PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การคำนวณหาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก. ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากคือวัตถุใดๆก็ตามที่มีด้านทั้งหมด 6 ด้าน ซึ่งสามารถพบเจอได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของกล่องต่างๆ เช่น กล่องรองเท้า รวมทั้งก้อนอิฐ เป็นต้น มาถึงจุดนี้ทุกคนคงพอจะนึกภาพปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากออก บทความนี้จะช่วยเพื่อนๆหาพื้นที่ผิวของวัตถุที่มีรูปทรงดังกล่าว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

วิธีการหาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก.

PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การหาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยความกว้างและความยาว, การหาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยขนาดพื้นที่ทั้งหมด, การหาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยเครื่องคิดเลข

วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิธีที่ 1 พื้นที่ของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก = 2ab + 2bc + 2ac.

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มาทำความเข้าใจกับปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากกันก่อน. เมื่อเพื่อนๆพิจารณารูปทรงของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากตามภาพดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีด้านทั้งหมด 6 ด้าน ซึ่งสามารถคลี่ออกมาได้เป็นสี่เหลี่ยม 6 รูปประกอบกัน โดยสี่เหลี่ยมแต่ละรูปจะมีลักษณะเหมือนกับสี่เหลี่ยมที่อยู่ฝั่งตรงข้าม กล่าวคือจะมีสี่เหลี่ยมอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 รูปที่จะช่วยเราหาพื้นที่ของปริซึม ถ้าเราสามารถหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมทั้ง 3 รูปนี้ นำมาบวกกันแล้วคูณสอง เพียงแค่นี้เพื่อนๆก็จะหาพื้นที่ทั้งหมดของปริซึมดังกล่าวได้แล้ว เราลองมาดูตัวอย่างเพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกันดีกว่า
  2. เราสามารถคำนวณพื้นที่ดังกล่าวได้จากสูตรต่อไปนี้: 2ab + 2bc + 2ac
    • เพื่อนๆอาจจะมีคำถามว่าสูตรนี้มาจากอะไร หมายความว่าอย่างไร การคำนวณตามสูตรนี้คือการที่เรานำผลลัพธ์ของขนาดของทั้งสามพื้นที่ต่อไปนี้มาบวกกันเพื่อหาพื้นที่ทั้งหมดของปริซึม พื้นที่ส่วนที่หนึ่งสามารถหาได้จากความกว้างและความยาวคูณกัน แล้วคูณด้วยสองอีกทีหนึ่ง (2ab) พื้นที่ส่วนที่สองมาจากความยาวคูณด้วยความสูงแล้วคูณด้วยสอง (2bc) และพื้นที่ส่วนสุดท้ายมาจากความกว้างคูณด้วยความสูงแล้วคูณด้วยสอง (2ac) เพื่อนๆอาจจะสับสนกันแล้ว เรามาค่อยๆดูขั้นตอนในการคำนวณหาพื้นที่เหล่านี้เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
  3. กล่าวคือด้านที่อยู่ด้านล่างและด้านบนของปริซึมซึ่งเป็นพื้นที่สีเหลืองดังรูป ในการหาพื้นที่ดังกล่าว เราต้องนำความกว้างและความยาวมาคูณกันเหมือนสูตรพื้นที่สี่เหลี่ยมทั่วไป และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปคูณสองเนื่องจากรูปสี่เหลี่ยมนี้มีอยู่ด้วยกันสองรูป ด้านล่างและด้านบน เกิดเป็นสูตร 2ab = 2*(4*5) = 2*(20) = 40
  4. การหาพื้นที่ของส่วนที่เป็นด้านหน้าและด้านหลังของปริซึม. พื้นที่ดังกล่าวคือพื้นที่ที่เป็นสีม่วง ซึ่งสามารถหาได้จากการนำความยาวคูณด้วยความสูงแล้วคูณด้วยสอง กลายเป็นสูตร 2bc = 2(5*3) = 2*(15) = 30.
  5. กล่าวคือพื้นที่ที่เป็นสีเขียว พื้นที่ส่วนสุดท้ายนี้จะคิดได้ตามสูตร 2ac= 2(4*3) = 2*(12) = 24.
  6. หลังจากคำนวณได้ขนาดพื้นที่ทั้งสามส่วนดังกล่าวแล้ว ให้นำผลลัพธ์ที่ได้มาบวกกันตามสูตร 2ab + 2bc + 2ac = 40 + 30 + 24 = 94 ดังนั้นเราจะสรุปได้ว่าพื้นที่ทั้งหมดของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้เท่ากับ 94 ตารางนิ้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วิธีที่ 2 พื้นที่ของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก = 2B + Ph.

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้คือการหาพื้นที่โดยการคำนวณเส้นรอบด้านของส่วนฐาน ซึ่งจะคิดได้ตามสูตร 2B + Ph ตัวอักษรดังกล่าวหมายถึงด้านและพื้นที่ต่อไปนี้:
  2. เราจะใช้ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากอันเดิมจากสูตรแรก.
  3. พื้นที่ดังกล่าวสามารถหาได้จากการคูณความยาวและความสูงแล้วคูณด้วยสอง ซึ่งก็คือ 2ab = 2(4*5) = 20
  4. ความยาวนี้มาจากการนำความยาวของด้านแต่ละด้านของส่วนฐานมารวมกัน ซึ่งสามารถคิดได้ตามสูตร 2a + 2b ตามรูปตัวอย่างด้านกว้างจะมีความกว้าง 4 inches (10.2 cm) ด้านยาวมีความยาว 5 inches (12.7 cm) เพราะฉะนั้นความยาวเส้นรอบด้านจะเท่ากับ 2(4) + 2(5) = 8 + 10 = 18
  5. เอาตัวเลขที่หาได้มาแทนที่ตัวอักษรในสูตร เพื่อหาพื้นที่ของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้.
    • 2B + Ph = (2*20) + (18*3) = 40 + 54 = 94.
    โฆษณา

คำแนะนำ

  • การคำนวณหาพื้นที่ผิวของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากอาจเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณเพื่อการจัดการเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบอื่นๆของที่อยู่อาศัย เช่น ตู้เก็บของ ประตู และห้องต่างๆ เป็นต้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นรูปทรงปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก ถ้าเราสามารถหาพื้นที่ผิวเหล่านี้ได้ การปรับปรุงหรือตกแต่งที่อยู่อาศัยก็จะง่ายขึ้น
  • ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากยังถือว่าเป็นลูกบาศก์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปทรงเรขาคณิตที่มีด้าน 6 ด้าน หรือสามารถเรียกว่าเป็นรูปทรงหลายเหลี่ยมนูนและเว้า
  • การคำนวณหาพื้นที่ของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากอาจจะดูเหมือนยากในตอนแรก แต่เมื่อเกิดความเคยชินกับการใช้สูตรแล้ว ก็จะไม่ยากอย่างที่คิด การฝึกใช้สูตรหาพื้นที่ผิว 2B + Ph บ่อยๆก็จะทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,666 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา