ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณกำลังหาวิธีแก้นิ้วแห้งแตกอยู่ใช่ไหม? นอกจากจะรำคาญ ไม่สบายนิ้วแล้ว พอนิ้วแห้งแตกจะทำอะไรก็ไม่สะดวก ยิ่งแตกจนเลือดซิบด้วยแล้ว การดูแลนิ้วของเราไม่ให้แห้งแตก นอกจากเหตุผลเรื่องความสวยความงามแล้ว ยังป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายๆ โชคดีที่เดี๋ยวนี้คุณดูแลนิ้วของคุณให้นิ่มสวยได้ด้วยหลายวิธีแถมทันใจ เริ่มจากขั้นตอนแรกข้างล่างกันเลย

  1. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    ถ้านิ้วคุณแห้งแตกลึกจนเลือดออก ก็ต้องรักษาก่อนบำรุง เหมือนเวลาคุณดูแลแผลเปิดทั่วไป ให้ล้างทำความสะอาดรอยแตกอย่างเบามือด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ จากนั้นซับให้แห้งแล้วติดพลาสเตอร์ไว้ หรือจะทาขี้ผึ้งยาฆ่าเชื้อด้วยก็ได้ เพื่อปกป้องไม่ให้รอยแตกนั้นติดเชื้อ
  2. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    นี่แหละสุดยอดวิธีรักษานิ้วแตกด้วยสาเหตุสำคัญอย่างผิวแห้ง เลือกมอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมบำรุงที่ดีๆ แล้วใช้ทามือเพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ในผิว ทำให้ผิวไม่แห้งจนปริแตกเป็นแผล อาจยากหน่อยตอนเลือกซื้อครีมที่ใช่ เพราะมอยส์เจอไรเซอร์ส่วนใหญ่ที่โฆษณากันเกร่อว่าช่วยดูแลผิวแห้งมากๆ ได้ดีนั้น จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นสูตรเฉพาะสำหรับรักษารอยแตกและปกป้องมือคุณโดยเฉพาะ ให้คุณทาครีมที่เหนียวๆ เยิ้มๆ หน่อย หรือทาขี้ผึ้งเพื่อให้ผิวหนังไม่สูญเสียความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ และให้โอกาสผิวแห้งแตกได้ฟื้นตัว
    • ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของร่างกายนั้นจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ และการฟื้นตัวของผิวชั้นนอกที่แห้งแตก ตกสะเก็ด และอื่นๆ ผิวชั้นนอกจะคอยปกป้องผิวชั้นใน แต่จะเริ่มมีปัญหาเมื่อผิวชั้นนอกไม่แข็งแรงซะเอง ซึ่งถึงเวลาที่คุณต้องทาครีมบำรุงหรือขี้ผึ้งเพื่อช่วยร่างกายฟื้นตัวอีกแรง
    • โลชั่นทั่วไปมักมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และสารเคมีต่างๆ ที่อาจทำสภาพผิวคุณย่ำแย่ไปกว่าเดิม
    • ให้คุณหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี emollients บริสุทธิ์ (สารช่วยเคลือบผิว) และ humectants หรือสารให้ความชุ่มชื้น ทั้งสองอย่างนี้จะช่วยปกป้องผิว ทำให้ผิวไม่ขาดน้ำ
      • ลาโนลิน (Lanolin) เป็นสารที่ทำให้แกะอยู่ 'ข้างนอก' ได้สบายๆ ทั้งตอน 'ฝนตกและหิมะตก' ในหน้าหนาว เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับรักษาผิวแห้งแตกของคุณ
      • น้ำมันโจโจ้บา (Jojoba oil) นั้นคล้ายกันมากๆ กับน้ำมันตามธรรมชาติในผิวคุณ ขอให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันโจโจ้บาเป็นส่วนผสมหลัก
      • น้ำมันมะพร้าวกับเชียบัตเตอร์ (shea butter) สองอย่างนี้ก็เป็นอีกสุดยอดผลิตภัณฑ์สำหรับปกป้องผิวพรรณ
      • ปิโตรเลียมเจลลี่ (Petroleum jelly) ช่วยปกป้องผิวโดยสร้างชั้นเคลือบไม่ให้ความชุ่มชื้นเล็ดลอดออกไปจนผิวแห้ง
  3. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    ถ้าล้างผิดวิธีอาจทำเอามือแห้งแตกกว่าเดิม เพราะทุกครั้งที่คุณล้างมือ ผิวจะสูญเสียน้ำมันตามธรรมชาติจนผิวแห้งแตกได้ แน่นอนว่าแต่ละวันเราทำอะไรเยอะแยะจนต้องล้างมือ แต่ขอให้ล้างเบาๆ จะได้ป้องกันไม่ให้รอยแตกลึกกว่าเดิม
    • ล้างมือด้วยสบู่อ่อนๆ (หรือสบู่เด็ก) เพราะสารเคมีในสบู่ทั่วไปจะค่อนข้างแรง ลองหาซื้อสบู่ Castile หรือสบู่สูตรธรรมชาติจากน้ำมันมะกอกมาใช้ดู ไม่ก็เอาน้ำเจือจางสบู่เหลวทั่วไปก่อนใช้ล้างมือ
    • ล้างมือด้วยน้ำอุ่น ถ้าน้ำร้อนไปจะชะล้างเอาน้ำมันตามธรรมชาติออกไปจนผิวแห้ง เพราะงั้นต้องใช้น้ำอุ่นกำลังพอดีแทน
    • แค่ซับมือให้แห้งเบาๆ ก็พอ อย่าเช็ดถูแรงๆ
  4. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    พอน้ำระเหยไปจากมือเมื่อไหร่ ความชุ่มชื้นก็ตามไปด้วย ขอให้ทาครีมที่มี humectant จะได้เคลือบผิวกักเก็บความชุ่มชื้นไว้
  5. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    น้ำกับสบู่แรงๆ ยิ่งทำให้มือแห้ง ทีนี้ก็นิ้วแตกจนเป็นร่องลึก แต่ถ้าคุณหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ให้รีบทาครีมทุกครั้งหลังล้างมือ
  6. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    ถ้าเป็นไปได้ให้ใส่ถุงมือผ้าบางๆ ตลอดวัน จะได้ป้องกันไม่ให้ผิวที่แตกอยู่แล้วนั้นระคายเคืองไปกว่าเดิม ที่สำคัญคือให้ทาครีมก่อนใส่ถุงมือ ถ้าคุณใส่ถุงมือได้เฉพาะบางเวลา ก็เลือกใส่ก่อนเข้านอนจะได้กักเก็บความชุ่มชื้น ถ้าทาครีมหรือขี้ผึ้งไว้ก็จะได้ไม่เลอะเทอะด้วย
  7. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    เปลี่ยนไปล้างมือด้วยสบู่อ่อนๆ หรือสบู่ที่ผสมโลชั่น. น้ำยาล้างจานหรือสบู่บางตัวมีส่วนผสมที่ค่อนข้างแรง ผิวแห้งแตกของคุณเลยระคายเคืองจนอาการหนักกว่าเดิม
  8. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    อากาศหนาวๆ (บ้านเราก็คนที่อยู่แต่ในแอร์) ทำให้ความชื้นน้อย ยิ่งถ้าร้อนแห้งๆ ก็ยิ่งผิวแห้งแตกไปหมด ลองหาเครื่องทำความชื้นมาใช้ในห้องนอนหรือลงทุนหน่อยก็ใส่ไว้ทุกห้องในบ้านเลย หรือบ้านใครที่ใช้แอร์ท่อเปิดทีเดียวทั้งบ้านแบบฝรั่ง ก็ลองหาข้อมูลเรื่องเครื่องทำความชื้อแบบต่อเข้ากับระบบปรับอากาศส่วนกลาง อากาศจะได้ชื้นขึ้นทีเดียวทั้งบ้าน
  9. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    ถ้าต้องอยู่กลางแจ้งนานๆ ให้ทาครีมกันแดด โดยเฉพาะคนที่ผิวขาวผิวบาง. ตากแดดนานๆ ก็ทำคุณผิวแห้งจนเสียได้ โดยเฉพาะมือที่มักไม่ค่อยมีโอกาสได้หลบแดดเหมือนส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ยิ่งบ้านเราที่แดดแรงไม่แคร์ฤดูยิ่งต้องระวัง ถ้านิ้วคุณแตกขั้นรุนแรง ขอให้รอจนกว่าแผลแตกเลือดซิบจะหายแล้วค่อยทาครีมกันแดด ไม่งั้นเดี๋ยวจะแสบเอา
  10. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    ถ้าผิวแตกเป็นร่องลึกพวกคราบสบู่ก็อาจไปติดค้างจนสูญเสียความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ สุดท้ายก็ยิ่งแห้งแตกกว่าเดิม พอขอบมาถูโดนกันก็ยิ่งแตกฉีกจนเจ็บและเป็นแผลซ้ำๆ โดยเฉพาะตอนผิวบริเวณนั้นขยับเขยื้อนหรือยืดหด ให้คุณใช้กรรไกรตัดหนังเล็กๆ (จะได้ตัดง่ายไม่อันตราย) มาเล็มหนังตายแข็งๆ ด้านบนออก รอยแตกจะได้ตื้นขึ้น ไม่กักเก็บน้ำหรือคราบสบู่เวลาล้างมือ
    • อย่าเล็มมากเกินไป แค่ข้างละครึ่งมิลลิเมตรก็พอ และทำมุม 45 องศา เล็มระวังอย่าให้พลาดไปโดนจนเจ็บ เนื้อเปิด หรือเลือดออก ขอให้เล็มแค่หนังตายแข็งๆ ด้านบนก็พอ
    • พวกกรรไกรตัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการรักษาความสะอาดส่วนตัว ใช้เสร็จแล้วต้องล้างและฆ่าเชื้อให้สะอาดหมดจด ที่สำคัญคืออย่าใช้ร่วมกัน
  11. Watermark wikiHow to ดูแลนิ้วแห้งแตก
    ถ้าผิวแห้งแตกไม่หายหรืออาการรุนแรงให้ไปหาหมอหรือหมอโรคผิวหนัง. เพราะนิ้วมือที่แห้งแตกอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีโรคหรืออาการอื่นซ่อนอยู่ เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema) โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) หรือเชื้อรา คุณหมออาจจ่ายยาสเตียรอยด์มาให้ทา (topical steroids) รักษาผิว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามใส่ถุงมือยางเวลาล้างจานหรือใช้น้ำยาทำความสะอาด
  • ป้องกันไม่ให้ผิวแห้งแตกโดยหมั่นทาโลชั่นหรือครีมเป็นประจำ
  • ถ้านิ้วคุณแห้งแตกมากเป็นพิเศษ "ห้าม" ทาโลชั่นในทันที เพราะเดี๋ยวจะแสบเอา ให้ทาขี้ผึ้งหรือปิโตรเลียมเจลลี่ที่รอยแตกแล้วติดพลาสเตอร์แทน
  • จุ่มนิ้วที่แห้งแตกในน้ำอุ่น ถ้าแตกและเลือดออกด้วยให้ทาขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะ (แต่ถ้าเลือดไม่ออกให้ทาปิโตรเลียมเจลลี่หรือ A&D) แล้วติดพลาสเตอร์ ทำซ้ำจนกว่าจะหาย
  • ลองใช้สบู่สมุนไพรที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด
  • ใส่ถุงมือธรรมดาหรือ mittens (ถุงมือแยกเฉพาะนิ้วโป้ง) ตอนกลางคืนถ้านอนห้องแอร์แล้วอากาศแห้งหนาว รวมถึงเวลาไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศที่อากาศหนาวจัด จะได้ช่วยปกป้องมือและนิ้วไม่ให้แห้งแตก
  • ลองใช้โลชั่นดูหลายๆ แบบหลายๆ ยี่ห้อ จนกว่าจะเจอยี่ห้อที่ใช่และดี
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้านิ้วคุณแห้งแตกเข้าขั้นรุนแรง อย่าใช้โลชั่นหรืออะไรที่มี humectants เคลือบผิว ให้เปลี่ยนไปใช้ขี้ผึ้งยาหรือวาสลีนแทน
  • ห้ามล้างมือด้วยน้ำร้อนๆ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ขี้ผึ้งทาผิวแห้งแตก หรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะ
  • ถุงมือผ้า (คอตตอน)
  • โลชั่น
  • เครื่องทำความชื้น (humidifier)
  • กรรไกรตัดหนัง หรืออุปกรณ์อื่นที่ใช้แทนกันได้

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 91,009 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา