ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากสุขภาพดีในระยะยาว ลองเริ่มจากดูแล "ปอด" ของคุณดู เพราะนานๆ ไป สารพิษจากเชื้อราและแบคทีเรียอาจทำร้ายปอดของคุณได้ บางกรณีก็อันตรายถึงชีวิต เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD)) วันนี้คุณมาถูกที่แล้ว เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำหลายวิธีธรรมชาติ ที่ช่วยปกป้องดูแลให้ปอดสุขภาพแข็งแรง หายใจสะดวก แต่ถ้าตอนนี้มีอาการน่าเป็นห่วงอยู่ อย่ารอช้า รีบไปหาหมอ ตรวจเช็คร่างกายที่โรงพยาบาลเลยจะดีกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ดูแลรักษาสุขภาพโดยรวม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ากินอาหารที่มีประโยชน์ ครบหมู่ ก็ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ปอดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะๆ จะดีเป็นพิเศษ เพราะเขาวิจัยกันมาแล้วว่าสารต้านอนุมูลอิสระช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น หายใจสะดวกกว่าเดิม [1]
    • อาหารที่อุดมสารต้านอนุมูลอิสระก็เช่น บลูเบอร์รี่ บร็อคโคลี่ ปวยเล้ง องุ่น มันเทศ ชาเขียว และปลา [2]
  2. ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำ ปอดจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด กิจกรรมที่แนะนำก็เช่น
    • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคหนักปานกลาง อย่างน้อย 30 นาที (เช่น เดิน ว่ายน้ำ หรือเล่นกอล์ฟ) 4 - 5 ครั้งต่ออาทิตย์ หรือ
    • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคหนักๆ อย่างน้อย 25 นาที (เช่น จ็อกกิ้ง/วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือเล่นบาส) อาทิตย์ละ 3 ครั้งขึ้นไป [3]
  3. การสูบบุหรี่ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมถึงโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) และมะเร็งปอด เพราะสารพิษจากบุหรี่ทำให้หลอดลมอักเสบจนเสียหาย ยากจะหายใจ [4]
    • ถ้าอยากมีสุขภาพปอดที่แข็งแรง ก็อย่าใช้ผลิตภัณฑ์อื่นที่ทดแทนบุหรี่แค่เพราะไม่มีควัน เช่น ยาสูบแบบเคี้ยว (chewing tobacco) หรือยานัตถุ์ (snuff) เพราะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งช่องปาก รวมถึงโรคเหงือก ฟันผุ และมะเร็งตับอ่อน (pancreatic cancer) [5]
    • บุหรี่ไฟฟ้า (E-cigarette) จริงๆ แล้วก็อันตรายต่อปอดเช่นกัน [6] เพราะมีงานวิจัยใหม่ที่ชี้ว่าผู้ผลิตบางรายแต่งรสบุหรี่ไฟฟ้าด้วยสารเคมีอันตรายอย่าง Diacetyl ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิด constrictive bronchiolitis หรือโรคปอดอุดกั้นแบบถาวร ที่หายากแต่อันตรายถึงชีวิต ลักษณะอาการคือหลอดลมฝอย (bronchioles) ตีบแคบ เพราะมีเนื้อเยื่อแผลเป็น (scar tissue) และ/หรืออาการอักเสบ [7]
    • ถ้าอยากดีท็อกซ์ปอดจริงๆ ก็ต้องเลิกบุหรี่ ยาสูบ ยาเส้น และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ประเภทเดียวกัน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ลดปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยู่ที่ไหนเป็นประจำ ไม่ว่าจำบ้านหรือออฟฟิศ ต้องอากาศถ่ายเท ถ้าต้องทำงานกับวัตถุอันตราย เช่น สีกลิ่นฉุน ฝุ่นในไซต์ก่อสร้าง หรือสารเคมีจากยาย้อมผมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็ต้องระบายอากาศดีๆ หรือใส่มาสก์/หน้ากากป้องกัน ให้หายใจได้อย่างปลอดภัย
    • ต้องเปิดช่องระบายอากาศหรือหน้าต่าง ให้อากาศบริสุทธิ์ไหลเวียนเข้ามา
    • ถ้าทำงานในที่แคบๆ ให้สวมหน้ากากกรองอากาศ (respirator)
    • ถ้าทำความสะอาดด้วยสารเคมีแรงๆ เช่น น้ำยาฟอกขาว ต้องเปิดหน้าต่างของห้องนั้น และออกจากห้องนั้นไปสูดอากาศบริสุทธิ์เป็นระยะ ให้ปอดได้พักบ้าง
      • ห้ามผสมน้ำยาฟอกขาวกับแอมโมเนีย เพราะจะระเหยเป็นไอพิษ chloramine ทำให้เยื่อเมือกของปอดเสียหายได้
    • อย่าพยายามใช้เตาผิงหรือเตาฟืนในบ้าน เพราะปอดจะได้รับสารพิษเต็มๆ
  2. พืชบางชนิดจะปล่อยสปอร์ ละอองเกสร และอื่นๆ กระจายในอากาศ ทำให้ปอดระคายเคืองได้ เพราะงั้นต้องระวังต้นไม้ในบ้าน เช็คให้ชัวร์ว่าไม่มีพันธุ์ที่คุณแพ้
  3. เลือกแบบที่กรองฝุ่นละอองและสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้ละเอียด เพื่อปกป้องปอดของคุณ [8]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

หายใจยังไงให้ถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การหายใจให้ถูกต้อง เป็นหนึ่งในวิธีธรรมชาติที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ปอดได้ดีที่สุด ให้หายใจเข้าลึกๆ จากกระบังลม ให้กล้ามเนื้อท้องส่วนล่างขยายออก ตอนหายใจออก กล้ามเนื้อควรจะยุบกลับมาตามเดิม [10]
    • หายใจลึกๆ ถึงกระบังลม อย่าหายใจตื้นๆ แค่ที่คอ แบบนี้ปอดจะได้ทำงานเต็มที่ แข็งแรงขึ้น
  2. หายใจเข้าแล้วหายใจออก ระหว่างนั้นให้นับวินาทีที่หายใจด้วย พยายามขยายเวลาออกไปทีละ 1 - 2 วินาที
    • แต่อย่าเกร็งหรือกลั้นหายใจนานเกินไป เพราะอาจทำให้สมองขาดออกซิเจน จนวิงเวียนหรือเป็นลมได้
  3. จะนั่งหรือยืนต้องหลังตรง จะได้หายใจสะดวกขึ้น ปอดแข็งแรง
    • ท่าบริหารที่ช่วยให้ปอดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือนั่งที่เก้าอี้ หลังตรง แล้วยกแขนเหนือหัว ในขณะที่หายใจลึกๆ [11]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

วิธีทางเลือกอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ

ต้องเริ่มจากเปิดใจ เพราะเคล็ดลับต่อไปนี้ส่วนใหญ่ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มารับรอง หรือมีก็ในวงจำกัดมากๆ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนลองใช้วิธีทางเลือกอย่างสมุนไพรหรือแร่ธาตุต่างๆ เพราะอาจไปกระทบกับยาของคุณหมอได้ ในกรณีใช้ยาตัวอื่นอยู่

  1. ออริกาโนมีประโยชน์เพราะมี carvacrol กับ rosmarinic acid ทั้งสองอย่างนี้เป็นมีสรรพคุณแก้คัดจมูกและแก้แพ้ตามธรรมชาติ เขาวิจัยกันมาแล้วว่าดีต่อระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้จมูกโล่ง [12]
    • เขาวิจัยกันมาแล้วว่าน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ของออริกาโน คือ thymol และ carvacol สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียร้ายอย่าง staphylococcus aureus (ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ) และ pseudomonas aeruginosa (ทำให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อ) ได้
    • ออริกาโนจะกินสดหรืออบแห้งก็ได้ นอกจากนี้คุณยังผสมน้ำมันออริกาโน 2 - 3 หยดในนมหรือน้ำผลไม้แล้วดื่มได้ทุกวัน
  2. สูดไอน้ำร้อนผสมยูคาลิปตัส เพื่อให้ได้สรรพคุณขับเสมหะ. ยาอมหรือยาน้ำแก้ไอส่วนใหญ่จะผสมยูคาลิปตัส ที่ช่วยขับเสมหะได้เพราะมีสารชื่อ cineole มีสรรพคุณบรรเทาอาการไอ แก้คัดจมูก และบรรเทาอาการระคายเคืองในโพรงไซนัส
    • ถ้าจะสูดดมไอน้ำ ให้หยดน้ำมันยูคาลิปตัสในน้ำร้อน 2 - 3 หยด แล้วสูดดมไอน้ำประมาณ 15 นาที [13]
    • คำเตือน: น้ำมันยูคาลิปตัสอาจจะทำให้ตับย่อยยาบางตัวได้ช้าลง ถ้ากินน้ำมันยูคาลิปตัสควบคู่ไปกับยาบางอย่าง อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง แถมมีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ โดยเฉพาะถ้ากินยาตัวไหนอยู่หรือมีโรคประจำตัว
      • ยาตัวที่ว่าก็เช่น Voltaren, Ibuprofen, Motrin, Celebrex, Warfarin, Allegra เป็นต้น
  3. การอาบน้ำร้อนหรือแช่ซาวน่า จะช่วยขับเหงื่อ ปอดขับสารพิษได้มากขึ้น
    • หลังอาบน้ำร้อนหรือแช่ซาวน่านานๆ ต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพราะเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำได้
    • ต้องล้างอ่างจากุซซี่หรืออ่างน้ำร้อนแบบตามสปาให้สะอาด จะได้ไม่เสี่ยงติดเชื้อ ถึงในน้ำหรือแถวอ่างจะมีกลิ่นคลอรีนฉุน แต่อุณหภูมิสูงๆ ก็เร่งให้แบคทีเรียเติบโตรวดเร็ว เลยยากที่จะคงระดับสารฆ่าแบคทีเรียในแก๊สคลอรีนที่ละลายในน้ำร้อน ถ้าลองเอาไปทดสอบดู จะพบว่าน้ำมีคลอรีนสูง แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยส่งผลต่อแบคทีเรียปนเปื้อนเท่าไหร่
  4. คลายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจด้วยเปปเปอร์มินต์. เปปเปอร์มินต์และน้ำมันเปปเปอร์มินต์มีเมนทอล (menthol) ที่มีสรรพคุณคลายกล้ามเนื้อเรียบของทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น
    • พอมาประกอบกับสรรพคุณแก้แพ้ของเปปเปอร์มินต์ เมนทอลเลยกลายเป็นยาแก้คัดจมูกชั้นดี เพราะงั้นให้เคี้ยวใบเปปเปอร์มินต์ 2 - 3 ใบ (อย่าไปใช้แบบลูกอม) แล้วจะเห็นผลทันที [14]
    • หลายคนก็ว่าใช้ขี้ผึ้งยาทาหน้าอกหรือยาดมที่ผสมเมนทอลแล้วหายคัดจมูกดีนัก
  5. ต้นมัลเลนมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะและน้ำมูก ให้หลอดลมโล่ง คนนิยมใช้ทั้งใบและดอกมัลเลนชงชาดื่ม ให้ปอดแข็งแรง
    • หมอสมุนไพรนิยมใช้มัลเลนขับเสมหะส่วนเกินในปอด ให้หลอดลมโล่ง และลดการอักเสบในทางเดินหายใจ
    • เวลาชงชาให้ใช้ใบแห้ง 1 ช้อนชากับน้ำต้มสุก 1 ถ้วย [15]
  6. ถ้าคัดจมูก ให้ลองดื่มชารากชะเอมเทศ จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี ชะเอมเทศมีสรรพคุณลดบวม ขับเสมหะ/น้ำมูกที่ไม่เหนียวข้นมาก และแก้ไอ [16]
    • ชะเอมเทศช่วยให้เสมหะในทางเดินหายใจเหลวขึ้น ขับง่าย
    • แถมยังมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียและไวรัส ช่วยเรื่องอาการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้
  7. ตอนนี้ยังวิจัยกันอยู่เรื่องว่าช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด ได้ไหม เพราะมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ชนิดตัวโตของมะเร็งบางชนิด [17]
    • ดื่มชารากขิงผสมมะนาวแล้วช่วยบรรเทาอาการหายใจหอบได้
    • ขิงสดหรือขิงสุกก็ช่วยเรื่องย่อยอาหารได้ทั้งนั้น
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

อันตรายทำร้ายปอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไอหรือไอเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน หายใจลำบาก หายใจหอบถี่ ต้องรีบไปหาหมอทันที [18]
  2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) คือมีอาการทั้งหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (emphysema) คนส่วนใหญ่ที่เป็น COPD จะมีอาการของทั้ง 2 โรคที่ว่ามา ปกติโรคนี้จะเป็นแบบลุกลาม (progressive) คือยิ่งแย่ไปตามเวลา อย่างในอเมริกาก็มีข้อมูลว่า COPD เป็นโรคที่ทำให้คนเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 4 เลยทีเดียว [19]
    • COPD ส่งผลต่อปอด โดยเฉพาะถุงลม (alveoli) ที่มีหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์
      • ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) อาการคือหลอดลมกับหลอดลมฝอยอักเสบ และบวมขึ้นเรื่อยๆ จนตัน ทำให้ถุงลมบวม ถุงลมปกติก็เล็กและบอบบางอยู่แล้ว เลยแตกแล้วรวมตัวกัน ทำให้ยากจะถ่ายเทออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์
      • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังทำให้เสมหะในปอดเพิ่มขึ้น จนอุดกั้นหลอดลม เคลือบถุงลม ทำให้คุณหายใจลำบาก [20]
  3. ใครๆ ก็เป็น COPD ได้ แต่ก็มีกลุ่มที่เสี่ยงกว่าคนอื่นอยู่ 2 - 3 กลุ่ม คือผู้ใหญ่ โดยเฉพาะที่อายุเกิน 40 ปี จะพบมากกว่าในเด็ก
    • ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีความเสี่ยงพอๆ กัน แต่ใครสูบบุหรี่จะเสี่ยงเป็น COPD มากที่สุด [21]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ อากาศถ่ายเท ตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ มักมีปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ ปัญหาแบบนี้แก้ได้โดยเริ่มที่ตัวเอง เช่น ปลูกต้นไม้รอบบ้าน เลิกสูบบุหรี่ ใช้เครื่องฟอกอากาศ ไม่สตาร์ทรถทิ้งไว้นานๆ และอื่นๆ
    • หรือใครคิดการใหญ่ อาจจะเข้าร่วมกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม ชวนกันไปปลูกต้นไม้ จัดการมลพิษมลภาวะในชุมชน ไปจนถึงลงชื่อในแคมเปญเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ใครเป็นหอบหืดหรือโรคประจำตัวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปอดและทางเดินหายใจ ก็ลองปรึกษาคุณหมอหรือคนที่มีอาการเดียวกัน ว่าควรปรับตัวหรือใช้ชีวิตยังไง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่หรือถิ่นที่มลภาวะสูง
โฆษณา
  1. https://www.rush.edu/health-wellness/discover-health/keeping-your-lungs-healthy
  2. https://www.rush.edu/health-wellness/discover-health/keeping-your-lungs-healthy
  3. Blagojević PD, Radulović NS. Confirmational analysis of antistaphylococcal sesquiterpene lactones from Inula helenium essential oil. Nat Prod Commun. 2012 Nov;7(11):1407-10.
  4. Elaissi A, Rouis Z, Salem NA, Mabrouk S, ben Salem Y, Salah KB, Aouni M, Farhat F, Chemli R, Harzallah-Skhiri F, Khouja ML. Chemical composition of 8 eucalyptus species’ essential oils and the evaluation of their anti-bacterial, anti-funal and anti-viral activities. BMC Complement Altern Med. 2012 Jun 28;12:81. doi: 10.1186/1472-6882-12-81.
  5. Rakover Y, Ben-Arye E, Goldstein LH. The treatment of respiratory ailments with essential oils of some aromatic medicinal plants. Harefuah. 2008 Oct;147(10):783-8, 838.
  6. Turker AU, Camper ND. Biological activity of common mullien, a medicinal plant. J Ethnopharmacol. 2002 Oct; 82(2-3):117-25.
  7. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-881-licorice.aspx?activeingredientid=881&activeingredientname=licorice
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22043989
  9. https://lunginstitute.com/lung-diseases/copd/
  10. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/copd
  11. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/copd
  12. https://lunginstitute.com/lung-diseases/copd/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,953 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา