ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีเลือดที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมากต่อการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะมันสร้างด้วยการสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเก็บสะสมจากผู้บริจาคที่เป็นอาสาสมัคร แต่หลายคนก็กลัวที่จะทำ เพราะหลายเหตุผลจากความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บ ไปจนถึงการติดโรค แต่การบริจาคเลือดนั้นปลอดภัยด้วยการระมัดระวังมากมาย ซึ่งก็หมายความว่ามันไม่จำเป็นต้องน่ากลัวเลย โดยความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุดเมื่อบริจาคเลือดนั้นก่อให้เกิดผลร้ายเพียงน้อยนิด เช่น ความมึนงง เป็นลม หรือรอยช้ำ และหากทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ก็จะเตรียมพร้อมบริจาคเลือดได้เท่าที่ทำได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

พร้อมที่จะบริจาค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบริจาคเลือดในแต่ละประเทศนั้นมีความต้องการคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจแบ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับเลือด สถานที่ที่ไปเที่ยวมา อายุและน้ำหนัก โดยจะบริจาคได้เมื่อเป็นไปตามเกณฑ์
    • ต้องมีสุขภาพดี แข็งแรงสมบูรณ์และไม่ป่วยจากโรค แต่หากเป็นหวัด เริม ไอ ไวรัส หรือกระเพาะปั่นป่วน และกินยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ก็อาจทำให้มีคุณสมบัติไม่เพียงพอได้
    • ควรมีน้ำหนักอย่างน้อย 110 ปอนด์ หรือ 50 กิโลกรัม
    • ต้องมีอายุตามกำหนด ในความควบคุม เด็กอายุ 16 -17 ปีต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน โดยตรวจสอบกับองค์กรรับบริจาคเลือดในพื้นที่ว่าอายุถึงไหม
    • บริจาคเลือดได้ทุกๆ 56 วัน แต่ถ้าบริจาคบ่อยมากกว่านั้นจะไม่เหมาะ [1]
    • ห้ามบริจาคถ้าทำฟันภายใน 24 ชั่วโมง หรือทำฟันครั้งใหญ่ในเดือนที่ผ่านมา [2] เพราะมันทำให้เสี่ยงต่อการกำจัดแบคทีเรีย ซึ่งจะเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้ระบบต่างๆ ติดเชื้อ
  2. มันมีศูนย์รับบริจาคเลือดในหลายประเทศ โดยควรทำการนัด เพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมการ ซึ่งนี่ยังเป็นการให้เวลาในการดูว่าตัวเองมีคุณสมบัติเพียงพอในวันนั้น [3]
    • ถ้าไม่อยากนัด ก็สามารถมองหารถรับบริจาคเลือดได้ โดยตรวจดูจากโฆษณาของในพื้นที่
  3. โดยกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กประมาณ 2 อาทิตย์ ก่อนการนัด เพราะการผลิตเลือดต้องใช้มัน ซึ่งจะทำให้มีเลือดที่แข็งแรงพอสำหรับการบริจาค และช่วยให้ฟื้นขึ้นหลังจากการบริจาค ซึ่งมีทั้งผักปวยเล้ง ธัญพืชเต็มเมล็ด ปลา สัตว์ปีก ถั่วเมล็ดกลม เครื่องในสัตว์ ไข่ไก่ และเนื้อวัว [4] [5]
    • การกินวิตามินซีในระดับที่ดีจะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก โดยลองกินผลไม้ตระกูลส้ม น้ำผลไม้ หรืออาหารเสริมวิตามินซี
  4. ควรดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้ให้เยอะๆ ในตอนกลางคืนและตอนเช้า ก่อนการบริจาค เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการสูญเสียเลือด ซึ่งสาเหตุหลักของการเป็นลม และมึนงงเมื่อให้เลือด ก็คือความดันเลือดหรือน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยความเสี่ยงจะลดลงอย่างมาก ถ้ามีความชุ่มชื้นเพียงพอ เมื่อไปศูนย์รับบริจาคเลือด [6]
    • แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ ใน 24 ชั่วโมง ก่อนเวลาบริจาค โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อน ซึ่งรวมถึงการดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้ 4 แก้วขนาดพอดี ระหว่างเวลา 3 ชั่วโมงก่อนการบริจาค [7]
    • ถ้าบริจาคน้ำเหลือง (พลาสมา) หรือเกล็ดเลือด ให้ดื่มน้ำ 4 – 6 แก้วขนาด 8 ออนซ์ ใน 2 – 3 ชั่วโมงก่อนการนัด [8]
  5. โดยก่อนการบริจาคเลือด ควรมีการนอนที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นและมีสติเมื่อให้เลือด โดยจะช่วยลดความเสี่ยงของผลร้ายที่จะเกิดขึ้น [9]
    • นี่หมายความว่าควรจะนอนหลับให้เต็มอิ่ม (สำหรับผู้ใหญ่ คือ 7 – 9 ชั่วโมง) [10] ก่อนการบริจาคเลือด
  6. ห้ามบริจาคโดยไม่ได้กินอะไรไปเลย เพราะการกินจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น หลังการบริจาค รวมทั้งการมีอาหารอยู่ในร่างกาย จะช่วยทำให้ไม่มีอาการเวียนหัวแบบทั่วไป และเป็นลม โดยควรกินสิ่งที่ดีต่อสุขภาพที่จะช่วยให้อิ่ม แต่ไม่ใช่รู้สึกแน่น
    • ไม่ควรกินหนักก่อนบริจาค โดยถ้าบริจาคตอนเช้า ให้กินอะไรเบาๆ เช่น ซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง แต่หากให้เลือดใกล้ๆ ตอนเที่ยงให้กินอาหารมื้อกลางวันเบาๆ เช่น แซนวิชและผลไม้ชิ้นๆ
    • ห้ามกินทันทีก่อนการนัด ไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงต่อการวิงเวียนระหว่างการบริจาค
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนการบริจาค เพราะกระแสเลือดที่มีไขมันเพิ่มขึ้น จะทำให้อ่านค่าการคัดกรองที่จำเป็นยากขึ้น หลังจากการบริจาค ถ้าทางศูนย์ทดสอบได้ไม่หมด ก็จะถูกปฏิเสธในการให้บริจาค [11]
  7. โดยความต้องการของแต่ละศูนย์อาจจะต่างกัน แต่สิ่งที่ต้องใช้อย่างน้อยก็คือ บัตรที่แสดงตัวตนเสมอ ซึ่งนี่ก็รวมถึงใบขับขี่ บัตรบริจาคเลือด หรืออีก 2 รูปแบบของบัตรประจำตัว เช่น พาสปอร์ต และบัตรสำคัญที่ต้องใช้ในการทำงาน (SSC) ดังนั้นต้องมั่นใจว่าได้เอาสิ่งเหล่านี้ไปในวันนั้นด้วยแล้ว [12]
    • บัตรบริจาคเลือดก็บัตรที่ได้จากศูนย์รับบริจาคเลือด ที่ลงทะเบียนข้อมูลของเราเข้าไปในระบบ โดยสามารถสั่งทางออนไลน์ได้ หรือไปที่ศูนย์ หรือสอบถามเมื่อไปครั้งแรกเมื่อบริจาคเสร็จแล้ว [13]
  8. ต้องเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำลายเกิดโอกาสในการบริจาค หรือจะทำให้เลือดปนเปื้อน ก่อนการนัด โดยไม่ควรสูบบุหรี่ก่อน 1 ชั่วโมง และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ก็ยังไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง ใบสาระแหน่ หรือลูกอมใน 1 ชั่วโมงก่อนการบริจาคด้วย
    • การเคี้ยวหมากฝรั่ง มิ้นท์ หรือลูกอมจะเพิ่มอุณหภูมิในปากให้สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้มันดูเหมือนเป็นไข้ และอาจจไร้คุณสมบัติในการบริจาคได้
    • ถ้าให้เกล็ดเลือด ควรหลีกเลี่ยงการกินแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบเป็นเวลา 2 วันก่อนการบริจาค [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

บริจาคเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อไปถึงที่นัดก็ต้องตอบคำถามมากมายเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และต้องกรอกเพื่อซักประวัติอาการป่วยด้วย โดยจะมีคำถามหลายแบบขึ้นอยู่กับแต่ละที่ แต่อย่างน้อยสิ่งที่ควรเตรียมก็ คือ ชื่อยาที่กำลังกิน และสถานที่ที่เพิ่งไปเที่ยวมาในเวลา 3 ปีที่ผ่านมา [15]
    • องค์การบริการเลือดนั้นตั้งโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ตั้งโดย FDA และมีคำแนะนำให้มีจิตสำนึกความปลอดภัยต่อสาธารณะ หรือหากมีพฤติกรรม โรค หรือยาที่ดูเสี่ยงต่อการปนเปื้อน หรือแพร่เชื้อโรค ต้องห้ามบริจาค แต่ไม่ได้หมายความว่าให้แบ่งพรรคแบ่งพวก
    • กิจกรรมบางอย่างจะเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคนำโดยเลือด และจะถูกสอบถามเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ยาที่ใช้ภายในเส้นเลือดดำ กิจกรรมทางเพศบางอย่าง การกินยาบางตัว และการอยู่ในบางประเทศ ถ้าตอบว่า ใช่ ในคำถามเหล่านี้ ก็จะบริจาคไม่ได้
    • มันมีบางโรค เช่น ตับอักเสบ HIV AIDS และ โรคชากาส ซึ่งจะทำให้บริจาคเลือดไม่ได้เลย
    • ตอบคำถามที่สัมภาษณ์อย่างตรงไปตรงมา โดยคุณอาจจะโดนถามข้อมูลในเรื่องที่อาจจะอ่อนไหว แต่ควรมีความซื่อสัตย์ เพื่อที่ทางศูนย์จะได้ยอมรับบริจาคเลือด [16]
  2. เมื่อผ่านการทำแบบสอบถามทั้งหมดแล้ว จะได้รับการตรวจร่างกายเล็กน้อย โดยมีการวัดความดันเลือด ตรวจชีพจร และวัดอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งพยาบาลจะทิ่มเข็มลงบนนิ้ว เพื่อตรวจดูระดับเฮโมโกลบินและธาตุเหล็ก
    • ความดันเลือด ชีพจร อุณหภูมิ ระดับเฮโมโกลบิน และธาตุเหล็กจะต้องอยู่ในระดับที่มีสุขภาพดี ก่อนการให้เลือด ซึ่งจะทำให้มั่นใจว่าสุขภาพของเลือดดี และจะไม่มีการวิงเวียนหรือเลือดจางในภายหลัง [17]
  3. หลายคนที่ให้เลือดจะกลัวเข็ม หรือไม่ชอบติดอยู่กับอะไร ซึ่งสามารถตัดสิ่งรบกวนนี้ออก หรือเตรียมตัวก่อน เพื่อให้มันง่ายขึ้น โดยหายใจลึกๆ ก่อนเข็มจะเข้าไป และสามารถกำมืออีกข้างที่ไม่ได้ให้เลือดได้ด้วย เพื่อเป็นเครื่องล่อใจ
    • อย่ากลั้นหายใจ ไม่งั้นอาจจะหมดสติได้
    • เพิ่มความมั่นใจด้วยการถามคนอื่นว่าเจ็บไหม โดยส่วนมากจะแค่รู้สึกเหมือนมดกัด แต่ปัญหาที่แท้จริง คือ ความรู้สึกไม่สบาย ดังนั้นยิ่งเครียดหรือกดดันน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี [18]
  4. เมื่อตรวจเสร็จ พยาบาลจะสั่งให้นอนลงบนเก้าอี้มีพนักพิง หรือนอนลงไปเลย โดยจะมีสายรัดรอบๆ แขน เพื่อให้เห็นเส้นเลือดดำชัดเจน และทำให้การสูบฉีดเลือดดีขึ้น และพยาบาลจะทำความสะอาดด้านในข้อพับ ซึ่งเป็นที่สอดเข็ม โดยพยาบาลจะสอดเข็มเข้าไปในแขน ที่ติดกับหลอดยาว และจะให้บีบมือหลายๆ ครั้ง และเลือดจะเริ่มออกมา
  5. ความกังวลใจจะทำให้ความดันเลือดลดลง และสามารถทำให้มึนงงได้ โดยคุยกับคนที่เอาเลือดไปว่าอะไรจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แล้วถามให้เขาอธิบายทุกสิ่งที่ทำ
    • หาวิธีที่จะทำให้ตัวเองว้าวุ่น เช่น ร้องเพลง ท่องบางอย่าง ครุ่นคิดจากหนังสือ หรือละครทีวีที่ติดตาม ฟังเครื่องเสียง หรือคิดถึงสิ่งที่มีค่าของผลหลังการบริจาค
  6. เมื่อให้เลือดและติดพลาสเตอร์บนแขนเสร็จ จะให้นั่งและรอประมาณ 15 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เป็นลมหรือรู้สึกวิงเวียน และยังได้รับของว่างและน้ำผลไม้บางอย่าง เพื่อเติมเต็มของเหลวและเพิ่มน้ำตาลในเลือดให้ มากขึ้น โดยพยาบาลจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงบางสิ่งในเวลาที่เหลือของวัน และเติมของเหลวสำหรับ 48 ชั่วโมงต่อไป
    • ไม่ควรยกหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลัง เช่น การออกกำลังกายที่เข้มข้นตลอดวันที่เหลือ
    • ถ้ารู้สึกเวียนหัวในภายหลัง ให้นอนลงโยยกเท้าขึ้นสูง
    • ปล่อยพลาสเตอร์ไว้ 4 – 5 ชั่วโมงหลังจากการบริจาค ถ้าบอบช้ำมาก ให้ประคบเย็น แต่หากเจ็บให้กินยาหน้าเคาน์เตอร์เพื่อผ่อนคลาย [20]
    • ถ้ารู้สึกป่วยเป็นเวลานานหลังจากการบริจาค ให้หาหมอเพื่อตรวจดูว่าทุกอย่างเป็นปกติดี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เอาน้ำส้มขวดใหญ่ไปด้วย เพราะมันจะช่วยเสริมได้เร็วหลังจากการให้เลือด
  • นอนลงแนวราบเมื่อบริจาค ซึ่งมันจะช่วยในกรณีที่ความดันเลือดลดลงและเวียนหัว โดยเฉพาะเมื่อเป็นครั้งแรก
  • เมื่อทำแล้วไม่เป็นไร ก็บริจาคเกล็ดเลือดได้ แต่จะใช้เวลามากกว่า ซึ่งเป็นการรักษาเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเกล็ดเลือด คือ สิ่งที่ทำให้เลือดแข็งเป็นก้อน และเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่จะใช้เพื่อรักษาคนไข้ที่ป่วยรุนแรง
  • ถ้ารู้สึกจะเป็นลม ให้บอกบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้นอนพิงบนเก้าอี้ แต่หากออกจากศูนย์แล้ว ให้เอาหัวอยู่ระหว่างหัวเข่า เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่สมอง หรือนอนลง และยกขาขึ้นถ้าทำได้ และให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ โดยการใช้เวลาพักผ่อนที่คลินิก ดื่มน้ำที่พยาบาลให้ และกินขนมที่จัดเตรียมไว้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 72,513 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา