ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไซนัสจะเป็นโพรงอากาศโล่งๆ ในหน้าหรือกะโหลกของเรา ถ้าเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบหรือระคายเคืองเมื่อไหร่ ก็จะเกิดแรงดันในไซนัส ทำให้แน่นหน้า หายใจไม่สะดวก แถมบางทีก็เจ็บๆ ตึงๆ โพรงไซนัสที่บวมจะไปปิดกั้นการไหลเวียนของอากาศตามปกติ ระบายน้ำมูกและเมือกต่างๆ ก็ไม่ได้ เลยติดแหงกอยู่ในนั้นจนแน่นหน้าคัดจมูกไปหมด อาการแบบนี้เรียก sinusitis หรือไซนัสอักเสบนั่นเอง [1] ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการลดแรงดันในไซนัส ให้คุณหายแน่นหน้าคัดจมูกได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ซื้อยามาใช้เอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อชะล้างน้ำมูกที่อุดตันและเพิ่มความชุ่มชื้นให้โพรงจมูก อย่าใจร้อน ค่อยๆ สวนล้างไปตามคำแนะนำการใช้งาน ปกติจะอาการดีขึ้นหลังใช้ไป 1 - 2 ครั้ง แต่ต้องสวนล้างซ้ำถึงจะเห็นผล [2]
  2. neti-pot หรือกาเนติ เป็นอุปกรณ์สวนล้างที่คล้ายกาน้ำชาเล็กๆ ถ้าใช้ถูกวิธี จะช่วยชะล้างน้ำมูกและสารก่ออาการระคายเคืองต่างๆ ที่ติดอยู่ในโพรงจมูกออกมา แถมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้โพรงจมูกด้วย วิธีใช้คือใส่น้ำเกลือหรือน้ำกลั่นในกาเนติ แล้วเทเข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง จากนั้นปล่อยให้ไหลออกมาทางรูจมูกอีกข้าง ชะเอาสารก่อความระคายเคืองและเชื้อโรคออกมา ในขณะที่เพิ่มความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคืองในโพรงไซนัส คุณหาซื้อกาเนติได้ไม่แพง ตามร้านขายยาหรือออนไลน์ [3]
  3. ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนซื้อยากินเองถ้ามีโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน และต้อหิน ยานี้ปกติกินแล้วช่วยได้ แต่ก็ไม่เห็นผลกับทุกคนเสมอไป
  4. คุณหาซื้อสเปรย์พ่นหรือยาหยดแก้คัดจมูกได้ตามร้านขายยา แต่ต้องใช้อย่างระวัง เป็นยาที่ช่วยลดแรงดัน ทำให้โพรงจมูกโล่งได้อย่างรวดเร็วก็จริง แต่ถ้าใช้ติดต่อกันเกิน 3 วันอาจมีผล rebound effect คืออาการกลับมาหนักกว่าเดิมได้ [8]
  5. sinusitis หรือไซนัสอักเสบ บางทีก็เกิดจากภูมิแพ้ได้ ถ้าซื้อยาแก้แพ้กินเอง เช่น Claritin®, Zyrtec® หรืออื่นๆ ที่ออกฤทธิ์คล้ายกัน ก็ช่วยลดอากาศแพ้ บรรเทาอาการแน่นหน้าไซนัสได้ [10]
  6. acetaminophen, ibuprofen หรือ naproxen อาจช่วยลดอาการแน่นหน้าเพราะแรงดันในโพรงไซนัสได้ นอกจากนี้ ibuprofen หรือ naproxen ยังช่วยลดอาการไซนัสอักเสบด้วย [11]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ใช้วิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ใช้ผ้าขนหนูบิดหมาดอุ่นๆ มาประคบที่หน้า ช่วยลดแรงดัน ระบายน้ำมูก ให้หายใจสะดวกตามเดิม [13]
    • ประคบร้อนเย็นสลับกันไป โดยประคบร้อนตรงใบหน้าบริเวณที่มีโพรงไซนัส 3 นาที จากนั้นสลับไปใช้ผ้าบิดหมาดเย็นๆ อีก 30 วินาที แล้วกลับมาประคบร้อนอีกครั้ง ทำซ้ำสลับไปมาแบบนี้ 3 รอบ ประมาณ 4 ครั้งต่อวัน [14]
  2. เพราะช่วยเจือจางไม่ให้น้ำมูกข้นเกินไปจนอุดตันในโพรงไซนัส ให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่นจัด เช่น น้ำแกงหรือซุปร้อนๆ หรือชาร้อน จะได้ลดอาการคัดจมูกแน่นหน้า แถมดื่มน้ำยังช่วยลดอาการเยื่อบุจมูกแห้งเกินไปหลังกินยาแก้คัดจมูกด้วย [15]
  3. บางคนก็ว่ากินอาหารเผ็ดๆ เช่น พริก แล้วช่วยลดอาการแน่นหน้าไซนัสได้ [16]
  4. bromelain เป็นเอนไซม์ที่ได้จากสับปะรด ส่วน quercetin เป็นเม็ดสีจากพืช ช่วยลดอาการอักเสบ ลดบวม และอาการอื่นๆ ของไซนัสอักเสบได้ แต่อาจไปตีกันกับยาตัวอื่น เพื่อความปลอดภัยแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ 2 อย่างนี้ รวมถึงสมุนไพรอื่นๆ [17]
    • bromelain อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เลือดไหลหรือตกเลือด เพราะงั้นใครที่กินยาเจือจางเลือดอยู่แล้วไม่ควรใช้
    • bromelain อาจทำให้ความดันตกรุนแรง เมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่ม ACE inhibitors (ยาลดความดัน)
    • quercetin จะมีปฏิกิริยากับยาบางตัว เช่น ยาปฏิชีวนะ
  5. [18] มีหลายงานวิจัยชี้ว่า Sinupret (หรือ BNO-101) หรือสูตรเฉพาะที่รวมสมุนไพรต่างๆ ไว้ เช่น European elder, common sorrel, cowslip (ดอกขจร), European vervain (หญ้าแส้ม้า) และ gentian (เหล่งตาเช้า) ช่วยบรรเทาอาการไซนัสอักเสบได้อย่างเห็นผล [19] [20] [21] ยังไงลองปรึกษาคุณหมอดูว่ายาสมุนไพรนี้ใช้กับคุณได้หรือเปล่า
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เยอะๆ ในท่าที่หายใจสะดวก อาจจะนอนตะแคงก็ได้ ถ้าช่วยให้โพรงจมูกโล่งขึ้น หรือยิ่งดีถ้ากึ่งนอนกึ่งนั่ง เพราะจะหายใจสะดวกกว่านอนหงายหรือนอนราบ [22]
  7. ให้กดบางจุดของหน้า เหนือโพรงไซนัสใหญ่ขึ้นไป เขาว่าช่วยคลายอาการแน่นหน้าไซนัสได้ [23]
    • จุดที่แนะนำให้กดก็เช่น แถวหัวตา รูจมูกทั้ง 2 ข้าง ดั้งจมูก ใต้แก้ม รอบๆ คิ้ว และใต้จมูกบริเวณเหนือริมฝีปาก ให้กดหรือนวดเบาๆ ช่วยลดแรงดันในโพรงไซนัสได้ [24]
  8. คลอรีนในสระว่ายน้ำมักทำให้หลายคนเกิดไซนัสอักเสบ ตัวกระตุ้นอื่นๆ ที่ชัดเจนก็เช่น เกสรดอกไม้ หรือฝุ่นละอองที่สะสมตามปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ให้ซักเครื่องนอนบ่อยๆ ด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เพื่อลดสารก่อภูมิแพ้หรือตัวกระตุ้นที่คุณอาจหายใจเข้าไปตอนนอน [25]
    • อาหารบางอย่างกินแล้วก็ว่าไปเพิ่มแรงดันในโพรงไซนัสหรือยิ่งมีน้ำมูกข้นๆ เช่น นม ชีส และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ นอกจากนี้ก็ยังมีข้าว พาสต้า และขนมปังขาว (ขัดสี) แต่ก็ใช่ว่ากินแล้วจะเกิดกันทุกคน ยังไงลองสังเกตตัวกระตุ้นของตัวเองดู ว่ากินอะไรแล้วยิ่งเพิ่มแรงดันในโพรงไซนัส [26]
    • งดดื่มแอลกอฮอล์ช่วงที่มีอาการแน่นหน้าไซนัส เพราะจะทำให้โพรงไซนัสยิ่งบวมไปกว่าเดิม [27]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เพิ่มความชื้นในอากาศ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความชื้นในอากาศจะช่วยให้โพรงจมูกชุ่มชื้นไปด้วย เลยสั่งน้ำมูกง่าย ไม่เหนียวข้นอุดตัน แรงดันเลยลดลง ถ้าหายใจเอาอากาศแห้งๆ เข้าไป จะทำให้น้ำมูกยิ่งข้น ระคายเคืองไซนัส [28]
  2. humidifier หรือเครื่องทำความชื้น มีให้เลือกหลายขนาด แต่ละแบบก็มีฟังก์ชั่นการใช้งานต่างกันไป ถ้าเป็นเครื่องทำความชื้นทั่วไปจะมีละอองเย็น (cool-mist) กับละอองอุ่น (warm-mist) ยังไงก็เลือกเครื่องทำความชื้นที่ตรงกับการใช้งานและงบประมาณของคุณที่สุด สรุปแล้วเครื่องทำความชื้นจะเพิ่มความชื้นในอากาศ ช่วยบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้โพรงจมูกแห้ง จนทำให้แน่นหน้าไซนัสคัดจมูก [29]
  3. เทน้ำใส่หม้อเล็กๆ ไม่ต้องเต็ม แล้วตั้งเตา จากนั้นตั้งไฟอ่อนทิ้งไว้ เป็นอีกวิธีช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ แต่ต้องเฝ้าไว้ให้ดีเพราะอาจเกิดอันตราย ทั้งเรื่องฟืนไฟและน้ำร้อนลวก [32]
  4. วิธีนี้ต้องระวังหน่อย เอาผ้าโพกหัวไว้ แล้วเอาหน้าอังหม้อที่กำลังต้มน้ำด้วยไฟอ่อนอยู่ จากนั้นสูดลมหายใจเอาไอน้ำอุ่นๆ ชื้นๆ เข้าไป ช่วยลดแรงดันในโพรงไซนัสได้ วิธีหายใจเอาไอน้ำเข้าไปนี่แหละที่จะเพิ่มความชุ่มชื้นให้โพรงไซนัส แต่ระวังอย่าให้ไอร้อนเกินไป อาจจะอันตรายกว่าอีกหลายวิธี ให้ทำอย่างระวัง [33] [34]
  5. วางภาชนะทนร้อนที่ใส่น้ำไว้ ใกล้กับอะไรที่แผ่ความร้อนออกมา อย่างของบ้านฝรั่งก็พวกฮีตเตอร์ น้ำจะได้ร้อนจนระเหยเป็นไอ ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ ภาชนะที่ว่าไม่จำเป็นต้องวางทับบนแหล่งความร้อน แต่ใกล้พอที่จะแผ่ความร้อนจนน้ำระเหยได้ [35]
    • หรือใช้ผ้าเปียกบิดหมาดแทนน้ำ โดยวางทับบนช่องระบายความร้อน พอความร้อนผ่านผ้าชื้นๆ อากาศก็จะชื้นตามไปด้วย แต่ระวังอย่าให้ผ้าอุดช่องระบายจนมิด หรือน้ำหยดใส่พื้นจนเสียหาย [36]
  6. แล้วทิ้งไว้ จากนั้นปิดม่านของอ่างอาบน้ำ ปิดประตูห้องน้ำ รวมถึงประตูห้องอื่นถ้าทะลุกัน แล้วอบไอน้ำ 5 นาที เสร็จแล้วก็ปิดน้ำแล้วเปิดประตูตามเดิม เป็นวิธีที่น่าสนใจในการเพิ่มความชื้นในอากาศ อาจจะเป็นวิธีที่ไม่เหมาะกับทุกคนเสมอไป ใครกลัวค่าน้ำขึ้น ก็ให้เลี่ยงไปใช้วิธีอื่นแทน [37]
  7. จะใช้ราวที่เป็นโครงเหล็กเล็กๆ หรือราวตากผ้าแบบยืดหดสายได้ก็ได้ แล้วตากผ้าในบ้านหรือในห้อง ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศได้ ถ้าเครื่องซักผ้าว่าง จะซักผ้าขนหนูบิดหมาดตากไว้ก็ได้ [38]
  8. เอาขวดสเปรย์ฉีดผ้าม่านให้พอชื้น จากนั้นเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท จะช่วยเพิ่มความชื้นให้ห้องหรือบ้านของคุณได้ แต่ระวังเนื้อผ้าเสีย ต้องเช็คดีๆ รวมถึงถ้าข้างนอกกำลังมีละอองเกสร ฝุ่นต่างๆ ที่อาจทำคุณระคายเคือง แน่นหน้าไซนัสเพิ่มขึ้น ก็อย่าเปิดหน้าต่าง [39]
  9. สมาคมธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Society) แนะนำว่าให้ปลูกต้นไม้ใส่กระถางไว้ในบ้าน ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศได้ เวลาคุณรดน้ำ ความชื้นจะถ่ายเทจากรากของต้นไม้ไปยังลำต้นและรูพรุนในใบไม้ จนเกิดความชื้นในอากาศ [40]
  10. จริงๆ แค่ชามใส่น้ำสะอาดก็ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศได้แล้ว เพราะงั้นให้วางถ้วย ชาม หรือภาชนะใส่น้ำอะไรก็ได้วางไว้ตามจุดต่างๆ ของบ้าน จะประดับดอกไม้ปลอมหรือลูกแก้วไว้ด้วยก็ได้ พยายามวางชามน้ำ (ทนร้อน) ไว้ใกล้กับแหล่งความร้อนต่างๆ อย่างของบ้านฝรั่งก็คือฮีตเตอร์ หรือช่องระบายความร้อน [41]
    • ติดตั้งน้ำพุหรือน้ำตกเล็กๆ ในบ้าน ไม่ก็ตู้ปลา จะได้เพิ่มความชื้นในอากาศ แถมตกแต่งบ้านให้สวยงาม ชวนผ่อนคลาย แต่แน่นอนว่ามาพร้อมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน [42]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปหาหมอ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 7 วัน อาการหนักขึ้น หรือมีไข้ร่วมด้วย. อาการแน่นหน้า คัดจมูก ปวด หรือมีไข้ เป็นสัญญาณบอกว่าไซนัสคุณน่าจะอักเสบ [43]
    • ถ้าคัดจมูกจนไซนัสอุดตัน น้ำมูกกับแบคทีเรียจะถูกกักเก็บไว้ ถ้าไม่ระบายออก แบคทีเรียจะก่อให้เกิดไซนัสอักเสบ หรือบางทีอาจเป็นไซนัสอักเสบจากไวรัส ถ้าแน่นหน้าคัดจมูกเพราะเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ [44]
  2. ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณเป็นไซนัสอักเสบ จะจ่ายยาปฏิชีวนะมาให้ ต้องกินตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดจนยาหมด ถึงจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ห้ามหยุดยากลางคัน ไม่งั้นจะยังหลงเหลือแบคทีเรียในโพรงไซนัส [45]
  3. อาการแน่นหรือเจ็บในหน้าเพราะไซนัสอักเสบ จะคล้ายกับอาการปวดหัวไมเกรนมาก จริงๆ แล้วมีงานวิจัยที่ชี้ว่า 90% ของคนที่ไปหาหมอเพราะนึกว่าตัวเองแน่นหน้าไซนัส จริงๆ แล้วปวดหัวไมเกรนต่างหาก [46]
    • ควรไปหาหมอถ้าปวดหัวรวมแล้วมากกว่าเดือนละ 15 วัน ต้องซื้อยาแก้ปวดหัวกินเองบ่อยๆ พอกินยาที่ซื้อจากร้านขายยาก็ไม่ค่อยช่วย หรือปวดจนทำกิจวัตรประจำวันลำบาก เช่น เรียนหนังสือหรือทำงาน พวกนี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณปวดหัวไมเกรน [47]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าพยายามอยู่ใกล้ควันหรือในห้องที่มีควัน เพราะจะทำให้โพรงไซนัสแห้งและระคายเคืองกว่าเดิม
  • อย่าใช้สเปรย์แก้คัดจมูกติดต่อกันเกิน 3 วัน จะได้ไม่เกิด rebound effect ที่ทำให้แน่นหน้าคัดจมูกกว่าเดิม
  • ไปหาหมอเลย อย่ารอ ถ้าอาการแน่นหน้าไซนัสไม่ดีขึ้น เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือสาเหตุเกิดจากโรคร้ายแรงกว่า
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ตอนแน่นหน้าไซนัส เพราะจะยิ่งทำให้โพรงไซนัสแห้งจนอักเสบได้
โฆษณา
  1. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  2. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  3. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  4. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  5. http://www.everydayhealth.com/cold-and-flu-pictures/natural-sinus-pain-and-pressure-relief.aspx
  6. http://www.health.com/health/gallery/0,,20466430,00.html
  7. http://www.everydayhealth.com/cold-and-flu-pictures/natural-sinus-pain-and-pressure-relief.aspx
  8. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinusitis
  9. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinusitis
  10. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0023782/
  11. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20422703
  12. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22406452
  13. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  14. http://www.sinuspressurepoints.com/pressure-point-locations/facial-pressure-points
  15. http://www.sinuspressurepoints.com/pressure-point-locations/facial-pressure-points
  16. http://www.everydayhealth.com/cold-and-flu-pictures/natural-sinus-pain-and-pressure-relief.aspx
  17. http://www.sinuspressurepoints.com/pressure-point-locations/facial-pressure-points
  18. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  19. http://www.health.com/health/gallery/0,,20466430,00.html
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/humidifiers/art-20048021
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/humidifiers/art-20048021
  22. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/humidifiers/art-20048021
  23. http://homeguides.sfgate.com/moisture-home-humidifier-26340.html
  24. http://www.patient.info/health/acute-sinusitis
  25. http://www.emedicinehealth.com/sinus_infection/page6_em.htm
  26. http://www.newhealthguide.org/How-To-Humidify-A-Room.html
  27. http://www.newhealthguide.org/How-To-Humidify-A-Room.html
  28. http://www.emedicinehealth.com/sinus_infection/page6_em.htm
  29. http://homeguides.sfgate.com/moisture-home-humidifier-26340.html
  30. http://www.newhealthguide.org/How-To-Humidify-A-Room.html
  31. http://www.newhealthguide.org/How-To-Humidify-A-Room.html
  32. http://homeguides.sfgate.com/moisture-home-humidifier-26340.html
  33. http://www.newhealthguide.org/How-To-Humidify-A-Room.html
  34. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  35. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  36. http://familydoctor.org/familydoctor/en/diseases-conditions/sinusitis.printerview.all.html
  37. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sinus-headaches/basics/definition/con-20025426
  38. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sinus-headaches/basics/definition/con-20025426

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,719 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา