ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาวะข้อต่อหลุด มักพบได้มากโดยเฉพาะข้อไหล่ ซึ่งเป็นการบาดเจ็บที่เจ็บปวดและใช้การไม่ได้ชั่วคราว- โดยจะขยับในทิศทางที่จำเป็นไม่ได้เลยจนกว่าจะสวมกลับเข้าไปเหมือนเดิม ข้อไหล่นี้เป็นข้อต่อที่หลวมหลุดได้ง่ายเพราะเป็นข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้มากที่สุดในร่างกาย และผู้คนมักจะชินกับการที่เมื่อหกล้มแล้วจะเหยียดแขนออกมาเพื่อค้ำยัน ซึ่งทำให้ข้อไหล่อยู่ในท่าทางที่ผิดแปลกไป [1] วิธีที่ดีที่สุดในการนำไหล่กลับเข้าเบ้าให้เหมือนเดิมนั้นจะต้องฝึกจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แต่ในบางครั้งอาจเกิดเหตุการไม่คาดฝัน (เหตุการณ์ฉุกเฉิน) ที่จำเป็นจะต้องทำเอง แต่หากไหล่หลุดโดยเอากลับเข้าไปไม่ได้ตั้งแต่แรก อาจจำเป็นจะต้องผ่าตัดเพื่อนำกลับเข้าเบ้าเพื่อให้ใช้การได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

จัดการกับไหล่ที่หลุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ข้อไหล่หลุดมักเกิดจากการหกล้มในท่าแขนเหยียดแล้วหัวไหล่เหยียดไปด้านหลัง การบาดเจ็บนี้ทำให้ปวดขึ้นมาอย่างกะทันหันและรุนแรง โดยจะรู้สึกหรือได้ยินเสียงกรึบขึ้นมา จะมองเห็นว่าไหล่ผิดรูปไปจากตำแหน่งปกติ รวมถึงบวมและช้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็ว [2] โดยเราจะขยับแขนไม่ได้เลยจนกว่าจะใส่กลับเข้าไปได้
    • ไหล่ข้างที่หลุดจะห้อยต่ำลงกว่าข้างที่ไม่หลุด และอาจสังเกตเห็นร่องด้านนอกของต้นเขน (บริเวณกล้ามเนื้อ deltoid) ของหัวไหล่
    • ไหล่หลุดอาจทำให้รู้สึกชา ยิบๆ และ/หรืออ่อนแรงลงมาตามแขนหรือลงมาถึงมือ อาจเส้นเลือดมีการถูกทำลาย บริเวณแขนท่อนล่างและมือข้างที่ไหล่หลุดจะรู้สึกเย็นหรือมีสีคล้ำขึ้นมา
    • ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของการไหล่หลุดครั้งแรกมักมีภาวะแขนท่อนบน (กระดูกต้นแขน) หรือเบ้าของข้อไหล่หักร่วมด้วย [3]
  2. ขณะที่รอรับการรักษา สิ่งสำคัญคือห้ามขยับ (หรือพยายามลองขยับ) ไหล่ที่หลุดเพราะจะทำให้บาดเจ็บเพิ่มทั้งกระดูกหัก เส้นประสาทบาดเจ็บ หรือเส้นเลือดเกิดการฉีกขาด ฉะนั้นการขยับจะทำให้ยิ่งเกิดผลเสียที่รุนแรง แต่สิ่งที่ควรทำคือ งอข้อศอกไว้แล้วเอาผ้าคล้องท่อนแขนด้านล่างไว้ในแนวหน้าท้องแล้วห้อยไว้ในท่านั้นด้วยสายคล้องพาดบ่าฝั่งตรงข้าม [4]
    • หากไม่มีสายห้อยสำเร็จรูป ให้ทำขึ้นเองโดยใช้ปลอกหมอนหรือผ้าอื่นๆ แล้วคล้องด้านใต้ข้อศอก/แขนท่อนล่างแล้วผูกปลอยผ้าไว้รอบคอ การคล้องไว้เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวจะช่วยป้องกันไม่ให้ไหล่ที่หลุดบาดเจ็บเพิ่มขึ้นและมักจะช่วยให้อาการปวดลดลงเรื่อยๆ
    • ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ของไหล่หลุดนั้นมักจะหลุดมาทางด้านหน้า ซึ่งหมายความว่ากระดูกแขนท่อนบน (humerus) จะยื่นออกจากเบ้ามาทางด้านหน้า [5]
  3. ใช้น้ำแข็งหรืออะไรก็ได้ที่เย็นมาวางบนไหล่ที่หลุดให้เร็วที่สุดเพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการอักเสบ ซึ่งทำให้ลดปวดได้ด้วย [6] น้ำแข็งจะทำให้หลอดเลือดฝอยหดตัว (แคบลง) ซึ่งจะลดปริมาณเลือดและการอักเสบที่จะมาคั่งค้างรอบบริเวณที่บาดเจ็บ โดยใช้น้ำแข็งป่นประคบไปที่ไหล่ประมาณ 15-20 นาที (หรือจนกระทั่งบริเวณที่ปวดนั้นชา) ทุกๆ 1 ชั่วโมงโดยประมาณ
    • ห่อน้ำแข็งด้วยผ้าบางๆ ผ้าเช็ดตัว หรือถุงพลาสติกก่อนนำมาวางที่ผิวหนัง- จะช่วยป้องกันน้ำแข็งกัดหรือระคายเคืองผิว
    • หากไม่มีน้ำแข็งป่นหรือน้ำแข็งก้อน ให้ใช้อาหารแช่แข็งจากช่องแช่แข็งหรือแผ่นเย็นแช่แข็ง
  4. เมื่อจัดการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่และประคบเย็นเรียบร้อยแล้ว อาจรับประทานยาแก้ปวดตามเข้าไปเพื่อป้องกันการปวดและอักเสบ อาการปวดจากข้อไหล่หลุดนั้นมักทำให้ปวดจนทนไม่ได้เนื่องจากเอ็นรอบข้อไหล่ทั้งหมดถูกยืดหรือขาด เอ็นกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อก็เช่นกัน รวมถึงในกรณีที่มีกระดูกหักหรือกระดูกอ่อนฉีกขาด ยา Ibuprofen (Advil, Motrin) และ naproxen (Aleve, Naprosyn) คือตัวเลือกที่ดีเพราะว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี หรือจะเป็นพาราเซตามอลก็สามารถช่วยลดปวดได้เช่นเดียวกัน [7]
    • สำหรับภาวะไหล่หลุดนี้ที่มีเลือดออกภายใน (สังเกตจากผิวที่ช้ำ) ให้หลีกเลี่ยง ibuprofen และ naproxen เพราะมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดและลดความสามารถในการจับตัวกันของลิ่มเลือด
    • ยาคลายกล้ามเนื้ออาจจำเป็นหากกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ที่หลุดเกิดการเกร็งตัว อย่างไรก็ตามห้ามรับประทานยาต่างชนิดร่วมกัน-ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใส่ไหล่กลับเข้าเบ้าเองในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่ไหล่กลับเข้าเบ้าเองเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น. โดยส่วนมากแล้วควรรอทำโดยผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด แต่ในบางสถานการณ์นั้นไม่สามารถรอได้ หากคุณอยู่คนเดียวและห่างไกลจากหน่วยปฐมพยาบาล (เช่นไปนอนแคมป์ ปีนเขา หรือไปเที่ยวในต่างแดน) ความเสี่ยงที่จะต้องเอาไหล่กลับเข้าเบ้าเอง หรือทำให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวนั้น ก็ไม่ได้สำคัญไปกว่าอาการปวดที่ลดลงและสามารถขยับแขนได้หากใส่กลับเข้าไปได้สักเท่าไร
    • หลักการเบื้องต้นคือ หากสามารถรอหน่วยปฐมพยาบาลได้ถายใน 12 ชั่วโมงให้อดทนรอแล้วลดอาการปวดด้วยการประคบน้ำแข็ง รับประทานยาแก้ปวด และจำกัดการเคลื่อนไหวไปก่อน หากต้องรอนานกว่านั้นแล้วล่ะก็ จำเป็นจะต้องทำให้แขนเคลื่อนไหวได้บ้างก่อนที่จะไปโรงพยาบาล โดยอาจจะต้องทำการเอาไหล่กลับเข้าเบ้าด้วยตนเองไปก่อน
    • อาการข้างเคียงหลักๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการพยายามสวมไหล่กลับเข้าเบ้าเองนั้นคือ กล้ามเนื้ออาจเกิดการฉีกขาด เอ็นยึดกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อ รวมถึงเส้นประสาทและเส้นเลือดอาจได้รับบาดเจ็บ หรือเลือดไหลไม่หยุดจนเป็นอันตรายแก่ชีวิต อาจปวดรุนแรงจนหมดสติได้ [8]
  2. หากคุณพยายามที่จะเอาไหล่กลับเข้าไปเองในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องรู้ก่อนว่าการเอากลับเข้าไปเองโดนไม่มีคนช่วยนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นให้เรียกขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่แถวๆ นั้น แต่พวกเขาอาจจะไม่ค่อยอยากช่วยเพราะกลัวว่าจะทำให้คุณยิ่งเจ็บหรือเป็นอันตรายมากขึ้น ให้พยายามเกลี้ยกล่อมและไม่ต้องให้เขารับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น
    • หากคุณต้องการเป็นคนไปช่วย ต้องได้รับความยินยอมและบอกไว้ก่อนว่าคุณไม่เคยได้รับการฝึกฝนมาก่อนเลย และไม่ต้องการให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความหากเกิดความผิดพลาดจากการช่วยเหลือ. [9]
    • หากมีโทรศัพท์และสามารถโทรออกได้ ให้พยายามโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการฉุกเฉินเพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือ แม้ว่าทางหน่วยงานอาจจะไม่สามารถส่งบุคลากรมีช่วยเหลือได้ทันเวลา แต่ก็สามารถให้คำแนะนำในการช่วยเหลือได้
  3. นอนหงายและกางแขนออก.อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการนำไหล่กลับเข้าเบ้าหากให้นอนหงายแล้วกางแขนออกจากลำตัวในมุม 90 องศา แล้วให้เพื่อนหรือผู้ช่วยเหลือจับมือหรือข้อมือให้แน่นแล้วดึงแขนท่อนบนช้าๆ (โดยที่ยังจับให้แน่นอยู่) ซึ่งทำให้ข้อต่อแยกออกจากกัน แล้วให้คนที่ดึงอยู่นั้นอยู่ในทิศที่เท้าหันเข้าหาลำตัวของคุณเพื่อให้มีแรงในการดึงมากขึ้น จากนั้นดึงแขนท่อนบนด้วยมุมที่ทำให้หัวกระดูกเลื่อนลงมาอยู่ด้านใต้ของเบ้าแล้วสวมเข้าเบ้าอย่างผ่อนคลาย [10]
    • จำไว้ว่าต้องทำอย่างช้าๆ ออกแรงดึงให้สม่ำเสมอ (ไม่ดึงเร็วหรือกระตุก) ในทิศออกจากตัวจนกระทั่งอยู่ในแนวที่ตรงและสวมเข้าเบ้าได้ หากทำสำเร็จแล้วจะได้ยินเสียงกริ้ก และรู้สึกว่าหัวไหล่กลับเข้าที่อย่างปกติแล้ว
    • ในทันทีที่ไหล่กลับเข้าที่ได้แล้วนั้น ระดับความเจ็บปวดจะลดลงสัมพันธ์กับการบาดเจ็บที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามข้อไหล่จะยังไม่มั่นคงอยู่ ให้คล้องผ้าเพื่อจำกัดการเคลื่อนนไหวของแขนต่อไปหากเป็นไปได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปพบแพทย์ (หรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝนด้านนี้โดยตรง) อย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเกิดภาวะข้อไหล่หลุด เพราะหากรอให้กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดกระดูกเกิดการยึดรั้งขึ้น หัวกระดูกแขนท่อนบนจะยิ่งนำกลับเข้าเบ้าโดยไม่ต้องผ่าตัดยากขึ้นอย่างมาก แพทย์ส่วนมากจะแนะนำให้ทำการ x-ray บริเวณข้อไหล่ก่อนทำการรักษาอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหัก [11]
    • หากพบว่าไม่มีกระดูกหักหรือเอ็นฉีกขาดรุนแรง แพทย์จะทำการดัดและสวมหัวไหล่กลับเข้าเบ้า โดยอาจจะมีการใช้ยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อฤทธิ์แรง หรือ วางยาสลบก่อนทำการดัดกลับเข้าไปเนื่องจากขั้นตอนการดัดนั้นจะเจ็บมาก
    • วิธีการดัดไหล่กลับเข้าไปที่มักนำมาใช้นั้น เรียกว่า Hennepin maneuver ซึ่งจะต้องทำการหมุนข้อไหล่ออก [12] ในขณะนอนหงายนั้น แพทย์จะทำการงอศอก 90 องศาแล้วค่อยๆ หมุนข้อไหล่ออกร่วมกับดึงเบาๆ ในตำแหน่งที่ข้อต่อพอจะลงล็อคและกลับเข้าไปได้
    • มีวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่แพทย์ใช้- ขึ้นกับว่าแพทย์แต่ละคนจะถนัดวิธีไหน
  2. หากไหล่หลุดเป็นประจำ (เนื่องจากกระดูกเกิดการผิดรูปหรือเอ็นยึดกระดูกเกิดการยืดย้วยกว่าปกติ) หรือมีกระดูกหัก เส้นประสาทและ/หรือเส้นเลือดเกิดการฉีดขาด เมื่อนั้นจำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมและดัดข้อไหล่กับเข้าไปแบบมีแผลเปิด. [13] ในบางกรณีการผ่าตัดก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพราะจะช่วยซ่อมแซมการถูกทำลายของโครงสร้างภายในและทำให้ข้อต่อมั่นคงขึ้นซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการหลุดซ้ำอีกในอนาคต
    • มีวิธีมากมายในการผ่าตัดที่ใช้กันอยู่ ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงและวิถีชีวิตหรือกิจกรรมที่ผู้ป่วยทำเป็นประจำในการเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่จะใช้
    • บางงานวิจัยแนะนำไว้ว่าการผ่าตัดซึ่งเป็นการดัดแบบต้องมีแผลเปิดนั้นอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 30 ปี เนื่องจากยิ่งโอกาสหลุดซ้ำน้อยก็จะยิ่งทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น [14]
  3. ไม่ว่าจะดัดไหล่กลับแบบปกติหรือได้รับการผ่าตัดแล้ว ควรไปพบนักกายภาพบำบัดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ [15] โดยนักกายภาพบำบัด ไคโรแพรกเตอร์ และหรือนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจะแนะนำวิธีการยืดกล้ามเนื้อที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้กลับมาเต็มช่วงการเคลื่อนไหวเหมือนเดิม และออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้ข้อต่อยึดกันได้แน่นขึ้นป้องกันการหลุดซ้ำอีกในอนาคต
    • ในช่วงฟื้นตัว 2-4 สัปดาห์ก่อนจะไปพบนักกายภาพบำบัด สิ่งที่ควรทำคือ จำกัดการเคลื่อนไหวโดยใช้การคล้องห้อยแขนไว้ ประคบเย็น และรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนฟื้นฟูให้หายได้เร็วขึ้น [16]
    • ระยะเวลาทั้งหมดในการฟื้นฟูจากการข้อไหล่หลุดจนกลับมาเป็นปกตินั้นจะอยู่ที่ 3-6 เดือน ขึ้นกับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บและขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นนักกีฬาหรือไม่ [17] [18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังจากอาการปวด/อักเสบหายแล้วสัก 1-2 วัน ให้ใช้ความร้อนชื้นประคบลงบนหัวไหล่จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงและปวด หากเป็นถุงอบสมุนไพรที่เข้าไมโครเวฟได้ก็จะยิ่งดี อย่างไรก็ตามควรประคบร้อนไว้ไม่เกิน 15-20 นาทีต่อครั้ง
  • หากมีการหลุดแล้วครั้งหนึ่ง โอกาสที่จะหลุดซ้ำในอนาคตย่อมมีมากขึ้น โดยเฉพาะหากต้องเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก
  • นำไหล่กลับเข้าไปให้เร็วที่สุดหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุเท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งถ้าปล่อยไว้นานก็จะยิ่งเอากลับเข้าที่เดิมยากขึ้น
  • ข้อไหล่ที่หลุดนั้นต่างจากการที่ไหล่หลุดแบบแยกออก โดยแบบหลังจะเป็นการฉีกขาดของเอ็นยึดกระดูกออกจากข้อต่อ ซึ่งเอ็นนี้เป็นตัวยึดกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ทางด้านหน้าของข้อไหล่- โดยข้อต่อของแขนท่อนบนมาได้หลุดออกจากเบ้าหัวไหล่อย่างเช่นแบบแรก
โฆษณา

คำเตือน

  • หลังจากนำไหล่กลับเข้าไปเหมือนเดิมแล้ว ควรตรวจเช็คชีพจรของแขนข้างที่ไหล่หลุดในบริเวณใต้ต่อบริเวณที่หลุด และควรเทียบกันกับแขนอีกข้าง (แขนข้างที่ไม่ได้ไหล่หลุด) หากชีพจรเต้นช้ากว่าข้างปกติหรือไม่พบชีพจร นั่นหมายความว่าเป็นภาวะอันตรายฉุกเฉินต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพราะเซลล์จะเริ่มตายอย่างรวดเร็วและอาจส่งผลให้แขนใช้การไม่ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,702 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา