญหาที่ไตได้ [36]
    • การดื่มน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลถือว่าปลอดภัยในระยะสั้นๆ แต่ถ้าดื่มเยอะไป จะทำให้ระดับโพแทสเซียมต่ำได้ [37]
    • ถ้าใช้รากชะเอมเทศในปริมาณมากหรือต่อเนื่องนานๆ จะทำให้ปวดหัว อ่อนเพลีย ความดันสูง หัวใจวาย หรือบวมน้ำได้ ย้ำว่าห้ามใช้ติดต่อกันนานเกิน 4 - 6 อาทิตย์
  3. ถ้าไม่ได้ตั้งครรภ์หรือให้นมอยู่ ก็ใช้วิธีธรรมชาติได้. ถ้าตอนนี้ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ จะใช้วิธีธรรมชาติส่วนใหญ่ได้ปลอดภัยดี แต่ถ้ากรดไหลย้อนเพราะตั้งครรภ์ ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนในทุกกรณี เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ย้ำว่าต้องปรึกษาคุณหมอก่อนใช้สมุนไพร ปรับเปลี่ยนอาหาร หรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต [38]
    • เช่นเดียวกัน ถ้าตอนนี้อยู่ระหว่างให้นม ก็ต้องหลีกเลี่ยงการกินยาหรือสมุนไพรเอง เพราะมีผลต่อน้ำนม อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ส่วนการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ส่วนใหญ่ทำได้เลย ไม่น่าเป็นห่วง
    • ตัวอย่างบางส่วนของสมุนไพรที่อาจเป็นอันตรายต่อหญิงมีครรภ์และอยู่ในระหว่างให้นมก็เช่น น้ำว่านหางจระเข้ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ขิง ผักชีล้อม ชะเอมเทศ และ slippery elm
  4. นอกจากการตั้งครรภ์แล้ว โรคประจำตัวบางอย่างก็ไม่เอื้อต่อการใช้สมุนไพรหรือวิธีธรรมชาติต่างๆ ถ้าปกติมีโรคประจำตัวอื่นๆ นอกจากกรดไหลย้อน แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ หรือศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนลองรักษาตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติ
    • ห้ามดื่มน้ำว่านหางจระเข้ ถ้าเป็นโรคเบาหวาน โรคลำไส้ ริดสีดวง หรือโรคไต [39]
    • ปรึกษาคุณหมอก่อนใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล ถ้าเป็นเบาหวาน เพราะถึงน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็อันตรายต่อคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 [40]
    • ขิงอาจให้ผลร้ายมากกว่าดี ถ้าคุณเป็นโรคเลือดไหลง่าย โรคหัวใจ หรือเบาหวาน [41]
    • ถ้าปกติคุณแพ้ขึ้นฉ่ายฝรั่ง แครอท หรือจิงจูฉ่าย ก็เป็นไปได้ว่าจะแพ้ผักชีล้อมด้วย ให้หลีกเลี่ยงการใช้ผักชีล้อม ถ้าเป็นโรคเลือดไหลง่าย โรคที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน อย่างมะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน [42]
    • รากชะเอมเทศมักอันตรายต่อคนเป็นโรคหัวใจ หัวใจล้มเหลว มะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน บวมน้ำ ความดันสูง เบาหวาน โรคไต โรคตับ หรือโพแทสเซียมต่ำ
    • ถ้ามีปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินอาหารเสริมโปรไบโอติกส์ [43]
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

อาการที่ควรไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงปกติสมุนไพรจะใช้ได้ ปลอดภัยดี แต่ก็ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกเพศทุกวัย เพราะจะไปกระทบต่อยาที่ใช้อยู่ประจำ จนอาการแย่กว่าเดิมได้ นอกจากนี้อาจเกิดอาการแพ้สมุนไพรบางตัว ให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อให้แน่ใจว่าสมุนไพรที่ใช้ปลอดภัยและเหมาะกับสุขภาพคุณ [44]
    • แจ้งคุณหมอด้วยว่าคุณใช้ยาและอาหารเสริมอะไรอยู่
    • ปรึกษาคุณหมอว่ากำลังรักษาอาการกรดไหลย้อนอยู่ จะได้ไม่จ่ายยาหรือสมุนไพรที่อาจทำให้อาการหนักขึ้นได้
    • ถ้ากำลังตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องสมุนไพรก่อนใช้ จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ [45]
  2. ถ้ามีอาการแสบร้อนกลางอกมากกว่าอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ให้หาหมอ. นานๆ ทีแสบร้อนกลางอกบ้าง ถือว่าปกติ แต่ถ้าเกิดบ่อยๆ แปลว่าสุขภาพมีปัญหาแล้ว ถ้าคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกอาทิตย์ละ 2 ครั้งขึ้นไป ให้รีบหาหมอตรวจเช็คร่างกายหาสาเหตุ แล้ววางแผนการรักษาร่วมกับคุณหมอ เพื่อให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายคุณที่สุด [46]
    • คุณหมอจะตรวจร่างกายและวินิจฉัยให้เอง ว่าคุณมีกรดไหลย้อนหรือเปล่า
    • ถ้าคิดว่าเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น GERD (กรดไหลย้อนรุนแรง) ก็อาจจะต้องส่องกล้อง โดยสอดกล้องเล็กๆ บางๆ ลงไปตามลำคอ ซึ่งไม่เจ็บตัวแต่อย่างใด รวมถึงอาจจะมีการเช็คภาพภายใน เช่น เอกซเรย์ หรือตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (esophageal motility test) ด้วย [47]
  3. ปกติอาการแสบร้อนกลางอกจะหายเองตามธรรมชาติ แต่ก็ใช่ว่าจะได้ผลกับทุกคน และบางทีอาจมีโรคร้ายแรงเป็นต้นเหตุ ถ้ารักษาตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติแล้วไม่หาย ให้ไปหาหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป [48]
    • แจ้งคุณหมอว่าคุณทดลองรักษาอาการแสบร้อนกลางอกด้วยตัวเองมาแล้ว โดยอธิบายรายละเอียดของวิธีการให้ชัดเจน
    • คุณหมออาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพิ่มเติม แต่ก็อาจจะจ่ายยาร่วมด้วยในบางเคส
  4. ต้องไปหาหมอทันที ถ้ามีปัญหาเรื่องการกลืน คลื่นไส้ หรือน้ำหนักลด. บางทีก็กรดไหลย้อนหนักมาก จนกลืนอาหารหรือน้ำได้ลำบาก ท้องไส้ปั่นป่วน หรือน้ำหนักตัวลดโดยไม่ตั้งใจ แบบนี้ให้รีบไปหาหมอทันที เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม จะได้เช็คว่าทำไมถึงกรดไหลย้อนหนักขึ้น และหาวิธีรักษาต่อไป [49]
    • อาการทั้งหลายที่ว่ามาอาจเป็นสัญญาณบอกโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า เพราะงั้นต้องรีบปรึกษาคุณหมอ
  5. 5
    ไปโรงพยาบาลทันทีถ้าเจ็บแน่นหน้าอกและหายใจลำบาก. ถึงปกติจะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นที่รุนแรงได้ ให้ไปหาหมอหรือแผนกฉุกเฉิน เพื่อให้แน่ใจว่าจะปลอดภัยดี ไม่มีอะไรน่าห่วง ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม คุณหมอจะดูแลเอง [50]
    • จะยิ่งอันตรายและต้องได้รับการรักษาทันที ถ้าคุณปวดแขนหรือขากรรไกรร่วมด้วย เพราะเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังจะหัวใจวาย
    • ถึงสุดท้ายแล้วจะเป็นแค่อาการของกรดไหลย้อน แต่ปลอดภัยไว้ก่อนดีที่สุด
    โฆษณา
  1. https://www.health.harvard.edu/vitamins-and-supplements/health-benefits-of-taking-probiotics
  2. Jackson, SB. Gastroesophageal Reflux Disease. Top Clin Chiro (1995) 2(1): 24-29.
  3. https://www.healthline.com/health/digestive-health/apples-and-acid-reflux
  4. https://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-2017/foods-help-acid-reflux-fd.html
  5. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/gastroesophageal-reflux-disease
  6. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2995283/
  7. https://www.healthline.com/health/digestive-health/dgl-for-acid-reflux
  8. https://www.uofmhealth.org/health-library/hn-2167004
  9. https://americanpregnancy.org/pregnancy-health/herbs-and-pregnancy/
  10. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26742306
  11. https://www.healthline.com/health/digestive-health/apple-cider-vinegar-for-acid-reflux
  12. https://www.medicalnewstoday.com/articles/314932.php
  13. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3576549/
  14. https://www.apa.org/monitor/2013/04/ce-corner
  15. http://childdevelopmentinfo.com/family-living/stress/
  16. https://www.everydayhealth.com/healthy-living/take-a-mental-vacation.aspx
  17. http://childdevelopmentinfo.com/family-living/stress/
  18. https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-lifestyle/stress-management/3-tips-to-manage-stress
  19. http://sleepfoundation.org/ask-the-expert/sleep-hygiene
  20. http://sleepfoundation.org/ask-the-expert/sleep-hygiene
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/treatment/con-20025201
  22. http://www.medicinenet.com/gastroesophageal_reflux_disease_gerd/page9.htm
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000382.htm
  24. http://www.medscape.com/viewarticle/804146
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/treatment/con-20025201
  26. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-aloe/art-20362267
  27. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-aloe/art-20362267
  28. https://www.health.harvard.edu/blog/apple-cider-vinegar-diet-does-it-really-work-2018042513703
  29. https://americanpregnancy.org/pregnancy-health/herbs-and-pregnancy/
  30. https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-aloe/art-20362267
  31. https://www.medicalnewstoday.com/articles/317218.php
  32. http://www.herbalsafety.utep.edu/herbal-fact-sheets/ginger/
  33. https://www.medicalnewstoday.com/articles/284096.php
  34. https://nccih.nih.gov/health/probiotics/introduction.htm
  35. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/herbal-medicine
  36. https://americanpregnancy.org/pregnancy-health/herbs-and-pregnancy/
  37. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn/symptoms-causes/syc-20373223
  38. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn/basics/tests-diagnosis/con-20019545
  39. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn/symptoms-causes/syc-20373223
  40. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn/symptoms-causes/syc-20373223
  41. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heartburn/symptoms-causes/syc-20373223

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 31,713 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา