ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

วิตามินเอนั้นเป็นวิตามินชนิดละลายในไขมันซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย: เราจะได้รับแคโรทีนอยด์กับเบตาแคโรทีนจากพืช และเรติโนจากเนื้อสัตว์ เนื่องจากมันละลายในไขมัน จึงจำเป็นที่จะต้องไม่บริโภควิตามินเอเข้าไปในปริมาณที่มากเกินไป เพราะวิตามินส่วนเกินจะตกค้างอยู่ในร่างกายและสามารถไปรบกวนวิตามินดีและความแข็งแรงของกระดูกได้ (โดยเฉพาะวิตามินเอในรูปแบบเรตินอล) [1] [2] การเรียนรู้ว่าอาหารประเภทใดมีวิตามินเอจะช่วยคุณมั่นใจว่าได้รับวิตามินที่จำเป็นนี้ในปริมาณที่เหมาะสม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วินิจฉัยภาวะการขาดวิตามินเอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิตามินเอมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่และกระบวนการของร่างกายหลายอย่าง: มันช่วยรักษาผิวให้มีสุขภาพดี ช่วยทำให้สายตามองเห็นในที่มืดได้ดีขึ้น ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยให้เซลเนื้อเยื่อและเยื่อบุผิวทำงานได้ถูกต้อง (เพื่อป้องกันการติดเชื้อ) และยังจำเป็นสำหรับการย่อยอาหาร ระบบการระบายความร้อน ระบบสืบพันธุ์และการให้นมบุตร [3] [4]
  2. อาการที่พบเห็นบ่อยที่สุดของภาวะขาดวิตามินเอคือโรคตาบอดกลางคืนหรือ xerophthalmia : มีความยากลำบากหรือไม่สามารถมองเห็นในเวลากลางคืน [5] ผู้ป่วยที่ขาดวิตามินเอยังอาจเกิดแผลที่กระจกตา กระจกตาแห้งและกระจกตา “ขุ่นเป็นฝ้า” [6]
    • กระจกตาเป็นแผลนั้นคือการมีแผลเปิดเกิดขึ้นในผิวชั้นนอกของเนื้อเยื่อตรงด้านหน้าของดวงตาคุณ [7]
    • กระจกตาขุ่นเป็นฝ้าคือการสูญเสียการมองเห็นผ่านทางด้านหน้าของดวงตา ปกติดวงตาส่วนนี้จะใส การที่มันขุ่นมัวทำให้วัตถุที่อยู่เบื้องหน้าต่อสายตานั้นดูเบลอหรือมองเห็นไม่ชัดเจน [8]
    • อาการตาบอดกลางคืนหรือโรคตาฟางนั้นในตอนแรกจะปรากฏผ่านทางเซลล์รับรู้การมองเห็นรูปกรวยหรือรูปสามเหลี่ยมที่จะอยู่กระจายในบริเวณขอบๆ ของจอตา นั่นคือ บริเวณที่อยู่ใกล้ด้านนอกของใบหน้ามนุษย์มากที่สุด มันมักจะเกิดทั้งสองข้างและอาจมีอาการเกล็ดกระดี่ (Bitot's spots) ซึ่งจะเป็น “ฟองโฟม” ที่ก่อตัวเป็นแผ่นของเคราติน [9]
    • อาการตาบอดกลางคืนยังอาจแสดงออกมาในลักษณะของการ “เห็นดาวระยิบระยับ” ในตอนที่มองไปยังแสงสว่างจ้าในที่มืด [10]
    • อาการอื่นๆ ของการขาดระดับไม่รุนแรงหรือในระยะเริ่มต้นก็เช่น อาการตาแห้ง หรือ “ไม่สามารถหลั่งน้ำหล่อเลี้ยง” แบบเรื้อรัง ดวงตามีผิวกระจกตาขรุขระหรือ “เป็นฟอง” ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้เพียงลำพังจะไม่พอต่อการลงความเห็นว่าเป็นภาวะขาดวิตามินเอก็ตาม
    • อาจมีการสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ แต่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อช่วยเปลี่ยนอาหารการกินกับเพิ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามที่ร่างกายต้องการ [11]
  3. ถ้าคุณเป็นกังวลเรื่องระดับวิตามินเอ คุณสามารถให้แพทย์ตรวจเลือดหาเรตินอลเพื่อดูว่าคุณขาดวิตามินเอหรือไม่ ปริมาณวิตามินปกติในเลือดสำหรับผู้มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 50-200 ไมโครกรัมต่อเลือดหนึ่งเดซิลิตร [12]
    • คุณจำเป็นต้องงดอาหารและน้ำนานถึง 24 ชั่วโมงการเข้าตรวจ สอบถามแพทย์ถึงสิ่งที่ต้องทำ [13]
    • หากคุณถูกตรวจว่าขาดวิตามินเอ แพทย์อาจแนะนำให้คุณทานวิตามินเอเสริม (เว้นแต่คุณกำลังตั้งครรภ์อยู่) หรืออาจแนะนำนักโภชนาการที่จะช่วยจัดตารางอาหารให้คุณได้
  4. เด็กๆ มักจะมีภาวะขาดวิตามินเอได้ง่ายกว่า และอาจแสดงอาการออกมาโดยการเติบโตช้าและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น [14]
    • เด็กอาจพัฒนาการเกิดภาวะขาดวิตามินเอจากการไม่ได้รับวิตามินเพียงพอผ่านทางนม หรือจากการสูญเสียวิตามินเอไปโดยอาการท้องร่วงเรื้อรัง [15]
  5. ภาวะขาดวิตามินเอสามารถเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สาม เนื่องจากในช่วงนี้จะมีความต้องการสารอาหารกับวิตามินในทั้งแม่และทารกเป็นจำนวนสูงที่สุด [16]
    • ดูคำเตือนด้านล่าง - หญิงมีครรภ์ “ไม่ควร” ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอสังเคราะห์ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะวิตามินเอที่มีปริมาณสูงเกินไปจะทำให้ตัวอ่อนในครรภ์เกิดพิการได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รับประทานอาหารที่อุดมวิตามินเอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผักเป็นแหล่งวิตามินสำคัญโดยการให้สารแคโรทีนอยด์อย่างเบตาแคโรทีน ผักที่มีสีส้ม/เหลือง/แดง เช่น มันหวาน สควอช แครอท และฟักทองล้วนมีวิตามินเอ ผักสีเขียวเข้มอย่างผักเคล ผักโขม และผักกาดหอมก็เป็นแหล่งวิตามินเอเช่นกัน [17]
  2. ผลไม้บางชนิด เช่น มะม่วง แอปริคอท กับแคนตาลูป มีวิตามินเอสูง [18]
    • มะม่วงทั้งลูกมีประมาณ 672 ไมโครกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือราว 45% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน [19]
    • แอปริคอทแห้งเป็นแหล่งวิตามินเอที่ยอดเยี่ยม: หนึ่งถ้วยจะให้วิตามินเอถึง 764 ไมโครกรัม แอปริคอทกระป๋องจะมีวิตามินน้อยกว่าเล็กน้อย ราว 338 ไมโครกรัมต่อถ้วย [20]
    • แคนตาลูปดิบเป็นแหล่งวิตามินเอที่ดีอีกทางหนึ่ง โดยเมลอนหนึ่งถ้วยให้ได้ 286 ไมโครกรัม [21]
    • ผู้เชี่ยวชาญบางรายแนะนำให้หญิงมีครรภ์ควรเพิ่มปริมาณวิตามินเอจากพืชโดยรวม 40% ในระหว่างตั้งครรภ์และถึง 90% ในระหว่างให้นมบุตร [22]
  3. อาหารที่มาจากสัตว์จะให้วิตามินเอในรูปแบบของ “เรตินอล” ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายจะเปลี่ยนแคโรทีนอยด์ (วิตามินเอจากพืช) ไปเป็นมันในทันทีที่เริ่มย่อย [23] อาหารที่อุดมด้วยเรตินอลได้แก่ ตับ ไข่ และไขมันปลา [24]
    • เนื่องจากมันถูกดูดซึมได้รวดเร็วและขับออกมาได้ช้ามาก เรตินอลจึงเป็นวิตามินเอในรูปแบบที่คนเราอาจเกิดอาการมีมันในร่างกายสูงเกินไปได้ ฉะนั้นการจะทานวิตามินเอจากอาหารเหล่านี้จึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง ให้สังเกตหาอาการคลื่นเหียนหรืออาเจียน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร วิงเวียน และอ่อนเพลีย เป็นสัญญาณว่าวิตามินเป็นพิษ [25]
    • ภาวะวิตามินเอเป็นพิษอย่างรุนแรงนั้นเกิดขึ้นได้ยาก ภาวะเป็นพิษเรื้อรังซึ่งจะค่อยๆ สะสมอาการตามระยะเวลานั้นจะพบได้บ่อยมากกว่า แต่กระนั้น ผู้ใหญ่ปกติจะต้องบริโภควิตามินเอมากกว่า 7,500 ไมโครกรัม (7.5 มิลลิกรัม) ทุกวันติดต่อกันมากกว่าหกปีถึงจะเข้าสู่ระดับเป็นพิษ แต่ระดับการเกิดก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน ทางที่ดีจึงควรระมัดระวังและไม่ควรบริโภคในรูปแบบเรตินอลมากเกินไป [26]
    • ระดับเรตินอลยังอาจมีผลถ้าคุณใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ผสมวิตามินเอ เช่น ครีมหรือยารักษาสิว
  4. น้ำนม โยเกิร์ต กับชีสให้วิตามินเอเช่นกัน [27]
  5. มืออาชีพด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ไว้ใจได้สามารถแนะนำได้ว่าอาหารชนิดใดเหมาะกับคุณที่สุด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีหลากหลายขนาน จึงจำเป็นที่จะต้องทราบปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน (RDA) สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมดที่คุณใช้
    • สำหรับทารกถึงอายุหกเดือน RDA สำหรับวิตามินเอคือ 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม)
    • สำหรับทารก7-12 เดือน RDA สำหรับวิตามินเอคือ 500 ไมโครกรัม (0.5 มิลลิกรัม)
    • สำหรับเด็ก 1-3 ขวบ RDA สำหรับวิตามินเอคือ 300 ไมโครกรัม (0. 3 มิลลิกรัม)
    • สำหรับเด็ก 4-8 ขวบ RDA สำหรับวิตามินเอคือ 400 ไมโครกรัม (0. 4 มิลลิกรัม)
    • สำหรับเด็ก 9-13 ขวบ RDA สำหรับวิตามินเอคือ 600 ไมโครกรัม (0. 6 มิลลิกรัม)
    • สำหรับเด็ก 14-18 ปี RDA สำหรับวิตามินเอคือ 700 ไมโครกรัม (0. 7 มิลลิกรัม) สำหรับเด็กหญิง และ 900 ไมโครกรัม (0. 9 มิลลิกรัม) สำหรับเด็กชาย [32]
  2. ผู้ใหญ่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเอมากกว่าเด็ก และจำเป็นที่จะต้องทราบปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน (RDA) สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมดที่คุณใช้
    • สำหรับผู้ชาย 19 ปีขึ้นไป RDA สำหรับวิตามินเอคือ 900 ไมโครกรัม (0. 9 มิลลิกรัม)
    • สำหรับผู้หญิง 19 ปีขึ้นไป RDA สำหรับวิตามินเอคือ 700 ไมโครกรัม (0. 7 มิลลิกรัม)
    • สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ 18 ปีหรือต่ำกว่านั้น RDA สำหรับวิตามินเอคือ 750 ไมโครกรัม (0. 75 มิลลิกรัม)
    • สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ 19 ปีขึ้นไป RDA สำหรับวิตามินเอคือ 770 ไมโครกรัม (0. 77 มิลลิกรัม)
    • สำหรับผู้หญิงที่ให้นมบุตร 18 ปีหรือต่ำกว่านั้น RDA สำหรับวิตามินเอคือ 1,200 ไมโครกรัม (1.2 มิลลิกรัม)
    • สำหรับผู้หญิงที่ให้นมบุตร 19 ปีขึ้นไป RDA สำหรับวิตามินเอคือ 1,300 ไมโครกรัม (1.3 มิลลิกรัม) [33]
  3. อย่าบริโภควิตามินเอเกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน. การบริโภควิตามินเอมากเกินไปก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพหลายด้าน
    • เด็กทารกอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน 600 ไมโครกรัม (0.6 มิลลิกรัม) ต่อวัน
    • เด็กอายุ 1-3 ขวบไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน 600 ไมโครกรัม (0.6 มิลลิกรัม) ต่อวัน
    • เด็กอายุ 4-8 ขวบไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน 900 ไมโครกรัม (0. 9 มิลลิกรัม) ต่อวัน
    • เด็กอายุ 9-13 ขวบไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน 1,700 ไมโครกรัม (1.7 มิลลิกรัม) ต่อวัน
    • เด็กอายุ 14-18 ขวบไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน 2,800 ไมโครกรัม (2.8 มิลลิกรัม) ต่อวัน
    • ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปไม่ควรได้รับวิตามินเอเกิน 3,000 ไมโครกรัม (3 มิลลิกรัม) ต่อวัน [34]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณบริโภคเบตาแคโรทีนมากเกินไป ผิวคุณจะมีสีออกส้มๆ มันเป็นปฏิกิริยาที่ไม่มีอันตราย มักพบเห็นบ่อยในเด็กหรือผู้ที่เป็นมังสวิรัติ หากเกิดเช่นนี้ขึ้น ให้เลิกทานผักสักสองสามวันก็กลับมาเป็นปกติ [35]
  • ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนจะควบคุมอาหารหรือทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอ
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณคิดจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามิน โปรดอ่านฉลาก ให้แน่ใจว่ามันไม่ได้เกิน 10,000 IU ซึ่งโชคดีว่าส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ก็ควรจะปลอดภัยไว้ก่อน
  • ห้ามเปลี่ยนแผนการควบคุมอาหารโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เขาจะบอกคุณเองว่าคุณยังขาดวิตามินอะไรถ้าเกิดว่ามี
  • วิตามินเอมากเกินไปสามารถทำให้เกิดเบื่ออาหาร วิงเวียน ปวดศีรษะ ผิวแห้งและคัน ผมร่วง สายตาพร่ามัว และลดความหนาแน่นของมวลกระดูก ในรายที่รุนแรงนั้นอาจเกิดตับเป็นพิษด้วย ในกรณีของทารกในครรภ์นั้น การได้รับวิตามินเอมากเกินไปสามารถทำให้เกิดการพิการแต่กำเนิดได้ หญิงมีครรภ์จึงไม่ควรทานวิตามินเสริมจนเกิน 5,000 IU ต่อวัน จริงๆ แล้วมีคำแนะนำว่าหญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินเอด้วย [36]
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8019121
  2. https://www.merckmanuals.com/home/eye-disorders/corneal-disorders/keratomalacia
  3. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003570.htm
  4. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003570.htm
  5. http://www.merckmanuals.com/professional/nutritional-disorders/vitamin-deficiency-dependency-and-toxicity/vitamin-a
  6. http://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminA-HealthProfessional/#h5
  7. http://www.who.int/nutrition/topics/vad/en/
  8. http://www.vivo.colostate.edu/hbooks/pathphys/misc_topics/vitamina.html
  9. http://www.dietitians.ca/Your-Health/Nutrition-A-Z/Vitamins/Food-Sources-of-Vitamin-A.aspx
  10. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminA-HealthProfessional/#h2
  11. http://www.dietitians.ca/Your-Health/Nutrition-A-Z/Vitamins/Food-Sources-of-Vitamin-A.aspx
  12. http://www.dietitians.ca/Your-Health/Nutrition-A-Z/Vitamins/Food-Sources-of-Vitamin-A.aspx
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17665093
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3530430
  15. http://www.niams.nih.gov/health_info/bone/bone_health/nutrition/vitamin_a.asp
  16. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/vitamin-a/safety/hrb-20060201
  17. http://www.nutri-facts.org/eng/vitamins/vitamin-a-retinol/safety/
  18. http://www.nhs.uk/Conditions/vitamins-minerals/Pages/Vitamin-A.aspx
  19. http://www.healthyeating.org/Milk-Dairy/Nutrients-in-Milk-Cheese-Yogurt/Nutrients-in-Milk.aspx
  20. http://www.healthyeating.org/Milk-Dairy/Nutrients-in-Milk-Cheese-Yogurt/Nutrients-in-Cheese.aspx
  21. http://www.nhs.uk/chq/Pages/find-a-registered-dietitian-or-nutritionist.aspx?CategoryID=51&SubCategoryID=168
  22. http://www.eatright.org/find-an-expert
  23. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-a-retinol
  24. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-a-retinol
  25. http://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminA-HealthProfessional/
  26. http://emedicine.medscape.com/article/1104368-overview
  27. http://www.who.int/elena/titles/vitamina_pregnancy/en/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,836 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา