ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Chikungunya fever หรือโรคชิคุนกุนยา นั้นมีสาเหตุมาจากไวรัส ที่แพร่ไปยังมนุษย์ได้เวลาถูกยุงที่มีเชื้อกัด ยุง 2 สายพันธุ์ที่เป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็คือ aedes aegypti กับ aedes albopictus ถึงตามปกติโรคนี้จะพบมากในทวีปแอฟริกา เอเชีย และในบางพื้นที่ของประเทศอินเดีย แต่ก็พอมีรายงานเหมือนกัน ว่าพบโรคนี้ในซีกโลกตะวันตกช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คนที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง และปวดข้อปานกลางถึงมากที่สุด หลังรับเชื้อได้ประมาณ 3 - 7 วัน ตอนนี้โรคชิคุนกุนยายังไม่สามารถรักษาให้หายได้ และทางเดียวที่จะป้องกันก็คือระวังตัวไม่ให้ถูกยุงกัด อย่างไรก็ดี ปกติไวรัสชนิดนี้ไม่ค่อยร้ายแรง ยิ่งถึงชีวิตยิ่งไม่ค่อยมี [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

อาการไหนที่ใช่ชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไข้สูงนี่แหละหนึ่งในอาการแรกเริ่มของชิคุนกุนยา ปกติไข้จะสูงถึง 40 °C และจะสูงอยู่แบบนั้นนานเป็นอาทิตย์ [2]
  2. มักจะปวดมาก ถึงขั้นขยับเขยื้อนไม่ได้ก็มี ถ้าปวดก็จะปวดแบบ bilateral (ปวดทั้ง 2 ข้าง) จุดที่มักปวดก็คือมือและเท้า ส่วนขาและหลังจะพบน้อยกว่า อาการปวดข้ออาจนานเป็นอาทิตย์ๆ ร้ายแรงเข้าก็เป็นปีหรือนานกว่านั้น แต่น้อยรายมากๆ ส่วนคำว่า “chikungunya” นั้น แปลว่า “บิดงอผิดรูป” มาจากภาษาถิ่น Makonde ของประเทศแทนซาเนีย ใช้อธิบายลักษณะร่างกายของคนที่ป่วยขั้นรุนแรงของโรคนี้
    • คนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะปวดข้อนาน 7 - 10 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นคนสูงอายุ ก็อาจนานกว่านั้น [3]
    • บางรายจะมีอาการบวมร่วมด้วย
  3. ผื่นแพ้จะเกิดหลังมีไข้ และมักเป็นผื่นแบบ maculopapular หรือก็คือเป็นผื่นปื้นๆ แดงๆ บนผิวหนัง และมีตุ่มนูนเล็กๆ ร่วมด้วย ปกติจะขึ้นแถวลำตัวและแขนขา แต่บางทีก็ขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามหน้าได้เหมือนกัน [4]
  4. ถ้าคุณเป็นโรคชิคุนกุนยา ก็อาจมีอาการปวดหัว ปวดกลามเนื้อ เยื่อตาอักเสบ คลื่นไส้ และอาเจียนด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลรักษาและป้องกันชิคุนกุนยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รีบหาหมอด่วนถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นชิคุนกุนยา. ถ้าคุณมีไข้ ปวดข้อ และผื่นแดง ให้รีบหาหมอ เพราะโรคชิคุนกุนยานั้นระบุได้ยาก (โอกาสวินิจฉัยพลาดไปเป็นโรคไข้เลือดออกค่อนข้างสูง) คุณหมอจะวินิจฉัยตามอาการของคุณ ประกอบกับข้อมูลว่าคุณเพิ่งเดินทางไปที่ไหนมา รวมถึงการตรวจเลือดหาไวรัสด้วย วิธีเดียวที่จะบอกได้แบบชัดเจนว่าคุณเป็นโรคชิคุนกุนยา ก็คือการตรวจตัวอย่างเลือดหรือน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ในแล็บ
    • การตรวจเลือดหาไวรัส นอกจากที่โรงพยาบาลแล้วก็มีสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปกติจะรู้ผลภายใน 4 - 14 วัน กว่าจะถึงตอนนั้น ร่างกายคุณก็เริ่มต่อสู้กับไวรัสชิคุนกุนยาแล้ว [5]
  2. ตอนนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสสำหรับโรคชิคุนกุนยาโดยเฉพาะ แต่คุณหมออาจจะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ แทน นอกจากนี้ก็แนะนำให้พักผ่อนและดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ [6]
    • ตัวอย่างการให้ยาก็เช่น บรรเทาอาการไข้และปวดข้อด้วยยา acetaminophen (Tylenol), ibuprofen (Advil) หรือ naproxen (Aleve) เป็นต้น [7]
    • ห้ามกินยาแอสไพรินเด็ดขาด เพราะจะเสี่ยงเกิดโรค Reye’s syndrome ซึ่งเป็นโรคหายากแต่ร้ายแรงถึงขั้นตับและสมองบวมได้ โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น [8]
  3. ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคชิคุนกุนยา เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะป้องกันได้ ก็คือระวังตัวไม่ให้ถูกยุงกัด โดยเฉพาะตอนเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่พบผู้ป่วยโรคนี้บ่อย เช่น แอฟริกา เอเชีย และบางพื้นที่ของประเทศอินเดีย [9] ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน อย่างท้องอยู่ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ห้ามเดินทางไปยังสถานที่ที่โรคกำลังระบาดเด็ดขาด ส่วนการป้องกันไม่ให้ยุงกัดนั้น ทำได้ดังนี้
    • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เวลาเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เสี่ยง ถ้าเป็นไปได้ให้ฉีดพ่นเสื้อผ้าด้วย permethrin (ยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง) เพื่อไล่ยุง
    • ทายากันยุงหรือไล่ยุงตรงผิวนอกเสื้อผ้า ให้เลือกที่มี DEET, picaridin, IR3535, น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส เลมอน (oil of lemon eucalyptus) หรือ paramenthane-diol (PMD) เพราะจะเห็นผลที่สุดและกันยุงได้ยาวนานกว่า
    • ติดมุ้งลวดตามหน้าต่างและประตู กางมุ้งกันยุงเวลานอนตอนกลางคืน และเวลาเด็กหรือคนสูงอายุนอนกลางวัน [10]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,514 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา