ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการแพ้แบ่งประเภทได้ตั้งแต่การเป็นสิ่งรบกวนจนถึงเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งเป็นอันตราย จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคุณผลิตภูมิต้านทานเพื่อต่อสู้กับสารต่างๆ ที่ไม่ได้อันตรายกับคุณจริงๆ (อย่างเช่น รังแคแมวหรือไรฝุ่น) การเกิดปฏิกิริยารุนแรงเกินไปของระบบภูมิคุ้มกันนี้จะก่อให้เกิดอาการที่ทำให้คุณทุกข์ทรมาน เช่น การระคายเคืองผิวหนัง อาการคัดจมูก ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร หรือสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ มีบางอย่างที่คุณสามารถทำที่บ้านเพื่อลดอาการแพ้ของคุณได้ และถ้าไม่ได้ผลแล้วล่ะก็ คุณอาจจะต้องไปพบแพทย์ [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การได้รับการรักษาการแพ้ที่รุนแรงทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักถึงสภาวะช็อกจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงเฉียบพลัน. ซึ่งนี่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างรวดเร็วและอาจจะเกิดขึ้นได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังการสัมผัส อาการเหล่านั้นได้แก่: [2]
    • ลมพิษ
    • อาการคัน
    • ผิวหนังแดงหรือซีด
    • ความรู้สึกว่าลำคอของคุณกำลังตีบ
    • ลิ้นหรือลำคอบวม
    • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือการหายใจดังฟืดฟาด
    • ชีพจรเต้นเบาและเร็ว
    • การอาเจียน
    • อาการท้องร่วง
    • การเป็นลม
  2. ถ้าคุณพกกระบอกฉีดอีพิเนฟรีน (อีพิเพน) ก็ให้ฉีดให้กับตัวเอง ทำตามคำแนะนำในบรรจุภัณฑ์ [3]
    • ฉีดยาเข้าไปในต้นขาด้านนอกของคุณ อย่าฉีดที่อื่นเพราะนี่จะเพิ่มโอกาสให้เกิดผลข้างเคียงได้
    • อย่าใช้ยาถ้าสีของมันเปลี่ยนหรือถ้าคุณเห็นกลุ่มก้อนแข็งข้างในนั้น
  3. เนื่องจากปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันหรือแอนาฟิแล็กซิสสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ให้ไปห้องฉุกเฉินแม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้นแล้ว
    • การให้แพทย์ตรวจเป็นสิ่งที่จำเป็นเผื่อว่าจะเริ่มมีอาการอีกครั้ง
    • ผลข้างเคียงจากการฉีดอีพิเนฟรีนอาจจะประกอบไปด้วยปฏิกิริยาทางผิวหนัง การเป็นลม การเต้นของหัวใจถี่หรือผิดจังหวะ การอาเจียน โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การหาต้นตอของปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระบุสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย เช่น แหล่งที่มาของสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากอาหาร อย่างเช่นถั่ว ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกินรุนแรงที่นำไปสู่การระคายเคืองผิวหนัง อาการคลื่นไส้ และบางครั้งจะเป็นกระทั่งแอนาฟิแล็กซิสได้เลยทีเดียว. คุณจะมีโอกาสมีกลุ่มอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าสารก่อภูมิแพ้ของคุณคืออะไร มีสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยหลายอย่าง: [5] [6]
    • สารที่อยู่ในอากาศ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ สะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนแพ้สุนัขและ/ หรือแมว) ไรฝุ่น และเชื้อรามักจะก่อให้เกิดอาการคัดจมูก การไอ และการจาม
    • ผึ้งหรือต่อต่อยจะทำให้เกิดอาการบวม ปวด อาการคัน และในกรณีรุนแรงมากๆ อาจจะทำให้เกิดสภาวะช็อกจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงเฉียบพลัน
    • อาหาร เช่น ถั่วลิสง ถั่วอื่นๆ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ปลา หอย ไข่ นมนั้นอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร อย่างเช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย หรือแม้กระทั่งสภาวะช็อกจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงเฉียบพลัน
    • ยาอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะมักจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาตามระบบ ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ หรือสภาวะช็อกจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงเฉียบพลัน [7]
    • น้ำยางหรือสิ่งอื่นๆ ที่สัมผัสผิวของคุณอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่ ได้แก่ ผื่น ลมพิษ อาการคัน แผลพุพองหรือลอก
    • ปฏิกิริยาที่คล้ายกับอาการแพ้อาจจะเป็นไปได้ที่จะเกิดกับความร้อนจัด ความเย็นจัด แสงแดด หรือแรงเสียดทานบนผิวหนังเช่นกัน
  2. ถ้าคุณกำลังมีปัญหาในการระบุว่าคุณแพ้อะไร แพทย์สามารถทดสอบเพื่อหาสาเหตุนั้นๆ ได้ [8]
    • ระหว่างการทดสอบผิวหนังหรือการทดสอบอาการแพ้ด้วยวิธีสะกิด แพทย์จะใส่สารก่อภูมิแพ้ที่ต้องสงสัยปริมาณเล็กน้อยใต้ผิวหนังของคุณแล้วดูว่าคุณตอบสนองด้วยรอยแดงและการบวมหรือไม่
    • การตรวจเลือดจะช่วยแพทย์ประเมินว่าร่างกายของคุณจะทำปฏิกิริยากับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ หรือไม่
  3. ซึ่งนี่ควรจะทำภายใต้การดูแลของแพทย์ [9]
    • ถ้าคุณสงสัยว่ามีสิ่งที่คุณอาจจะแพ้ ให้กำจัดมันออกจากอาหารของคุณ
    • ถ้ามันเป็นต้นเหตุจริงๆ ล่ะก็ อาการของคุณควรจะดีขึ้น
    • แพทย์อาจจะขอให้คุณกินสิ่งนั้นอีกครั้งเพื่อดูว่าอาการของคุณกลับมาหรือไม่ ซึ่งนี่จะช่วยยืนยันว่ามันเป็นต้นเหตุจริงๆ
    • การคอยจดบันทึกอาหารในระหว่างขั้นตอนนี้สามารถช่วยให้คุณและแพทย์ติดตามอาการของคุณและตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นไปได้อื่นๆ ที่คุณอาจจะยังสัมผัสอยู่อีกด้วย
    โฆษณา


ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การรักษาอาการแพ้ตามฤดูกาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แน่ใจว่าได้คุยกับแพทย์ก่อนกินอาหารเสริมหรือยาสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ หรือมีภาวะทางการแพทย์ใดๆ อยู่ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันจะไม่มีปฏิกิริยาต่อกันหรือทำให้ภาวะของคุณแย่ลงไปอีก อีกทั้งขนาดยาในยาสมุนไพรนั้นไม่ได้ถูกกำหนดอย่างดี ดังนั้นการรู้ว่าคุณต้องกินเท่าไรนั้นจึงเป็นเรื่องยาก จงจำไว้ว่าคำว่า "ธรรมชาติ" ไม่ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่า "ปลอดภัย"
    • ใช้ยาบัตเตอร์เบอร์ (butterbur) การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เสนอแนะว่ามันอาจจะลดอาการอักเสบและมีผลกระทบที่คล้ายกับยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) นอกจากนี้ บรอมีเลน (Bromelain) ยังอาจจะมีคุณสมบัติเป็นยาต้านการอักเสบได้อีกด้วย [10]
    • สูดไอน้ำจากน้ำผสมน้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันจะให้กลิ่นฉุนซึ่งจะทำให้โพรงจมูกของคุณโล่ง แต่อย่ากลืนกินเข้าไปหรือทาบนผิวเพราะว่ามันเป็นพิษ [11]
    • ลดการคัดจมูกด้วยน้ำเกลือพ่นจมูก ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและหยุดน้ำมูกไหล [12]
  2. ใช้ยาต้านฮีสตามีนชนิดกินเพื่อบรรเทาจากอาการทั่วไป. ยาต้านฮีสตามีนสามารถทำให้อาการน้ำมูกไหล คันตา น้ำตาไหล ลมพิษ และอาการบวมดีขึ้นได้ ยาต้านฮีสตามีนบางอย่างอาจจะทำให้คุณง่วงนอน ดังนั้นคุณจึงไม่ควรขับรถตอนที่คุณกินยาเหล่านี้ ยาต้านฮีสตามีนที่พบได้ทั่วไป ได้แก่: [13]
    • เซทิไรซีน (Cetirizine) ชื่อทางการค้า เซอร์เทค (Zyrtec)
    • เดสลอราทาดีน (Desloratadine) ชื่อทางการค้า คลาริเน็กซ์ (Clarinex)
    • เฟกโซเฟนาดีน Fexofenadine ) ชื่อทางการค้า อัลเลกรา (Allegra)
    • เลโวซิทีริซีน (Levocetirizine) ชื่อทางการค้า ซีซาล (Xyzal)
    • ลอราทาดีน (Loratadine) ชื่อทางการค้า อะลาเวอร์ต (Alavert) คลาริทิน (Claritin)
    • ไดเฟนไฮดรามีน Diphenhydramine ชื่อทางการค้า เบนาดริล (Benadryl)
  3. อาจจะลดอาการจาม คัดจมูก เสมหะไหลลงคอด้านหลังจมูก และช่วยให้อาการคันจมูกหรือน้ำมูกไหลดีขึ้น ยาเหล่านี้จะซื้อได้ตามใบสั่งยาจากแพทย์: [14]
    • อะซีลาสตีน (Azelastine) ชื่อทางการค้า แอสเทลิน (Astelin) แอสเทโปร (Astepro)
    • โอโลพาทาดีน (Olopatadine) ชื่อทางการค้า พาทาเนส (Patanase)
  4. ใช้ยาต้านฮีสตามีนแบบหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการคันตา ตาแดง หรือตาบวม. เก็บยาไว้ในตู้เย็นเพื่อป้องกันไม่ให้เสื่อมสภาพซึ่งจะก่อให้เกิดอาการแสบได้ [15]
    • อะซีลาสตีน (Azelastine) ชื่อทางการค้า ออพทิวาร์ (Optivar)
    • อีเมดาสตีน (Emedastine) ชื่อทางการค้า เอมาดีน (Emadine)
    • คีโตติเฟน (Ketotifen) ชื่อทางการค้า อะลาเวย์ (Alaway) ซาดิเตอร์ (Zaditor)
    • โอโพาทาดีน (Olopatadine) ชื่อทางการค้า พาทาเดย์ (Pataday) พาทานอล (Patanol)
    • เฟนิรามีน (Pheniramine) ชื่อทางการค้า วิซีน-เอ (Visine-A) ออพคอน-เอ (Opcon-A)
  5. ใช้ยาระงับการหลั่งสารจากมาสต์เซลล์ (Mast cell stabilizer) เป็นทางเลือกสำหรับยาต้านฮีสตามีน. ถ้าคุณทนต่อยาต้านฮีสตามีนไม่ได้ คุณอาจจะใช้อันนี้ได้ผลกว่า มันจะป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณปล่อยสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ออกมา
    • โครโมลิน (Cromolyn) เป็นยาพ่นจมูกที่ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
    • ยาหยอดตาตามใบสั่งยา ได้แก่: โครโมลิน (Cromolyn) หรือชื่อทางการค้า โครโลม (Crolom) โลดอกซาไมด์ (Lodoxamide) หรือชื่อทางการค้า อโลไมด์ (Alomide) เพมิโรลาสต์ (Pemirolast) หรือชื่อทางการค้า อะลามาสต์ (Alamast) เนโดโครมิล (Nedocromil) หรือชื่อทางการค้า อะโลคริล (Alocril)
  6. บรรเทาอาการคัดจมูกและไซนัสด้วยยาลดน้ำมูกชนิดกิน. ซึ่งมีอยู่จำนวนมากตามร้านขายยาทั่วไป บางชนิดยังมีสารต้านฮิสทามีนผสมอยู่ด้วย [16]
    • เซทิไรซีน และ ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) ชื่อทางการค้า เซอร์เทค-ดี (Zyrtec-D)
    • เดสลอราดีน และ ซูโดอีเฟดรีน ชื่อทางการค้า คลาริเน็กซ์-ดี (Clarinex-D)
    • เฟกโซเฟนาดีน และ ซูโดอีเฟดรีน ชื่อทางการค้า อัลเลกรา-ดี (Allegra-D)
    • ลอราทาดีน และ ซูโดอีเฟดรีน ชื่อทางการค้า คลาริทิน- ดี (Claritin-D)
  7. บรรเทาอาการทันทีด้วยยาพ่นจมูกลดอาการคัดจมูกและยาหยอดตา. แต่อย่าใช้ยาเหล่านี้เกินสามวันไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้อาการคั่งของคุณแย่ลงได้ [17]
    • ออกซี่เมตาโซลีน (Oxymetazoline) ชื่อทางการค้า อาฟริน (Afrin) ดริสตาน (Dristan)
    • เตตระไฮโดรโซลีน (Tetrahydrozoline) ชื่อทางการค้า ไทซีน (Tyzine)
  8. ลดการอักเสบโดยใช้ยาพ่นจมูกคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids). ซึ่งนี่สามารถลดอาการคัดจมูก การจาม และลดน้ำมูกได้ [18]
    • บูเดโซไนด์ (Budesonide) ชื่อทางการค้า ไรโนคอร์ท อะควา (Rhinocort Aqua)
    • ฟลูติคาโซน ฟูโรเอท (Fluticasone furoate) ชื่อทางการค้า เวรามิสต์ (Veramyst)
    • ฟลูติคาโซน โพรพิโอเนต (Fluticasone propionate) ชื่อทางการค้า โฟลเนส (Flonase)
    • โมเมทาโซน (Mometasone) ชื่อทางการค้า นาโซเน็กซ์ (Nasonex)
    • ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) ชื่อทางการค้า นาซาคอร์ท อะเลอจี 24 อาวเออร์ (Nasacort Allergy 24 Hour)
  9. ลองยาหยอดตาผสมคอร์ดิโคสเตียรอยด์ถ้ายาอื่นๆ ใช้ไม่ได้ผล. นี่จะทำให้อาการคันตา ตาแดง และน้ำตาไหลมีอาการดีขั้น แต่คุณต้องอยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะว่ายาเหล่านี้อาจจะเพิ่มโอกาสในการเกิดต้อกระจก ต้อหิน การติดเชื้อที่ตา และปัญหาอื่นๆ ได้ [19]
    • ฟลูออโรเมโทโลน (Fluorometholone) ชื่อทางการค้า ฟราแรกซ์ (Flarex) เอฟเอ็มแอล (FML)
    • ลอเทเพรดนอล (Loteprednol) ชื่อทางการค้า อัลเร็กซ์ (Alrex) ลอทแมกซ์ (Lotemax)
    • เพรดนิโซโลน (Prednisolone) ชื่อทางการค้า ออมนิเพรด (Omnipred) เพรดฟอร์ต (Pred Forte)
    • ริเมโซโลน (Rimexolone) ชื่อทางการค้า เวซอล (Vexol)
  10. รักษาอาการแพ้อย่างรุนแรงด้วยคอร์ดิโคสเตียรอยด์ชนิดกิน. แต่อย่าใช้ยาเหล่านี้เป็นระยะเวลานานเพราะผลข้างเคียงนั้นร้ายแรง อาจจะทำให้เกิดต้อกระจก โรคกระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง แผลเปื่อย น้ำตาลในเลือดสูง การเจริญเติบโตล่าช้าในเด็ก และความดันโลหิตสูงแย่ลง [20]
    • เพรดนิโซโลน (Prednisolone) ชื่อทางการค้า โฟลเฟรด (Flo-Pred) เพรโลน (Prelone)
    • เพรดนิโซน (Prednisone) ชื่อทางการค้า เพรดนิโซน อินเทนโซล (Prednisone Intensol) รายอส (Rayos)
  11. ลองลิวโคไตรอีน รีเซปเตอร์ แอนทาโกนิส (Leukotriene Receptor Antagonists). มันจะต้านฤทธิ์กับลิวโคไตรอีนซึ่งเป็นสารที่ร่างกายของคุณปล่อยออกมาระหว่างการเกิดอาการแพ้ ยาเหล่านี้จะช่วยลดการอักเสบได้
  12. หรือเรียกว่าการรักษาด้วยการก่อภูมิคุ้มกันและจะใช้เมื่อยาไม่ได้ผลและคุณหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ [21]
    • แพทย์จะทำให้คุณสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้นั้นเพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาของคุณต่อสิ่งนั้น ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นคุณจะได้รับในปริมาณที่มากขึ้นกว่าครั้งก่อนจนกว่าคุณจะสร้างความต้านทานได้เพียงพอ
    • ปกติจะมีการให้สารก่อภูมิแพ้โดยการฉีด แต่สำหรับหญ้าและหญ้าแร็กวีดนั้น คุณอาจจะได้รับเป็นยาเม็ดอมที่จะละลายใต้ลิ้น
    • นี่จะต้องทำภายใต้การดูแลของแพทย์และอาจจะใช้เวลาหลายปีเลยทีเดียว [22]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ป้องกันการสะสมของสารก่อภูมิแพ้ในบ้านของคุณ. สารในอากาศหลายอย่างในบ้านของเราอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งนี่รวมถึงสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้ที่ได้ปลิวเข้ามาจากข้างนอก
    • ดูดฝุ่นบ่อยๆ การใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีตัวกรองอนุภาคอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA) จะช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ
    • ลดจำนวนพรมที่คุณมีอยู่ในบ้าน ตรงกันข้ามกับพื้นแข็งๆ พรมจะมีสารก่อภูมิแพ้และสะเก็ดผิวหนังของสัตว์อยู่ ทำให้บ้านปลอดสารก่อภูมิแพ้ได้ยากขึ้น
    • ซักเครื่องนอนของคุณเป็นประจำ คุณใช้เวลาประมาณหนึ่งในสามของวันของคุณอยู่บนเตียง ถ้าคุณมีสารก่อภูมิแพ้บนผ้าปูที่นอนและหมอนของคุณแล้วล่ะก็ คุณจะใช้เวลาหนึ่งในสามนั้นหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นเข้าไป ใช้พลาสติกคลุมบนที่นอนของคุณเพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้ไม่ให้เข้ามาอาศัยอยู่
    • สระผมก่อนคุณเข้านอนเพื่อล้างละอองเกสรดอกไม้ใดๆ ที่อาจจะติดอยู่ในผม
    • ถ้าคุณแพ้ละอองเกสรดอกไม้นั้นๆ ให้อยู่ที่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงเวลาของปีที่ระดับของละอองเกสรดอกไม้ประเภทนั้นสูง ปิดหน้าต่างไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ละอองเกสรดอกไม้ปลิวเข้าไปในบ้านของคุณ
  2. ซึ่งนี่จะช่วยลดปริมาณของสปอร์ในอากาศ
    • รักษาให้บ้านของคุณแห้งโดยใช้พัดลมและอุปกรณ์ลดความชื้นต่างๆ ในห้องที่มีความชื้นสูง อย่างเช่น ห้องน้ำ
    • ซ่อมแซมบริเวณที่รั่วใดๆ ในบ้านของคุณ. ซึ่งนี่รวมถึงสิ่งเล็กๆ เช่น ก๊อกน้ำหยด และปัญหาใหญ่ๆ เช่น หลังคารั่วซึ่งอาจจะทำให้น้ำหยดลงผนัง
    • ถ้าคุณมีเชื้อรา ให้ฆ่ามันด้วยสารละลายน้ำยาฟอกขาวกับน้ำ
  3. ถ้าคุณแพ้อาหารที่มีส่วนผสมธรรมดาๆ อย่างเช่น ไข่ หรือข้าวสาลี คุณอาจจะจำเป็นต้องอ่านรายการส่วนผสมบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารอย่างละเอียดถี่ถ้วน
    • ถ้าคุณแพ้อาหารหลายอย่าง ให้พิมพ์บนบัตรเพื่อให้คุณสามารถเอาให้พนักงานในร้านอาหารได้ และพนักงานสามารถเช็คกับพ่อครัวเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ได้กินอาหารใดๆ เหล่านั้น
    • ถ้าจำเป็น ให้นำอาหารของตัวคุณเองไปด้วย คุณจะได้รู้เสมอว่าคุณกำลังกินอะไรอยู่
  4. ให้มืออาชีพเอารังผึ้งหรือรังต่อใดๆ ที่อาจจะอยู่ใกล้ ใน หรือบนบ้านของคุณออก. และถ้าคุณแพ้เหล็กในอย่างรุนแรงให้อยู่ให้ไกลขณะที่พวกเขากำลังทำ
    • คุณอาจจะต้องทำเช่นนี้อีกทุกสองสามปี
    โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่คุณกำลังใช้ยา
  • อ่านฉลากยาและปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบว่าคุณยังสามารถขับรถในขณะที่ใช้ยาได้หรือไม่
  • ให้พูดคุยกับแพทย์ก่อนการใช้ยาใดๆ ระหว่างที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือก่อนให้ยากับเด็ก
  • ถ้าคุณใช้ยาอื่นอยู่ ให้ถามแพทย์ว่ายาเหล่านี้อาจจะมีปฏิกิริยาต่อกันหรือไม่ สมุนไพรและอาหารเสริมก็อาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันได้เช่นกัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,473 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา