ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตของคนยุคนี้มาไวเคลมไว เครียดง่าย แถมสารเคมีและสารพิษต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็เยอะไปหมด กินแต่ฟาสต์ฟู้ด หนีไม่พ้นสิ่งเร้าอย่างกาแฟและเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่นๆ ปาร์ตี้สุดเหวี่ยง ไหลไปตามจังหวะชีวิตรวดเร็ว แต่เคยคิดไหมว่าใครต้องรับภาระขับสารพิษพวกนี้ออกจากระบบร่างกายของคุณ? ก็อวัยวะหน้าตาเหมือนถั่ว 2 เมล็ด ที่ซ่อนอยู่ในมุมหนึ่งของช่องท้อง ที่เรียกว่า "ไต" นี่เอง เป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดวันตลอดคืน 24 ชั่วโมง คอยกรองสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายออกไป แต่ถ้าสารพิษเยอะจัด ก็เกินที่ไตน้อยๆ จะรับไหว ทำงานได้ช้าลง อาจเกิดนิ่วในไต ติดเชื้อ มีซีสต์ เนื้องอก และสุดท้ายคือไตวายไปเลย บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการดีท็อกซ์หรือขับพิษในไตให้คุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดีท็อกซ์ด้วยอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนสำคัญในการดีท็อกซ์ไตทั่วไป คือต้องดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ ประมาณ 8 แก้วต่อวัน (ถ้าเสียเหงื่อหรือออกกำลังกายเยอะก็ต้องมากกว่านั้น) เพื่อขับสารพิษที่สะสมในร่างกาย ถ้าดื่มน้ำเยอะพอ ฉี่จะใส กลิ่นไม่ฉุนแรง ถ้าฉี่สีเข้มเกินเหลืองอ่อน แปลว่าข้นเกินไป ถ้าฉี่ใสเมื่อไหร่แปลว่าร่างกายขับสารพิษดี [1]
    • แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า อย่าดื่มน้ำอัดลม หรือชา/กาแฟ
    • คุณอาจจะเคยได้ยินหรือมีคนแนะนำมา ว่าให้ดีท็อกซ์ไตด้วยชาและน้ำผลไม้ต่างๆ แต่ในทางการแพทย์ มีแค่น้ำสะอาดเท่านั้นที่ช่วยล้างไตได้ จริงอยู่ว่าชาและน้ำผลไม้ต่างๆ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินและแร่ธาตุ แต่ก็มีคาเฟอีนเข้มข้นหรือมีน้ำตาลสูง เป็นอันตรายต่อไตแทน ยังไงน้ำเปล่าสะอาดๆ ก็ดีที่สุด
  2. ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง ช่วยชำระล้างไตได้ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอย่างองุ่น มะนาว ส้ม แคนตาลูป กล้วย กีวี แอพริคอต และพรุน พวกนี้โพแทสเซียมสูงทั้งนั้น [2] นมกับโยเกิร์ตก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดีเช่นกัน
    • ให้กินผลไม้พวกนี้ทุกวัน จะได้รักษาระดับเกลือแร่ในเลือด ทำให้ไตทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ
    • แนะนำให้ดื่มน้ำองุ่น 1 แก้วทุกวัน จะเช้าหรือบ่ายก็ได้ เพราะช่วยกำจัดกรดยูริกส่วนเกินที่สะสม ที่พบหลังไตกรองของเสีย
    • ร่างกายต้องได้รับอาหารโพแทสเซียมสูง ในปริมาณที่ พอดี ถ้าได้รับเยอะเกิน จะเกิดภาวะที่เรียกว่า hyperkalemia (โพแทสเซียมในเลือดสูง) อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ คนที่ไตมีปัญหา เช่น ไตวาย จะได้รับโพแทสเซียมมากไปไม่ได้ คนปกติที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ต้องได้รับโพแทสเซียมไม่เกิน 4.7 กรัมต่อวัน [3]
  3. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น แครนเบอร์รี่ ช่วยดีท็อกซ์ไตได้ เพราะแครนเบอร์รี่มีสารที่เรียกว่าควินิน (quinine) ที่กลายเป็นกรดฮิพพูริก (hippuric acid) ได้ ผ่านกระบวนการเผาผลาญในตับ กรดฮิพพูริกจะไปกำจัดยูเรียและกรดยูริกส่วนเกินที่สะสมในไต แค่ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่วันละ 1 แก้วก็ดีท็อกซ์ไตได้แล้ว [4]
    • นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่าแครนเบอร์รี่ใช้ป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ เพราะมีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย [5]
  4. บาร์เลย์ก็เป็นอีกธัญพืชที่ใช้ดีท็อกซ์ได้ดี รวมถึงป้องกันไตเสียหายจากเบาหวานที่คุมไม่ได้ (uncontrolled diabetes) ถึงข้าวบาร์เลย์จะใช้รักษาโรคไม่ได้ แต่ถ้าใช้ร่วมกับวิธีอื่น ไตก็สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ข้าวบาร์เลย์เป็นโฮลเกรน (ธัญพืชเต็มเมล็ด) แนะนำให้ใช้แป้งข้าวบาร์เลย์แทนแป้งขาวที่ผ่านการขัดสี จะได้มีข้าวบาร์เลย์ในอาหารประจำวัน
    • อีกวิธีเพิ่มข้าวบาร์เลย์ในอาหารประจำวัน คือแช่ข้าวบาร์เลย์ 1 กำมือในน้ำ ทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วใช้ดื่มตอนตื่นนอน ช่วยดีท็อกซ์และซ่อมแซมสารพิษที่สะสมในไตได้ [6]
    • เขาพิสูจน์กันมาแล้วว่าถ้ากินข้าวบาร์เลย์เป็นประจำ จะช่วยรักษาระดับ creatinine ให้สมดุล ถ้าค่านี้สูงเพราะเป็นเบาหวาน ก็จะปรับลงมาให้ปกติ [7]
  5. จริงๆ ก็ยังอยู่ระหว่างการวิจัยหาข้อสรุป แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ช็อคโกแลต ถั่ว และอาหารแปรรูปต่างๆ [8] ที่ให้หลีกเลี่ยงไม่ใช่เพราะเป็นอันตรายต่อไต แต่เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม เพราะงั้นไม่ว่าคุณจะตั้งใจดีท็อกซ์หรือเปล่า ก็ควรเพลาๆ เครื่องดื่มและอาหารที่ว่า
    • แต่ก็อย่างที่บอก ว่ายังไม่มีงานวิจัยที่แสดงหลักฐานยืนยันชัดเจนถึงอันตรายต่อไต ว่าทำไมควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ว่า ก็ต้องศึกษาและติดตามกันต่อไป
  6. อาหารชนิดเดียวที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นอันตรายต่อไต ก็คืออาหารโปรตีนสูง คุณได้ยินแล้วคงแปลกใจ ที่ว่าเป็นอันตราย ก็เพราะเหลือของเสียหลังย่อยและเผาผลาญโปรตีนเยอะกว่าอาหารประเภทอื่น ของเสียที่ได้ก็คือ creatinine นั่นคือสาเหตุว่าทำไมถึงต้องเช็คระดับ creatinine ของผู้ป่วยโรคไต ถ้าระดับ creatinine สูง แสดงว่าไตมีปัญหาเรื่องการกรองและกำจัดของเสีย ระดับ creatinine ถึงต้องต่ำอยู่เสมอ ถ้าลดโปรตีนก็ช่วยได้แน่นอน [9]
    • ข้อมูลอ้างอิงจากแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกและแนวทางเวชปฏิบัติของโรคเบาหวานและโรคไตเรื้อรัง ของ KDOQI (National Kidney Foundation Kidney Disease Outcomes Quality Initiative) ชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง ควรจำกัดปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน ให้เหลือแค่ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เช่น ถ้าเป็นผู้ใหญ่เพศชาย น้ำหนัก 60 กก. ต้องได้รับโปรตีนไม่เกิน 48 กรัมต่อวัน เทียบง่ายๆ คือประมาณเนื้อหมู 1 ชิ้นหรือชีส 1 แผ่นเท่านั้น!
    • ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนปรับเปลี่ยนอาหาร อย่าลืมว่าโปรตีนถือเป็นอาหารหมู่สำคัญ คนที่สุขภาพร่างกายปกติไม่ควรลดหรืองดโปรตีน
  7. หากคุณเป็นสิงห์นักสูบ การสูบบุหรี่เพิ่มความดันโลหิตซึ่งนำไปสู่ปัญหาไต มันยังมีผลด้านลบอื่นๆ อีก ดังนั้นถ้าคิดจะเปลี่ยนแปลงชีวิตก็ต้องเลิกมันซะ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. dandelion เป็นสมุนไพรที่ปกติใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหาร พบได้ในสลัด น้ำสลัด ชา กาแฟ และช็อคโกแลต เป็นต้น แดนดิไลออนมีโพแทสเซียมสูง และมีสรรพคุณขับปัสสาวะ เลยช่วยกำจัดน้ำส่วนเกินในร่างกาย เหมาะสำหรับคนที่อยากให้ฉี่เยอะขึ้น
    • ถ้าจะดีท็อกซ์ด้วยแดนดิไลออน ให้ใช้ dandelion mother tincture ประมาณ 10 - 15 หยด 3 ครั้งต่อวัน จะช่วยดีท็อกซ์ไตได้ โดยใช้ติดต่อกันได้ 6 เดือนโดยไม่อันตรายแต่อย่างใด [10]
  2. เป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่ใช้ดีท็อกซ์ไตได้ดี ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อไตที่อักเสบหรือเสียหาย อันเกิดจากการติดเชื้อหรือนิ่วในไต สารสกัดจากแบร์เบอร์รี่มีไกลโคไซด์ (glycoside) ชื่ออาร์บูติน (arbutin) มีสรรพคุณต้านจุลชีพ เลยช่วยรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้
    • นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการบวมของกล้ามเนื้อหรือทางเดินปัสสาวะได้ โดยปรับความเป็นกรดในปัสสาวะให้สมดุล ทำให้ไม่แสบร้อนจากการติดเชื้อ
    • ปกติคุณกินอาหารเสริมนี้ได้ ปลอดภัยดี แต่ถ้าใช้ยารักษาโรคทางจิตเวชอยู่ เช่น ลิเธียม (lithium) ต้องระวัง นอกจากนี้ uva ursi ยังอาจไปขัดขวางการกำจัด lithium ของร่างกาย ทำให้ระดับ lithium ในเลือดสูงจนเป็นพิษหรืออาจอันตรายถึงชีวิตได้ [11] ดังนั้นคนที่มีโรคอื่นร่วมด้วย ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มกิน uva ursi เพื่อดีท็อกซ์ไต
  3. เป็นอาหารอายุรเวทสำหรับฟื้นฟูสุขภาพไต เหมาะสำหรับคนที่กลับมาติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหรือเป็นนิ่วในไตซ้ำ เพราะช่วยเรื่องการไหลของปัสสาวะ และทำให้เยื่อบุทางเดินปัสสาวะเย็นสบายไม่ระคายเคือง เลยบรรเทาอาการเจ็บปวด นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเหมือนยาปฏิชีวนะ ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
    • ให้กินโคกกระสุน 1 - 2 แคปซูลต่อวัน จะช่วยฟื้นฟูการทำงานของไตได้
  4. เป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่คนนิยมใช้ดีท็อกซ์นิ่วในไต แพทย์ทางเลือกอย่าง homeopathy (ใช้หลักหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง) จะใช้ mother tincture ที่ได้จากสมุนไพรนี้ (Berberis Vulgaris) มาบรรเทาอาการปวดจากนิ่วในไต (renal colic) ทำให้ไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ทั้งนี้ ขนาดของนิ่วก็ต้องเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อปัสสาวะด้วย ไม่งั้นจะเป็นอันตรายต่อเยื่อบุท่อปัสสาวะตอนร่างกายขับออกมา [12]
    • ผสม mother tincture 10 - 15 หยดกับน้ำเล็กน้อย แล้วใช้ดื่ม 3 ครั้งต่อวัน จะช่วยขับนิ่วในไตได้หมดใน 2 - 3 อาทิตย์
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคไตรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคิดว่าตนเองมีปัญหาด้านไต จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจและรักษาในทันที พบแพทย์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้: [13]
    • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
    • อ่อนเพลีย หรือนอนหลับยาก
    • ปัสสาวะติดขัดหรือปริมาณมีการเปลี่ยนแปลงไป
    • เป็นตะคริว
    • ตั้งสมาธิได้ยาก
    • เท้าหรือข้อเท้าบวม
    • คันตามผิวหนัง
    • เจ็บหน้าอกหรือหายใจลำบาก
  2. อาการปวดไตเป็นสัญญาณของการเป็นนิ่ว การติดเชื้อ หรือโรคแทรกซ้อนรุนแรง [14] ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการปวดหนึบตรงด้านข้างหรือหลังด้านหนึ่งเป็นประจำ ปวดตามตัว อ่อนเพลีย หรือคลื่นไส้อาเจียน บอกหมอด้วยว่าคุณเพิ่งมีการติดเชื้อทางปัสสาวะมาหรือเปล่า [15]
    • ไปห้องฉุกเฉินถ้าจู่ๆ ก็ปวดมาก หรือปัสสาวะออกมามีเลือดปน
  3. อาหารสำหรับคนที่เป็นโรคไตนั้นต่างจากคนปกติ ก่อนเปลี่ยนรูปแบบจึงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าอาหารตัวไหนปลอดภัยและมีประโยชน์กับคุณ [16]
  4. ก่อนใช้ต้องปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงด้วย อาหารเสริมบางตัวมีปฏิกิริยากับยาจนเป็นอันตราย และอาจทำให้อาการแย่ลงถ้าเป็นโรคไตอยู่แล้ว [19] ปรึกษาแพทย์ก่อนว่ามันปลอดภัยหรือไม่
    • ก่อนลองอาหารเสริม ให้รายชื่อยาทั้งหมด วิตามินและอาหารเสริมที่คุณใช้แก่แพทย์ด้วย
    • ให้แพทย์ทราบว่าคุณมีปัญหาสุขภาพอื่น เพราะมันอาจมีผลต่ออาหารเสริม
  5. ถ้าคุณได้รับการตรวจว่ามีปัญหาด้านไตหรือมีความเสี่ยง จำเป็นต้องปฏิบัติตัวตามการดูแลของแพทย์ [20] ไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจหรือทดสอบ และอย่าลังเลที่จะไปพบหากอาการเปลี่ยนไป
    • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และดูแลตนเองตามคำแนะนำ
    • แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนรูปแบบอาหารและการใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการรักษา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • 2 เรื่องที่สำคัญในการดีท็อกซ์ไตก็คือ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนสูง และดื่มน้ำเยอะๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,899 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา