ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นิโคติน เป็นสารเสพติดชนิดถูกกฎหมายที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง โดยสารนิโคตินทำให้ผู้ใช้มีอาการเสพติด และก่อให้เกิดอันตรายต่อทั้งผู้สูบ และผู้คนรอบข้างที่สูดเอาควันที่มีสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะเด็ก หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่อยากเลิกบุหรี่ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ให้เริ่มจากการวางแผนในการเลิกบุหรี่ และพิจารณาว่าทำไมคุณถึงอยากที่จะเลิกบุหรี่ จากนั้นให้คุณเตรียมตัวให้พร้อมในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ และปฏิบัติตามแผนที่คุณได้วางไว้ โดยอาศัยการสนับสนุนจากคนรอบข้าง หรือการบำบัดทางการแพทย์ ทั้งนี้การเลิกบุหรี่อาจเป็นเรื่องยาก แต่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ตัดสินใจที่จะเลิกบุหรี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สารนิโคตินทำให้เกิดอาการเสพติดได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันต้องใช้ความเด็ดเดี่ยวเป็นอย่างมากในการที่จะเลิก จงถามตัวคุณเองว่า ชีวิตที่ปราศจากการสูบบุหรี่มีความน่าสนใจมากกว่าที่คุณจะสูบบุหรี่ต่อไปหรือไม่ [1] หากคำตอบคือใช่ ให้คุณคิดเหตุผลที่ทำให้คุณอยากเลิกบุหรี่อย่างชัดเจน วิธีนี้เมื่อการเลิกบุหรี่กลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก คุณจะสามารถตระหนักถึงเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้คุณอยากเลิกบุหรี่ได้
    • พิจารณาว่าการสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อชีวิตคุณในด้านต่างๆ อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น สุขภาพ ภาพลักษณ์ รูปแบบในการดำเนินชีวิต และคนที่คุณรัก [2] จงถามตัวคุณเองว่าองค์ประกอบด้านต่างๆ ตามที่กล่าวมาจะได้รับประโยชน์จากการเลิกบุหรี่ของคุณหรือไม่
  2. โดยเขียนเหตุผลที่ทำให้คุณอยากเลิกบุหรี่เป็นข้อๆ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นความตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ของคุณได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งในภายหลังคุณอาจย้อนดูเหตุผลต่างๆ เหล่านี้อีกครั้ง หากคุณเกิดอาการอยากสูบบุหรี่
    • ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลของคุณอาจระบุว่า ฉันต้องการเลิกบุหรี่ เพื่อที่ฉันจะสามารถวิ่ง และเล่นฟุตบอลกับลูกชายของฉันได้ในระหว่างการฝึกซ้อม มีพละกำลังมากขึ้น มีชีวิตอยู่เพื่อจะเห็นหลานคนสุดท้องแต่งงาน หรือประหยัดเงิน เป็นต้น
  3. โดยบุหรี่มีประสิทธิภาพสูงในการส่งผ่านสารนิโคตินไปทั่วร่างกายของคุณ [3] และเมื่อคุณหยุดสูบบุหรี่ คุณอาจรู้สึกมีความอยากบุหรี่เพิ่มขึ้น กระวนกระวาย ซึมเศร้า ปวดหัว เครียด หงุดหงิด เจริญอาหารมากขึ้น และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงมีปัญหาในการมีสมาธิในเรื่องต่างๆ [4]
    • พึงระลึกว่า อาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าหนึ่งครั้งในการหยุดสูบบุหรี่ ทั้งนี้ชาวอเมริกันประมาณ 45 ล้านคนเสพสารนิโคตินในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการสูบบุหรี่โดยตรง และมีเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ดังกล่าวที่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ในความพยายามเพียงครั้งแรก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

วางแผนในการเลิกบุหรี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเลือกวันสำคัญ เช่น วันครบรอบวันเกิด หรือวันหยุด หรือแค่เลือกวันที่คุณชอบ เป็นต้น
    • เลือกวันที่จะเลิกบุหรี่ภายใน 2 อาทิตย์ข้างหน้า วิธีนี้จะช่วยซื้อเวลาให้คุณในการเตรียมตัว และเริ่มต้นแผนเลิกบุหรี่ในวันที่ไม่ตึงเครียด หรือสำคัญที่อาจชักนำให้คุณต้องสูบบุหรี่ [5]
  2. ตัดสินใจว่าคุณจะใช้วิธีไหนในการเลิกบุหรี่ ยกตัวอย่างเช่น เลิกบุหรี่แบบหักดิบ หรือค่อยๆ ลดปริมาณการสูบบุหรี่ของคุณลงเรื่อยๆ [6] การเลิกแบบหักดิบ หมายความว่าคุณหยุดสูบบุหรี่โดยทันที และไม่กลับไปสูบบุหรี่อีกเลย ในขณะที่การลดปริมาณการสูบบุหรี่ หมายความว่า สูบบุหรี่ให้น้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ หากคุณเลือกวิธีลดปริมาณการสูบบุหรี่ คุณควรระบุให้แน่นอนว่าคุณจะลดปริมาณการสูบลงเท่าไหร่ ในระยะเวลาเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น อาจพูดว่า “ฉันจะลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง 1 มวน ในทุกๆ 2 วัน”
    • คุณจะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากขึ้น หากคุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และใช้ยาควบคู่ไปกับการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีใดก็ตามที่คุณเลือก [7]
  3. โดยคุณอาจใช้วิธีหยิบขนมขบเคี้ยวใส่ปาก ทดแทนการเคลื่อนไหวมือที่คีบบุหรี่ใส่ปากเพื่อสูบ ลองขนมขบเคี้ยวที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น ลูกเกด ข้าวโพดคั่ว หรือขนมปังอบกรอบ เมื่อมีอาการอยากบุหรี่ [8]
    • คุณอาจใช้วิธีการออกกำลังกายเพื่อช่วยบำบัดอาการอยากบุหรี่ เช่น เดินเล่น ล้างห้องครัว หรือโยคะ หรือคุณอาจลองควบคุมแรงกระตุ้นให้อยากสูบบุหรี่โดยการบีบ บอลบีบ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เมื่อคุณมีอาการอยากบุหรี่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยซักผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้าเพื่อกำจัดกลิ่นบุหรี่ออกให้หมด คุณควรกำจัดที่เขี่ยบุหรี่ บุหรี่ และไฟแช็คออกจากบ้านคุณให้หมด และนอนหลับพักผ่อนให้มากๆ เพื่อช่วยลดความเครียดของคุณ [9]
    • เตือนตัวคุณเองถึงแผนในการเลิกบุหรี่ และพกแผนดังกล่าวที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรติดตัว หรือเก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือของคุณตลอดเวลา คุณอาจต้องการอ่านเหตุผลว่าทำไมคุณถึงอยากที่จะเลิกบุหรี่ซ้ำไปซ้ำมาอยู่เสมอ
  2. โดยครอบครัว และเพื่อนๆ ของคุณสามารถเป็นแรงสนับสนุนที่ยอดเยี่ยมในการเลิกบุหรี่ บอกพวกเขาให้รู้ถึงเป้าหมายของคุณ และขอให้พวกเขาช่วยคุณ โดยไม่สูบบุหรี่ใกล้ๆ คุณ หรือยื่นบุหรี่ให้คุณ และคุณยังสามารถขอให้พวกเขาเป็นกำลังใจให้คุณโดยช่วยย้ำเตือนถึงเป้าหมายของคุณ เมื่อรอบๆ ตัวคุณเต็มไปด้วยแรงกระตุ้นที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ [10]
    • มีความอดทนในการเลิกบุหรี่ ให้เตือนตัวคุณเองว่านี่เป็นเพียงกระบวนการ และไม่ใช่ผลที่ได้รับ
  3. คนจำนวนมากพบว่า เหตุการณ์บางอย่างกระตุ้นให้เกิดความอยากที่จะสูบบุหรี่ เช่น คุณอาจอยากสูบบุหรี่ในระหว่างการดื่มกาแฟ หรือคุณอาจอยากสูบบุหรี่เมื่อคุณกำลังพยายามแก้ไขปัญหาในที่ทำงาน ให้ระบุสถานที่ที่อาจเป็นเรื่องยากที่จะบังคับไม่ให้คุณสูบบุหรี่ และวางแผนว่าคุณจะทำอะไรในสถานที่ดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น คุณควรมีการตอบสนองอัตโนมัติเมื่อมีคนให้บุหรี่ “ไม่ครับ ขอบคุณมาก ผมอยากได้ชาสักถ้วย” หรือ “ไม่ดีกว่าครับ ผมกำลังพยายามจะเลิกอยู่” [11]
    • ควบคุมความเครียด โดยความเครียดสามารถเป็นหลุมพรางเมื่อคุณกำลังพยายามที่จะเลิกบุหรี่ ทั้งนี้ให้คุณใช้เทคนิค เช่น การหายใจเข้าลึกๆ ออกกำลังกาย และการหยุดพัก เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด
  4. อย่าหยุดแม้ว่าคุณจะพบกับอุปสรรค หากคุณกลับมาสูบบุหรี่ตลอดทั้งวันอีกครั้ง จงให้อภัยตัวคุณเอง และยอมรับว่ามันแค่เป็นวันที่ยากวันหนึ่ง ให้เตือนตัวคุณเองว่า การเลิกบุหรี่เป็นการเดินทางที่ยาก และยาวไกล และจงกลับมาเริ่มต้นใหม่ตามแผนที่วางไว้ในวันถัดไป
    • พยายามหลีกเลี่ยงการกลับไปสูบบุหรี่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าคุณเผลอไปสูบบุหรี่ ให้กลับไปตั้งมั่นที่จะไม่สูบบุหรี่ให้ได้เร็วที่สุด เรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณ และพยายามจัดการกับปัญหานี้ให้ดีขึ้นในอนาคต [12]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ใช้ตัวช่วยในการเลิกบุหรี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เสนอแนะว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ในขณะที่คุณพยายามเลิกบุหรี่ สามารถช่วยลด หรือทำให้เลิกบุหรี่ได้ [13] ในขณะที่ผลการศึกษาอื่นๆ ออกมาให้คำเตือนในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากปริมาณนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณเท่าๆ กับในบุหรี่ทั่วไป ทำให้สารนิโคตินยังคงถูกส่งเข้าสู่ร่างกาย และบุหรี่ไฟฟ้าอาจกระตุ้นนิสัยการสูบบุหรี่ให้กลับมาได้อีกครั้ง [14]
  2. โดยการบำบัดด้านพฤติกรรม บวกกับการบำบัดทางการแพทย์ สามารถเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ของคุณได้ [15] หากคุณได้ลองเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง และยังคงพบกับความยากลำบาก ให้ลองขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากแพทย์สามารถให้คำปรึกษาเรื่องการบำบัดโดยการใช้ยา
    • ผู้เชี่ยวชาญในการบำบัด สามารถช่วยเหลือคุณผ่านกระบวนการในการเลิกบุหรี่ได้เช่นเดียวกัน โดยวิธีการบำบัดพฤติกรรมทางความคิด สามารถช่วยเปลี่ยนความคิด และทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของคุณได้ ผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดสามารถสอนทักษะในการรับมือ หรือวิธีคิดใหม่เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ [16]
  3. ยาชนิดนี้แท้จริงแล้วไม่มีส่วนผสมของสารนิโคติน แต่มันช่วยลดอาการขาดสารนิโคตินได้ ยาบูโพรพิออนสามารถเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ได้ 69 เปอร์เซ็นต์ [17] โดยทั่วไป คุณจำเป็นต้องเริ่มรับประทานยาบูโพรพิออนเป็นเวลา 1 – 2 อาทิตย์ก่อนที่คุณจะหยุดสูบบุหรี่ โดยแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาบูโพรพิออน ขนาด 150 มิลลิกรัม 1 – 2 เม็ด ต่อวัน
    • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบูโพรพิออน ได้แก่ ปากแห้ง นอนหลับยาก กระวนกระวาย มีอารมณ์ฉุนเฉียว เหนื่อยล้า อาหารไม่ย่อย และปวดหัว
  4. ยาชนิดนี้ช่วยควบคุมตัวรับสารนิโคตินในสมอง ซึ่งทำให้ความเพลิดเพลินในการสูบบุหรี่ลดน้อยลง และตัวยายังช่วยลดอาการอยากนิโคตินได้อีกด้วย คุณควรเริ่มรับประทานยาแชนทิกซ์ 1 อาทิตย์ก่อนการเลิกบุหรี่ โดยรับประทานยาพร้อมมื้ออาหาร เป็นระยะเวลา 12 อาทิตย์ ผลข้างเคียงของยาแชนทิกซ์ ได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ฝันประหลาด มีลมในท้อง และการรับรสเปลี่ยนไป [18] แต่มันสามารถเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ได้เป็น 2 เท่า [19]
    • แพทย์จะให้คุณเพิ่มปริมาณยาเมื่อเวลาผ่านไป ยกตัวอย่างเช่น คุณรับประทานยาแชนทิกซ์ขนาด 0.5 มิลลิกรัม ครั้งละ เม็ด ต่อวัน ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่ 3 จากนั้นเพิ่มเป็นรับประทานครั้งละเม็ด 2 เวลาต่อวัน ในวันที่ 4 จนถึงวันที่ 7 หลังจากนั้นเพิ่มเป็นขนาด 1 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละเม็ด 2 เวลาต่อวัน
  5. ลองการเลิกบุหรี่ด้วยการให้นิโคตินทดแทน หรือเรียกว่าวิธี NRT. ที่มีให้เลือกทั้ง แผ่นแปะร่างกาย หมากฝรั่ง ลูกกวาดบำบัด สเปรย์พ่นจมูก ยาสูดพ่น หรือยาอมใต้ลิ้น โดยวิธีการที่กล่าวมาจะช่วยส่งผ่านสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย คุณไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์สำหรับการให้นิโคตินทดแทน และวิธีนี้สามารถลดอาการอยาก และขาดสารนิโคตินได้ โดยวิธี NRT สามารถเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ได้ 60 เปอร์เซ็นต์ [20]
    • ผลข้างเคียงของวิธี NRT ได้แก่ ฝันร้าย นอนไม่หลับ และระคายเคืองผิวหนังในกรณีที่ใช้แผ่นแปะร่างกาย ปวดแสบที่ปาก หายใจลำบาก สะอึก และปวดกรามในกรณีที่เคี้ยวหมากฝรั่ง ระคายเคืองปาก และช่องคอ รวมไปถึงมีการไอในกรณีที่ใช้ยาสูดพ่นสารนิโคติน ระคายเคืองช่องคอ และสะอึกในกรณีที่ใช้ยาอมใต้ลิ้นที่มีสารนิโคติน และมีอาการระคายเคืองจมูก และช่องคอ รวมไปถึงมีน้ำมูกไหล ในกรณีที่ใช้สเปรย์พ่นจมูก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หางานอดิเรกใหม่ๆ ทำ เพื่อให้คุณไม่รู้สึกว่าง จนทำให้เกิดอาการอยากที่จะสูบบุหรี่
  • ลองคำแนะนำแบบอัตโนมัติ เช่น “ฉันไม่สูบบุหรี่ ฉันไม่สามารถสูบบุหรี่ได้ ฉันจะไม่สูบบุหรี่” และในขณะที่คุณกำลังพูดประโยคเหล่านี้ ให้คิดถึงสิ่งอื่นที่จะทำ
  • ลองพิจารณาว่าคุณมีสภาวะการเสพติดทางด้านจิตใจหรือไม่ ผู้สูบบุหรี่เป็นเวลานานๆ มักจะเป็นเช่นนั้น หากคุณเคยเลิกบุหรี่เป็นเวลา 3 วัน หรือมากกว่า และกลับมาสูบบุหรี่อีกครั้ง มีความเป็นไปได้มากว่าคุณมีการเสพติดทางด้านจิตใจ ลองตรวจสอบโปรแกรมการหยุดการสูบบุหรี่เชิงจิตใจ และพฤติกรรม ที่ได้ถูกคิดค้นมาเพื่อกำจัดสิ่งกระตุ้น และแรงจูงใจในการสูบบุหรี่
  • ลดปริมาณการบริโภคคาเฟอีน เมื่อคุณหยุดสูบบุหรี่ ร่างกายของคุณจะไวต่อคาเฟอีนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ส่งผลให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน เว้นแต่ว่าคุณจะลดปริมาณการบริโภคคาเฟอีนลง
  • หากคุณล้มเหลว อย่ารู้สึกท้อแท้ ให้ใช้ความพยายามที่ผ่านมาเป็นเหมือนแบบฝึกหัด เพื่อที่คุณจะทำได้ดีกว่าเดิมในครั้งต่อไป
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ๆ คนที่สูบบุหรี่ หรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณนึกถึงการสูบบุหรี่
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณคิดที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ NRT เช่น แผ่นแปะสารนิโคติน หมากฝรั่งนิโคติน หรือสเปรย์นิโคติน หรือยาสูดพ่น พึงระวังไว้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำให้เสพติดได้เช่นกัน
  • การรับประทานยาหยุดการสูบบุหรี่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาเหล่านั้นเสมอ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. West, R. (2013). Theory of Addiction. [electronic resource] Hoboken, New Jersey : Wiley-Blackwell 2013
  2. http://smokefree.gov/reasons-to-quit
  3. Harvard Medical School (n.d.) Substance addiction. Harvard Health. Retrieved from /addiction/substance-addiction http://www.health.harvard.edu
  4. National Institute of Health (2015). Nicotine and tobacco. MedlinePlus. Retrieved from http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000953.htm
  5. http://smokefree.gov/steps-to-prepare
  6. American Cancer, S. (2010). Kicking Butts : Quit Smoking and Take Charge of Your Health. Atlanta, Ga: Independent Publishers Group
  7. http://smokefree.gov/explore-quit-methods
  8. American Cancer, S. (2010). Kicking Butts : Quit Smoking and Take Charge of Your Health. Atlanta, Ga: Independent Publishers Group
  9. American Cancer, S. (2010). Kicking Butts : Quit Smoking and Take Charge of Your Health. Atlanta, Ga: Independent Publishers Group
  1. American Cancer, S. (2010). Kicking Butts : Quit Smoking and Take Charge of Your Health. Atlanta, Ga: Independent Publishers Group
  2. American Cancer, S. (2010). Kicking Butts : Quit Smoking and Take Charge of Your Health. Atlanta, Ga: Independent Publishers Group
  3. http://smokefree.gov/sites/default/files/pdf/foreverfree-booklet4-accessible.pdf
  4. Siegel, Michael B., Tanwar, Kerry L., & Wood, Kathleen S. (2011). Electronic cigarettes as a smoking-cessation tool. American Journal of Preventive Medicine.doi: http://dx.doi.org/10.1016/j.amepre.2010.12.006
  5. Simon, Harvey B. (2011). Electronic cigarettes: Help or hazard? Harvard Health.Retrieved from http://www.health.harvard.edu/blog/electronic-cigarettes-help-or-hazard-201109223395
  6. West, R., & Shiffman, S.(2007). Smoking Cessation. Abingdon: HEALTH Press.
  7. Munsey, Christopher (2008). Help your clients kick the habit. Monitor, 39(10), 38. Retrieved from http://www.apa.org/monitor/2008/11/smokers-quit.aspx
  8. Aubin, Henri-Jean, Luquiens, Amandine, & Berline, Ivan (2014). Pharmacotherapy for smoking cessation: pharmacological principles and clinical practice. British Journal of Clinical Pharmacology 77 (2) 324-336.
  9. American Cancer Society (2014). Prescription drugs to help you quit smoking. Retrieved from: http://www.cancer.org/healthy/stayawayfromtobacco/guidetoquittingsmoking/guide-to-quitting-smoking-help-phys-rx-drugs
  10. Aubin, Henri-Jean, Luquiens, Amandine, & Berline, Ivan (2014). Pharmacotherapy for smoking cessation: pharmacological principles and clinical practice. British Journal of Clinical Pharmacology 77 (2) 324-336.
  11. Aubin, Henri-Jean, Luquiens, Amandine, & Berline, Ivan (2014). Pharmacotherapy for smoking cessation: pharmacological principles and clinical practice. British Journal of Clinical Pharmacology 77 (2) 324-336.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,432 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา