ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตกไข่เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง มันเป็นขั้นตอนที่รังไข่มีการผลิตเซลล์ไข่ออกมา ซึ่งจะถูกท่อรังไข่ดูดมาเก็บไว้ ซึ่งไข่เหล่านั้นจะพร้อมผสมภายใน 12-24 ชั่วโมงถัดไป หากไข่ได้รับการผสม มันจะถูกฝังไว้ในผนังมดลูก และมีการสกัดฮอร์โมนที่ขัดขวางการเกิดประจำเดือน แต่หากไข่ไม่ได้รับการผสมภายใน 12-24 ชั่วโมง มันก็จะไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว และจะถูกขับออกมาทางช่องคลอดร่วมกับประจำเดือนของผู้หญิงนั่นเอง ทั้งนี้ การรู้ช่วงเวลาตกไข่ จะช่วยให้คุณวางแผนการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

การบันทึกอุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อน(BBT)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้อเทอโมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อนโดยเฉพาะ. อุณหภูมิร่างกายของคุณหลังพักผ่อน หรือเรียกง่ายๆ ว่า BBT เป็นอุณหภูมิขั้นต่ำที่สุดของร่างกายในรอบ 24 ชม. [1] หากต้องการวัดและจดบันทึก BBT คุณจำเป็นต้องหาเทอร์โมมิเตอร์สำหรับ BBT มาใช้โดยเฉพาะ [2]
    • เทอร์โมมิเตอร์แบบนี้ มีขายตามร้านขายยาชั้นนำ โดยจะมีแถมชาร์ทแผนผังมาไว้สำหรับจดบันทึกถัดไปอีกหลายเดือนด้วย
  2. วัดและจดบันทึก BBT ของคุณทุกวัน ต่อเนื่องถัดไปอีกหลายเดือน. เพื่อให้การบันทึก BBT เป็นไปอย่างแม่นยำ คุณจะต้องบันทึกอุณหภูมิเป็นเวลาเดียวกันของทุกวัน ซึ่งก็คือทันทีที่ตื่นนอน ก่อนจะลุกจากเตียงด้วยซ้ำ: [3]
    • วางเทอร์โมมิเตอร์ BBT เอาไว้ข้างเตียง พยายามตื่นนอนมาวัดอุณหภูมิในเวลาเดิมทุกเช้า
    • คุณสามารถวัด BBT ได้ทั้งทางปาก ทางทวารหนัก หรือทางช่องคลอดก็ได้ แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกวัดบริเวณใด ก็ขอให้วัดบริเวณนั้นไปตลอดเพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำ ทั้งนี้ การวัดทางทวารหนักและช่องคลอด ย่อมจะบอกอุณหภูมิได้ตรงตามความจริงมากกว่า [4]
    • จดบันทึกอุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อนทุกเช้าลงบนแผนผัง BBT หรือสมุดกราฟ ซึ่งมีการทำกราฟมาให้ล่วงหน้าเพื่อให้คุณบันทึกได้สะดวก
    • คุณจำเป็นต้องบันทึกและติดตาม BBT ทุกวัน เป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จนกว่าจะเริ่มเห็นรูปแบบ
  3. คอยสังเกตช่วงที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง. ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมี BBT เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลาประมาณอย่างน้อย 3 วัน ในช่วงที่มีการตกไข่ [5] ดังนั้น การที่คุณคอยติดตามตัวเลขอุณหภูมิทุกวัน ก็เพื่อหาช่วงเวลาที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน และนำมากะระยะเวลาช่วงของการตกไข่
  4. หลังจากบันทึกและติดตาม BBT ของคุณมาหลายเดือนทุกเช้า ลองเอาแผนผังมากางดูเพื่อกะระยะช่วงเวลาตกไข่ของคุณ หลังจากที่คุณมองออกแล้วว่าช่วงไหนที่ BBT สูงขึ้นในแต่ละเดือน คุณจะสามารถนำมาคำนวณหาช่วงของการตกไข่ได้ โดยทำดังนี้:
    • ระบุช่วงเวลาที่อุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอกันทุกเดือน
    • จากนั้น กำหนดให้ช่วงประมาณ 2-3 วันก่อนหน้านั้น เป็นช่วงของวันที่มีโอกาสตกไข่มากที่สุด [6]
    • แผนผังนี้ยังมีประโยชน์และสามารถนำไปให้หมอสูติฯ ของคุณดู ในกรณีที่คุณเกรงว่าจะมีภาวะตั้งครรภ์ลำบาก [7]
  5. แม้ว่า BBT จะเป็นวิธีที่มีประโยชน์ แต่มันก็มีข้อจำกัดที่คุณควรรับทราบไว้ [8]
    • คุณอาจจะมองไม่เห็นรูปแบบอุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อนก็ได้ หากผ่านไปหลายเดือนแล้ว คุณยังหารูปแบบของอุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อนตัวเองไม่ได้ ก็ควรพิจารณาทางเลือกอื่นๆ ควบคู่ไปกับวิธี BBT นี้ด้วย และใช้วิธีการเหล่านั้นแทรกลงไปในตารางกิจวัตรประจำวัน
    • BBT อาจจะถูกก่อกวนโดยการเปลี่ยนแปลงของนาฬิการ่างกายคนเรา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนมาทำงานกะดึก การอดนอนหรือนอนมากเกินไป การเดินทางไกล รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย
    • BBT ยังอาจถูกก่อกวนได้จากภาวะความเครียดที่เพิ่มขึ้น เช่น ช่วงที่วันหยุดยาวหรือช่วงที่ป่วยหนัก รวมถึงความเครียดอันเกิดจากการกินยาบางประเภท รวมถึงปัจจัยทางนรีเวชอื่นๆ ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

การตรวจสอบมูกช่องคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรเริ่มทันทีหลังจากวันที่หมดประจำเดือน คุณสามารถเช็คมูกช่องคลอดในเช้าถัดไปได้เลย
    • ใช้ทิชชู่เช็ดมันออกมา และใช้นิ้วคุณจับดูมูกช่องคลอดสักเล็กน้อย
    • บันทึกทั้งลักษณะและความสม่ำเสมอของมูก รวมถึง
  2. ร่างกายผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะผลิตมูกช่องคลอดออกมาหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนในรอบเดือนนั้นๆ ซึ่งมีมูกช่องคลอดบางลักษณะ ที่แสดงว่าเอื้อต่อการตกไข่ โดยอาจมีลักษณะต่างกันดังต่อไปนี้: [9]
    • ระหว่างการมีประจำเดือน ร่างกายของคุณจะขับเลือดออกมา ซึ่งหลักๆ ประกอบด้วยเศษผนังช่องคลอดและไข่ที่ไม่ได้รับการผสม
    • ระหว่าง 3-5 วันหลังการมีประจำเดือน ร่างกายผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่ขับอะไรออกมา ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่น่าจะเกิดการตั้งครรภ์ที่สุด แม้ว่าจะพอมีความเป็นไปได้ก็ตาม [10]
    • ถัดจากช่วงที่แห้งเหือด คุณอาจจะเริมสังเกตเห็นมูกช่องคลอดสีขุ่นๆ ออกมา [11] มูกช่องคลอดประเภทนี้ เป็นมูกช่องคลอดที่สร้างผนังบริเวณปากมดลูกมากั้นไม่ให้แบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปได้ ซึ่งทำให้สเปิร์มของผู้ชายเข้าไปได้ยากเช่นกัน ผู้หญิงจึงไม่ค่อยตั้งครรภ์ในช่วงนี้ [12]
    • ถัดจากมูกช่องคลอดเหนียวๆ ดังกล่าว คุณจะเริ่มเห็นมูกช่องคลอดเปลี่ยนเป็นสีขาว เบจ หรือสีเหลืองข้นแบบครีมหรือโลชั่นนั่นเอง ซึ่งในช่วงดังกล่าวนี้ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มพร้อมผสมพันธุ์มากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ใช่ช่วงพีคก็ตาม [13]
    • จากนั้น คุณจะเริ่มสังเกตเห็นมูกช่องคลอดแบบน้ำๆ ยืดๆ จางๆ ที่ลักษณะเหมือนไข่ขาว มันจะอมน้ำมากพอที่จะยืดได้หลายนิ้วระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้คุณ ระหว่างหรือหลังจากวันสุดท้ายที่ปรากฏมูกช่องคลอดลักษณะนี้ คุณจะเริ่มตกไข่ มูกช่องคลอดไข่ขาวแบบนี้พร้อมผสมพันธุ์มากที่สุด และเต็มไปด้วยสารอาหารที่ให้คุณค่าแก่สเปิร์ม ช่วงนี้จึงเป็นช่วงพร้อมผสมพันธุ์ที่สุดสำหรับผู้หญิง [14]
    • หลังจากระยะมูกช่องคลอดนี้และมีการตกไข่แล้ว ต่อไปมูกที่ขับออกมาก็จะไปเริ่มต้นขั้นตอนแรกที่มูกช่องคลอดมีความขุ่นเหนียว และวนกลับมาเหมือนเดิม
  3. วาดผังและบันทึกข้อมูลมูกช่องคลอดของคุณหลายเดือนติดๆ กัน. มันจะต้องใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่คุณจะสังเกตเห็นรูปแบบที่ชัดเจนของมูกช่องคลอดได้ [15]
    • บันทึกให้ต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน เอาข้อมูลมาทบทวนและพยายามแยกหารูปแบบที่เกิดขึ้น ช่วงก่อนที่จะหมดมูกช่องคลอดไข่ขาวนั่นแหละ ที่ร่างกายคุณกำลังตกไข่
    • การติดตามูกช่องคลอดมควบคู่ไปกับ BBT จะช่วยให้คุณสามารถระบุระยะตกไข่ได้แม่นยำขึ้น ด้วยการนำข้อมูลทั้งสองด้านมาผสมผสานกัน [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

การใช้อุปกรณ์คาดการณ์ระยะตกไข่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุปกรณ์ช่วยคาดการณ์ระยะตกไข่ หรือ OPK มีจำหน่ายตามร้านขายยาชั้นนำ และตรวจหาระดับฮอรโมนต่อมไร้ท่อหรือ LH จากปัสสาวะของคุณ ปกติแล้วระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อหรือ LH นี้ จะอยู่ในระดับต่ำเสมอ แต่หากอยู่ในระยะ 24-48 ชม. ก่อนตกไข่ มันจะเพิ่มขึ้นสูงอย่างชัดเจน [17]
    • อุปกรณ์ OPK สามารถช่วยระบุระยะตกไข่ของคุณได้แม่นยำกว่าการจด BBT หรือการตามดูมูกช่องคลอด โดยเฉพาะหากคุณมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
  2. ระยะตกไข่มักจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งรอบประจำเดือนพอดี (เฉลี่ยประมาณ 12-14 วันก่อนประจำเดือนมา) [18] คุณจะรู้ได้ว่า คุณเหลือเวลาอีกสองสามวันจึงจะเริ่มตกไข่ ทันทีที่เห็นมูกช่องคลอดไข่ขาว
    • เมื่อคุณเริ่มเห็นมูกช่องคลอดไข่ขาว ก็เริ่มใช้ OPK ได้เลย การที่อุปกรณ์นี้มีจำนวนแผ่นทดสอบจำกัด คุณจึงควรรอให้ถึงช่วงดังกล่าวนี้ก่อนจึงค่อยเริ่มทำการทดสอบ ไม่งั้นแผ่นทดสอบจะหมดลงก่อนที่จะถึงช่วงตกไข่
  3. ทำตามคำแนะนำข้างกล่อง OPK และคุณควรทดสอบปัสสาวะในเวลาเดียวกันของทุกวันด้วย [19]
    • พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำหรือกินน้ำมากไป เพราะมันจะส่งผลให้ค่า LH ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงได้
  4. อุปกรณ์ OPK ส่วนใหญ่ใช้แท่งหรือแผ่นทดสอบปัสสาวะ เพื่อตรวจหาค่า LH และแสดงผลออกมาทางสีสันที่ปรากฏ
    • ส่วนใหญ่แล้ว หากแถบสีที่ปรากฏขึ้น ใกล้เคียงกับแถบสีอ้างอิง ก็จะแสดงถึง LH ที่เพิ่มสูงขึ้น หมายถึงว่า มีโอกาสมากที่จะตกไข่
    • หากแถบสีที่ปรากฏ สีอ่อนกว่าแถบสีอ้างอ้างอิง ก็แสดงว่ายังไม่น่าจะตกไข่
    • หากคุณใช้ OPK หลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่เห็นผลลัพธ์เชิงบวก ลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาว่า คุณมีภาวะตั้งครรภ์ยากหรือเปล่า
  5. แม้ว่ามันจะมีความแม่นยำสูง แต่คุณอาจจะพลาดช่วงตกไข่ไป หากคุณไม่ทดสอบให้ถูกต้องตรงเวลา
    • ด้วยเหตุดังกล่าว คุณจึงควรใช้ OPK ร่วมกับวิธีทดสอบอื่นๆ เช่น BBT และการตรวจดูมูกช่องคลอด เพื่อที่จะได้มีระยะอ้างอิงว่า ควรจะเริ่มทดสอบปัสสาวะวันไหน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

การใช้วิธีสังเกตอาการและวัดอุณหภูมิ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีสังเกตอาการและวัดอุณหภูมิ (STM) เป็นวิธีที่ผสมระหว่างการติดตามอาการทางกายและ BBT เพื่อค้นหาระยะตกไข่ [20] การติดตาม BBT ก็คือขั้นตอนในส่วนการวัดอุณหภูมินั่นเอง ซึ่งคุณจำเป็นต้องติดตามดู BBT ทุกวัน [21]
    • การที่ BBT มักจะมีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างคงที่ 2-3 วันก่อนระยะตกไข่ การสังเกต BBT จึงสามารถช่วยให้คุณรู้วัฏจักรการตกไข่ของตนเอง (อ่านเรื่องการบันทึกอุณหภูมิร่างกายหลังพักผ่อน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม)
    • คุณต้องติดตามผลทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อที่จะหารูปแบบระยะตกไข่
  2. ขั้นตอนนี้คือส่วนของอาการทางกายที่ระบุไว้ในชื่อมัน ซึ่งประกอบด้วยการคอยสังเกตอาการทางกายของตนเองเพื่อหาระยะตกไข่ [22]
    • ในแต่ละวัน คอยสังเกตและบันทึกมูกช่องคลอด (อ่านการตรวจสอบมูกช่องคลอด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม) รวมถึงอาการช่วงมีประจำเดือนของคุณด้วย เช่น คัดหน้าอก ตะคริว หรืออารมณ์แปรปรวน ฯลฯ [23]
    • แผนผังสำหรับคอยบันทึกอาการของคุณ สามารถปริ๊นท์ออกมาได้ทางอินเตอร์เน็ต หรือคุณจะออกแบบเองก็ได้
    • คุณต้องติดตามผลทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อที่จะหารูปแบบระยะตกไข่
  3. ใช้ข้อมูลทั้งจากการสังเกตติดตาม BBT และอาการทางกาย เพื่อตรวจสอบระยะตกไข่ [24]
    • ถ้าจะให้ดี ข้อมูลควรจะสอดคล้องกัน เพื่อระบุระยะการตกไข่
    • หากข้อมูลขัดแย้งกัน ก็ต้องคอยติดตามผลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ข้อมูลที่เริ่มสอดคล้องกัน
  4. วิธีนี้จะใช้ดีที่สุด ในกรณีที่อยากรู้ภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเอง และมีข้อจำกัดบางประการ
    • หลายๆ คู่ ใช้วิธีนี้ในการคุมกำเนิดตามธรรมชาติ โดยหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างช่วงเจริญพันธุ์ของฝ่ายหญิง (ช่วงก่อนและระหว่างระยะการตกไข่) อย่างไรก็ดี การใช้วิธีคุมกำเนิดแบบนี้ ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดและแม่นยำในการบันทึกอย่างใส่ใจ [25]
    • ผู้ที่ใช้วิธีการนี้ในการคุมกำเนิด มีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจได้ถึงร้อยละ 10 [26]
    • วิธีนี้อาจเป็นปัญหาในช่วงที่คุณมีอาการเครียดร่วมด้วย รวมถึงมีอาการป่วย เดินทาง หรือการนอนหลับเปลี่ยนไป ซึ่งล้วนแต่ทำให้ BBT เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการทำงานกะดึกและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [27]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

วิธีการใช้ปฏิทิน (หรือจังหวะร่างกาย)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้เป็นการใช้ปฏิทินในการนับจำนวนวันระหว่างรอบเดือน และคำนวณหาระยะเจริญพันธุ์ [28]
    • ผู้หญิงส่วนใหญ่ ที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอ จะมีรอบเดือนรอบละ 26-32 วัน แต่สามารถสั้นที่สุดได้ถึง 23 วันและนานที่สุดได้ถึง 35 วัน [29] ส่วนใหญ่แล้วระยะรอบเดือนจะเป็นไปตามนี้ วันแรกที่นับ คือวันที่เริ่มรอบเดือน และวันสุดท้าย หมายถึงวันที่สิ้นสุดรอบเดือนถัดไป
    • จำไว้ว่า รอบเดือนของคุณมักจะบวกลบต่างไปในแต่ละเดือน คุณอาจมีรอบเดือน 28 วันติดกันสองรอบ แต่แล้วกลับนานขึ้นเล็กน้อยในเดือนถัดไป
  2. เอาปฏิทินทั่วไปมาดู เขียนวงกลมรอบวันแรกของแต่ละวัฏจักร (วันแรกของแต่ละรอบเดือน) เอาไว้
    • นับจำนวนวันในระหว่างแต่ละรอบเดือน (อย่าลืมนับวันแรกด้วย)
    • บันทึกจำนวนวันทั้งหมดในแต่ละรอบ หากคุณพบว่า ทุกๆ รอบเดือนของคุณ มีจำนวนน้อยกว่า 27 วัน ก็อย่าใช้วิธีนี้ เพราะมันจะไม่แม่นยำ [30]
  3. เอารอบเดือนที่มีจำนวนวันน้อยที่สุด มาลบด้วย 18 [31]
    • เขียนผลลัพธ์ที่ได้ลงไป
    • จากนั้น ระบุวันแรกของรอบเดือนปัจจุบันลงในปฏิทิน
    • ใช้ตัวเลขที่ได้มา เริ่มนับไปจากวันแรกของรอบเดือนล่าสุด ตามจำนวนตัวเลขนั้น และกากบาทไว้ว่าตรงกับวันไหน
    • วันที่กากบาทไว้ คือ วันที่เริ่มช่วงเจริญพันธุ์ ไม่ใช่ช่วงการตกไข่ [32]
  4. เช็คดูว่ารอบเดือนใดที่คุณบันทึกไว้ มีจำนวนวันยาวนานที่สุด จากนั้น เอาจำนวนวันดังกล่าวมาลบด้วย 11 [33]
    • เขียนผลลัพธ์ที่ได้ลงไป
    • จากนั้น ระบุวันแรกของรอบเดือนปัจจุบันลงในปฏิทิน
    • ใช้ตัวเลขที่ได้มา เริ่มนับไปจากวันแรกของรอบเดือนล่าสุด ตามจำนวนตัวเลขนั้น และกากบาทไว้ว่าตรงกับวันไหน
    • วันที่กากบาทไว้ คือ วันที่สุดท้ายของช่วงเจริญพันธุ์ และสามารถยึดถือเป็นวันที่มีการตกไข่ [34]
  5. วิธีนี้จำเป็นต้องได้รับการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องและใส่ใจ จึงอาจเกิดความผิดพลาดจากน้ำมือตัวเองได้
    • รอบเดือนของคุณอาจมีการเปลี่ยนแปลง จึงยากที่จะระบุวันตกไข่ได้ด้วยวิธีนี้
    • วิธีนี้จะได้ผลดีขึ้น หากใช้ร่วมกับวิธีอื่นๆ ในการติดตามระยะตกไข่
    • วิธีนี้อาจจะคาดการณ์ให้แม่นยำได้ยาก หากประจำเดือนของคุณไม่สม่ำเสมอ
    • วิธีนี้อาจเป็นปัญหาในช่วงที่คุณมีอาการเครียดร่วมด้วย รวมถึงมีอาการป่วย เดินทาง หรือการนอนหลับเปลี่ยนไป ซึ่งล้วนแต่ทำให้ BBT เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการทำงานกะดึกและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [35]
    • วิธีนี้จำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบและละเอียดในการติดตามบันทึก และผู้ที่ใช้วิธีการนี้ในการคุมกำเนิด มีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจได้ถึงร้อยละ 18 หรือมากกว่านั้น จึงไม่ค่อยแนะนำให้ใช้วิธีนี้คุมกำเนิด [36]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณมั่นใจว่า ตนเองได้พยายามมีเพศสัมพันธ์ในระยะตกไข่มาเป็นเวลา 6 เดือนติดกัน แต่ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ คุณควรไปพบหมอสูตินรีเวช และผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อระบบสืบพันธุ์ เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติม (โดยเฉพาะหากคุณมีอายุเกิน 35) การที่คุณไม่ตั้งครรภ์อาจมีหลายสาเหตุ รวมถึงกรณีที่มีความบกพร่องของภาวะเจริญพันธุ์ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก ท่อนำไข่ สเปิร์ม หรือคุณภาพของไข่เอง ซึ่งสามารถระบุได้โดยแพทย์เท่านั้น
  • ลองสังเกตอาการเจ็บปวดหรืออึดอัดที่เกิดขึ้น ประมาณช่วง 5-7 วันหลังสิ้นสุดรอบเดือน เพราะบ่อยครั้งที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ มีอาการเจ็บปวดหน้าท้องซีกใดซีกหนึ่งในช่วงของการตกไข่ ดังนั้น ความปวดที่เกิดขึ้นจึงอาจบ่งบอกว่า ระยะตกไข่ได้เริ่มขึ้นแล้ว
  • หากคุณมีเลือดออกระหว่างรอบเดือนจำนวนมาก ควรไปพบหมอสูตินรีเวช
  • ผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะตกไข่บกพร่อง ทำให้ไม่มีการตกไข่ในบางช่วงของวัฏจักรสืบพันธุ์ แต่หากเป็นแบบเรื้อรัง ก็อาจเกิดจากภาวะรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ โรคอนอเล็กเซีย ต่อมหมวกไตบกพร่อง การไหลเวียนเลือดต่ำ ความเครียดสูง โรคตับ และภาวะอื่นๆ ด้วย หากคุณกังวลว่าจะมีภาวะตกไข่บกพร่อง ควรไปพบหมอสูตินรีเวชและผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อระบบสืบพันธุ์ [37]
โฆษณา

คำเตือน

  • วิธีเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจระยะเจริญพันธุ์ ไม่ใช่เพื่อการคุมกำเนิด หากใช้คุมกำเนิดอาจทำให้ตั้งครรภ์โดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า
  • วิธีการเหล่านี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุณจากโรคติดต่อหรือติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
โฆษณา
  1. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/expert-answers/ovulation-signs/faq-20058000
  3. http://www.fertilityfriend.com/courses/lesson.php?p=1;5;0;0
  4. http://www.fertilityfriend.com/courses/lesson.php?p=1;5;0;0
  5. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness
  6. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness
  7. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/how-to-get-pregnant/art-20047611
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/how-to-get-pregnant/art-20047611
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/getting-pregnant/in-depth/how-to-get-pregnant/art-20047611
  11. http://americanpregnancy.org/preventing-pregnancy/natural-family-planning/
  12. http://www.contracept.org/symptothermal.php
  13. http://americanpregnancy.org/preventing-pregnancy/natural-family-planning/
  14. http://www.nichd.nih.gov/health/topics/menstruation/conditioninfo/Pages/symptoms.aspx
  15. http://www.medscape.com/viewarticle/589936_7
  16. http://americanpregnancy.org/preventing-pregnancy/natural-family-planning/
  17. http://americanpregnancy.org/preventing-pregnancy/natural-family-planning/
  18. http://www.contracept.org/symptothermal.php
  19. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness
  20. http://www.webmd.com/baby/healthtool-ovulation-calculator
  21. http://www.plannedparenthood.org/health-info/birth-control/fertility-awareness
  22. http://www.plannedparenthood.org/health-info/birth-control/fertility-awareness
  23. http://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/fertility-awareness
  24. http://www.plannedparenthood.org/health-info/birth-control/fertility-awareness
  25. http://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/fertility-awareness
  26. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/rhythm-method/basics/what-you-can-expect/prc-20013489
  27. http://www.healthline.com/health/birth-control-rhythm-method#Effectiveness4
  28. http://emedicine.medscape.com/article/253190-overview#a0199

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,054 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา