ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางเป้าหมายที่มีค่าและยิ่งใหญ่มากๆ นั้น มักจะทำให้สำเร็จได้ยากเสมอ และความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็ต้องอาศัยเวลาและความพยายามอย่างมาก จนบางทีเราเองก็หมดกำลังใจและอยากจะยอมแพ้เอาเสียง่ายๆ หากคุณกำลังพยายามจะบรรลุเป้าหมายที่สำคัญอยู่ คุณก็อาจจะพบว่าตัวคุณเองมองไม่เห็นว่าจะเริ่มต้นยังไง หรือไม่ก็พยายามเริ่มต้นแล้ว แต่ไม่สามารถหาแรงจูงใจที่จะพาตัวเองไปยังเป้าหมายได้ ซึ่งถ้าหากคุณรู้จักวางแผนสักนิด บวกกับการปรับปรุงนิสัยตัวเองอีกสักหน่อย มันก็จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายยากๆ ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

วางแผนการปฏิบัติเพื่อเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นกับเป้าหมายที่ยากๆ สิ่งสำคัญที่คุณจะต้องทำก็คือ ถามตัวเองว่าคุณมีความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายนี้มากแค่ไหน เพราะระดับความมุ่งมั่นของคุณ มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการบรรลุเป้าหมาย [1]
    • ความมุ่งมั่นนี้ จะเป็นตัวแทนของสัญญาที่คุณมีให้ตัวเอง/ความมุ่งมั่นต่อตัวเองและต่อเป้าหมายที่คุณมี
    • หากคุณรู้สึกว่า ตัวเองไม่มีความมุ่งมั่นที่จะทำเป้าหมายที่ยากให้สำเร็จเลย โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จก็จะมีน้อยตามไปด้วย ถ้าหากรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความมุ่งมั่นจริงๆ คุณอาจจะต้องพิจารณาเป้าหมายนี้ใหม่อีกรอบแล้วล่ะ
  2. ดูให้แน่ใจว่าเป้าหมายของตัวเองมีความเฉพาะเจาะจงและวัดผลได้หรือเปล่า. โดยส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้ จะมีความเฉพาะเจาจง และชัดเจนพอที่จะทำให้คุณรับรู้ถึงความสำเร็จได้ เมื่อคุณได้บรรลุเป้าหมายนั้นแล้ว [2]
    • เป้าหมายที่คลุมเครือนั้น จะทำให้การบรรลุเป้าหมายเป็นสิ่งที่ยากขึ้น เพราะว่ามันจะทำให้คุณไม่มีความชัดเจนในสิ่งที่ตัวเองทำ และไม่รู้ว่าจะต้องทำเป้าหมายให้สำเร็จตอนไหน
    • การที่คุณยังไม่สามารถทำเป้าหมายยากๆ ของตัวเองได้สำเร็จนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่า ตัวคุณยังไม่ได้ทำเป้าหมายนั้นให้ชัดเจนพอ
    • ยกตัวอย่างเช่น เป้าหมาย “เป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม” ซึ่งฟังแล้วดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากที่จะทำสำเร็จ และเป้าหมายนี้คลุมเครือมาก เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ดีขึ้นแค่ไหน คุณก็ยังสามารถเป็นคนที่ดีขึ้นกว่านั้นได้อีก ซึ่งในกรณีนี้ คุณควรจะให้ความหมายของการเป็นคนดีให้ชัดเจน และถามตัวเองว่า เราต้องทำอะไรเพื่อที่จะได้กลายเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม ใช่การโทรหาแม่อาทิตย์ละครั้งหรือเปล่า? ทำงานเป็นอาสาสมัครเพื่อการกุศล 10 ชั่วโมงต่อเดือนใช่หรือไม่? หรือช่วยทำงานบ้าน? ให้คุณกำหนดแบบเฉพาะเจาะจงไปเลย
  3. ขั้นตอนต่อไปคือ แบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วนย่อยๆ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ควรจะมีความเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้ [3]
    • การแบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วนย่อยๆ จะทำให้คุณสามารถวางแผนให้เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดได้
    • นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสให้คุณได้เขียนโน้ตบันทึกความคืบหน้าของตัวเอง ซึ่งนี่จะทำให้คุณรักษาแรงจูงใจไว้กับตัวเองได้
    • ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของคุณคือ ได้ปริญญาเอกในสาขาฟิสิกส์ ให้คุณคิดถึงสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อที่จะได้ไปถึงเป้าหมายนั้น เช่น คุณจะต้องสมัครเรียนกับทางมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนระดับปริญญาเอกในสาขานี้ แล้วคุณก็ต้องได้รับการคัดเลือกเข้าไป คุณต้องผ่านเทอมแรกไปให้ได้ ต้องเรียนจบคอร์สบังคับทุกคอร์ส แล้วก็ต้องสอบวัดคุณสมบัติให้ผ่าน และอื่นๆ อีกหลายอย่าง
    • หากคุณยังไม่รู้ว่าจะแบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วนย่อยๆ ยังไง ให้คุณลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายนั้น คุณจะได้แบ่งเป้าหมายย่อยถูก [4]
  4. เมื่อคุณได้แบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้ว ให้คุณจัดวางเป้าหมายเหล่านั้นเป็นไทม์ไลน์ให้ชัดเจน คุณจะได้รู้ว่าเป้าหมายย่อยแต่ละอันต้องใช้เวลานานแค่ไหน
    • ไทม์ไลน์จะช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบและมีความมุ่งมั่น เพราะมันทำให้คุณตระหนักถึงความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น [5]
    • จำไว้ว่าถ้าคุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนดไว้ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณล้มเหลว มันหมายถึงว่า คุณต้องปรับปรุงแก้ไขไทม์ไลน์ของคุณใหม่ และเริ่มต้นทำตามเป้าหมายอีกครั้ง
  5. การบรรลุเป้าหมายที่ยากที่สุดนั้น จริงๆ ก็คือการเอาชนะอุปสรรคที่ยากลำบากต่างๆ ได้นั่นเอง เราอยากแนะนำให้คุณใช้เวลาสักนิด เพื่อคิดถึงสิ่งที่คุณจะต้องเจอในระหว่างทางสู่เป้าหมาย
    • การรับรู้ว่าตัวเองจะต้องเจออุปสรรคต่างๆ จะช่วยคุณวางแผนรับมือกับอุปสรรคเหล่านั้นได้ [6]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังฝึกร่างกายเพื่อเข้าร่วมการวิ่งมาราธอน ให้คุณลองคิดว่า มันน่าจะมีอุปสรรคอะไรบ้างที่คุณอาจจะต้องเจอ เช่น คุณอาจจะได้รับบาดเจ็บระหว่างที่ฝึกร่างกายอยู่ หรืออาจจะมีบางอย่างเกิดขึ้นกับงานหรือชีวิตส่วนตัวคุณ จนทำให้คุณไม่สามารถฝึกร่างกายได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้อยู่พักหนึ่ง คุณจะทำอย่างไรถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น?
    • การมีแผนฉุกเฉินเตรียมไว้สำหรับอุปสรรคที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในระหว่างทางไปยังเป้าหมาย จะทำให้คุณรับมือกับมันได้ง่ายกว่าเดิม และแผนนี้จะช่วยให้คุณไปต่อได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ ระหว่างทาง
    • คุณอาจจะไม่สามารถทำนายได้ว่าจะมีอุปสรรคแบบไหนเกิดขึ้นบ้าง แต่การพยายามคิดถึงอุปสรรคต่างๆ ไว้ล่วงหน้า สามารถสร้างความมั่นใจให้คุณได้ แม้ว่าคุณจะต้องพบเจอกับอุปสรรคที่ไม่คาดคิด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทำเป้าหมายของคุณให้เป็นจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนสำคัญในการบรรลุเป้าหมายยากๆ ก็คือการมีทัศนคติที่ดีนั่นเอง ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะจำไว้ว่า แม้จะมีบางสิ่งบางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุม คุณก็ยังสามารถกำหนดโชคชะตาของตัวเองได้อยู่
    • หลายคนเชื่อว่าชีวิตคือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นกับพวกเขา ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่พวกเขาสามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง ซึ่งความเชื่อแบบนี้เรียกว่า “ความเชื่อในอำนาจภายนอกตน” มันคือทัศนคติที่ใช้ในการโทษโชคชะตาของตัวเองหรือโทษคนอื่นๆ เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปอย่างที่คิด [7]
    • "ความเชื่อในอำนาจภายนอกตน" คือ ทัศนคติที่จะลดคุณค่าในตัวคุณ ดังนั้น ให้คุณโฟกัสไปที่ “ความเชื่อในอำนาจภายในตน” จะดีกว่า เพราะทัศนคตินี้ คือ ทัศนคติที่บอกให้คุณกำหนดเส้นทางชีวิตของตัวเอง ซึ่งเป็นทัศนคติที่มีพลัง ที่จะช่วยกระตุ้นคุณให้เดินทางไปสู่เป้าหมายยากๆ ได้ [8]
    • ใส่ใจกับสิ่งที่คุณพูดกับตัวเองด้วย เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังคิดว่า “ไม่มีอะไรที่ฉันทำได้สักอย่างเลย” หรือ “นั่นล่ะ ชีวิตของฉัน” ให้คุณลองถามตัวเองว่า มันเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า คุณอาจจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบากที่คุณไม่ได้เป็นคนสร้างขึ้นมา แต่ในกรณีนี้ เราอยากให้คุณคิดหาทางแก้ปัญหานั้น มากกว่าที่จะไปยอมรับความพ่ายแพ้ [9]
    • พยายามจำไว้ว่า คุณมีทางเลือกเสมอ
  2. อีกวิธีที่ดีอันหนึ่งที่ใช้ในการกระตุ้นตัวเองคือ พยายามจินตนาการถึงผลลัพธ์จากเป้าหมายต่างๆ ที่จะมีผลกับชีวิตคุณ [10]
    • การจินตนาการถึงตัวเองในแต่ละขั้นตอนระหว่างการเดินทางไปยังเป้าหมาย สามารถสร้างแรงจูงใจให้คุณได้ เพราะมันจะช่วยให้คุณเห็นถึงประโยชน์ของเป้าหมายต่างๆ
    • นี่เป็นเวลาที่เหมาะที่จะระดมความคิดต่างๆ แล้วเขียนลงกระดาษในขณะที่คุณกำลังคิดถึงผลลัพธ์ด้านบวก ที่เกิดจากความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย
  3. พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับเป้าหมาย. เป้าหมายยากๆ จะง่ายขึ้น หากคุณสร้างสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณ ให้เป็นเครื่องที่คอยกระตุ้นคุณให้โฟกัสอยู่กับเป้าหมาย [11]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นคนติดเหล้า และพยายามที่จะเลิกดื่มอยู่ ขั้นตอนที่สำคัญคือ เอาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกไปจากบ้านตัวเองให้หมด และคุณอาจจะต้องใช้เวลาอยู่กับคนที่คุณเคยดื่มด้วยเป็นประจำให้น้อยลง เพราะคนเหล่านี้อาจจะโน้มน้าวให้คุณกลับไปทำนิสัยเก่าๆ นั้นอีก
    • ให้คุณอยู่ใกล้ๆ กับคนที่มีเป้าหมายในชีวิต และพูดคุยกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ เพราะนี่จะทำให้คุณมีความรับผิดชอบมากขึ้น ผู้คนเหล่านี้อาจจะมีข้อแนะนำหรือข้อมูลดีๆ ให้กับคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป้าหมายของพวกเขาคล้ายๆ กับของคุณ [12]
  4. สุดท้ายแล้ว เป้าหมายที่ยากๆ นั้น ก็ต้องอาศัยการทำงานอย่างหนักหลายชั่วโมง (หรือหลายวัน หรือหลายปี) ดังนั้น ให้คุณทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า ยังไงคุณก็ต้องสละเวลาแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว จากนั้น ให้คุณเริ่มต้นอุทิศเวลาของตัวเองเพื่อเป้าหมายนั้น [13]
    • การมีกิจวัตรประจำวันที่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายต่างๆ จะช่วยคุณได้มาก ดังนั้น หากคุณอยากจะวิ่งมาราธอน ดูให้แน่ใจด้วยว่า คุณมีเวลาที่แน่นอนสำหรับการฝึกร่างกายเพื่อการแข่งขันครั้งนี้ทุกวันหรือเปล่า [14]
    • ไม่นาน การทำสิ่งต่างๆ เพื่อเป้าหมายก็จะกลายเป็นอุปนิสัยของคุณ นี่จะช่วยให้คุณมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง และทำให้การทำสิ่งต่างๆ เพื่อเป้าหมายเป็นไปอย่าง “อัตโนมัติ” ไม่มากก็น้อย
  5. มีแรงกระตุ้นตลอดเวลา (และต้องสร้างความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตอนนั้นจะไม่ค่อยมีแรงกระตุ้นก็ตาม). เพราะเป้าหมายที่ยากที่สุด จะเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถคุณอย่างมาก มันสามารถทำให้คุณหมดแรงจูงใจหรือยอมแพ้ไปก่อนได้ง่ายๆ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการนี้ได้
    • ใช้การเสริมแรงด้วยการให้รางวัลกับตัวเอง (การเสริมแรงเชิงบวก) เมื่อคุณไปถึงเป้าหมายย่อยได้แล้ว หรือไม่ก็ไม่ต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ (การเสริมแรงเชิงลบ) ซื้อรองเท้าคู่ใหม่ให้ตัวเองสักคู่ หรือไม่ก็หยุดพักทำความสะอาดบ้านตัวเองสักวันหนึ่ง เพื่อให้รางวัลตัวเองสำหรับการสร้างความคืบหน้า [15]
    • รางวัลเล็กน้อยนี้จะช่วยทำให้แรงจูงใจของคุณไม่หายไปไหน เพราะมันจะทำให้จิตใจคุณเรียนรู้ที่จะอยู่แต่กับสิ่งดีๆ ในระหว่างหนทางสู่เป้าหมาย
    • การเสริมแรงพลังนั้น มีประสิทธิภาพมากกว่าการลงโทษตัวเองเพราะความล้มเหลว [16]
    • ในบางครั้ง คุณอาจจะรู้สึกว่า ไม่ว่าจะใช้การเสริมแรงมากแค่ไหน คุณก็ไม่สามารถที่จะหาแรงจูงใจใดๆ ได้เลย นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าคุณป่วย คุณเหนื่อย หรือมีบางอย่างไม่ดีเกิดขึ้นกับงานของคุณ หากมีครั้งไหนที่คุณไม่สามารถทำตามสิ่งที่กำหนดไว้ได้ ให้คุณลองมองหาทางอื่นที่ง่ายกว่านั้น เพื่อที่จะได้สร้างความคืบหน้าต่อไปได้
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณไม่สามารถบังคับตัวเองให้เปิดหนังสือฟิสิกส์เพื่ออ่านสอบได้ ให้คุณลองทำอย่างอื่นที่ใช้พลังงานน้อยกว่าการอ่านหนังสือ เช่น เรียบเรียงสิ่งที่คุณโน้ตไว้ให้เป็นระเบียบ อ่านคู่มือเตรียมสอบ หรือไม่ก็ดูสารคดีวิทยาศาสตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะสอบ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณสามารถสร้างความคืบหน้าให้ตัวเองได้ แม้ว่าในตอนนั้นคุณจะยังไม่มีแรงจูงใจใดๆ ก็ตาม
  6. วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ตัวเองมีแรงจูงใจอยู่ตลอดเวลาก็คือ คอยติดตามความคืบหน้าของตัวเอง คุณจะใช้แอปพลิเคชัน ปฏิทิน หรือสมุดบันทึก เพื่อโน้ตความคืบหน้าของตัวเอง และเป้าหมายย่อยที่คุณทำสำเร็จแล้วก็ได้
    • เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองยังไม่คืบหน้าไปไหนเลย ให้คุณหยิบบันทึกนั้นขึ้นมาดู มันจะทำให้คุณเห็นว่าตัวเองได้ทำอะไรสำเร็จไปมากแค่ไหน และนี่จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้คุณ แถมยังช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและแผนการของคุณด้วย [17]
    • ในขณะที่คุณกำลังพยายามจะบรรลุเป้าหมายที่ยากมากๆ อยู่ คุณอาจจะต้องเผชิญกับความเครียดหรือความกังวล ซึ่งวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่ใช้ในการต่อสู้กับอาการเหล่านี้ก็คือ โน้ตความก้าวหน้าของตัวเองลงไปในสมุดบันทึก โดยให้เอาสมุดบันทึกมาเขียนถึงสิ่งที่คุณได้ทำไป รวมถึงความรู้สึกที่มีต่อความคืบหน้าของตัวเองด้วย เพราะการปลดปล่อยอารมณ์ตัวเองออกมาด้วยวิธีนี้ สามารถช่วยลดความกังวลได้ และช่วยทำให้คุณโฟกัสอยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ [18]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เขียนลงกระดาษว่าทำไมคุณถึงอยากจะบรรลุเป้าหมายนั้น คุณต้องรู้เหตุผลของตัวเอง และเขียนเหตุผลของตัวเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณขาดแรงจูงใจ ให้หยิบลิสต์นี้ขึ้นมาอ่าน
  • สร้างแรงจูงใจไว้ในสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณ หากคุณอยากจะฟิตร่างกายให้พร้อมที่จะวิ่งมาราธอน ให้วางใบปลิวโครงการนั้นไว้ที่เตียง แปะไว้ที่ตู้เย็น ฯลฯ
  • หาข้อมูลที่จะช่วยคุณบรรลุเป้าหมายต่างๆ มาอ่าน เพราะว่าการรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำให้สำเร็จนั้น จะยิ่งทำให้คุณไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
  • เขียนเป้าหมายเล็กๆ ในแต่ละวันลงบนปฏิทินหรือสมุดจดบันทึกตารางเวลา เพราะว่านี่จะเป็นอุปนิสัยที่ดี ที่ใช้ในการปรับปรุงตัวเอง และทำให้คุณมีความรับผิดชอบมากขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ดูด้วยว่าเป้าหมายต่างๆ ที่คุณตั้งไว้นั้นมีเหตุผลพอหรือเปล่า เพราะการพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ มีแต่จะทำให้คุณพบเจอแต่กับความล้มเหลว และความผิดหวัง
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Koestner, R., Lekes, N., Powers, T. A., & Chicoine, E. (2002). Attaining personal goals: Self-concordance plus implementation intentions equals success. Journal of Personality and Social Psychology, 83, 231–244
  2. Fischhoff, B., Slovic, P., & Lichtenstein, S. (1988). Knowing what you want: Measuring labile values. Decision Making: Descriptive, Normative and Prescriptive Interactions, Cambridge University Press, Cambridge, 398-421. (Chapter 18)
  3. Fischhoff, B., Slovic, P., & Lichtenstein, S. (1988). Knowing what you want: Measuring labile values. Decision Making: Descriptive, Normative and Prescriptive Interactions, Cambridge University Press, Cambridge, 398-421. (Chapter 18)
  4. http://www.lifecoach-directory.org.uk/blog/2014/06/30/rediscover-your-motivation-and-set-achievable-goals-with-life-coach-directory/
  5. http://www.connectionsacademy.com/blog/posts/2014-01-10/How-Students-Can-Achieve-Goals-by-Setting-Deadlines.aspx
  6. http://theinvestingmindset.com/goal-setting-how-to-to-achieve-your-goals-in-7-steps
  7. http://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_90.htm
  8. http://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_90.htm
  9. http://www.mindtools.com/pages/article/newCDV_90.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,412 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา