ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การดื่ม และสูบบุหรี่เป็นของคู่กันสำหรับคนบางคน และการเลิกพฤติกรรมทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากๆ โดยการไม่กลับไปแตะต้องแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่อีกครั้งควรเป็นความรู้สึกของการเป็นอิสระ และการเลิกแอลกอฮอล์ และบุหรี่ไปพร้อมๆ กันได้ อาจเป็นความรู้สึกของการเป็นอิสระที่ยิ่งใหญ่มากกว่า และความยึดมั่นที่จะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการเสพติดสิ่งใดๆ อีกต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

ตั้งมั่นที่จะเลิก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนรายการว่าแอลกอฮอล์ และบุหรี่มีผลกระทบต่อคุณอย่างไร. การเขียนบันทึกถึงผลกระทบเชิงลบของแอลกอฮอล์ และบุหรี่จะเป็นเครื่องย้ำเตือนที่ชัดเจนว่า ทำไมคุณเลือกที่จะเลิกพวกมัน [1] เก็บไว้ในที่ที่คุณสามารถหยิบมาดูเพื่ออ้างอิงได้โดยง่าย
    • สะท้อนถึงสุขภาพทางร่างกาย หรือจิตใจที่แย่ลง ที่เป็นผลมาจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์ โดยการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่ลดลงเป็นผลลัพธ์ของการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ใช่หรือไม่? คุณรู้สึกโมโหร้ายเมื่อไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ หรือกระวนกระวายที่ไม่ได้สูบบุหรี่ใช่หรือไม่?
    • คนจำนวนมากเลือกที่จะเลิกการเสพติด เพราะว่าพวกเขารู้สึกป่วย และเหนื่อยหน่ายกับความรู้สึกป่วย และอ่อนล้า และโดยพวกเขาเห็นว่าการเสพสิ่งเหล่านี้เป็นการสิ้นเปลืองมากกว่าที่จะให้ผลลัพธ์เชิงบวกแก่พวกเขา [2]
    • พิจารณาว่าบุหรี่ และแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ และการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างไร
    • พิจารณาต้นทุนด้านการเงินที่คุณต้องใช้ในการซื้อแอลกอฮอล์ และบุหรี่
  2. ใช้สมุดโน้ตในการบันทึกช่วงเวลาตลอดวันที่คุณได้สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ [3] เขียนบันทึกถึงความรู้สึก หรือสถานการณ์ที่นำไปสู่การใช้แอลกอฮอล์ และบุหรี่ โดยคุณควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นความอยากของคุณในอนาคต
    • ตัวกระตุ้นอาจเกิดจากการมีปากเสียงกับครอบครัวของคุณ หรือมีบางสิ่งบางอย่างติดขัดที่ที่ทำงาน
    • เนื่องจากแอลกอฮอล์ และนิโคตินเป็นสารที่มีความสัมพันธ์กัน โดยการได้รับสารตัวใดตัวหนึ่งอาจกระตุ้นให้อยากได้รับสารอีกตัวหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ คุณอาจมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ [4]
  3. แสดงออกอย่างชัดเจนว่าคุณต้องการหยุดทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน หรือลดการเสพอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่คนบางคนอาจต้องการเลิกด้วยเหตุผลด้านสังคม หรือสุขภาพ คนอื่นๆ อาจต้องการเลิก เนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์ หรือเพราะว่าพวกเขามีอาการเสพติด สะท้อนเหตุผลของคุณ และจากนั้นจึงเลือกเป้าหมายของคุณ หากคุณเป็นคนชอบดื่ม มันเป็นการดีที่สุดที่จะเลิกแอลกอฮอล์ไปพร้อมๆ กันอย่างเด็ดขาด และไม่ใช่แค่ลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย [5]
    • คนที่สูบบุหรี่จะมีความยากลำบากในการเลิกมากกว่าคนดื่มแอลกอฮอล์ และยังมีแนวโน้มที่จะทรุดโทรมมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ [6] ให้กำหนดเป้าหมายที่รวมถึงการเลิกทั้งนิโคติน และแอลกอฮอล์ไปพร้อมๆ กัน
    • เขียนวันที่สำหรับเป้าหมายแต่ละอย่างเพื่อทำให้ภาระกิจมีความหนักแน่น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

การเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โยนบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทิ้งให้หมด [7] ขอให้สมาชิกในบ้านคนอื่นสนับสนุนคุณในการทำให้บ้านปราศจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุในการดำเนินชีวิต
  2. ทิ้งสิ่งใดๆ ที่ย้ำเตือนให้คุณนึกถึงการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์. อย่าเก็บไฟแช็ค คนโท หรือแก้วช็อตที่คุณโปรดปรานไว้ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้จะเป็นการดีที่สุด หากคุณหลีกเลี่ยงการเห็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้นึกถึงนิสัยเก่าๆ ของคุณได้โดยทันที [8]
  3. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคุณสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์. การอยู่ใกล้กับสถานที่ที่การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ทำได้สามารถเป็นอันตราย หากคุณกำลังพยายามที่จะเลิก [9] หลีกเลี่ยงการไปบาร์ และที่อื่นๆ ที่มีการอนุญาตให้ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
    • นั่งในพื้นที่ของร้านอาหารที่ไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ และเลือกห้องพักปลอดบุหรี่ในโรงแรม
  4. เว้นจากการพบปะคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำสักพัก. การอยู่รอบๆ คนที่มีพฤติกรรมที่คุณพยายามหลีกเลี่ยงจะเป็นการยั่วยุให้คุณเกิดความอยาก อธิบายกับพวกเขาว่าคุณกำลังพยายามกำจัดสารเสพติดต่างๆ ออกจากชีวิตของคุณ และจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ สร้างระยะห่างจากคนที่จะไม่ให้การสนับสนุนความปรารถนาที่จะเป็นอิสระจากแอลกอฮอล์ และบุหรี่ [10]
  5. โดยสถานการณ์เหล่านี้ ได้แก่ ความเหงา เหน็ดเหนื่อย โมโห และหิว [11] สถานการณ์ดังกล่าวสามารถทำให้คุณรู้สึกอ่อนแอ และทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ พึงตระหนักรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกว่าคุณอาจเข้าใกล้สถานการณ์เหล่านี้ และเรียนรู้ที่จะป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นตั้งแต่แรก
    • แน่ใจว่าคุณนอนหลับเพียงพอ รับประทานอาหารตลอดวัน และอย่าแยกตัวคุณเองจากสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ หากคุณรู้สึกกำลังโมโห เตือนตัวเองให้ผ่อนคลาย และปล่อยมันผ่านไปโดยไม่ต้องพึ่งพาแอลกอฮอล์ และบุหรี่
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

การรับมือกับอาการอยาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แทนที่การใช้แอลกอฮอล์ และบุหรี่ด้วยตัวเลือกที่เป็นประโยชน์มากกว่า. คุณอาจคิดว่าการใช้แอลกอฮอล์ และบุหรี่อาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น เพราะว่าพวกมันช่วยให้คุณรับมือกับความเครียด และความกดดันได้ [12] พยายามเจาะจงลักษณะเชิงบวกที่คุณคิดว่าเป็นผลลัพธ์จากการใช้แอลกอฮอล์ และบุหรี่ และคิดหาสิ่งอื่นที่สามารถทำให้ได้รับผลลัพธ์เช่นเดียวกัน การรับมือสามารถรวมไปถึงการผ่อนคลาย และการหายใจลึกๆ การพูดคุยกับเพื่อน หรือการออกไปเดินเล่น
  2. การออกกำลังกายบ่อยครั้งช่วยลดอาการลงแดง และมันช่วยให้คุณมีอะไรทำ เมื่อคุณเกิดความอยาก [13] การออกกำลังกายยังช่วยลดความเครียดประจำวัน [14] พิจารณาการออกไปขี่จักรยาน การเล่นโยคะ การพาสุนัขไปเดินเล่น หรือกระโดดเชือก
  3. การเพิ่มงานอดิเรกใหม่สามารถช่วยให้คุณโฟกัสไปที่พลังงานของคุณได้อย่างเป็นประโยชน์ และเพิ่มความหมายให้กับชีวิตคุณ [15] ลองสิ่งใหม่ๆ ที่ดูสนุก และน่าสนใจ
    • งานอดิเรกสามารถรวมไปถึง การถักไหมพรม การเขียน หรือฝึกเล่นกีต้าร์
  4. หากคุณเกิดความอยาก หรือมีอาการลงแดงเล็กน้อย ให้สร้างสิ่งรบกวนจนกระทั่งแรงกระตุ้นหมดไป [16] รบกวนจิตใจ และร่างกายของคุณ หากคุณรู้สึกอยากบุหรี่ หรือแอลกอฮอล์ ให้คุณเคี้ยวหมากฝรั่ง ออกไปเดินเล่น เปิดหน้าต่าง หรือเริ่มต้นกิจกรรมใหม่ๆ [17]
  5. การผ่อนคลายเป็นหัวใจสำคัญในการกลับมาเป็นปกติ การพอกพูนความเครียดไว้กับตัวเองสามารถทำให้อาการทรุดหนักขึ้น [18] หากคุณรู้สึกเหมือนว่าคุณไม่มีเวลาในการผ่อนคลาย ให้คิดถึงเวลาที่คุณใช้ในการดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ และแทนที่มันด้วยการผ่อนคลาย
    • กิจกรรม เช่น ออกไปเดินเล่น การอ่านหนังสือ และการทำสมาธิสามารถเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการผ่อนคลาย [19]
  6. ทุกๆ คนจำเป็นต้องมีด้านร้ายในชีวิต แต่แค่ทำให้มันดีต่อสุขภาพเท่านั้นเป็นพอ ปรนเปรอตัวเองด้วยไอศกรีมเป็นบางครั้ง หรือซื้อน้ำอัดลม ในขณะที่การมีสุขภาพดีเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่แค่ยอมเปิดพื้นที่เล็กๆ ให้ตัวเอง เพื่อที่คุณจะไม่รู้สึกปฏิเสธกับความลุ่มหลง ที่คุณเคยรู้สึกเพลิดเพลินก่อนหน้านี้
  7. ยิ่งคุณรับมือกับความอยากได้ดีขึ้นเท่าไหร่ คุณมีโอกาสที่จะกลับไปสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ได้น้อยลงเท่านั้น คนที่เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์ในเวลาเดียวกัน มีแนวโน้มที่จะมีอาการลงแดงได้น้อยกว่า และมีความเสี่ยงในการกลับไปดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่อีกครั้งน้อยกว่า [20]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

การรับมือกับอาการลงแดง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อมีการหยุดแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่โดยทันทีทันใด ร่างกายอาจรู้สึกเกิดการต่อต้าน โดยอาการลงแดงจากการหยุดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ได้แก่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า เหนื่อยล้า ปวดหัว คลื่นไส้ ตัวสั่นมือสั่น เป็นตะคริวที่ท้อง และมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น [21] [22]
  2. ในขณะที่การลงแดงจากการเลิกบุหรี่สามารถเป็นสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์ทั้งทางร่างกาย และอารมณ์ การลงแดงจากการเลิกแอลกอฮอล์สามารถเป็นเรื่องที่เป็นอันตราย โดยความรุนแรงของอาการลงแดงจากแอลกอฮอล์มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่ที่ปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณดื่ม ระยะเวลาในการดื่ม และสภาวะทางสุขภาพของคุณ [23] อาการบางอาการสามารถเริ่มต้นขึ้นภายในหลายชั่วโมงหลังจากการดื่มสูงสุดเป็นเวลาหลายๆ วัน และดีขึ้นภายในสัปดาห์ [24]
  3. ในขณะที่ไม่มียาตามใบสั่งแพทย์ที่สามารถบำบัดอาการติดแอลกอฮอล์ และนิโคตินไปพร้อมๆ กัน โดยการบำบัดรักษาอาการติดแอลกอฮอล์ และนิโคตินมีความแตกต่างกัน
    • ยาตามใบสั่งสามารถถูกใช้เพื่อรักษาอาการติดแอลกอฮอล์ รวมไปถึง การใช้ยา Naltrexone, Acamprosate และ Disulfiram ตัวยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการลงแดง และไม่ทำให้รู้สึกอยากกลับไปดื่มแอลกอฮอล์อีกครั้ง [27]
    • เลือกวิธีสำหรับการเลิกนิโคติน ในขณะที่คนบางคนเลือกที่จะเลิกแบบ “หักดิบ” คนอื่นๆ เลือกที่จะค่อยๆ ลดปริมาณการรับนิโคตินเข้าสู่ร่างกายลง เพื่อลดอาการลงแดง มีตัวเลือกมากมายสำหรับการทดแทนสารนิโคตินให้แก่ร่างกาย เช่น หมากฝรั่ง แผ่นแปะนิโคติน สเปรย์ฉีดจมูก และยาตามใบสั่ง (เช่น ยา Bupropion) ในขณะที่ร่างกายของคุณจะค่อยๆ ปรับตัวกับปริมาณนิโคตินที่ได้รับลดลง [28]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

การเข้ารับการบำบัดรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันเป็นเรื่องยากที่จะเอาชนะการเสพติดด้วยตัวเอง และนักบำบัดสามารถเป็นผู้สนับสนุนที่เป็นประโยชน์ การร่วมมือกับนักบำบัดสามารถรวมไปถึงการอธิบายถึงตัวกระตุ้นทางอารมณ์ การพบกลยุทธ์ในการรับมือ การป้องกันการกลับมาดื่ม หรือสูบอีกครั้ง และการค้นให้ลึกมากขึ้นเพื่อเข้าใจสาเหตุทางอารมณ์ของการเสพติด [29]
    • การยึดมั่นกับนักบำบัดเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการป้องกันการกลับไปดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่อีกครั้ง [30]
    • การเสพติดสามารถร่วมกับ หรือเป็นผลมาจากโรคจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคสองบุคลิก เมื่อร่วมกับการบำบัดด้วยยาตามใบสั่งแพทย์อาจรักษาโรคจิตเวช ที่เป็นสาเหตุของการเสพติด [31]
  2. การประเมินทางการแพทย์สามารถช่วยบ่งชี้ว่าบุหรี่ และแอลกอฮอล์มีผลต่อร่างกายของคุณอย่างไร ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อช่วยพัฒนาสุขภาพทางร่างกายของคุณ นอกจากนี้พวกเขายังสามารถให้ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อลดอาการเสพติดนิโคตินลง
    • ทั้งแอลกอฮอล์ และนิโคตินสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของคุณได้อย่างร้ายแรง ให้คุณซื่อสัตย์กับแพทย์ของคุณ และร้องขอการทดสอบเพื่อประเมินสุขภาพของตับ หัวใจ ไต และปอดของคุณ
  3. หากคุณกลัวว่าคุณไม่สามารถเลิกได้ด้วยตัวเอง สถานพักฟื้น หรือสถานบำบัดรักษาสามารถช่วยคุณจัดการกับความท้าทายทางกาย และอารมณ์ของการเสพติด และทำให้คุณสามารถเลิกการเสพติดในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการควบคุมดูแล และสนับสนุนได้ โปรแกรมสามารถช่วยคุณตัดสินใจวิธีการขับสารพิษ และจะตรวจตราสภาวะทางร่างกาย และอารมณ์ของคุณ หลังจากที่คุณเลิกแอลกอฮอล์ และนิโคติน โดยโปรแกรมการบำบัดรักษารวมไปถึงการควบคุมทางยา และจิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง [32]
    • การบำบัดรักษาบ่อยครั้งรวมไปถึง การบำบัดส่วนตัว และแบบเป็นกลุ่ม ที่ตั้งเป้าหมายเพื่อบำบัดสภาวะสุขภาพจิต ยารักษาอาจถูกสั่งโดยแพทย์เพื่อรักษา และเฝ้าระวังโรคจิตเวช ในขณะที่อยู่ในระหว่างการบำบัดรักษา
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

การมองหาการสนับสนุน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณมีแนวโน้มที่จะหยุดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ได้มากกว่า หากคุณหาการสนับสนุนจากคนที่อยู่รอบๆ ตัวคุณ [33] ขอให้พวกเขาสนับสนุนคุณโดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เมื่ออยู่ใกล้ๆ คุณ
  2. หากคุณมีเพื่อนคนอื่น ที่ต้องการจะเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ด้วยเหมือนกัน ให้คุณกำหนดกฏกติกาสำหรับตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น พบกับเพื่อนของคุณคนนั้นทุกวัน และยึดมั่นในกฎกติกาที่กำหนดไว้ร่วมกัน
  3. ให้คุณเข้าถึง กลุ่มสมาชิกผู้อดเหล้า หรือบุหรี่ ในท้องที่ที่คุณอยู่ หากมี [34] การได้พูดถึงความพยายามของคุณในสภาพแวดล้อมที่ให้การสนับสนุนจากคนที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกันสามารถทำให้เกิดความต่างแตกได้เป็นอย่างมากในความพยายามที่จะเลิกการเสพติดของคุณ
  4. หากคุณเป็นกังวลเกี่ยวกับการอาศัยอยู่กับคนที่อาจกระตุ้นให้เกิดการใช้แอลกอฮอล์ หรือนิโคติน พิจารณาการหาบ้านที่มีการห้ามแอลกอฮอล์ และนิโคติน โดยทุกๆ คนที่อาศัยอยู่ในบ้านตกลงที่จะใช้ชีวิตโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมึนเมา และสารเสพติด และสร้างชุมชมรับผิดชอบซึ่งกันและกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลีกเลี่ยงงานปาร์ตี้ และกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ หรือแอลกอฮอล์
  • ห้ามไปกับเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานของคุณ เมื่อพวกเขาออกไปพักเบรกสูบบุหรี่
  • วางแผนกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับคนที่เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์
โฆษณา
  1. http://www.helpguide.org/articles/addiction/overcoming-drug-addiction.htm
  2. http://www.addictionsandrecovery.org/recovery-skills.htm
  3. http://www.addictionsandrecovery.org/recovery-skills.htm
  4. http://www.aafp.org/afp/1998/0415/p1879.html
  5. http://www.adaa.org/understanding-anxiety/related-illnesses/other-related-conditions/stress/physical-activity-reduces-st
  6. http://www.helpguide.org/articles/addiction/overcoming-drug-addiction.htm
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/quit-smoking/in-depth/nicotine-craving/art-20045454?pg=1
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/the-high-functioning-alcoholic/201006/summertime-parties-and-the-beach-quick-guide-coping
  9. http://www.addictionsandrecovery.org/recovery-skills.htm
  10. http://www.addictionsandrecovery.org/recovery-skills.htm
  11. http://www.pnas.org/content/111/50/18031.full
  12. http://www.healthline.com/health/smoking/nicotine-withdrawal#Symptoms2
  13. http://goaskalice.columbia.edu/answered-questions/alcohol-and-cigarettes-%E2%80%94-quitting-both-same-time
  14. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000764.htm
  15. http://www.helpguide.org/articles/addiction/alcohol-addiction-treatment-and-self-help.htm
  16. http://goaskalice.columbia.edu/answered-questions/alcohol-and-cigarettes-%E2%80%94-quitting-both-same-time
  17. http://www.helpguide.org/articles/addiction/alcohol-addiction-treatment-and-self-help.htm
  18. https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/treatment-approaches-drug-addiction
  19. http://www.healthline.com/health/smoking/nicotine-withdrawal#Treatment3
  20. http://www.drugabuse.gov/publications/research-reports/tobacco/are-there-effective-treatments-tobacco-addiction
  21. https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/treatment-approaches-drug-addiction
  22. http://pubs.niaaa.nih.gov/publications/arh26-2/90-98.htm
  23. http://goaskalice.columbia.edu/answered-questions/alcohol-and-cigarettes-%E2%80%94-quitting-both-same-time
  24. http://goaskalice.columbia.edu/answered-questions/alcohol-and-cigarettes-%E2%80%94-quitting-both-same-time
  25. http://www.aafp.org/afp/1998/0415/p1879.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,904 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา