ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการไอที่ไม่หายสักทีนั้นจะทำให้เรารู้สึกทรมานสุดๆ ไปเลย และเราก็อาจจะอยากหายให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาการไอเป็นอาการข้างเคียงจากทั่วไปที่เกิดจากไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดจากภูมิแพ้ หอบหืด กรดไหลย้อน อากาศแห้ง การสูบบุหรี่ และการใช้ยาบางชนิด [1] อาการไออาจทำให้เกิดความเจ็บปวดและความน่ารำคาญอย่างรุนแรงได้ ลองทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อช่วยแก้อาการไอภายในเวลาอันรวดเร็ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

แก้ไอด้วยสูตรยาสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้น้ำผึ้งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการแก้ไอและทำให้ชุ่มคอ [2] ผลการศึกษาหลายแห่งพบว่าน้ำผึ้งมีฤทธิ์บรรเทาอาการไอได้อย่างน้อยก็พอๆ กับยาตามร้านขายยาทั่วไปและบางครั้งก็ดีกว่า [3] [4] น้ำผึ้งช่วยเคลือบและให้ความชุ่มชื้นกับต่อมผลิตเสมหะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในเวลาก่อนนอน หากอาการไอนั้นทำให้หลับยาก
    • น้ำผึ้งดีต่อทั้งผู้ใหญ่และเด็ก แต่ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบกินน้ำผึ้ง เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคโบทูลิซึม (botulism) (โรคความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการได้รับพิษทางอาหาร) [5]
    • เราสามารถกินน้ำผึ้งเปล่าๆ ได้เลย ลองกินน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากไอเรื้อรังให้ลองอีกทางคือผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะหรือมากกว่านั้น ในชามะนาวอุ่นๆ
    • บางผลการศึกษากล่าวว่า น้ำผึ้งนั้นได้ผลเทียบเท่าสารแก้ไอจำพวก เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบได้ในยาแก้ไอทั่วไป [6]
  2. ชารากชะเอมนั้นจะช่วยบรรเทาทางเดินหายใจ ลดอาการระคายคอ และลดเสมหะ วิธีคือเติมรากชะเอมแห้ง 2 ช้อนโต๊ะลงในแก้วและเทน้ำเดือดตามลงไป ทิ้งไว้ 10-15 นาที ดื่มวันละสองครั้ง [7]
    • ห้ามดื่มชารากชะเอมหากต้องได้รับสเตียรอยด์หรือมีปัญหาเกี่ยวกับตับ
    • ส่วนผสมที่ใช้เช่น glycyrrhiza (สารสกัดจากรากชะเอม) อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อบางคนได้ ลองมองหา DGL หรือ deglycyrrhizinated licorice (รากชะเอมที่สกัด glycyrrhiza ออกแล้ว) ตามร้านอาหารสุขภาพหรือร้านขายยา ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน [8]
  3. ใบไทม์นั้นถูกใช้ในหลายประเทศเช่น เยอรมัน สำหรับรักษาโรคทางเดินหายใจหลายประเภท ใบไทม์ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอและลดเสมหะ ต้มน้ำให้เดือดและเทน้ำรวมกับใบไทม์ที่ตำแล้ว 2 ช้อนชา ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วกรองก่อนดื่ม [9]
    • เติมน้ำผึ้งและมะนาวเพื่อช่วยให้ชุ่มคอมากขึ้น และยังช่วยให้รสชาติดีขึ้นอีกด้วย
    • อย่าบริโภคน้ำมันใบไทม์ ใช้ใบไทม์สดหรือตากแห้งแล้ว
  4. หากไม่มียาแก้ไอติดตัวหรือไม่ชอบยาอมแก้ไอ ก็สามารถชุ่มคอและแก้ไอได้ด้วยการอมลูกอม [10]
    • อาการไอแห้งๆ ที่ไม่มีเสมหะนั้นสามารถหยุดได้ด้วยลูกอมเกือบทุกชนิด ลูกอมทำให้ผลิตน้ำลายมากขึ้นทำให้กลืนน้ำลายบ่อยขึ้นซึ่งช่วยลดอาการไอ
    • แต่หากไอมีเสมหะ ลูกอมรสมะนาวจะได้ผลดีกว่า [11]
    • ลูกอมใช้แก้ไอสำหรับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป [12] อย่าให้ลูกอมหรือยาอมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี จะทำให้ติดคอได้ [13]
  5. ขมิ้นเป็นยาแก้ไอแผนโบราณที่คนมากมายพบว่าแก้ไอได้ผล ลองผสมผงขมิ้นครึ่งช้อนชากับนมอุ่นหนึ่งแก้ว และก็สามารถลองผสมผงขมิ้นกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชาสำหรับไอไม่มีเสมหะ ในการชงชาขมิ้นนั้น ให้ใส่ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะลงในน้ำเดือด 4 ถ้วยตวง ทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยกรอง ผสมเข้ากับน้ำมะนาวและน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไอ. [14]
  6. ขิงช่วยละลายเสมหะ ทั้งขิงและเปปเปอร์มิ้นต์สามารถลดความระคายเคืองในลำคอที่ทำให้ไอ เติมน้ำผึ้งในส่วนผสมนี้เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพ
    • เติมขิงสับ 3 ช้อนโต๊ะ และ เปปเปอร์มิ้นต์แห้ง 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ถ้วยตวง ต้มน้ำจนเดือดแล้วลดอุณหภูมิลง เคี่ยวจนน้ำข้นแล้วกรองน้ำ ทิ้งไว้สักสองสามนาที แล้วจึงเติมน้ำผึ้ง 1 ถ้วย คนจนเข้ากันดี ดื่ม 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ สองสามชั่วโมง สามารถเก็บไว้ได้ถึง 3 อาทิตย์ [15]
    • สามารถเติมลูกอมเปปเปอร์มิ้นต์ 1 เม็ดลงในน้ำมะนาว แล้วนำไปอุ่นบนเตาจนละลาย ลองเติมน้ำผึ้งเข้าไปด้วย เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ(15 มล.) ลงในส่วนผสมนี้และคนให้เข้ากัน [16]
  7. น้ำมันหอมระเหยรวมกับไอน้ำจะช่วยให้หายใจเอาน้ำมันเข้าไปและได้ประโยชน์จากมัน ลองทีทรีออยล์และน้ำมันยูคาลิปตัสดูสิ ทั้งสองอย่างนั้นเป็นที่รู้จักดีเรื่องช่วยบรรเทาและเปิดทางเดินหายใจ และยังประกอบด้วยสารต้านไวรัส สารต้านแบคทีเรีย และสารต้านอาการอักเสบที่ช่วยต่อกรกับไวรัสและแบคทีเรีย [17]
    • ต้มน้ำจนเดือดแล้วเทใส่ชาม ปล่อยให้เย็นสัก 1 นาที หยดทีทรีออยล์ 3 หยดและน้ำมันยูคาลิปตัส 1-2 หยด คนเข้าด้วยกัน โน้มตัวเหนือชามและคลุมหัวด้วยผ้าขนหนูเพื่อกักไอน้ำ หายใจลึกๆ 5-10 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน ระวังไม่โน้มเข้าไปใกล้น้ำมากเกินไปจะทำให้แสบหน้าจากไอน้ำ [18]
    • อย่าบริโภคทีทรีออยล์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกลายเป็นพิษ
  8. หากชอบยาแก้ไอสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้นล่ะก็ สามารถผสมวิสกี้เล็กน้อยลงในถ้วยน้ำมะนาว [19] ถึงแม้ว่าแอลกอฮอล์จะไม่มีผลอะไรกับอาการไอ แต่ก็จะช่วยให้ผ่อนคลายได้ [20]
    • ผสมวิสกี้เบอร์เบิน 60 มล. กับ น้ำมะนาว 60 มล. และ น้ำเปล่า 60-125 มล. ในถ้วยที่ใช้กับไมโครเวฟได้
    • อุ่นในไมโครเวฟ 45 วินาที
    • คนน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) ลงในส่วนผสมและไมโครเวฟต่ออีก 45 วินาที
  9. หากมีอาหารไอจากหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรลองทำยาพื้นบ้านเกาหลีสูตรนี้ดู มันประกอบไปด้วยพุทราแห้งกับเครื่องเทศ น้ำผึ้ง และส่วนประกอบที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด
    • ผสมพุทราแห้ง(ฝาน) 25 ชิ้น, สาลี่ 1 ผลใหญ่ (หั่นสี่ชิ้นและแกะเมล็ดแล้ว), ขิงฝาน 3 นิ้ว (7.6 ซม.) 1 ชิ้น, อบเชยแท่ง 2-3 แท่ง และน้ำ 2.8 ลิตรใส่กระทะก้นลึกใบใหญ่ ปิดฝาแล้วตั้งไฟกลางค่อนข้างแรง รอจนเริ่มเดือด
    • ลดไฟเป็นระดับกลางเกือบต่ำแล้วปล่อยให้ตุ๋นไปอีก 1 ชั่วโมง
    • กรองน้ำและแยกส่วนที่เหลือทิ้ง
    • เติมน้ำผึ้ง 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ (15 ถึง 30 มล.) เพื่อเพิ่มความหวานให้ชา แล้วมีความสุขกับยาถ้วยอุ่นๆ ที่จะช่วยให้ชุ่มคอและแก้ไอได้ในไม่กี่นาที หนึ่งในเรื่องง่ายๆ ที่เราจะทำได้ก็คือลองผ่อนคลายร่างกายและหายใจเข้าลึกๆ
  10. น้ำเกลือนั้นถูกใช้แก้อาการระคายคอ แต่ก็สามารถนำมาใช้รักษาอาการไอได้ด้วยการช่วยลดอาการบวมและลดการเกิดเสมหะ ผสมเกลือ ¼ หรือครึ่งช้อนโต๊ะในน้ำอุ่น 30 มล. คนให้ละลายจนหมด แล้วกลั้วคอสัก 15 วินาที บ้วนทิ้งแล้วทำซ้ำจนน้ำหมด [21]
  11. น้ำส้มสายชูแอปเปิลไซเดอร์เป็นวิธีที่ดีในการแก้ไอโดยไม่ใช้ยา คุณนำมันมาอุ่นแล้วดื่มเหมือนชาโดยเติมน้ำผึ้งสักหนึ่งช้อนชา หรือดื่มเย็นๆ กับน้ำแอปเปิล
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แก้ไอด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาลดอาการคัดจมูกจะช่วยบรรเทาอาการไอด้วยการลดน้ำมูกและทำให้เสมหะในปอดกับทางเดินหายใจอื่นๆ แห้ง เราสามารถใช้ยาลดอาการคัดจมูกได้หลายแบบ เช่น แบบยาเม็ด, ยาน้ำ, ยาพ่นจมูก [22]
    • มองหายาเม็ดและยาน้ำที่มี ฟีนิลเอฟรีน (phenylephrine) และ ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine) เป็นส่วนประกอบหลัก
    • การใช้ยาลดอาการคัดจมูกเกินขนาดจะก่อให้เกิดความแห้งซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการไอแบบไม่มีเสมหะ
    • ใช้ยาพ่นจมูกเพียง 2-3 วันเท่านั้น หากใช้เกินกว่านั้นอาจก่อให้เกิดการคั่งมากขึ้นได้ จากผลสะท้อนกลับของยา ร่างกายของเราจะดื้อยาลดอาการคัดจมูกหากใช้เกินขนาด [23]
  2. ลองอมยาอมเมนทอลดู เพราะอาจมีประสิทธิภาพสูงสุด ยาอมพวกนี้จะทำให้คอชา ป้องกันปฏิกิริยาไอ และช่วยแก้อาการไอต่อเนื่องของเราได้เร็วขึ้น [24]
    • สำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ ยาอมจากใบฮอร์ฮาวด์ (horehound) จะช่วยได้ดีที่สุด ฮอร์ฮาวด์คือสมุนไพรรสขมอมหวานที่มีตัวยาลดเสมหะ ซึ่งจะขับเสมหะได้เร็วขึ้น ช่วยให้อาการไอหายเร็วขึ้น หญิงมีครรภ์ไม่ควรบริโภคฮอร์ฮาวด์ [25]
    • สำหรับอาการไอไม่มีเสมหะ ให้ใช้ยาอมสลิปเปอรี่ เอล์ม (slippery elm) ยาอมนี้ทำมาจากเปลือกไม้ของต้นสลิปเปอรี่ เอล์ม ส่วนประกอบของวัตถุดิบนี้จะเคลือบลำคอและจำกัดปฏิกิริยาไอและหยุดอาการไอแห้งๆ ได้ [26] หญิงมีครรภ์และผู้ให้นมแม่ไม่ควรบริโภคสลิปเปอรี่เอล์ม [27]
  3. ยาทาอกทั่วไป (เช่น วิคส์) ประกอบไปด้วยเมนทอลหรือการบูรซึ่งจะช่วยหยุดอาการไอทั้งแบบแห้งและแบบมีเสมหะ [28]
    • ยาทาเหล่านี้ควรใช้ทาเท่านั้น อันตรายหากใช้บริโภค
    • อย่าใช้ยาทาอกกับเด็กแรกเกิด
  4. ยาแก้ไอทั่วไปนั้นดีที่สุดในการแก้อาการไอแบบมีเสมหะที่มักเกิดขึ้นกลางดึก [29]
    • ยาบรรเทาอาการไอนั้นหยุดเสมหะที่ก่อให้เกิดอาการไอและสั่งการสมองของเราไม่ให้เกิดปฏิกิริยาไอ ซึ่งก็เป็นเรื่องดีหากเราต้องการหยุดไอชั่วคราวเพื่อนอนตอนกลางคืนหรือเพราะเหตุผลอื่น แต่เราไม่ควรพึ่งยาบรรเทาอาการไอในการรักษาโรคที่ทำให้เกิดการไอเพราะยานั้นจะทำให้เสมหะขังอยู่ในปอด เพิ่มความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • มองหายาบรรเทาอาการไอที่ประกอบด้วย เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan), ฟอลโคดีน (pholcodine), or ตัวยาแก้แพ้ แอนตี้ฮีสตามีน (antihistamines)
    • ควรระมัดระวังในการใช้ยาหากไอเป็นหลัก ตัวยาแก้แพ้ แอนตี้ฮีสตามีน (antihistamines) และ ลดอาการคัดจมูก (decongestants) ในยาแก้ไอนั้นจะทำให้เสมหะแห้งแข็ง ทำให้กำจัดออกจากทางเดินหายใจยากขึ้น [30]
    • อย่าให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบกินยาแก้ไอ
  5. ยาขับเสมหะนั้นจะลดขนาดเสมหะจนเราสามารถไอออกมาได้ ยาขับเสมหะนั้นเหมาะมากหากมีอาการไอที่เสมหะข้น [31]
    • อย่าให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบกินยาขับเสมหะ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง [32]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

แก้ไอด้วยวิธีอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความชุ่มชื้นนั้นสำคัญต่อทั้งอาการไอแห้งและไอมีเสมหะ น้ำจะช่วยลดเสมหะที่อยู่ในคอซึ่งก่อให้เกิดการไอ [33] จะเป็นเครื่องดื่มอะไรก็ได้ ยกเว้นแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน (ซึ่งจะยิ่งทำให้ขาดน้ำ) และน้ำผลไม้รสเปรี้ยวที่มีกรด (ซึ่งจะทำให้ระคายคอ) [34]
    • พยายามดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว (แก้วละ 250 มล.) ต่อวัน เมื่อมีอาการไอ
    • ในการรักษาอาการไอในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 1 ปี ให้กินของเหลวอุ่นๆ อย่างเช่น น้ำแอปเปิ้ล 1 ถึง 3 ช้อนโต๊ะ (5 ถึง 15 มล.) สี่ครั้งต่อวันเพื่อบรรเทาอาการไอ [35] นี่เป็นของเหลวเพิ่มเติมจากที่ดื่มปกติ เช่น น้ำนมแม่หรือนมชง
  2. 2
    สูดไอน้ำอุ่น. อาบน้ำอุ่นจากฝักบัวแล้วสูดไอน้ำเข้าไป จะช่วยสลายการอุดตันในจมูกที่ไหลลงสู่อกและก่อให้เกิดอาการไอได้ นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศที่แห้งซึ่งทำให้ไอได้เช่นกัน อาจเปิดเครื่องทำความชื้นในตอนกลางคืนและหายใจจากไอน้ำอุ่นๆ [36]
    • วิธีนี้จะได้ผลกับอาการไอจากไข้หวัด ภูมิแพ้ และหอบหืด
    • เครื่องทำความชื้นต้องนำมาทำความสะอาดบ่อยๆ ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าเดิมได้ เชื้อราหรือแบคทีเรียอาจก่อตัวภายในเครื่องและถ่ายเทออกมาในอากาศพร้อมกับไอน้ำก็ได้
  3. ตามสัญชาตญาณเราอาจจะเริ่มไอโขลกๆ หนักๆ ทันทีที่รู้สึกว่ากำลังจะไอไม่หยุด แต่การค่อยๆ ไอให้หนักขึ้นจะช่วยให้หยุดไอเร็วขึ้น วิธีนี้จะมีประโยชน์กับอาการไอมีเสมหะเป็นพิเศษ เมื่อเริ่มไอเป็นชุด ให้เริ่มด้วยการไอเบาๆ การไอแบบนี้จะไม่ก่อให้เกิดเสมหะ เมื่อไอเบาๆ หลายๆ ครั้งแล้วก็ไอแรงๆ หนึ่งครั้ง การไอเบาๆ จะช่วยเคลื่อนเสมหะขึ้นมาส่วนปลายของทางเดินหายใจและการไอแรงๆ จะช่วยขับเสมหะออกมา [37]
    • การไอในวิธีนี้นั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้คอระคายเคืองมากขึ้น การระคายคอนั้นจะทำให้ไอมากขึ้น ดังนั้นการลดอาการระคายเคืองก็จะช่วยให้หายไอได้เร็วขึ้น
  4. อาการไอเรื้อรังนั้นเกิดจากหรือแย่ลงจากเสมหะที่เพิ่มขึ้น สิ่งรที่ควรหลีกเลี่ยงที่สุดคือการสูบบุหรี่ [38]
    • น้ำหอมและสเปรย์ปรับอากาศในห้องน้ำนั้นเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นตัวกระตุ้นอาการไอเรื้อรัง และควรหลีกเลี่ยงการใช้อย่างน้อยในช่วงที่มีอาการไอ หากต้องการให้หายไอเร็วขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • โปรดสังเกตว่ายาปฏิชีวนะนั้นไม่นิยมหรือไม่นำมาใช้รักษาอาการไอเลย ยาปฏิชีวนะนั้นทำลายแบคทีเรียและไม่มีผลอะไรกับอาการไอจากไวรัสหรืออาการไอที่ไม่ได้เกิดจากโรค แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้หากมีข้อวินิจฉัยว่าอาการไอของเรามีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
  • หากมีอาการหายใจติดขัด ควรใช้ยาพ่นหรือพกไว้ใกล้ตัว
  • ของเหลวอย่างกาแฟหรือชาอาจจะมีผลยับยั้งภูมิคุ้มกันของเราได้
  • หากพยายามรักษาน้ำในร่างกาย ให้ดื่มน้ำอุ่น เพราะน้ำเย็นนั้นจะระคายเคืองลำคอ
  • พักผ่อนให้มากเท่าที่จะทำได้ หลักเลี่ยงการเดิน วิ่งจ็อกกิ้ง หรือการออกกำลังกาย จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • รู้ว่าเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ ปกติอาการไอจะหายเองภายใน 10 วัน หากประกอบกับวิธีแก้ไอดังกล่าวมาแล้ว อาการไอควรหายเร็วขึ้นอีก หากมีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 ถึง 4 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์ และควรปรึกษาแพทย์หากไอเป็นเลือดหรือไอพร้อมอาการปวดเสียดหน้าอก อ่อนแรงอย่างหนัก น้ำหนักลดฮวบฮาบ ตะครั่นตะครอตัว หรือมีไข้สูง 38.3 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่านั้น
โฆษณา
  1. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/cough
  2. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-coughs
  3. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/chest-lungs/Pages/Coughs-and-Colds-Medicines-or-Home-Remedies.aspx
  4. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/cough
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92752/
  6. http://everydayroots.com/cough-remedies
  7. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-coughs
  8. http://everydayroots.com/cough-remedies
  9. http://everydayroots.com/cough-remedies
  10. http://www.thekitchn.com/recipe-bourbon-cough-syrup-for-79030
  11. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/that-nagging-cough
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  13. http://www.emedicinehealth.com/coughs/page7_em.htm#cough_treatment
  14. http://familydoctor.org/familydoctor/en/drugs-procedures-devices/over-the-counter/decongestants-otc-relief-for-congestion.html
  15. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/cough
  16. http://www.uofmhealth.org/health-library/hn-2109003
  17. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-coughs
  18. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/cough
  19. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-coughs
  20. http://familydoctor.org/familydoctor/en/drugs-procedures-devices/over-the-counter/cough-medicine-understanding-your-otc-options.html
  21. http://familydoctor.org/familydoctor/en/drugs-procedures-devices/over-the-counter/cough-medicine-understanding-your-otc-options.html
  22. http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=24354
  23. http://www.askdrsears.com/topics/health-concerns/childhood-illnesses/medicine-cabinet/cold-cough-medication-guide
  24. http://www.webmd.com/cold-and-flu/features/cough-relief-how-lose-bad-cough
  25. http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/66856/1/WHO_FCH_CAH_01.02.pdf
  26. http://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/ear-nose-throat/pages/Coughs-and-Colds-Medicines-or-Home-Remedies.aspx
  27. https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/chest-lungs/Pages/Coughs-and-Colds-Medicines-or-Home-Remedies.aspx
  28. http://www.besthealthmag.ca/best-you/home-remedies/natural-home-remedies-coughs
  29. http://asthma.ca/adults/about/triggers.php

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 697,993 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา