ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เล็บขบเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็ทรมานไม่ใช่น้อย คุณคงสงสัยว่าเล็บขบสามารถหายได้เองหรือไม่ และถ้าหากไม่ได้คุณจะสามารถรักษาเล็บขบให้หายดีได้อย่างไร เราได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามดังกล่าวรวมถึงคำถามอื่นๆ ที่หลายคนสงสัย ลองอ่านต่อด้านล่างนี้เพื่อเรียนรู้วิธีการรักษาเล็บขบอย่างเหมาะสมได้เลย

Question 1 ของ 7:

เล็บขบสามารถหายเองได้หรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เล็บขบมีโอกาสหายเองได้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง. หากเล็บเท้าของคุณมีรอยแดงและรอยบวมเล็กน้อยแต่ยังคงไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ [1] เพียงปล่อยให้เล็บงอกออกมาเองตามปกติก็พอแล้ว [2]
    • จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณปล่อยเล็บขบไว้นานโดยไม่รักษา? เล็บที่มีปัญหาอาจเกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นคุณจึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาเว้นแต่ว่าปัญหาเล็บขบที่เกิดขึ้นมีอาการไม่รุนแรง [3]
    • สำหรับปัญหาเล็บขบในระยะแรกหรือช่วงที่มีอาการเล็กน้อย ผิวหนังโดยรอบจะมีรอยแดงและรู้สึกเจ็บเล็กน้อย [4]
    • สำหรับปัญหาเล็บขบในระยะที่สองหรือช่วงที่มีอาการปานกลาง ผิวหนังจะเริ่มบวมมากขึ้นและคุณอาจมองเห็นหนองหรือของเหลวเริ่มก่อตัวขึ้น [5]
    • สำหรับปัญหาเล็บขบในระยะที่สามหรือช่วงที่มีอาการรุนแรง รอยแดง อาการเจ็บ รอยบวม และการก่อตัวของของเหลวจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าบริเวณรอบๆ เล็บขบกำลังเกิดการติดเชื้อ [6]
    โฆษณา
Question 2 ของ 7:

ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าเล็บที่มีปัญหาจะงอกพ้นขึ้นมา?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หากดูแลรักษาเอง. [7] โดยเฉลี่ยแล้วเล็บเท้าของคนวัยหนุ่มสาวที่สุขภาพแข็งแรงจะงอกยาวขึ้นมาประมาณ 1.62 มม.ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วเล็บเท้าจะยาวช้ากว่าเล็บมือ นอกจากนี้เล็บที่มีสุขภาพดีอาจงอกได้ไวกว่าเล็บที่เสียหายหรือทิ่มเข้าไปในเนื้อ [8]
    • แพทย์โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับการรักษาเล็บขบแทนการปล่อยให้งอกพ้นออกมาเองตามธรรมชาติ
Question 3 ของ 7:

รักษาเล็บขบด้วยตัวเองที่บ้านได้อย่างไร?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แช่เท้าข้างที่เกิดเล็บขบในน้ำอุ่นนาน 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง [9] เพื่อช่วยให้ผิวและเล็บนุ่มขึ้นพร้อมลดรอยบวมและบรรเทาอาการเจ็บ [10]
  2. ทายาปฏิชีวนะเฉพาะที่หากอาการยังคงไม่ดีขึ้น. หากคุณสังเกตเห็นว่ามีรอยแดงหรือรอยบวมตรงบริเวณรอบๆ เล็บที่มีปัญหาเพิ่มขึ้น คุณอาจใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้ หลังจากแช่เท้าในน้ำเสร็จแล้ว ให้คุณเช็ดเท้าให้แห้งก่อนทายาปฏิชีวนะเฉพาะที่ที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ให้ทั่วบริเวณที่มีอาการ [13] และอย่าลืมปิดหรือพันด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย [14]
  3. การสวมรองเท้าที่คับแน่นเกินไปหรือมีหน้าแคบจนบีบนิ้วเท้าอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาเล็บขบหรือส่งผลให้อาการของเล็บขบที่เกิดขึ้นแย่ลงได้ หากคุณกำลังประสบปัญหาเล็บขบ พยายามเลือกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าประเภทอื่นๆ ที่เปิดหน้าเท้า หรือหากคุณจำเป็นต้องสวมรองเท้าที่ปิดหน้าเท้า คุณควรมองหารองเท้าที่เหลือพื้นที่หน้าเท้ามากพอเพื่อให้สามารถขยับนิ้วเท้าไปมาได้ [15]
  4. แม้ว่าหลายๆ เว็บไซต์จะแนะนำให้รักษาเล็บขบด้วยการงัดมุมเล็บขึ้นมาและใช้สำลีก้อนเล็กๆ สอดเข้าไปเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เล็บแทงเข้าไปในผิวหนัง อย่างไรก็ตาม สมาคมศัลยแพทย์เกี่ยวกับเท้าและข้อเท้าแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Foot and Ankle Surgeons) กลับไม่แนะนำวิธีนี้ ทั้งนี้เนื่องจากสำลีเป็นแหล่งเจริญเติบโตชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงที่เล็บขบจะเกิดการติดเชื้อได้ [16]
    โฆษณา
Question 4 ของ 7:

ควรงัดเอาเล็บขบขึ้นมาหรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การตัดเล็บที่มีปัญหาทิ้งเองหรือพยายามเอาผิวหนังรอบๆ ออกอาจส่งผลให้ปัญหาเล็บขบแย่ลงและรุนแรงจนนำไปสู่การติดเชื้อได้ ดังนั้นอย่าพยายามลงมืองัดเอาเล็บขบขึ้นมาที่บ้านด้วยตัวเอง [17] หรือหากจำเป็นต้องตัดเล็บที่มีปัญหาให้สั้นลง ให้คุณค่อยๆ เล็มออกทีละนิดให้เล็บเป็นแนวตรงด้วยความระมัดระวัง
Question 5 ของ 7:

ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาปัญหาเล็บขบเมื่อไหร่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปพบแพทย์หากการรักษาด้วยตัวเองที่บ้านไม่ได้ผล. หากเล็บขบของคุณยังคงดูไม่ทุเลาลงหรือรู้สึกดีขึ้นหลังผ่านไป 2-3 วัน ให้คุณนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้าเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาเพิ่มเติม [19] โดยแพทย์ของคุณจะพิจารณาถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับอาการของเล็บขบที่เกิดขึ้น [19]
  2. เป็นเรื่องปกติที่บริเวณรอบๆ เล็บที่มีปัญหาจะเกิดการติดเชื้อเมื่อเกิดเล็บขบ และการติดเชื้อนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ หากบริเวณรอบๆ เล็บขบมีรอยแดง รอยบวม และอาการเจ็บ และคุณมองเห็นหนองหรือของเหลวเริ่มก่อตัวขึ้น ให้คุณไปพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาการติดเชื้อที่เกิดขึ้น [20]
  3. รับการรักษาจากแพทย์หากคุณป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ. หลีกเลี่ยงการรักษาเล็บขบด้วยตัวเองที่บ้านหากคุณมีระบบไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ขาหรือเท้า หรือเป็นโรคเบาหวาน โดยคุณควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้าโดยทันที. [21]
    โฆษณา
Question 6 ของ 7:

แพทย์จะทำการรักษาเล็บขบด้วยวิธีใด?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะใช้วิธีตัดเล็บเท้าออกบางส่วน. การรักษาเล็บขบสามารถทำได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของเล็บขบที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้าจะทำการรักษาเล็บขบโดยเริ่มจากใช้ยาชาเฉพาะที่ทาที่นิ้วเท้าเพื่อให้เกิดอาการชาก่อนตัดเล็บเท้าส่วนที่เกิดการติดเชื้อหรือทิ่มเข้าไปในเนื้อออก จากนั้นแพทย์จะป้ายสารละลายที่บริเวณรากเล็บเพื่อป้องกันไม่ให้เล็บส่วนที่ตัดออกงอกขึ้นมาใหม่อีกครั้ง [22]
    • หลังจากตัดเล็บเท้าออกบางส่วนแล้ว แพทย์โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้แช่เท้าในน้ำผสมดีเกลือฝรั่งวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ดีเกลือฝรั่ง 1-3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร [24]
    • รักษาความสะอาดของเล็บและเท้าและดูแลไม่ให้เปียกหรืออับชื้น รวมทั้งเลือกสวมรองเท้าที่ใส่สบายและเหลือพื้นที่หน้าเท้ามากพอ
Question 7 ของ 7:

สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเล็บขบได้หรือไม่?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนอาจมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาเล็บขบมากกว่าเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม [24] อย่างไรก็ตาม มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาเล็บขบ อย่างเช่น:
    โฆษณา
  1. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/diagnosis-treatment/drc-20355908
  2. https://health.clevelandclinic.org/how-you-can-prevent-and-treat-painful-ingrown-toenails/
  3. https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/foot-health-what-to-do-about-an-ingrown-toenail
  4. https://www.aafp.org/afp/2002/0615/p2557.html
  5. https://health.clevelandclinic.org/how-you-can-prevent-and-treat-painful-ingrown-toenails/
  6. https://bpac.org.nz/BPJ/2014/December/docs/BPJ65-ingrown-toenails.pdf
  7. https://www.foothealthfacts.org/conditions/ingrown-toenail
  8. https://www.aad.org/public/parents-kids/healthy-habits/parents/kids/ingrown-nails
  9. Mark Co, DPM. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้า. การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ. 21 เมษายน 2020.
  10. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/ingrown-toenail
  11. https://bpac.org.nz/BPJ/2014/December/docs/BPJ65-ingrown-toenails.pdf
  12. https://medlineplus.gov/ency/article/001237.htm
  13. https://bpac.org.nz/BPJ/2014/December/docs/BPJ65-ingrown-toenails.pdf
  14. Mark Co, DPM. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเท้า. การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ. 21 เมษายน 2020.
  15. https://bpac.org.nz/BPJ/2014/December/docs/BPJ65-ingrown-toenails.pdf
  16. https://www.footcaremd.org/conditions-treatments/toes/ingrown-toenail
  17. https://health.clevelandclinic.org/how-you-can-prevent-and-treat-painful-ingrown-toenails/
  18. https://health.clevelandclinic.org/how-you-can-prevent-and-treat-painful-ingrown-toenails/
  19. https://medlineplus.gov/ency/article/001237.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,184 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา