ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งมันก็ยากที่จะตัดสินใจว่าคุณควรลาป่วยแล้วหยุดงานหรือหยุดเรียนดีไหม ใจหนึ่งคุณอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายและไม่อยากให้คนรอบข้างติดไปด้วย แต่อีกใจหนึ่งคุณก็ไม่อยากต้องมาตามงานทีหลัง ในการตัดสินใจ คุณต้องรู้จักอาการของโรคติดต่อและเข้าใจแนวทางปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่หน่วยงานของรัฐหรือโรงพยาบาลแนะนำเสียก่อน และสุดท้าย ถึงคุณจะไปทำงานหรือไปเรียนในขณะที่เป็นโรคติดต่ออยู่ คุณก็ยังมีวิธีที่จะลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักอาการของโรคติดต่อต่างๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณมีไข้เกิน 100 องศาฟาเรนไฮต์ (37.8 องศาเซลเซียส) คุณควรหยุดงานหรือหยุดเรียนแล้วอยู่บ้านจนกว่าอุณหภูมิร่างกายจะกลับเป็นปกติครบ 24 ชั่วโมง (โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 37 องศาเซลเซียส) แต่จะไม่นับหากคุณต้องกินยาเพื่อให้ไข้ลด เพราะคุณก็จะยังป่วยและแพร่เชื้อได้อยู่ [1] [2]
    • ถ้าเด็กทารกมีไข้ 100 องศาฟาเรนไฮต์ (37.8 องศาเซลเซียส) หรือมากกว่า ควรพาไปห้องฉุกเฉินทันที
    • ไข้สูงมักจะมาพร้อมกับอาการเหงื่อออกและหนาวสั่น
  2. การไอที่เหมือนออกมาจากในปอดอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่รุนแรงได้ อย่าไปทำงานหรือไปเรียน ควรติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอาการ [3]
    • การไอแบบไม่รุนแรงมักจะเกิดเมื่อคุณเป็นหวัดหรือแพ้อะไรสักอย่าง คุณอาจมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และจามด้วย ถ้าคุณมีอาการเช่นนี้และไม่มีอาการอื่นๆ คุณก็ยังสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
    • ปิดปากเสมอเมื่อคุณไอ และล้างมือบ่อยๆ มันจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
    • ถ้าคุณมีอาการหายใจลำบากระหว่างไอ ควรไปห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา
  3. อยู่ห่างจากคนอื่นจนกว่าคุณจะหยุดอาเจียนและแพทย์ยืนยันว่าไม่ใช่โรคติดต่อ [4] การอาเจียนติดต่อกันจะทำให้สูญเสียน้ำและอ่อนเพลียได้
    • ดูแลตัวเองโดยการดื่มน้ำเยอะๆ ถ้าคุณไม่สามารถดื่มน้ำได้ ให้ลองดูดน้ำจากน้ำแข็งก้อนแทน มันจะทำให้คุณได้น้ำทีละน้อยและกลืนได้ง่ายขึ้น
    • ถ้าคุณไม่สามารถดื่มของเหลวอะไรได้เลยและเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง คุณอาจต้องไปห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล ถ้าจำเป็น แพทย์จะให้ของเหลวเข้าทางเส้นเลือดเพื่อชดเชยน้ำ อาการของภาวะขาดน้ำ ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่ค่อยปัสสาวะ ปัสสาวะสีเข้มหรือขุ่น และร้องไห้ไม่มีน้ำตา [5]
  4. การที่อุจจาระเหลวมากหรือเป็นน้ำมักจะเป็นสัญญาณบอกถึงการติดเชื้อ อยู่ใกล้ๆ ห้องน้ำไว้ และอย่าพยายามไปทำงานหรือไปเรียนจนกว่าจะดีขึ้น [6]
    • ถ้าอาการท้องเสียเกิดจากอาหารหรือยา มันจะไม่ติดต่อ ในกรณีนี้ถ้าคุณดีขึ้นและสามารถทำกิจวัตรตามปกติได้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องหยุดอยู่บ้าน
    • ถ้ามีอาการท้องเสีย คุณจะมีโอกาสสูญเสียน้ำไปมาก หมายความว่าคุณจำเป็นต้องชดเชยน้ำให้ร่างกายด้วยการดื่มน้ำเยอะๆ แม้คุณจะไม่ได้รู้สึกกระหายก็ตาม
  5. หยุดอยู่บ้านและปรึกษาแพทย์หากมีผื่นแปลกๆ ขึ้นตามตัว. ถ้าคุณมีผื่นขึ้นที่มีลักษณะเป็นแผลเปิดและมีของเหลวไหลออกมาหรือผื่นลุกลามอย่างรวดเร็ว ควรไปพบแพทย์ อย่าไปทำงานหรือไปเรียนจนกว่าแพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าไม่ใช่โรคติดต่อ [7]
    • ผื่นที่เกิดจากอาการแพ้นั้นไม่ติดต่อกัน ถ้าคุณสามารถควบคุมอาการได้ และสามารถคิดและจดจ่อกับงานได้ คุณก็ไปทำงานหรือไปเรียนได้
    • ถ้ามีผื่นขึ้นไม่รุนแรง คุณอาจจะไปทำงานหรือไปเรียนได้ถ้าปิดแผลไว้ ลองสอบถามแพทย์หรือพยาบาลที่โรงเรียนก่อน
  6. คุณอาจไม่อยากหยุดอยู่บ้านหากเป็นแค่หวัด ถ้าไม่ได้ป่วยอะไรมากจนต้องพักอยู่บ้าน คุณก็มีวิธีป้องกันง่ายๆ ที่ทำได้เพื่อไม่ให้คนอื่นติดโรค [8]
    • ล้างมือบ่อยๆ
    • ไม่กอดหรือจับมือกับผู้อื่น
    • เลี่ยงการกินอาหารหรือดื่มน้ำร่วมกับผู้อื่น
    • หันหน้าออกจากผู้อื่นเมื่อไอหรือจาม หรือทำใส่ข้อศอกแทน
    • ใช้กระดาษทิชชู่เช็ดเมื่อมีน้ำมูกไหล
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปฏิบัติตามแนวทางรักษาโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าให้ลูกไปโรงเรียนหากเด็กเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน. ถ้าลูกของคุณไปเล่นกับเด็กคนอื่นที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือมีภูมิต้านทานต่ำก็อาจทำให้เด็กพวกนั้นเสี่ยงติดโรคได้ รอจนกว่าแพทย์จะบอกว่าลูกคุณแข็งแรงพอที่จะกลับไปเรียนได้ โรคเหล่านี้ ได้แก่ [9]
  2. โรคตาแดง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคเยื่อบุตาอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ทำให้ตาแดงและมีของเหลวเหนียวๆ สีเขียวเหลืองไหลออกมา [15]
    • ถ้าเป็นโรคนี้จะคันตา เด็กๆ มักจะเกาบ่อย แล้วก็เอามือไปจับเพื่อนหรือเล่นของเล่นด้วยกัน ทำให้มันติดต่อกันง่ายมาก
    • เมื่อลูกคุณได้เริ่มรับการรักษาแล้ว เขาอาจจะกลับไปเรียนได้เลยถ้าแพทย์บอกว่าพ้นระยะติดต่อแล้ว
  3. แต่ถ้าเด็กได้รับการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์แล้ว เขาก็อาจจะกลับไปเรียนได้ตามปกติ เว้นแต่ว่าแพทย์จะยังไม่อนุญาต [16]
    • โรคแผลพุพองเป็นโรคติดเชื้อที่จะเกิดในรูปของตุ่มหนอง หนองอาจจะแตกออกและตกสะเก็ด ต้องปิดแผลพวกนี้ไว้เวลาลูกไปโรงเรียน
    • โรคแผลพุพองเกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตค็อกไค (streptococci) สแตฟิโลค็อกคัส (staphylococcus) และเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลิน (Methicillin resistance Staphylococcus aureus, MRSA)
  4. ให้ลูกหยุดอยู่บ้านหากเป็นโรคเจ็บคอสเตรปโธรท. โรคนี้จะมีอาการเจ็บคอ ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพราะเขาอาจต้องกินยาปฏิชีวนะ [17]
    • ลูกของคุณอาจจะรู้สึกดีขึ้นจนกลับไปเรียนได้หลังจากกินยาปฏิชีวนะไป 24 ชั่วโมง
    • ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
  5. ให้ลูกหยุดเรียนสักสัปดาห์หากเด็กเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเอ. โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อในตับที่ติดต่อได้ง่าย จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดบริเวณตับ ปวดข้อ ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีเหมือนดิน ตัวเหลืองและตาเหลือง ถ้าคิดว่าลูกคุณจะเป็นโรคนี้ให้พาไปพบแพทย์โดยด่วน [18]
    • ถ้าเกินหนึ่งสัปดาห์แล้วลูกคุณยังไม่ดีขึ้น อาจต้องให้พักอยู่บ้านนานกว่านั้น [19]
  6. ปรึกษาแพทย์หากเด็กมีอาการปวดหูหรือมีของเหลวไหลออกจากหู. ถ้าอาการเจ็บปวดเกิดจากการติดเชื้อ เด็กอาจต้องกินยาปฏิชีวนะ [20]
  7. ถ้าลูกเป็นโรคติดต่ออื่นๆ ที่รักษาแล้ว ก็สามารถไปโรงเรียนได้. ปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กและพยาบาลที่โรงเรียน คุณอาจให้ลูกไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กได้ ถ้าเด็กมีอาการติดเชื้อดังต่อไปนี้ [23] [24]
    • โรคหิด เกิดจากตัวหิดหรือตัวไรชนิดหนึ่งที่ไปฝังตัวและวางไข่อยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มแดงและเป็นรอยที่ผิวหนังซึ่งจะคันมากและติดต่อได้ ควรพบแพทย์เพื่อรับยาที่จะช่วยรักษาอาการติดเชื้อนี้ [25]
    • เหา เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่อาศัยและวางไข่บนศีรษะของมนุษย์ มันจะทำให้เกิดอาการคัน แต่ไม่ได้เป็นพาหะนำโรคร้ายแรงอะไร ไข่ที่ติดตามผมสามารถใช้หวีซี่ถี่ๆ หวีออกได้ ถ้าจำเป็นก็ให้ลูกอยู่บ้านสักวันสองวันเพื่อรักษา แชมพูกำจัดเหาสามารถหาซื้อได้ทั่วไปหรือให้แพทย์สั่งก็ได้ [26]
    • กลาก เป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อรา ทำให้เกิดผื่นคันรูปวงแหวนสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อดูว่าต้องใช้ยาต้านเชื้อราหรือไม่ และต้องทำการปิดแผลบริเวณที่ติดเชื้อไว้เวลาไปโรงเรียน [27]
    • โรคฟิฟธ์ (Fifth’s Disease) จะมีอาการคล้ายไข้หวัดและจะมีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้าและทั่วร่างกาย โรคนี้เรียกอีกชื่อว่าผื่นตบหน้าเนื่องจากจะมีผื่นแดงขึ้นที่แก้ม เมื่อถึงระยะเป็นผื่นจะไม่ค่อยติดต่อแล้ว ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นโรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์หรือมีภูมิต้านทานต่ำหรือไม่ โรคนี้ยังเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ที่ติดเชื้อด้วย [28] [29]
    • โรคมือ เท้า ปาก จะทำให้เกิดแผลพุพองที่ปาก และผื่นแดงที่มือกับเท้า นอกจากนี้ยังอาจทำให้เป็นไข้และเจ็บคอด้วย ถ้าเด็กมีน้ำลายไหลตลอดและมีแผลที่ปาก ควรให้พักอยู่บ้าน [30] [31]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันการแพร่กระจายของโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนอื่นมากไปในขณะที่ป่วย. ถ้าจำเป็นต้องไปทำงานหรือไปเรียนในขณะที่ป่วย คุณก็ยังสามารถลดโอกาสเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยการรักษาระยะห่าง ดังนี้ [32]
    • หลีกเลี่ยงการกอด ถ้าจำเป็นก็อธิบายให้คนอื่นฟังว่าคุณรู้สึกไม่ค่อยสบายและไม่อยากแพร่เชื้อ พวกเขาน่าจะเข้าใจว่าอยู่ห่างไว้จะดีที่สุด
    • อย่าโน้มตัวเข้าไปใกล้เวลาคุยกับผู้อื่นหรือจะดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคนข้างๆ
    • ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเวลาเผลอหายใจรดผู้อื่น [33]
    • พยายามเลี่ยงการจับมือ
  2. วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ละอองน้ำลายที่มีเชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นและสู่สิ่งของต่างๆ ที่คนอื่นต้องสัมผัส [34]
    • ปิดปากด้วยกระดาษทิชชู่ ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้งไป แม้มันจะยังดูสะอาดอยู่แต่อาจเต็มไปด้วยเชื้อโรคก็ได้
    • ถ้าไม่มีกระดาษทิชชู่ก็ให้ไอหรือจามใส่ข้อศอก ไม่ใช่ใส่มือ ถ้าเชื้อโรคแพร่กระจายไปบนร่างกาย ข้อศอกจะเป็นส่วนที่สัมผัสกับผู้อื่นหรือสิ่งของต่างๆ น้อยกว่ามือคุณ
    • ถ้าคุณไอหรือจามแบบหยุดไม่ได้ ควรใส่หน้ากากอนามัย
    • ใช้กระดาษเปียกฆ่าเชื้อโรคเช็ดสิ่งของที่ใช้ร่วมกันที่คุณได้สัมผัส เช่น โต๊ะ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ และลูกบิดประตู
  3. ทั้งก่อนเตรียมอาหาร หลังเข้าห้องน้ำเสร็จ หลังสั่งน้ำมูก ไอ จาม และก่อนดูแลหรือสัมผัสผู้อื่น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำวิธีล้างมือตามนี้ [35]
    • เปิดน้ำล้างมือก่อน และปิดก๊อกน้ำเพื่อประหยัดน้ำ
    • ถูสบู่ที่มือให้ทั่วๆ รวมทั้งหลังมือ ระหว่างนิ้ว และตามซอกเล็บด้วย
    • ถูมือสองข้างด้วยกันแรงๆ อย่างน้อย 20 วินาที
    • ล้างสบู่และเชื้อโรคออกให้หมดจดด้วยน้ำสะอาด
    • เป่าลมให้แห้ง หรือใช้ผ้าสะอาดเช็ดมือ ถ้าใช้ผ้าสกปรก ที่ล้างมือมาทั้งหมดก็ไม่มีประโยชน์
  4. ไปพบแพทย์หากมีสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน. ถ้าคุณหรือลูกของคุณมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ [36]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าลูกคุณไม่สบาย ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
  • ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งเรื่องการกินยา
  • หากกำลังตั้งครรภ์หรือจะรักษาเด็ก ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะกินยาหรือทำตามวิธีรักษาเองที่บ้าน
  • ถ้าคุณกินยาชนิดใดอยู่แล้ว ปรึกษาแพทย์ก่อนจะกินยาอื่นเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อกินหรือยาที่ทำกินเอง เพราะมันอาจทำปฏิกิริยากันได้
  • ถ้าคุณต้องใกล้ชิดกับประชากรกลุ่มเปราะบางที่ทำงานหรือสถานศึกษา คุณยิ่งจำเป็นต้องรักษาตัวอยู่บ้านหากไม่สบาย ประชากรกลุ่มเปราะบางหมายรวมถึงเด็ก ผู้สูงอายุ และคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/measles/basics/symptoms/con-20019675
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mumps/basics/symptoms/con-20019914
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rubella/basics/symptoms/con-20020067
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/whooping-cough/basics/symptoms/con-20023295
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chickenpox/basics/symptoms/con-20019025
  6. http://www.dodea.edu/StudentServices/Health/sickChild.cfm
  7. http://www.dodea.edu/StudentServices/Health/sickChild.cfm
  8. https://www.cde.state.co.us/healthandwellness/illnesspolicyhowsickistoosickenglish
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-a/basics/symptoms/con-20022163
  10. https://www.cde.state.co.us/healthandwellness/illnesspolicyhowsickistoosickenglish
  11. http://www.bloomfield.org/uploaded/schools/Conant/Conant_Registration_Docs_2015/whentokeepsickchildrenhomefromschool82709_1.pdf
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ear-infections/basics/symptoms/con-20014260
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ear-infections/basics/definition/con-20014260
  14. http://www.dodea.edu/StudentServices/Health/sickChild.cfm
  15. https://www.cde.state.co.us/healthandwellness/illnesspolicyhowsickistoosickenglish
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scabies/basics/treatment/con-20023488
  17. http://www.bloomfield.org/uploaded/schools/Conant/Conant_Registration_Docs_2015/whentokeepsickchildrenhomefromschool82709_1.pdf
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ringworm/basics/definition/con-20021104
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/parvovirus-infection/basics/symptoms/con-20023045
  20. https://www.cde.state.co.us/healthandwellness/illnesspolicyhowsickistoosickenglish
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hand-foot-and-mouth-disease/basics/symptoms/con-20032747
  22. https://www.cde.state.co.us/healthandwellness/illnesspolicyhowsickistoosickenglish
  23. http://www.cdc.gov/flu/protect/stopgerms.htm
  24. http://www.cdc.gov/flu/pdf/protect/cdc_cough.pdf
  25. http://www.cdc.gov/flu/pdf/protect/cdc_cough.pdf
  26. http://www.cdc.gov/handwashing/when-how-handwashing.html
  27. http://www.cdc.gov/flu/takingcare.htm
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/in-depth/fever/art-20050997
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/symptoms/con-20019229
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/fever/basics/symptoms/con-20019229

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,166 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา