ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เกล็ดเลือด (platelet) เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ของเซลล์ที่ทำให้เลือดแข็งตัว เลยจำเป็นต่อร่างกายเพราะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลไม่หยุด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (low platelet count หรือ thrombocytopenia) เกิดได้ด้วยหลายสาเหตุ ตั้งแต่การทำคีโม ตั้งครรภ์ แพ้อาหาร ไปจนถึงไข้เลือดออก ต้องปล่อยเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป แต่คุณก็สามารถดูแลตัวเองและเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดด้วยวิธีธรรมชาติควบคู่ไปได้ด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติข้อมูลอาหารที่อ้างว่าช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดได้นั้นก็แตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา มีคล้ายกันบ้าง ต่างกันบ้าง แต่แนวคิดหนึ่งที่มักจะพบ คือแนะนำให้กินอาหารดีมีประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวม
    • ใครๆ ก็คงเคยได้ยิน ว่าให้กินผักผลไม้เยอะๆ เน้นโปรตีนไขมันต่ำ และธัญพืชเต็มเมล็ด ส่วนที่ควรลดละเลิกคือแป้งและน้ำตาลขัดสี รวมถึงไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และอาหารแปรรูป
    • ให้กินแบบ “น้อยแต่มาก” คือไม่ต้องกินเยอะก็ได้สารอาหารสำคัญเพียงพอ ให้เน้นอาหารที่เปี่ยมคุณค่า เช่น ผักสด อย่าเลือกอาหารที่กินอิ่มแต่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เช่น คุกกี้ทั้งห่อ [1] สรุปคือให้เลือกอาหารการกินที่แน่ใจได้ว่ามีคุณค่าและสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ
    • กินกีวี่ เพราะช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็ว
  2. สารอาหารสำคัญที่ช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดก็เป็นอีกเรื่องที่ข้อมูลแต่ละแหล่งไม่ตรงกัน แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอประจำตัวเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม สารอาหารทั่วไปที่มีคุณค่า ดีต่อร่างกายคนทุกเพศทุกวัย ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนที่ต้องการเพิ่มเกล็ดเลือด ก็เช่น
    • วิตามินเคช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด ทั้งยังมีสรรพคุณต้านการอักเสบ (บางทีเกล็ดเลือดก็ถูกทำลายระหว่างเกิดการอักเสบ) วิตามินเคพบมากในผักใบเขียว เช่น เคล คะน้าฝรั่ง ปวยเล้ง บร็อคโคลี และสาหร่าย ถ้าจะปรุงอาหารต้องผ่านความร้อนน้อยที่สุด เพื่อคงสารอาหารไว้ นอกจากนี้ไข่และตับก็เป็นแหล่งวิตามินเคชั้นดีเช่นกัน
    • โฟเลต (Folate หรือวิตามินบี 9) จำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ (อย่างที่บอกว่าเกล็ดเลือดก็เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์) ถ้าโฟเลตต่ำก็ทำให้เกล็ดเลือดต่ำได้เช่นกัน แนะนำให้กินอาหารที่อุดมโฟเลต เช่น แอสพารากัส (หน่อไม้ฝรั่ง) ส้ม ปวยเล้ง และซีเรียล (โฮลเกรน น้ำตาลน้อย) แบบเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ วิตามินเสริมก็อาจจะจำเป็นอยู่บ้าง อันนี้แล้วแต่คุณหมอแนะนำ
    • กรดไขมันโอเมก้า-3 ดีแต่ต้องระวังปริมาณที่ได้รับ ปกติช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีสรรพคุณต้านการอักเสบ พบมากในปลา สาหร่าย วอลนัท น้ำมันแฟล็กซีด และไข่แบบเสริมวิตามินและแร่ธาตุ [2] คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ถ้าเพิ่มโอเมก้า-3 แล้วจะดีต่อร่างกาย แต่ข้อเสียคือกรดไขมันโอเมก้า-3 จะไปยับยั้งการสร้างเกล็ดเลือด ทำให้เกล็ดเลือดทำงานได้น้อยลง เพราะงั้นถ้าใครมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะไม่แนะนำให้บริโภคกรดไขมันโอเมก้า-3 มากนัก
  3. อาหารแคลอรี่สูงแต่คุณค่าทางอาหารต่ำ เช่น เมล็ดพืชขัดสี (ในขนมปังขาว) และน้ำตาลขัดสี (ในเค้ก คุกกี้ และอื่นๆ) พวกนี้แทบไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บางทีก็ยิ่งไปกระตุ้นการอักเสบด้วยซ้ำ [3]
    • ถ้าดื่มแอลกอฮอล์เยอะๆ จะเป็นอันตรายต่อไขกระดูก แถมลดการสร้างเกล็ดเลือด [4] เพราะงั้นจะดีกว่าถ้าลดละเลิกแอลกอฮอล์ได้ โดยเฉพาะคนอยากเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือด
    • อาการไวต่อกลูเตนหรือแพ้กลูเตน (celiac disease) เป็นลักษณะโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disorder) อาจทำให้จำนวนเกล็ดเลือดลดลง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าพบว่าเป็นโรคที่ว่าจะได้รีบตัดกลูเตนออกจากอาหารประจำวัน [5]
  4. การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น เดิน ว่ายน้ำ และฝึกกล้ามเนื้อ (strength training) ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน เป็นประโยชน์ต่อคนที่เกล็ดเลือดต่ำ
    • ต้องออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง ใช้ท่าทางและเทคนิคที่ถูกต้อง โดยเฉพาะคนที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เพราะจะเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ยิ่งเหนื่อยล้าก็ยิ่งบาดเจ็บง่ายขึ้นเท่านั้น
    • อย่าทำอะไรที่เสี่ยงทำให้เลือดออก ไม่ใช่แค่เลือดไหลออกมา แต่รวมถึงเลือดออกภายในด้วย (พวกช้ำ เลือดคั่ง) [6] เพราะพอเกล็ดเลือดต่ำ เลือดไหลแล้วจะแข็งตัวช้ากว่าปกติ
    • ถ้าจะเล่นกีฬาหนักๆ ประมาณว่าบาสหรือสเก็ต ยิ่งต้องระวัง แต่ถ้าเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่นได้จะดีกว่า พยายามระวังตัวอย่าให้มีแผลถลอกปอกเปิก กระทั่งรอยช้ำ เวลาเดินเหินไปมาให้ใส่รองเท้าที่กระชับ ยึดเกาะดี เสื้อผ้าพอดีตัว ไม่คับไม่หลวม ที่สำคัญคือหนาหน่อยหรือใส่ซ้อนกันเพิ่มการป้องกัน จะทำอะไรต้องมีสติอยู่เสมอ
    • ปรึกษาคุณหมอเรื่องเสี่ยงจะเลือดไหลแล้วหยุดช้าหรือไม่หยุด ว่าแนะนำยาตัวไหนที่ช่วยลดความเสี่ยง เช่น แอสไพริน และยาแก้ปวดอื่นๆ ที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยา [7]
  5. ถ้าเป็นผู้ใหญ่ทั่วไป ทั้งที่เกล็ดเลือดมากและน้อย แนะนำให้นอน 7 - 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่คนที่อยากเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดยิ่งต้องพักผ่อนให้มากๆ ร่างกายจะได้ฟื้นฟู
    • จะเหนื่อยง่ายหน่อยถ้าเกล็ดเลือดคุณน้อย เพราะงั้นต้องจัดสรรให้ดีระหว่างเวลาพักผ่อนกับออกกำลังกาย (อย่างระมัดระวัง) ปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด
  6. ไม่ว่าใครก็ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าไหร่ ถ้าดื่มน้ำมากพอ ระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพกว่า โดยเฉพาะช่วยเรื่องการสร้างเกล็ดเลือด
    • ผู้ใหญ่ทั่วไปควรดื่มน้ำ 2 - 3 ลิตรต่อวัน เพราะงั้นที่คนชอบบอกว่าให้ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว (8 ออนซ์) ก็ถือว่าถูกแล้ว [8]
    • บางคนก็แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือค่อนไปทางร้อนเพื่อเพิ่มเกล็ดเลือด เพราะน้ำเย็นจะไปชะลอกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารช้าตามไปด้วย [9] เพราะงั้นขอแค่น้ำไม่ร้อนจนลวกปาก จะลองดื่มดูก็ไม่เห็นว่าเสียหายอะไร
  7. ถือเป็นคำแนะนำอันดีสำหรับคนที่กำลังมีปัญหาสุขภาพ หรือในที่นี้ก็คือเกล็ดเลือดต่ำ [10]
    • อาจจะไม่มีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนถึงประโยชน์ของการมองโลกในแง่ดี แต่เป็นอีกคำแนะนำที่ลองทำดูก็ไม่เสียหายอะไร
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาโกนหนวดพลาด โดนมีดบาด หรือเลือดกำเดาไหลแล้วเลือดหยุดในที่สุด นั่นแหละเป็นเพราะเกล็ดเลือดกำลังทำหน้าที่ เกล็ดเลือดเป็นเซลล์ในกระแสเลือดที่จะจับตัวเป็นก้อน ช่วยอุดไม่ให้เลือดไหลออกไปนอกร่างกาย [11]
    • แต่ละเกล็ดเลือดจะอยู่ในกระแสเลือดได้แค่ประมาณ 10 วัน เลยต้องมีการสร้างใหม่ทดแทนเรื่อยๆ ปกติคนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงจะมีเกล็ดเลือดอยู่ที่ 150,000 - 450,000 เกล็ดต่อเลือด 1 ไมโครลิตร
    • ถ้าคุณได้ยินว่าตัวเองมีเกล็ดเลือด 150 ก็แปลว่าเท่ากับ 150,000 ต่อเลือด 1 ไมโครลิตรนั่นเอง
  2. มีหลายปัจจัยทำคุณเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) ได้ หรือก็คือเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150
    • มักพบในคนที่มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน (เกล็ดเลือดเลยถูกทำลายอย่างผิดๆ) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย (เพราะเกล็ดเลือดมาจากไขกระดูก) กำลังอยู่ในช่วงให้คีโม (เกล็ดเลือดถูกทำลายไปโดยปริยาย) อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ (ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติจนเกล็ดเลือดต่ำลง) รวมถึงอีกหลายๆ สาเหตุ [12]
    • อาการของคนมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำก็เช่น อ่อนเพลีย ช้ำง่าย เลือดไหลไม่หยุด เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีเลือดในฉี่หรืออึ รวมถึงมีผื่นสีแดงออกม่วงเท่าหัวเข็มตามน่องและเท้า [13]
    • ถ้าคุณมีอาการอย่างที่ว่ามา ให้รีบหาหมอเพื่อตรวจร่างกายหาจำนวนเกล็ดเลือดต่อไป
  3. ถ้าตกลงคุณเกล็ดเลือดต่ำจริง แต่ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ ก็ต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติมให้ละเอียดยิ่งขึ้น (เช่น ม้ามผิดปกติเลยกรองเกล็ดเลือดออกจากกระแสเลือดมากผิดปกติ)
    • ปกติคุณหมอจะวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ และบางทีวิธีรักษาที่ดีที่สุดก็คือรอดูอาการต่อไปจนกว่าจะหายเอง (โดยเฉพาะในคนท้อง) ถ้าสงสัยหรือไม่สบายใจตรงไหนก็ปรึกษาคุณหมอเลย [14]
    • ปรึกษาคุณหมอเรื่องรักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำด้วยวิธีทางเลือกหรือวิธีธรรมชาติ โดยเน้นเพิ่มหรืออย่างน้อยก็ปรับสมดุลของจำนวนเกล็ดเลือด เรื่องนี้สำคัญเพราะต่างคนก็ต่างเคสต่างอาการกันไป ต้องเลือกวิธีรักษาดูแลตัวเองให้เหมาะสม
    • ย้ำอีกทีว่าอย่าเริ่มทำอะไรเพื่อเพิ่มเกล็ดเลือดเองโดยไม่ปรึกษาคุณหมอ
  4. เป็นสิทธิ์ของคุณที่อยากสรรหาวิธีเพิ่มเกล็ดเลือดตามธรรมชาติ ทดลองได้ไม่ถือว่าผิด แต่ส่วนใหญ่ควรได้รับการรักษาทางการแพทย์ให้เหมาะสมกับอาการและความรุนแรงของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ วิธีรักษาทางการแพทย์ก็เช่น [15]
    • รักษาโรคที่อาจเป็นต้นเหตุทำคุณเกล็ดเลือดต่ำ เช่น เปลี่ยนจากใช้ heparin หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ไปใช้ blood thinner หรือยาเจือจางเลือดชนิดอื่นแทน ถ้านั่นเป็นสาเหตุทำคุณเกล็ดเลือดต่ำ สำคัญว่าคุณต้องไม่อยู่ๆ หยุดใช้ยาเจือจางเลือดที่คุณหมอสั่งกลางคัน โดยเฉพาะถ้าเป็นยาสำหรับรักษาโรคหัวใจอยู่
    • รับการถ่ายเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือเกล็ดเลือด เพื่อเพิ่มเกล็ดเลือดโดยตรง
    • ใช้ยา corticosteroid หรือยากดภูมิอื่นๆ ถ้าคุณหมอเห็นสมควร โดยคุณหมอจะแนะนำแนวทางการระวังและปฏิบัติตัวให้คุณเอง เพราะร่างกายจะติดเชื้อง่ายกว่าปกติ
    • ผ่าตัดเอาม้ามออก (splenectomy) ถ้าม้ามผิดปกติจนกรองเกล็ดเลือดดีออกไปเสียเฉยๆ
    • เปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (plasma exchange) วิธีนี้มักสงวนไว้ใช้กับเคสที่อาการหนักเข้าขั้นฉุกเฉิน
  5. ถ้าลองค้นดูจะเห็นว่ามีเว็บนับไม่ถ้วนของ "ผู้รู้" ต่างๆ ที่แนะนำวิธีเพิ่มเกล็ดเลือดตามธรรมชาติ บางทีก็น่าเชื่อถือซะจนแยกไม่ออกว่าข้อมูลไหนจริงไหนเท็จ ปลอดภัยไม่ปลอดภัย นั่นคือสาเหตุว่าทำไมคุณถึงต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มรักษาด้วยวิธีธรรมชาติเสมอ
    • หลายหน่วยงานดังๆ และน่าเชื่อถือยังแย้งกันเองเลย ว่าการดื่มนมเกี่ยวข้องกับการเพิ่มเกล็ดเลือดแค่ไหน จนคนอ่านก็มึน ไม่รู้จะเชื่อและทำตามแนวทางของใครดี [16]
    • จริงๆ แล้วมีงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์น้อยมาก ที่รองรับว่าอาหารไหนช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดได้ [17] [18] แต่ที่จริงตามหลักวิทยาศาสตร์ที่สุด ก็เห็นจะเป็นแนวคิดที่ว่าเปลี่ยนอาหารการกินแล้วป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดต่ำไปกว่านี้ได้
    • แบบนี้เท่ากับว่าควรรักษาแต่กับคุณหมอต่อไปอย่างเดียวหรือเปล่า? ก็ไม่เชิง เพราะแปลว่าคุณควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม อย่าคิดลมๆ แล้งๆ ว่าจะมียาวิเศษ และปรึกษาคุณหมอเสมอก่อนลงมือทำอะไร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ก่อนจะตัดสินใจใช้วิธีการรักษาไหน ต้องปรึกษาคุณหมอก่อน จะได้ตรวจร่างกายและติดตามผลโดยละเอียด เพราะคุณอาจมีโรคอื่นอยู่ไม่รู้ตัวจนเกิดผลกระทบเมื่อเปลี่ยนอาหารการกินหรือชีวิตประจำวัน ถ้าอาการหนักขึ้นจะได้รักษาทันท่วงที
  • ก่อนจะกินยาตัวไหนโดยเฉพาะในปริมาณมาก ต้องศึกษาก่อนว่าเขาวิจัยกันมาแล้วถึงผลลัพธ์อย่างมีมาตรฐาน เช่น ทำ volume blind tests คือครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างได้รับ placebo หรือยาหลอก ที่สำคัญคือผลการทดลองต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 74,954 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา