ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณกำลังคิดหาสัตว์เลี้ยงล่ะก็ ลองเลี้ยงกระต่ายดูสิ กระต่ายถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการนำมาเลี้ยงในครัวเรือน เนื่องจากพวกเขามีลักษณะนิสัยที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับการดำรงชีวิตในบ้านได้ ปรับตัวได้แม้กระทั่งกับการอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ กระต่ายจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้พวกเขามีความสุขพร้อมด้วยสุขภาพที่แข็งแรง การดูแลกระต่ายนั้นเริ่มจากการให้ฟางและผักแก่พวกเขาเยอะๆ ให้พวกเขาได้อยู่ในรังที่สบายและอบอุ่น สุดท้ายคือ พวกเขาต้องมีเวลาพอที่จะกระโดดโลดเต้นจนกว่าจะพึงพอใจ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

สร้างบ้านให้กระต่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับกระต่ายซึ่งมีขนาดมาตรฐานคือหนักประมาณแปดปอนด์ คุณจำเป็นจะต้องมีกรงที่กว้างอย่างน้อยสี่ฟุต ลึกสองฟุตและสูงสองฟุต ภายในกรง กระต่ายจะต้องสามารถล้มตัวลงนอนพร้อมเหยียดตัวอย่างสบายกายได้ และจะต้องมีที่ว่างพอสำหรับกล่องใส่น้ำ อาหาร และกระบะขับถ่ายด้วย [1]
    • คุณสามารถหาซื้อบ้านกระต่ายสำหรับเลี้ยงพวกเขาไว้นอกบ้านได้ หรือจะต่อเองก็ได้ บ้านกระต่ายนั้นควรมีพื้นที่ว่างพอสำหรับให้กระต่ายทำรังหรือกระโดดไปรอบๆ และควรมีที่ว่างพอสำหรับกล่องใส่น้ำ อาหาร และกระบะขับถ่ายด้วย
    • คุณอาจหาคอกเพิ่มเติมเพื่อเป็นบริเวณให้กระต่ายออกกำลังกายด้วย พวกเขาจะได้มีพื้นที่พอสำหรับกระโดดไปรอบๆ
    • กระต่ายที่ตัวใหญ่ก็จำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัยที่กว้างกว่า กระต่ายจำเป็นต้องมีที่มากพอสำหรับล้มตัวลงนอนและเคลื่อนตัวไปรอบๆ อย่างมีอิสระ คุณควรแน่ใจว่าคุณจะสามารถหากรงที่กว้างพอได้ พวกกระต่ายจะได้มีที่เล่นอย่างสนุกสนาน
  2. ให้มองหากรงที่มีลักษณะเป็นพื้นแข็งด้านล่าง และรอบข้างก็เป็นซี่กรงซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับให้กระต่ายอยู่อาศัย ให้คิดว่ากรงก็เปรียบเสมือน “ห้องพักผ่อน” สำหรับให้กระต่ายใช้นอนหลับและเป็นแหล่งน้ำรวมถึงอาหารสำหรับพวกเขา แผนสำหรับการเลี้ยงก็คือให้พวกกระต่ายใช้เวลานอกกรงประมาณ 8-12 ชั่วโมงโดยให้พวกเขาได้เดินเล่นในคอกสำหรับออกกำลังกายหรือในห้องปิดสำหรับให้กระต่ายสำรวจอย่างปลอดภัย [2]
    • หากคุณได้จัดหากรงซึ่งมีลักษณะเป็นซี่กรงตรงพื้นด้านล่าง ให้หาแผ่นไม้แข็งๆ มาปูไว้ตรงพื้นกรง เพราะซี่กรงด้านล่างอาจทำให้เท้ากระต่ายบาดเจ็บได้
    • บ้านสำหรับเลี้ยงกระต่ายนอกบ้านควรจะมีความแข็งแรงพอที่จะปกป้องกระต่ายจากสภาพอากาศและสัตว์นักล่าได้ [3] คุณสามารถต่อบ้านกระต่ายเองหรือหาซื้อก็ได้ แต่คุณจะต้องแน่ใจว่าบ้านนั้นจะต้องสามารถให้กระต่ายใช้หลบซ่อนจากอันตรายและสัตว์ที่จะมาล่าได้
    • ห้ามเลี้ยงกระต่ายโดยให้เขาอยู่เพียงลำพังในกรงนอกบ้าน กระต่ายนั้นเป็นสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นให้หาเพื่อนให้กระต่ายโดยต้องเลี้ยงทั้งสองตัวคู่กันตั้งแต่ยังเล็ก อย่าลืมพาทั้งสองตัวไปทำหมันด้วย
  3. ปูพื้นกรงด้วยหญ้าแห้งหรือขี้กบ โดยเฉพาะขี้กบที่ได้จากการไสต้นสน. นอกจากนี้ยังมีที่รองพื้นแบบพิเศษซึ่งทำมาจากเยื่อกระดาษไม้ด้วย วัสดุดังกล่าวสามารถนำไปปูพื้นกรงได้เป็นอย่างดี [4] กระต่ายชอบทำรังที่อยู่สบาย ดังนั้นให้ปูพื้นกรงด้วยวัสดุธรรมชาติที่นุ่ม เพื่อให้พวกเขาอยู่ได้อย่างผาสุก
    • หญ้าแห้งนั้นนอกจากจะเป็นวัสดุสำหรับใช้ทำที่นอนให้พวกกระต่ายแล้ว ยังถือเป็นอาหารสำคัญสำหรับพวกเขาอีกด้วย ดังนั้น คุณควรเลือกหญ้าแห้งให้ถูกชนิดสำหรับกระต่ายของคุณ หญ้าแห้งทิโมธีหรือ grass hay ถือเป็นหญ้าแห้งที่เหมาะสมสำหรับการใช้เลี้ยงกระต่าย ให้หลีกเลี่ยงการให้หญ้าแห้งอัลฟาฟ่าเนื่องจากหญ้าแห้งชนิดดังกล่าวมีแคลอรี แคลเซียม และโปรตีนที่สูงเกินไปซึ่งไม่เหมาะสำหรับการใช้เป็นอาหารระยะยาวสำหรับกระต่ายตัวเต็มวัย [5]
  4. คุณควรจะให้กระต่ายออกจากกรงและกระโดดไปมาบ้าง ดังนั้นให้วางกรงกระต่ายไว้ในห้องที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาและเป็นห้องที่คุณยินยอมให้พวกมันใช้ร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น เป็นห้องที่ปราศจากสายไฟฟ้า ไม่มีวัตถุเล็กๆ หรือเฟอร์นิเจอร์แพงๆ ตั้งอยู่ และไม่ควรมีสารเคมีหรือพืชที่เป็นอันตรายต่อกระต่ายอยู่ในห้อง [6]
    • กระต่ายชอบแทะสายไฟเล่น แต่คุณสามารถหายางป้องกันสายไฟจากร้านขายอุปกรณ์ช่างมาใช้ได้เพื่อป้องกันมิให้กระต่ายมาแทะ
    • ให้นำรั้วสำหรับกั้นเด็กทารกหรือคอกสำหรับใช้เลี้ยงสุนัขมาวางไว้เพื่อมิให้กระต่ายเข้าไปถึงทุกที่ในบ้านได้ พวกเขารวมไปถึงเครื่องเรือนของคุณจะได้ปลอดภัย
  5. กระต่ายมักจะใช้พื้นที่เดิมๆ สำหรับเป็น “ห้องน้ำ” โดยมากจะใช้มุมหนึ่งของกรง ดังนั้นให้นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาปูไว้ที่พื้นของกระบะขับถ่าย(สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายสัตว์เลี้ยง) แล้วก็ให้นำหญ้าแห้งหรือฟางสำหรับกระต่ายโดยเฉพาะมาปูทับ แล้วนำไปวางไว้ตรงมุมที่กระต่ายมักไปขับถ่าย
    • คุณอาจนำกระบะอีกใบไปวางไว้ในพื้นที่สำหรับให้กระต่ายวิ่งเล่น
  6. เตรียมสถานที่สำหรับให้กระต่ายซ่อนตัวไว้ในกรงด้วย. กระต่ายถือเป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตโดยการขุดรูฝังตัวเพื่อป้องกันมิให้เป็นเหยื่อสัตว์ร้าย ดังนั้นให้หาที่สำหรับให้กระต่ายซ่อนตัวไว้ในกรงด้วย เช่นคุณอาจจะนำขอนไม้หรือกล่องกระดาษไปไว้ในกรง ซึ่งทำให้กระต่ายอยู่ได้อย่างสบายใจ คุณอาจจะเตรียมที่ซ่อนสักหนึ่งหรือสองที่ต่อกระต่ายหนึ่งตัว ขึ้นอยู่กับความกว้างของกรงที่คุณมี แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับให้กระต่ายได้ใช้ขดตัวรวมกลุ่มกัน
  7. พวกเขาจะได้ใช้มันเป็นที่เล่น หลบซ่อนตัว และยังได้เคี้ยวกล่องอีกด้วย [7] กระต่ายชื่นชอบการแทะ ซึ่งช่วยให้พวกเขามีสุขภาพฟันที่แข็งแรง ถ้าคุณไม่หาขนมให้กระต่ายแทะล่ะก็ พวกเขาอาจจะแทะเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของอื่นๆ ที่วางอยู่ในบริเวณนั้นแทน. [8]
    • คุณควรแน่ใจว่าว่ากระต่ายจะมีอะไรที่ปลอดภัยให้แทะเล่นอยู่ตลอด จะทำให้ฟันของพวกเขากร่อนลงและป้องกันอาการบาดเจ็บได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ให้อาหาร น้ำ และของว่างแก่กระต่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หญ้าแห้งถือได้ว่าเป็นอาหารหลักของกระต่ายและพวกเขาจะต้องมีหญ้าแห้งกินตลอดเวลา หญ้าแห้งทิโมธี โอ๊ตเฮย์ และ โบรม ถือเป็นหญ้าแห้งที่ดีสำหรับการนำมาเป็นอาหารให้กระต่าย ให้หญ้าแห้งเป็นอาหารประจำแก่กระต่ายทุกวัน โดยวางไว้ในพื้นที่สะอาดของกรง
    • สำหรับกระต่ายในวัยกำลังโต (อายุไม่เกินเจ็ดเดือน) กระต่ายที่เริ่มตั้งท้องหรือให้นมลูก ให้ป้อนพวกเขาด้วยหญ้าแห้งอัลฟาฟ่าและอาหารเม็ดเพื่อเสริมแคลอรี ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับกระต่ายในช่วงวัยนี้ [9]
    • คุณสามารถหาซื้อหญ้าแห้งสำเร็จรูปได้ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงหรือร้านขายอาหารสัตว์ หรือคุณจะปลูกหญ้าไว้สำหรับเลี้ยงกระต่ายด้วยตนเองสักถาดก็ได้
  2. ให้อาหารเม็ดซึ่งทำจากหญ้าแห้งทิโมธีหรืออัลฟาฟ่าแก่กระต่ายสักถาด. อาหารเม็ดเหล่านี้จะประกอบไปด้วยโปรตีนและไฟเบอร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับกระต่ายที่กำลังเจริญเติบโต กระต่ายตัวเต็มวัยควรได้รับอาหารเหล่านี้ในปริมาณ ⅛ ถ้วยต่อน้ำหนักกายห้าปอนด์ [10]
    • กระต่ายเป็นสัตว์กินพืชและแม้แต่ผักหรือหญ้าแห้งก็ทำให้พวกเขาน้ำหนักขึ้นได้ อาหารเม็ดนั้นให้พลังงานที่เข้มข้นกว่าและควรป้อนให้กระต่ายอย่างระมัดระวัง
    • อย่าลืมว่าคุณไม่สามารถให้กระต่ายกินแต่อาหารเม็ดแต่เพียงอย่างเดียวได้ ระบบย่อยอาหารของกระต่ายควรได้รับไฟเบอร์ยาวซึ่งพบได้ในหญ้าแห้งแบบทิโมธีหรือหญ้าเฮย์ คุณควรป้อนหญ้าแห้งเหล่านี้ให้แก่กระต่ายเพื่อป้องกันก้อนขนในกระเพาะอาหาร (Trichobezoars) และช่วยให้พวกเขามีระบบทางเดินอาหารที่แข็งแรง นอกจากนี้การที่กระต่ายได้แทะไฟเบอร์ยาวนั้นจะช่วยกร่อนฟันที่กำลังโต (hypsodont) และช่วยป้องกันปัญหาด้านสุขภาพฟันให้แก่พวกเขาได้อีกด้วย [11]
    • กระต่ายวัยแรกเกิดนั้นสามารถกินอาหารเม็ดอัลฟาฟ่าได้มากตามที่ต้องการจนกว่าจะมีอายุ 6-7 เดือน
  3. เป็นที่รู้กันว่ากรต่ายนั้นชอบกินแครอท แต่คุณควรป้อนแครอทแก่พวกเขาเป็นครั้งคราวเท่านั้น เพราะแครอทมีน้ำตาลสูงมาก [12] เวลาป้อนผักแก่กระต่าย ให้ล้างผักให้สะอาดหมดจด และถ้าเป็นไปได้ให้ป้อนแต่ผักออร์แกนิก
    • ให้ป้อนกระต่ายด้วยผักใบเขียว เช่น ผักขม รวมไปถึงผักคะน้าและผักกาดเขียว ผักอื่นๆ ที่ดีต่อกระต่ายได้แก่ ผักเคล ผักกวางตุ้ง ผักชี วอเตอร์เครส ผักคึ่นช่ายและใบแดนดิไลออน [13]
    • ผักสองถ้วยต่อวัน ถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมสำหรับกระต่ายตัวเต็มวัย
    • ค่อยๆ ป้อนผักให้แก่กระต่ายทีละน้อยเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร สำหรับกระต่ายที่มีอายุ12สัปดาห์หรือแก่กว่านั้น ให้ป้อนผักหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ทีละครึ่งออนซ์เพื่อมิให้ส่งผลเสียต่อลำไส้ใหญ่ [14]
    • คุณสามารถป้อนผลไม้ เช่น แอปเปิล บลูเบอร์รี่ สตรอเบอรี่ หรือกล้วยให้แก่กระต่ายเพื่อเป็นอาหารพิเศษได้ แต่อย่าป้อนให้บ่อยนัก เพราะผลไม้มีน้ำตาลสูง ควรป้อนผลไม้ให้กระต่ายในปริมาณ 1-2 ออนซ์ต่อน้ำหนักตัว 6 ปอนด์ . [15]
  4. หลีกเลี่ยงการป้อนอาหารที่ไม่ดีสำหรับกระต่าย. ผักบางชนิดก็ไม่ควรให้กระต่ายกิน ผักดังกล่าวได้แก่ ข้าวโพด ผักกาดแก้ว มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ถั่ว ถั่วเขียว มันฝรั่ง บีท หัวหอมและผัก Rhubarb นอกจากนี้คุณควรหลีกเลี่ยงการป้อนหน่อไม้ เมล็ดพืช ธัญพืช หรือเนื้อทุกชนิดแก่กระต่าย
    • คุณไม่ควรให้อาหารสำหรับมนุษย์แก่กระต่าย เช่น ขนมปัง ช็อคโกแลต ลูกกวาด หรืออาหารที่ผ่านการปรุงแล้ว. [16]
    • คุณไม่ควรให้ผักกาดแก้วแก่กระต่าย เพราะอาจทำให้กระต่ายเสียชีวิตจากอาการท้องร่วงและการทำงานที่ผิดปกติของระบบย่อยอาหารจากแบคทีเรียดีในลำไส้ได้ ผักกาดโรเมนถือว่าเหมาะกับการให้กระต่ายเป็นอาหาร แต่ถ้าเป็นไปได้ ให้ป้อนผักที่เป็นออร์แกนิค และควรล้างให้สะอาดก่อนป้อนแก่กระต่าย
    • ห้ามป้อนหญ้าสดที่ตัดจากต้นแก่กระต่าย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ คุณอาจให้กระต่ายกินหญ้าที่ไม่ได้ถูกพ่นด้วยยากำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าแมลง และปล่อยให้พวกเขาเลือกหญ้าที่จะกินเองบนสนามหญ้าหน้าบ้านได้ แต่ห้ามป้อนหญ้าที่ผ่านการตัดและผ่านความร้อนจากเครื่องตัดหญ้าโดยเด็ดขาด เพราะการตัดหญ้าจะไปเร่งกระบวนการหมักและอาจทำให้กระต่ายมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารได้หากรับประทานเข้าไป [17]
  5. คุณจะต้องมีน้ำให้กระต่ายดื่มตลอดและจะต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน คุณสามารถเทน้ำใส่ถ้วยหรือใช้ขวดน้ำแบบที่ใช้ในการเลี้ยงแฮมสเตอร์ก็ได้ แต่ใช้ขนาดสำหรับกระต่ายนะ เพราะการให้กระต่ายดื่มน้ำจากถ้วยนั้นจะทำให้น้ำหกง่าย คุณควรหมั่นตรวจสอบไม่ให้น้ำหมดและควรเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันมิให้น้ำสกปรก
    • หากคุณใช้ขวดน้ำ ตรวจดูให้แน่ใจว่ามันทำงานได้ตามปกติ และหลอดดูดไม่ค้างที่เปิดหรือปิด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ให้กระต่ายได้มีเวลาออกกำลังกายและเล่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความคุ้นเคยกับกระต่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไป. เมื่อคุณได้กระต่ายมา ให้ปล่อยเขาไว้ในกรงหรือบ้านกระต่ายสักพักเพื่อให้เขาเคยชินกับบ้านใหม่ อย่าเข้าหาและเริ่มเล่นกับเขาโดยทันที เพราะเขายังตั้งตัวไม่ได้และยังไม่เชื่อใจคุณมากพอ
    • เข้าหากระต่ายอย่างสงบและค่อยเป็นค่อยไป กระต่ายจะได้ไม่กลัวคุณ กระต่ายนั้นตื่นกลัวง่าย และมองเห็นไม่ชัดนัก ดังนั้นคุณควรพูดกับเขาก่อนเข้าไปหา
  2. ให้กระต่ายได้ใช้เวลาอยู่ข้างนอกกรงหลายๆ ชั่วโมง (6-8 ชั่วโมงถ้าเป็นไปได้) ต่อวัน. กระต่ายชอบกระโดดและวิ่งไปรอบๆ และเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง พวกเขาควรมีโอกาสวิ่งเล่นหลายชั่วโมงทุกวัน คุณอาจจะเล่นกับพวกเขา หรือปล่อยให้พวกเขาเล่นอย่างสนุกสนานด้วยตนเองก็ได้ (แต่อย่าลืมจับตาดูเขา) และอย่าลืมหลักสำคัญในการดูแลกระต่ายนะ
    • คุณควรวางรั้วไว้หรือให้กระต่ายอยู่ในคอกที่ฝังอยู่ในดินอย่างน้อย 1 ฟุต (0.3 เมตร) และโผล่เหนือพื้น 3 ฟุต (0.9 เมตร) หรือในระดับที่กระต่ายจะไม่สามารถกระโดดพ้นหรือพังรั้วออกไปได้ [18]
    • ถ้าคุณอยากให้กระต่ายเล่นนอกตัวบ้าน คุณควรให้กระต่ายเล่นอยู่ในพื้นที่ที่มีรั้วปิด และอย่าให้เขาเล่นโดยไม่มีใครดูแล
    • อย่าให้สุนัข แมว หรือนกนักล่าอยู่ใกล้กระต่าย
  3. พวกเขาชอบแทะกล่องกระดาษแข็งและสมุดโทรศัพท์เก่าๆ คุณสามารถเล่นกับกระต่ายได้โดยการโยนลูกบอลเล็กๆ หรือของเล่นยัดนุ่น
  4. กระต่ายมีร่างกายที่บอบบางและคุณควรอุ้มเขาด้วยความระมัดระวัง ให้สอดมือไว้ใต้บริเวณด้านหน้าและหลังของพวกเขาแล้วอุ้มมาไว้ใกล้ๆ ตัว ห้ามยกกระต่ายโดยการดึงหูขึ้นเด็ดขาด. [19] [20]
    • กระต่ายส่วนมากชอบให้ลูบหัว [21]
    • อย่าอุ้มกระต่ายอย่างลวกๆ หรือลูบตัวพวกเขาเมื่อคุณเห็นว่าพวกเขาไม่พอใจ กระต่ายจะเครียดง่ายมากเมื่อพวกเขารู้สึกไม่สบายตัว [22]
  5. กระต่ายเป็นสัตว์สังคม และพวกเขาก็ชอบเล่นกับกระต่ายด้วยกันมาก การเลี้ยงดูกระต่ายสองตัวไม่ยากไปกว่าเลี้ยงตัวเดียวมากนัก ดังนั้นคุณอาจลงทุนนำกระต่ายมาเลี้ยงอีกตัวเพื่อความสุขใจของกระต่ายทั้งสอง
    • คุณควรนำกระต่ายไปทำหมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเลี้ยงพวกเขาไว้ในบ้านหรือกรงเดียวกัน
    • คุณควรเลือกกระต่ายที่เข้ากันได้ดีกับตัวที่คุณมีอยู่ก่อนแล้ว [23]
    • หากคุณคิดจะหากระต่ายเพิ่มมากกว่าหนึ่งตัว ให้หาซื้อพี่น้องคอกเดียวกันไปเลย พวกเขาจะได้มีอายุและขนาดใกล้เคียงกัน และอย่าลืมพากระต่ายไปทำหมัน จะได้ไม่ต้องมีลูกกระต่ายที่คุณไม่พึงประสงค์และจะได้ไม่มีปัญหาพฤติกรรมของกระต่ายที่เกิดจากฮอร์โมน
  6. ให้กระต่ายที่เข้ามาอยู่ใหม่ทำความคุ้นเคยกับบ้านอย่างค่อยเป็นค่อยไป. คุณจะต้องค่อยๆ พากระต่ายเข้าหาครอบครัวใหม่ของเขาอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้พวกเขาทะเลาะหรือต่อสู้กัน เพราะกระต่ายอาจแย่งชิงอาณาเขตกันได้ คู่กระต่ายเพศผู้กับเพศเมีย หรือกระต่ายที่เป็นเพศเมียทั้งคู่จะเข้ากันได้ดีกว่ากระต่ายเพศผู้ทั้งคู่ เว้นเสียแต่ว่าทั้งคู่จะเป็นกระต่ายวัยแรกเกิดเหมือนกัน
    • นำกระต่ายทั้งสองไปไว้ในกรงที่แยกจากกัน ตัวละกรง แล้วนำกรงไปตั้งไว้ในพื้นที่ที่เป็นกลางสักสองสามวันแล้วสังเกตพฤติกรรม หากพวกเขากระทืบเท้าและดูกระวนกระวาย ให้แยกกรงให้ห่างกันยิ่งขึ้นไปอีก หรือนำกรงไปวางไว้คนละห้องกันเลยสักสองถึงสามวันแล้วค่อยนำพวกเขากลับเข้ามาในระยะสายตา ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะให้พวกเขาได้ทำความรู้จักกัน เมื่อนำพวกเขาเข้าหากัน ให้เตรียมผักอร่อยๆ ไว้เพื่อล่อความสนใจของกระต่ายและเป็นการเพิ่มความรู้สึกดีๆ ให้กระต่ายเมื่อพวกเขาอยู่ร่วมกันอีกด้วย
    • ค่อยๆ ลดระยะระหว่างกรงจนกว่าพวกเขาจะอยู่ข้างกันเลย แต่ยังคงเป็นระยะที่พวกเขาปลอดภัยจากการโจมตีกันนะ ตราบใดที่พวกเขายังคงอยู่ในกรงข้างๆ กันได้อย่างสันติ ให้วางกรงไว้ในตำแหน่งนี้ต่อไปอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์
    • หลังจากนั้น คุณสามารถนำพวกเขาไปไว้ในคอกออกกำลังกายเดียวกันได้โดยอาจมีแนวกั้นไว้ และหากพวกเขาทั้งสองตัวไม่ทำอะไรกัน อนุญาตให้กระต่ายทั้งสองเจอกันโดยไม่มีแนวกั้นได้ แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณในช่วงเวลาสั้นๆ ให้นำผักอร่อยๆ ไปไว้ในคอกด้วย สักสองถึงสามกอง เป็นแรงกระตุ้นให้พวกเขาเป็นมิตรกันยิ่งขึ้น [24] เมื่อกระต่ายสามารถนอนเหยียดตัวข้างกันได้อย่างสบายใจหรือเสริมสวยให้กันได้ แสดงว่าพวกเขากำลังมีชีวิตกระต่ายที่มีความสุขอยู่ล่ะ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รักษาสุขภาพของกระต่ายให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระต่ายควรอยู่ภายใต้การดูแลในขณะที่คุณทำความสะอาด เทฟางหรือขี้กบสกปรกออกจากกรงให้หมด แล้วล้างกรงด้วยน้ำสบู่ร้อนๆ ล้างสบู่ออกให้หมดแล้วปล่อยให้แห้ง หลังจาดนั้นจึงนำฟางหรือขี้กบสะอาดๆ ใส่กลับเข้าไป
    • คุณควรล้างชามหรือกระบอกใส่น้ำทุกวัน
    • คุณควรเปลี่ยนกระบะขับถ่ายทุกวัน และทำการฆ่าเชื้อทุกสัปดาห์โดยใช้น้ำส้มสายชูกลั่นขาว 10% ผสมกับน้ำยาฟอกขาว 10% หลังจากนั้นก็ล้างน้ำยาออกให้หมดแล้วปล่อยให้แห้ง หากกระบะขับถ่ายทำจากพลาสติกหรือเหล็ก คุณจะนำไปล้างในเครื่องล้างจานก็ได้
    • เตรียมกระบะขับถ่ายไว้มากกว่าหนึ่งอัน คุณจะได้เอาอันที่สะอาดไปใส่ในกรงในขณะที่อีกอันยังสกปรกหรือกำลังถูกทำความสะอาดอยู่
    • ปัสสาวะของกระต่ายมีความเป็นด่างอยู่มาก และอาจก่อตัวเป็นผลึกอยู่ตามพื้นผิวของกระบะขับถ่าย ดังนั้น คุณควรใช้กระบวนการขจัดตะกรันในการทำความสะอาด [25]
  2. อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับกระต่ายคือ 61-72 องศาฟาเรนไฮต์ (16-22 องศาเซลเซียส) [26] หากกระต่ายอยู่นอกบ้าน ให้จัดหาร่มเงาให้เขาเยอะๆ และหากอากาศร้อนมากๆ ให้พาเขาเข้ามาข้างในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือหาน้ำเย็นๆ ไปใส่ไว้ในบ้านกระต่ายเพื่อให้กระต่ายรู้สึกเย็นสบาย กระต่ายอาจเสียชีวิตจากลมแดดได้
    • หูกระต่ายเป็นแหล่งสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิทั้งหมดของร่างกาย
    • หากเป็นกระต่ายป่า พวกเขาจะขุดหลุมไปอยู่ในที่ๆ เย็นๆ เพื่อหลบร้อน
  3. คุณไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้พวกเขา แต่คุณสามารถใช้แปรงขนนุ่มเพื่อกำจัดขนอย่างระมัดระวังทุกๆ หนึ่งหรือสองวันได้ หากคุณเลี้ยงกระต่ายไว้สองตัว คุณอาจให้พวกเขาทำความสะอาดให้กันเอง
    • คุณสามารถหาซื้อแชมพูสำหรับกระต่ายมาอาบน้ำให้เขาได้หากกระต่ายของคุณสกปรกจริงๆ ปกติแล้วกระต่ายไม่จำเป็นต้องอาบน้ำยกเว้นในกรณีที่พวกเขาสกปรกมากๆ จนไม่สามารถทำความสะอาดให้ตนเองได้ตามปกติ
    • สอบถามเรื่องความถี่ในการอาบน้ำให้กระต่ายกับสัตวแพทย์ แต่โดยปกติแล้ว อาบแค่เดือนละหนึ่งถึงสองครั้งก็เกินพอ
  4. กระต่ายต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรง สัตวแพทย์ที่รักษาสุนัขหรือแมวได้อาจไม่สามารถรักษากระต่ายได้ ดังนั้น คุณอาจต้องหาสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาสัตว์เลี้ยงพิเศษ
    • สัตวแพทย์อาจแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนแตกต่างกันไปตามพื้นที่ที่คุณอาศัยอยู่ เช่น หากคุณอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร กระต่ายคุณอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน Myxomatosis ซึ่งเป็นวัคซีนที่ไม่จำเป็นต้องฉีดมากนักหากคุณอยู่ที่สหรัฐอเมริกา [27] [28]
    • สัตวแพทย์จะทำการตรวจแล้วพูดคุยให้คำแนะนำกับคุณตามแต่สุขภาพของกระต่ายในขณะนั้น การตรวจฟันของกระต่ายนั้นอาจจำเป็นต้องใช้ยาสลบเพื่อให้สามารถตรวจฟันอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ และเพื่อตรวจสอบความแหลมคมของฟันหลัง (ฟันกรามน้อยและฟันกราม) [29]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณสามารถหาซื้อสายจูงให้กระต่ายเพื่อพามันไปเดินเล่นได้
  • หนังสือดีๆ ที่คุณสามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่ายมีดังนี้ House Rabbit Handbook: How to Live with an Urban Rabbit เขียนโดย Marinell Harriman, The Rabbit Handbook, 2nd edition เขียนโดย Karen Parker D.V.M., และ The Everything Pet Rabbit Handbook: Your Ultimate Guide to Pet Rabbit Ownership, Training, and Care โดย Sarah Martin
  • เลี้ยงกระต่ายด้วยความอ่อนโยน นุ่มนวล และสงบเสมอ การตะคอกหรือลงโทษกระต่ายไม่ได้ช่วยในการเลี้ยงดูพวกเขา ให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมดีๆ แก่กระต่ายของคุณแทน. [30]
  • กระต่ายควรได้รับการตัดเล็บทุกๆ หนึ่งหรือสองเดือน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เขาทำและสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่
  • เพื่อความปลอดภัยของกระต่าย ให้นำสุนัขหรือแมวที่บ้านออกห่างจากกระต่ายและบริเวณที่ใช้เลี้ยงพวกเขา
  • หากคุณกำลังจะซื้อหรือหากระต่ายมาเลี้ยง คุณควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเขามีสุขภาพแข็งแรง ตรวจดูหู ตา และจมูก ซึ่งบริเวณเหล่านี้ควรสะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล ฟันหน้าควรจะเสมอกันและขนต้องสะอาดเรียบร้อย บริเวณใต้อุ้งเท้าควรปราศจากบาดแผลและผิวหนังควรไม่มีบริเวณสีแดง ให้อุ้มกระต่ายที่คุณกำลังจะเลี้ยงขึ้นมาและลองลูบเขาดูเพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถอุ้มเขาได้โดยปลอดภัย
  • หากคุณจะตั้งชื่อให้กระต่าย ฝึกพวกเขาให้จำชื่อตัวเองได้ด้วยนะ
โฆษณา

คำเตือน

  • กระต่ายสามารถกัดหรือข่วนได้ หากคุณโดนกระต่ายกัดจนเข้าเนื้อ ให้คุณไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ
  • กระต่ายเองก็มีลักษณะนิสัยที่หลากหลาย บางตัวก็กระตือรือร้นชอบกระโดด บางตัวก็ขี้เกียจและบางตัวก็มีนิสัยอยู่ตรงกลางระหว่างสองแบบ อย่าบังคับให้กระต่ายเล่นถ้าเขาไม่อยากทำ
  • อย่าใช้ยากำจัดเห็บกับกระต่าย ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ว่าควรทำอย่างไรหากพบเห็บบนตัวกระต่าย
  • คุณควรตรวจให้แน่ใจว่าบริเวณที่กระต่ายเล่นนอกตัวบ้านนั้นจะมีรั้วปิดมิดชิด เพราะกระต่ายสามารถบีบตัวเองผ่านช่องว่างเล็กๆ ได้และหากพวกเขาหลุดออกไปได้ก็จะจับกลับมายากมากๆ คุณควรตรวจให้แน่ใจว่าจะไม่มีช่องให้สัตว์นักล่า เช่น สุนัขและแมว สามารถหลุดเข้ามาได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กรงใหญ่ๆ ที่มีพื้นแข็ง
  • ขี้กบ
  • หนังสือพิมพ์
  • หญ้าแห้งทิโมธีหรืออัลฟาฟ่า
  • ผักใบเขียวสดๆ
  • อาหารเม็ด
  • ของเล่นสำหรับให้กระต่ายแทะ
  • กรงสำหรับขนย้ายกระต่าย
  • กระบะขับถ่าย
  • กระบอกน้ำ
  • ของว่างสำหรับเป็นรางวัลให้กระต่าย
  • แปรงสำหรับแปรงขนกระต่ายหรือแปรงสำหรับแมวอันเล็กๆ
  1. http://www.aspca.org/pet-care/small-pet-care/general-rabbit-care
  2. http://www.hopperhome.com/hay_there!.htm
  3. http://www.petfinder.com/pet-care/rabbit-care/care-domestic-rabbits/
  4. http://www.hopperhome.com/vegetables.htm
  5. http://rabbit.org/faq-diet/
  6. http://rabbit.org/faq-diet/
  7. http://www.petfinder.com/pet-care/rabbit-care/care-domestic-rabbits/
  8. http://www.therabbithouse.com/blog/2009/05/22/rabbits-eat-grass/
  9. http://www.veterinarypartner.com/Content.plx?P=A&S=0&C=0&A=3015
  10. http://rabbit.org/an-uplifting-experience/
  11. http://www.petfinder.com/pet-care/rabbit-care/care-domestic-rabbits/
  12. Sharon L. Crowell-Davis, Behavior Problems in Pet Rabbits, Journal of Exotic Pet Medicine, Volume 16, Issue 1, January 2007, Pages 38-44, ISSN 1557-5063
  13. Sharon L. Crowell-Davis, Behavior Problems in Pet Rabbits, Journal of Exotic Pet Medicine, Volume 16, Issue 1, January 2007, Pages 38-44, ISSN 1557-5063
  14. http://www.petfinder.com/pet-care/rabbit-care/care-domestic-rabbits/
  15. http://www.rabbitmatters.com/introducing-rabbits.html
  16. http://www.merckmanuals.com/vet/exotic_and_laboratory_animals/rabbits/housing_of_rabbits.html
  17. http://www.merckmanuals.com/vet/exotic_and_laboratory_animals/rabbits/housing_of_rabbits.html
  18. http://www.rabbit.org/health/myxomatosis.html
  19. http://www.merckmanuals.com/vet/exotic_and_laboratory_animals/rabbits/viral_diseases_of_rabbits.html
  20. http://www.petfinder.com/pet-care/rabbit-care/care-domestic-rabbits
  21. Sharon L. Crowell-Davis, Behavior Problems in Pet Rabbits, Journal of Exotic Pet Medicine, Volume 16, Issue 1, January 2007, Pages 38-44, ISSN 1557-5063

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 49,479 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา