ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคนที่คุณรู้จักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง คุณก็คงพูดหรือแสดงความรู้สึกออกมาได้ยาก คุณอาจจะอยากแสดงความห่วงใย​ แต่อีกใจก็อยากให้ความช่วยเหลือและกำลังใจด้วย ซึ่งในส่วนนี้การเขียนจดหมายก็น่าจะเป็นสื่อกลางที่ดีเพราะคุณมีเวลาเลือกใช้คำพูด น้ำเสียงที่แสดงในจดหมายก็จะแตกต่างไปตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคุณสองคน แต่ก็ให้พยายามเขียนจดหมายที่แสดงความรู้สึกของคุณได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมามากที่สุดด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เสนอความช่วยเหลือและแสดงความห่วงใย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคนที่เรารู้จักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง คุณอาจจะอึ้งไปหรือไม่สามารถประมวลสถานการณ์ได้ และมันเป็นเรื่องปกติมากๆ ที่คุณจะเศร้าและไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่สิ่งสำคัญคืออย่าห่างเหินจากเพื่อนแม้ว่าคุณจะไม่รู้ว่าจะพูดหรือโต้ตอบอย่างไร พยายามติดต่อเพื่อนและทำให้เพื่อนรู้ว่าเขามีคุณอยู่เคียงข้าง
    • การส่งโน้ตหรืออีเมลสั้นๆ ก่อนเพื่อบอกว่าคุณได้รับข่าวแล้วและคุณก็คิดถึงเขา แค่นี้ก็ช่วยให้เพื่อนไม่รู้สึกโดดเดี่ยวมากนักได้แล้ว [1]
    • คุณอาจจะบอกว่า “ฉันเสียใจด้วยนะกับสิ่งที่เกิดขึ้น ฉันคิดถึงเธอ” [2]
    • ถ้าคุณไม่รู้จะพูดอะไร ก็บอกเขาไปตรงๆ เลยก็ได้ว่า “ฉันไม่รู้จะพูดอะไร แต่ฉันอยากให้เธอรู้ไว้นะว่าฉันเป็นห่วงเธอและอยู่เคียงข้างเธอเสมอ” [3]
  2. คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งอาจจะตอบสนองทางอารมณ์แตกต่างกันไป แต่เขาอาจจะรู้สึกโดดเดี่ยวมากๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องทำให้เขารู้ว่าคุณอยู่ตรงนี้เพื่อเป็นกำลังใจและช่วยเหลือเขาเท่าที่คุณจะช่วยได้ คุณอาจจะเสนอการช่วยเหลือด้วยการพูดว่า “ถ้าอยากให้ฉันช่วยอะไรก็บอกได้เลยนะ”
    • บางครั้งแค่เป็นผู้ฟังที่ดีก็ดีมากแล้ว พูดประมาณว่า “ถ้าเธอมีอะไรที่อยากจะพูด ฉันพร้อมรับฟังเธอนะ” [4]
    • แม้ว่าคุณจะเต็มใจรับฟัง แต่คุณก็ไม่ควรกดดันให้เธอพูดหรือบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการวินิจฉัยให้คุณฟัง
  3. ในจดหมายคุณอาจจะบอกเขาว่าคุณพร้อมที่จะช่วยเหลือเขาทุกเรื่องที่คุณช่วยได้ ซึ่งการเสนอความช่วยเหลือนี้อาจจะเป็นการช่วยเหลือทางกายภาพหรืออารมณ์ก็ได้ บางครั้งการช่วยเหลือทางกายภาพก็เป็นความช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่สำหรับเพื่อนที่ป่วยเป็นมะเร็ง การเสนอตัวทำกิจวัตรประจำวันให้เขา เช่น ช่วยดูแลลูกๆ และสัตว์เลี้ยงให้ หรือช่วยซักผ้าและทำกับข้าว ก็สามารถช่วยคนที่เหนื่อยล้าหรือรู้สึกอิดโรยได้มากแล้ว
    • จำไว้ว่าเพื่อนอาจจะไม่อยากเป็นต้นเหตุทำให้คุณต้องลำบากด้วยการขอให้คุณทำอะไรให้
    • พยายามเสนอความช่วยเหลือเหมือนว่ามันไม่ได้หนักหนาอะไร แม้ว่าจะไม่ใช่งานง่ายๆ เลยก็ตาม
    • เช่น ถ้าคุณเสนอว่าจะไปรับลูกๆ ที่โรงเรียนให้ คุณก็อาจจะบอกว่า “ตอนที่เด็กๆ เลิกเรียนฉันก็อยู่แถวนั้นอยู่แล้ว ขากลับก็แวะรับได้”
    • อย่าพูดแค่ว่า “เธออยากให้ฉันไปรับเด็กๆ ที่โรงเรียนให้มั้ย” แต่ให้เสนอความช่วยเหลือไปตรงๆ เลยว่า "เดี๋ยวฉันไปรับเด็กๆ ที่โรงเรียนให้เองนะ" [5]
  4. คุณต้องให้กำลังใจและไม่มองโลกในแง่ลบหรือแสดงความหดหู่มากเกินไป การรักษาสมดุลระหว่างความรู้สึกอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่คุณก็ไม่ควรมองโลกในแง่ดีโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงหรือไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงของสถานการณ์ เข้าใจสถานการณ์ แต่ก็ต้องเสนอความช่วยเหลือและให้กำลังใจด้วย
    • คุณอาจจะบอกว่า “ฉันรู้ว่าเส้นทางที่เธอกำลังเผชิญมันยากลำบากมาก แต่ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อให้กำลังใจและช่วยเหลือเธอเท่าที่ฉันจะช่วยให้เธอผ่านพ้นมันไปได้” [6]
  5. อารมณ์ขันอาจเป็นวิธีให้กำลังใจและเสนอความช่วยเหลือที่ช่วยให้เพื่อนของคุณยิ้มได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่เพื่อนและความสัมพันธ์ของคุณสองคนด้วย การแสดงอารมณ์ขันในจดหมายอาจทำได้ยากเพราะคุณไม่สามารถประเมินการตอบสนองและภาษาท่าทางของอีกฝ่ายได้
    • เช่น การปล่อยมุกเรื่องผมร่วงก็อาจเป็นวิธีคลายเครียดที่ดี [7]
    • ใช้วิจารณญาณของตัวเอง ถ้าไม่แน่ใจก็อย่าเล่นมุกในจดหมาย
    • ขณะที่เพื่อนเข้ารับการรักษา เขาก็อาจจะอยากได้ความบันเทิงแบบง่ายๆ ใช้ความตลกเป็นเครื่องมือในการผ่อนคลาย ดูหนังตลก ไปดูแสดงตลกแบบสดๆ หรือดูนักแสดงตลกในอินเทอร์เน็ตด้วยกันก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายและไม่ทำให้เขารู้สึกแย่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำไว้ว่าเส้นทางโรคมะเร็งของแต่ละคนไม่เหมือนกัน. คุณอาจจะรู้จักใครที่เคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน แต่คุณก็ไม่ควรพยายามผูกโยงประสบการณ์นั้นกับคำวินิจฉัยจากแพทย์ของเพื่อน พยายามอย่าเล่าเรื่องคนรู้จักที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน และจำไว้ว่าแต่ละเคสนั้นไม่เหมือนกัน
    • คุณอาจจะบอกเพื่อนแทนว่าคุณเองก็คุ้นเคยกับโรคมะเร็งประมาณนึง แล้วให้เพื่อนเป็นคนตัดสินใจว่าเขาอยากให้คุณเล่าต่อหรือเปล่า [8]
    • การพูดประมาณว่า “เพื่อนบ้านของฉันเขาก็เคยเป็นมะเร็ง แต่ตอนนี้เขาหายดีแล้วนะ” ไม่น่าจะช่วยให้เพื่อนมั่นใจได้เท่าไหร่
    • คุณอาจจะทำให้เพื่อนรู้สึกว่าคุณกำลังเบี่ยงเบนความสนใจของเธอเวลาที่คุณพยายามจะให้กำลังใจและแสดงความเข้าอกเข้าใจ [9]
    • แม้ว่าคุณจะอยากพูดสิ่งที่ควรพูดให้เพื่อนฟัง แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือคุณต้องเป็นผู้ฟังที่ดีให้กับอีกฝ่าย แล้วเขาอาจจะบอกคุณว่าเขาต้องการความช่วยเหลือแบบไหน
  2. อย่าพูดว่าคุณเข้าใจว่าเพื่อนต้องเผชิญกับอะไร. คุณอาจจะคิดว่าคุณให้กำลังใจและแสดงความเข้าอกเข้าใจ แต่ถ้าคุณไม่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน คุณไม่มีทางรู้ว่าเพื่อนรู้สึกอย่างไร เพราะฉะนั้นอย่าพูด [10] ถ้าคุณพูดประมาณว่า “ฉันรู้ว่าเธอต้องเจอกับอะไรบ้าง” หรือ “ฉันเข้าใจความรู้สึกของเธอจริงๆ นะ” มันจะดูเหมือนว่าคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันเท่าไหร่ [11]
    • ถ้าคุณพยายามเปรียบเทียบการวินิจฉัยจากแพทย์ของเพื่อนกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิตของคุณหรือของคนอื่น มันจะดูไม่ดีและเหมือนว่าคุณไม่เห็นใจเพื่อน
    • ถ้าคุณรู้จักใครที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน คุณก็อาจจะเกริ่นกับเพื่อนแล้วเสนอว่าจะแนะนำให้รู้จัก แต่ก็ไม่ต้องไปคะยั้นคะยอ
    • คุณอาจจะพูดแค่ว่า “ฉันมีเพื่อนที่เคยเป็นมะเร็งเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ฉันแนะนำได้นะถ้าเธออยากรู้จักเขา” [12]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจหรือให้กำลังได้ด้วยการบอกว่า "ฉันนึกไม่ออกเลยว่าสิ่งที่เธอเ​จอมันหนักหนาแค่ไหน" หรือ "ถ้าเธอต้องการฉัน ฉันอยู่ตรงนี้นะ"
  3. คุณอาจจะคิดว่าการแนะนำวิธีรับมือกับโรคมะเร็งอาจเป็นประโยชน์​กับเพื่อน​ หรือมีคนรู้จักของคุณที่หายจากโรคมะเร็ง​ด้วยการรักษาแบบทางเลือก แต่เพื่อนของคุณเขาไม่ได้อยากอ่านอะไรยาวๆ​ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเขา การให้คำแนะนำในสิ่งที่คุณเองก็ไม่ได้ผ่านประสบการณ์มาโดยตรงอาจดูเหมือนไม่เห็นอกเห็นใจกันแม้ว่าคุณจะปรารถนาดีก็ตาม​ เพราะฉะนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหมอดีกว่า​ [13]
    • และนี่ก็ไม่ใช่เวลาจะมาถามเรื่องการใช้ชีวิตหรือนิสัยของเพื่อนด้วย
    • เพื่อนของคุณอาจจะสูบบุหรี่มานานแล้วคุณก็พูดเรื่องมะเร็งปอดมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง​ แต่ตอนนี้มันไม่สำคัญแล้ว​ แค่ให้กำลังใจและเห็นใจเธอก็พอ [14]
    • ไม่ว่าตัวคุณเองจะเชื่อในอะไรก็ตาม​ ก็อย่าไปพยายามโน้มน้าวให้เขาลองเข้ารับการรักษาแบบนั้นแบบนี้​ ปล่อยให้เป็นการตัดสินใจของเขาไม่ว่าเขาจะเลือกการรักษาแบบทั่วไปหรือการรักษาแบบทางเลือกก็ตาม
  4. แม้ว่าการมองโลกในแง่ดีจะเป็นสิ่งสำคัญ​ แต่คุณก็ไม่ควรพูดว่า “ฉันมั่นใจว่าเธอจะต้องไม่เป็นอะไร” หรือ “เดี๋ยวเธอก็หาย” คุณอาจจะพยายามให้กำลังใจเธอก็จริง​ แต่สิ่งที่คุณพูดก็อาจจะตีความได้ว่าเป็นการลดทอนความร้ายแรงของสถานการณ์​ เพราะคุณอาจจะไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคทั้งหมด [15]
    • อย่ากดดันให้เพื่อนเล่าการพยากรณ์โรคมากกว่าที่เธอเล่าให้คุณฟังไปแล้ว
    • แต่ให้หาเวลาไปศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งให้ได้มากที่สุดด้วยตัวเองแทน
    • คุณอาจจะคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม​ แต่ก็ต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของเพื่อนอยู่เสมอด้วย [16]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเขียนจดหมายหาแค่ฉบับเดียวแล้วหายไป​ ความช่วยเหลือที่แท้จริงคือการกระทำที่ต่อเนื่อง​ ไม่ใช่แค่ลมปากไม่กี่คำ
  • อย่าแสดงท่าทีที่เปลี่ยนไปจากเดิมแค่เพราะเขาเป็นมะเร็ง อย่าลืมปฏิบัติกับเขาแบบที่เคยทำมาตลอด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,615 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา