ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเรียนรู้ที่จะรักษาสมดุลระหว่างเรื่องต่างๆ ที่คุณต้องทำในชีวิตนั้นเป็นเรื่องท้าทาย ไม่ว่าจะเรื่องงาน เรื่องเรียน และสิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละวันรวมๆ กันก็สูงเป็นภูเขาเลากา ไหนจะเพื่อนๆ หรือครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือจากคุณอีก และคุณยังต้องมีเวลาเผื่อสำหรับการดูแลตัวเองด้วย เวลาที่คุณเขียนตารางประจำวัน ภารกิจต่างๆ เหล่านี้จะดูจัดการได้ง่ายขึ้น คุณสามารถรักษาสมดุลระหว่างระยะเป้าระยะสั้นและเป้าหมายระยะยาวได้ด้วยการสร้างตารางเวลาขึ้นมา วิธีนี้จะช่วยให้คุณลำดับได้ว่ามีอะไรสำคัญในชีวิตของคุณบ้าง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สร้างตารางประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าปกติแล้วคุณมีรูปแบบการใช้เวลาอย่างไร. ก่อนที่คุณจะวางแผนใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันอย่างไร ถ้าคุณต้องไปทำงานหรือไปโรงเรียน ชั่วโมงเหล่านั้นก็กำหนดไว้ให้คุณเรียบร้อยแล้ว ส่วนในเวลาว่างเวลาก็จะยืดหยุ่นมากขึ้น
    • ใช้เวลา 2-3 วันจดบันทึกว่าคุณใช้เวลาอย่างไร เขียนลงไปให้ชัดเจนว่าแต่ละวันคุณทำอะไรบ้าง สังเกตให้ดีว่าคุณใช้เวลาว่างอย่างไร คุณเล่นเกมวิดีโอหรือทำความสะอาดบ้าน เขียนรายการกิจกรรมเหล่านี้และระยะเวลาที่คุณใช้ไปกับกิจกรรมต่างๆ
  2. คำนวณว่าคุณใช้เวลาในการเดินทางไปโรงเรียน ทำงาน และทำธุระเท่าไหร่. เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะใช้เวลาค่อนข้างมากในแต่ละวันไปกับการเดินไปกลับจากบ้านไปที่ทำงาน โรงเรียน หรือไปทำธุระต่างๆ เวลานี้เป็นเวลาที่สำคัญต่อการจัดระเบียบเวลาและทำภารกิจที่สำคัญให้เสร็จสิ้นในแต่ละวัน สังเกตว่าปกติแล้วคุณใช้เวลาไปกับการเดินทางเท่าไหร่ และจัดสรรเวลาเผื่อสำหรับการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งลงในตารางประจำวันของคุณ
    • ปรับตารางของคุณตามเวลาเหล่านี้
  3. รู้ว่าเวลาไหนที่คุณมีไฟในการทำงานมากที่สุด. ขณะที่คุณกำลังเขียนตารางประจำวัน ลองคิดว่าคุณจะจัดเรียงลำดับงานต่างๆ อย่างไร การเรียงลำดับงานใหม่เพื่อที่คุณจะได้ใช้ไฟในการทำงานได้อย่างเต็มเปี่ยมอาจเป็นความคิดที่ดี เช่น สังเกตว่าคุณมีไฟในการทำงานมากที่สุดตอนไหน รู้ว่าช่วงไหนที่คุณจะไม่มีสมาธิเพราะต้องรับโทรศัพท์หรือตอบอีเมล คุณอาจจะพบว่าคุณทำงานได้ดีที่สุดตอนเช้าตรู่ ในขณะที่ตอนบ่ายเป็นเวลาที่คุณจะต้องรับโทรศัพท์มือเป็นระวิง [1]
  4. สังเกตว่าตารางของคุณส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างไร. การทำตามตารางประจำวันนั้นเป็นเรื่องของการเรียนรู้ว่า กิจวัตรของคุณนั้นส่งผลต่อชีวิตในแต่ละวันของคุณอย่างไร บางครั้งกิจวัตรก็อาจนำไปสู่นิสัยที่ไม่ดีที่อาจจะทำให้คุณไม่มีความสุขหรือไปไม่ถึงจุดหมาย ในขณะที่กิจวัตรอื่นๆ นั้นจำเป็นต้องมีเพื่อให้คุณมีความสุขและไปถึงเป้าหมายได้ ขณะที่คุณกำลังทดลองทำตามตารางเวลาอยู่ ให้คิดว่ากิจวัตรต่างๆ มีบทบาทในชีวิตคุณอย่างไร
    • เช่น คุณอาจจะสังเกตว่าชีวิตประจำวันของคุณนั้นมีแนวโน้มที่จะหมดไปกับการทำกิจกรรมสนุกๆ ที่คุณชอบ จากนั้นคุณก็ไม่อยากหรือไม่มีแรงจะทำอย่างอื่น เช่น ทำงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายระยะยาว ในทางตรงกันข้าม คุณอาจจะใช้เวลาทั้งหมดไปกับการทำตามความต้องการของสังคมจากข้อนี้ไปข้อนั้นจนคุณไม่มีเวลาดูแลตัวเองเลย กิจวัตร 2 แบบนี้เป็นภัยต่อความเป็นอยู่ส่วนบุคคลที่ดีของคุณพอๆ กัน เพราะฉะนั้นคุณต้องจดลงไปว่ากิจวัตรมีผลกระทบต่อชีวิตของคุณอย่างไร
    • พอคุณเริ่มสังเกตบทบาทของกิจวัตรที่มีต่อชีวิตของคุณที่ทำให้คุณไปไม่ถึงเป้าหมายหรือไม่ได้ทำในสิ่งที่คุณอยากทำแล้ว ให้คิดหาวิธีเปลี่ยนแปลงกิจวัตรเพื่อให้คุณใช้เวลาที่มีให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นแค่การกำหนดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมบางกิจกรรม เช่น เล่นเกมวิดีโอ คุณอาจจะอนุญาตให้ตัวเองเล่นเกมก็ต่อเมื่อคุณทำงานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในระยะยาวเสร็จแล้ว หรือคุณอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะปฏิเสธเวลาที่มีคนมาขอให้คุณทำอะไรให้ เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาดูแลตัวเองบ้าง
  5. อาจจะมีช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันที่ดูเหมือนจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ บางทีมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เช่น เวลาที่คุณใช้ไปกับการเดินทางในตอนเช้าหรือไปที่ทำการไปรษณีย์ช่วงพักกลางวันที่คนแน่นที่สุด สังเกตตารางของคุณและหาว่าช่วงเวลาไหนที่หมดไปโดยเปล่าประโยชน์มากที่สุด ลองคิดดูว่าคุณจะสามารถจัดเรียงเวลาใหม่ได้อย่างไรเพื่อให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด
    • ถ้าคุณไม่สามารถจัดเรียงตารางใหม่ได้ ลองดูว่าคุณสามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ไหม หาเวลาเงียบๆ ระหว่างเดินทางตอนเช้าด้วยการนั่งรถประจำทาง จากนั้นคุณก็อาจจะมีเวลาดื่มกาแฟขณะอ่านนิยาย
  6. การวางแผนตารางเวลาล่วงหน้านั้นดีกว่าเสมอ ถ้าคุณไม่เคยจัดตารางเวลามาก่อน คุณอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าจะวางแผนตารางประจำวันได้ อย่าคาดหวังว่าตัวเองจะต้องทำได้ตั้งแต่วันแรก หรือแม้กระทั่งสัปดาห์แรก
    • เขียนตารางเวลาของวันถัดไปคร่าวๆ และเขียนกิจกรรมทั้งหมดที่คุณอยากทำให้เสร็จ รวมถึงระยะเวลาที่คุณจะใช้ในการทำกิจกรรมแต่ละอย่างด้วย เขียนตารางเวลาให้พอยืดหยุ่นได้ขณะที่คุณกำลังปรับตัวกับการกำหนดเวลาในการทำสิ่งต่างๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักษาสมดุลระหว่างสิ่งที่ต้องทำระยะสั้นกับเป้าหมายระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าการหาว่าในแต่ละวันคุณต้องการทำอะไรบ้างนั้นอาจจะฟังดูค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่จริงๆ แล้วมันเป็นส่วนที่ยากที่สุดและเป็นขั้นตอนสำคัญของการเรียนรู้ที่จะกำหนดตารางประจำวัน การจะหาว่าเป้าหมายของคุณคืออะไรและทำอย่างไรจึงจะไปถึงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ในขณะเดียวกันสิ่งที่คุณอยากจะทำในตอนนี้ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของคุณก็ได้ ทางที่ดีที่สุดคือคุณต้องรักษาสมดุลระหว่างสองสิ่งให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แทนที่จะให้ความสำคัญกับแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง [2]
    • ตั้งเป้าหมายระยะยาว คุณมีงานหรือเส้นทางอาชีพที่คุณอยากทำเป็นพิเศษหรือเปล่า มีใครที่คุณรู้จักแล้วอยากสนิทด้วยมากกว่าเดิมไหม บางทีคุณอาจจะอยากตั้งทีมกีฬาที่โรงเรียน ไม่ว่าเป้าหมายของคุณจะเป็นอะไร การเขียนเป้าหมายลงไปในกระดาษจะทำให้มันดูเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าแค่เป็นภาพจินตนาการในหัวของคุณ
    • เขียนรายการสิ่งที่คุณสามารถทำเพิ่มเติมได้เพื่อเริ่มทำตามเป้าหมายเหล่านี้ จัดสรรเวลาในแต่ละวันเพื่อทำกิจกรรมเหล่านี้ [3]
  2. แยกแยะเป้าหมายที่มาจากตัวคุณออกจากเป้าหมายที่คนอื่นกำหนดให้. การรับฟังคำแนะนำจากคนอื่นขณะที่คุณกำลังหาเป้าหมายของตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่คุณก็ต้องรู้ว่าเป้าหมายไหนที่เป็นความปรารถนาของคุณจริงๆ ตารางประจำวันของคุณอาจจะยังมีกิจกรรมบังคับที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของคุณ [4]
    • เช่น พ่อแม่ของคุณอยากให้คุณทำอาชีพอะไรเป็นพิเศษ เช่นเป็นทนายหรือเป็นหมอหรือเปล่า แม้ว่าความปรารถนานั้นจะเกี่ยวข้องกับความหวังดีของพ่อแม่ที่อยากเห็นลูกมีความสุขและประสบความสำเร็จ เส้นทางอาชีพนี้อาจไม่ได้ทำให้ลูกมีความสุขและรู้สึกเติมเต็มเสมอไป การพูดคุยกับพ่อแม่ว่า ความปรารถนาของพวกเขานั้นอาจขวางกั้นไม่ให้คุณเป็นอิสระอาจเป็นก้าวแรกของการที่จะค้นหาว่าคุณต้องการอะไรได้อย่างสบายใจมากขึ้น สิ่งที่แย่ที่สุดที่คุณจะทำในชีวิตก็คือ การใช้ชีวิตตามที่คนอื่นอยากให้คุณเป็น แล้วไม่เคยค้นหาว่าอะไรที่ทำให้คุณมีความสุขได้อย่างแท้จริง
    • เวลาที่คุณตั้ง เป้าหมายระยะยาว ลองดูว่าเป้าหมายเหล่านี้สอดคล้องกับความคาดหวังของคนอื่นที่มีต่อคุณหรือเปล่า คุณอาจจะไม่สามารถเลี่ยงสิ่งที่คุณต้องทำและความคาดหวังของคนอื่นได้ทั้งหมด แต่คุณสามารถเริ่มจัดตารางเวลาที่คุณจะได้ตั้งหน้าตั้งตาทำตามเป้าหมายของตัวเองได้
  3. ในตารางประจำวันนั้นจะต้องมีบางอย่างที่ต้องทำให้เสร็จทันที ในขณะที่งานอื่นๆ สามารถรอได้ ขณะที่คุณลำดับสิ่งที่ต้องทำลงในตารางเวลาประจำวัน ให้คุณกำหนดเวลาที่จะต้องทำงานที่ด่วนที่สุดด้วย [5]
    • คุณอาจจะมีบางสิ่งที่ต้องทำเหมือนเดิมทุกวัน ในขณะที่บางงานนั้นมีแค่ครั้งเดียว คุณอาจจะต้องปรับตารางของคุณเพื่อให้มีเวลามากพอที่จะทำกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นครั้งเดียวนี้ด้วย คุณสามารถกำหนดเวลานี้ได้ในตารางประจำวัน ในแต่ละวันให้กำหนดช่วงเวลาสักช่วงที่เป็นเวลา “ยืดหยุ่น” เวลานี้จะเป็นเวลาที่คุณสำรองไว้สำหรับกิจกรรมที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ถ้าคุณไม่มีอะไรต้องทำในช่วงเวลานี้ คุณสามารถใช้เวลาช่วงนี้ทำตามเป้าหมายระยะยาวส่วนตัวของคุณได้ เช่น ไปเข้าฟิตเนสหรือฝึกเล่นกีต้าร์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

เขียนตารางเวลา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนตารางเวลาลงไปเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ ถ้าคุณเข้าถึงตารางเวลาของคุณได้ง่าย คุณก็จะติดนิสัยคอยเช็กตารางอยู่เสมอ ลองหาว่าวิธีจดตารางเวลาไหนที่ดีที่สุดสำหรับคุณ จากนั้นคุณก็เข้าไปเช็กตารางเวลาของคุณตอนที่คุณต้องการเครื่องช่วยจำว่ารายการถัดไปคืออะไร
    • บางคนชอบจดลงไปในสมุดตารางประจำวัน ในขณะที่คนอื่นๆ ชอบบันทึกไว้ในโน้ตบุ๊กหรือแท็บเล็ต มีแอพฯ โทรศัพท์มือถือมากมายที่มีประโยชน์ต่อการบันทึกตารางเวลา [6]
    • ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือบันทึกตารางเวลาของคุณ คุณสามารถตั้งเวลาให้เตือนคุณเมื่อภารกิจสำคัญกำลังจะมาถึงได้
  2. พอคุณเริ่มกำหนดตารางเวลาประจำวัน ให้คุณแบ่งแต่ละช่วงเวลาไว้ที่ 30 นาที [7] ช่วงเวลาต่างๆ เหล่านี้เป็นช่วงเวลาที่คุณสามารถจัดการงานบางอย่างให้เสร็จลุล่วงได้ จากนั้นคุณก็ไม่ต้องวางแผนตารางเวลาละเอียดยิบเป็นนาที
  3. ในแต่ละวันจะต้องมีกิจกรรมบางอย่างที่คุณต้องทำให้เสร็จในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น คุณต้องไปส่งลูกๆ ที่โรงเรียนตอน 8 โมง คุณต้องไปรับพวกเขาตอนบ่าย 3 โมง เขียนกิจกรรมประเภทนี้ลงไปในตารางก่อน [8]
  4. หลังจากที่คุณเขียนสิ่งที่ต้องทำลงในตารางแล้ว มองหาช่วงเวลาที่ไม่มีกิจกรรมที่ต้องทำเป็นพิเศษ ช่วงเวลาเหล่านี้ถือเป็นช่วงเวลา “ยืดหยุ่น” จากนั้นนึกถึงเป้าหมายระยะยาวของคุณและเริ่มใส่กิจกรรมที่จะช่วยให้คุณทำตามเป้าหมายได้สำเร็จลงไปในตาราง
    • ช่วงเวลายืดหยุ่นสามารถกันไว้สำหรับสิ่งที่ต้องทำที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เข้ามานาทีสุดท้าย [9]
  5. พอคุณเริ่มปรับตัวให้เข้ากับการใช้ตารางเวลาแล้ว คุณควรดูตารางเวลาบ่อยๆ วิธีนี้จะช่วยเตือนว่ามีกิจกรรมอะไรที่ต้องทำบ้าง และยังช่วยให้คุณทำตามแผนที่วางไว้เพื่อที่คุณจะได้ไม่ใช้เวลาไปกับกิจกรรมหรืองานใดงานหนึ่งมากเกินไป
  6. ขณะที่คุณเริ่มทำงานตามตารางที่วางไว้ในแต่ละวัน คุณสามารถประเมินได้ว่ามันได้ผลกับคุณมากแค่ไหน ปรับตารางเวลาตามระยะเวลาที่คุณใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ
    • คุณต้องใส่เป้าหมายระยะยาวของคุณลงไปด้วย เพื่อที่คุณจะแน่ใจได้ว่าคุณจะทำสำเร็จ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

หาเวลาดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การจัดตารางเวลานั้นไม่ได้สำคัญแค่เพื่อให้คุณทำงานได้มากขึ้นและทำตามความต้องการของสังคมได้เท่านั้น แต่มันยังช่วยให้คุณมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขด้วย [10] ในตัวอย่างของนักศึกษามหาวิทยาลัย นักวิจัยพบว่านักศึกษาที่สามารถจัดตารางเวลาสำหรับดูแลตัวเองได้นั้นสามารถรับมือกับความเครียดได้ดีกว่าและสามารถทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากกว่า [11]
    • การดูแลตัวเองนั้นแตกต่างไปในแต่ละบุคคล มันอาจจะหมายถึงการนั่งสมาธิ งีบหลับ เล่นเกมวิดีโอ โทรศัพท์หาเพื่อน หรือกิจกรรมอื่นๆ ลองหาดูว่ากิจกรรมไหนที่สามารถสร้างความพึงพอใจและ/หรือคลายเครียดให้คุณได้มากที่สุด
  2. กำหนดช่วงเวลาดูแลตัวเองที่ชัดเจนลงไปในตารางเวลา. ช่วงเวลาที่กำหนดไว้เป็นช่วงเวลาที่คุณเผื่อไว้สำหรับการดูแลตัวเอง ถึงคุณจะเข้าใจว่าทำไมคุณถึงต้องดูแลตัวเอง แต่ในความเป็นจริงคุณอาจจะไม่ได้ดูแลตัวเองเลยถ้าคุณไม่ได้กำหนดเวลาสำหรับดูแลตัวเองโดยเฉพาะ
    • กำหนดเวลาไปนวดเดือนละครั้ง หรือวางแผนเล่นเกมวิดีโอ 30 นาทีต่อวัน การกำหนดเวลาให้ตัวเองนั้นจะทำให้คุณสามารถจัดการกับภารกิจที่ไม่น่าพอใจได้ง่ายขึ้น
  3. ให้รางวัลตัวเองที่สามารถทำตามตารางเวลาได้สำเร็จ. เมื่อคุณสามารถทำตามตารางประจำวันที่คุณกำหนดไว้ได้สำเร็จ อย่าลืมให้รางวัลความมุมานะของตัวเอง คุณอาจจะเก็บลูกอมที่ชอบไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงและอนุญาตให้ตัวเองได้ลิ้มรสลูกอมอย่างเอร็ดอร่อยหลังจากที่ทำกิจกรรมที่วางไว้ได้สำเร็จ แรงขับเคลื่อนด้านบวกนี้สามารถช่วยให้คุณเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของคุณเข้ากับความรู้สึกพึงพอใจได้
    โฆษณา


  1. http://www.psychologistworld.com/stress/stressmanagement.php
  2. Myers, S. B., Sweeney, A. C., Popick, V., Wesley, K., Bordfeld, A., & Fingerhut, R. (2012). Self-care practices and perceived stress levels among psychology graduate students. Training and Education in Professional Psychology, 6(1), 55–66. http://doi.org/10.1037/a0026534

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 40,422 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา