ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลองนึกภาพดูว่าคุณเพิ่งซุกตัวลงนอนบนเตียงและพยายามข่มตาให้หลับแต่กลับต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการน้ำมูกไหลลงคอ แต่อย่าเพิ่งกังวล เพื่อช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้นในยามหลับ มีหลายวิธีในการบรรเทาอาการน้ำมูกไหลลงคอที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับร่างกายให้รู้สึกผ่อนคลาย การขยายโพรงไซนัสให้โล่งขึ้น หรือการเลือกทานยาที่ถูกต้อง และยังมีวิธีแก้อาการน้ำมูกไหลลงคออื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยลดการระคายเคืองในลำคอและทำให้คุณนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่!

1

ยกศีรษะสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพิ่มหมอนอีกใบมาหนุนเสริมไว้ใต้ศีรษะขณะนอนหลับเพื่อไม่ให้เสมหะสะสมอยู่ในลำคอ. คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าคุณจะรู้สึกแน่นหรือคันในลำคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะว่ามีการสะสมของเสมหะในลำคอในขณะที่คุณนอนหลับ ดังนั้นเพื่อให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น ให้คุณหาหมอนเพิ่มอีก 1-2 ใบมารองหนุนศีรษะไว้เพื่อยกศีรษะให้สูงขึ้น [1]
    • หากคุณยังคงรู้สึกไม่สบายตัวในยามหลับ ลองเปลี่ยนไปนอนบนเก้าอี้ปรับเอนนอนได้แทนจนกว่าอาการน้ำมูกไหลลงคอจะดีขึ้น
    โฆษณา
2

ใช้เครื่องเพิ่มความชื้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในห้องนอนเพื่อให้ความชื้นลดความเหนียวข้นของเสมหะ. เมื่ออากาศภายในห้องนอนแห้ง เสมหะในลำคอและโพรงจมูกอาจเหนียวข้นมากขึ้นจนทำให้คุณรู้สึกแน่นอึดอัดในจมูกได้ ดังนั้นเพื่อลดอาการคัดแน่นจมูกและทำให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น ลองเปิดเครื่องทำความชื้นในห้องนอนเพื่อให้คุณได้สูดอากาศที่สดชื่นในระหว่างนอนหลับ [2]
    • ไม่มีเครื่องเพิ่มความชื้นเหรอ? ไม่เป็นไร คุณสามารถใช้วิธีอาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอนก็ได้เช่นกัน การสูดดมไอน้ำอุ่นๆ สามารถช่วยลดอาการคัดจมูกได้ดีไม่แพ้กัน
3

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือก่อนเข้านอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือโดยใช้กาเนติหรือหรือขวดบีบเพื่อชะล้างน้ำมูกในโพรงจมูก. เติมน้ำเกลืออุ่นๆ ลงในขวดบีบหรือ กาเนติ ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว จากนั้นโน้มตัวเหนืออ่างล้างหน้าแล้วเอียงศีรษะ 45 องศา สูดหายใจเข้าและค่อยๆ รินน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูกจนน้ำเกลือไหลออกมาทางรูจมูกอีกข้างหนึ่ง ทำซ้ำเช่นเดิมกับรูจมูกอีกข้างหนึ่งเพื่อชะล้างน้ำมูกที่ตกค้างในโพรงจมูก [3]
    • น้ำเกลือสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือคุณจะทำน้ำเกลือใช้เองก็ได้เช่นกัน เพียงผสมเกลือบริโภค ⅛ ช้อนชา (0.75 กรัม) กับน้ำกลั่นอุ่นๆ 1 ถ้วย (240 มล.)
    โฆษณา
4

ทานยาต้านฮิสตามีนทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) ทันทีเมื่อคุณเริ่มรู้สึกคัดจมูก. หากอาการหายใจติดขัดหรือการอุดตันในรูจมูกจากอาการน้ำมูกไหลลงคอทำให้คุณนอนหลับได้ไม่สนิท ลองทานยาแก้แพ้ เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หรือยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ซึ่งมีคุณสมบัติในการหดหลอดเลือดในจมูก จึงทำให้คุณหายใจได้คล่องและเต็มปอดมากขึ้น นอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยังมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนอีกด้วย [4]
    • การทานยาต้านฮิสตามีนสามารถลดการหลั่งน้ำมูกและบรรเทาอาการน้ำมูกไหลลงคอได้ดี และเนื่องจากยากลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงเหมาะที่จะรับประทานในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืน
    • อ่านข้อมูลบนฉลากยาให้ละเอียดเพื่อให้ทราบถึงปริมาณและความถี่ในการทานยาที่เหมาะสม โดยยาต้านฮิสตามีนส่วนใหญ่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 2-3 วัน
5

ใช้ยาพ่นจมูกก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกเพื่อแก้อาการไอตอนกลางคืน. หากคุณนอนหลับได้ไม่สนิทนักเนื่องจากอาการไออย่างต่อเนื่องและอาการคัดจมูกในช่วงกลางดึก ลองใช้ยาพ่นจมูกก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมงเพื่อให้ยาได้เริ่มออกฤทธิ์ก่อนที่คุณจะหลับไป [5]
    • เลือกซื้อสเปย์พ่นจมูกที่ประกอบด้วยตัวยาฟลูติคาโซน (Fluticasone) หรือไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone) เพื่อช่วยแก้ไอจากอาการน้ำมูกไหลลงคอ โดยอ่านข้อมูลบนฉลากยาให้ละเอียดทุกครั้ง
    โฆษณา
6

ใช้ยาหดหลอดเลือดเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลี่ยงการใช้ยาหดหลอดเลือดก่อนเข้านอนเพราะอาจทำให้ร่างกายตื่นตัวได้. ยาหดหลอดเลือดส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวยาซูโดเอฟีดรีน (Pseudoephedrine) ที่ออกฤทธิ์ทำให้โพรงไซนัสที่อุดตันโล่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ยาดังกล่าวอาจทำให้คุณรู้สึกกระสับกระส่ายหรือกระตุ้นให้คุณตื่นตัวได้ ดังนั้นจึงควรใช้เฉพาะในระหว่างวันเท่านั้น [6]
    • ตรวจสอบสูตรผสมของยาลดอาการคัดจมูกที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ให้ละเอียด เนื่องจากยาลดอาการคัดจมูกบางตัวอาจมีส่วนประกอบของยาต้านฮิสตามีนร่วมกับยาหดหลอดเลือด
    • อ่านข้อมูลบนฉลากยาให้ละเอียดทุกครั้ง
7

ดื่มน้ำให้เพียงพอและวางแก้วน้ำไว้ใกล้มือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอและบรรเทาอาการไอตอนกลางคืน. หากคุณตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการไอหรือคันคอ ให้คุณวางแก้วน้ำไว้ข้างเตียงนอนเพื่อให้หยิบมาจิบได้ง่ายๆ การดื่มน้ำเปล่าสามารถหยุดอาการไอได้ชั่วขณะหนึ่ง ทั้งยังช่วยขับเสมหะที่ติดค้างอยู่ในลำคอได้ดีอีกด้วย [7]
    • และอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในระหว่างวันด้วยเช่นกัน! จิบน้ำเปล่า ชาไร้คาเฟอีน หรือน้ำผลไม้เพื่อช่วยละลายเสมหะให้อ่อนตัวลง เพราะหากคอของคุณแห้ง คุณจะเริ่มรู้สึกคันคอขึ้นมาได้
    โฆษณา
8

วางสิ่งของที่จำเป็นทั้งหมดไว้ข้างเตียงนอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จัดเตรียมไอเทมช่วยให้ชุ่มคอไว้ข้างเตียงนอนเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องลุกขึ้นจากเตียงในช่วงกลางดึก. การตื่นขึ้นมากลางดึกจากอาการไอหรือระคายเคืองในคอเป็นเรื่องที่ชวนให้รำคาญมากพออยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้สะดวกสบายมากขึ้น ให้คุณนำแก้วน้ำ ยาอมแก้ไอ กระดาษทิชชู และยาแก้ปวดวางไว้ข้างเตียงนอนให้พร้อม [8]
    • ตั้งโคมไฟข้างเตียงหรือโคมไฟดวงเล็กๆ ไว้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
9

ผ่อนคลายตัวเองในช่วงก่อนเข้านอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลดเวลาหน้าจอและทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน. ในบางครั้งคุณอาจมีปัญหาหลับยากแม้จะไม่ได้มีอาการน้ำมูกไหลลงคอก็ตาม! หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ที่สว่างและเสียงเพลงที่ดังจะกระตุ้นให้ร่างกายของคุณตื่นตัวจนทำให้คุณหลับได้ยากกว่าเดิม ดังนั้นเพื่อให้คุณหลับได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอสัก 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอนและหากิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลายทำแทน เช่น เขียนบันทึกประจำวัน ฝึกโยคะ หรืออ่านหนังสือ [9]
    • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวในขณะที่คุณกำลังพยายามข่มตานอนให้หลับ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณอาจหาซื้อยาลดอาการคัดจมูกที่มีส่วนประกอบของยาหดหลอดเลือดร่วมกับยาต้านฮิสตามีน
โฆษณา

คำเตือน

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 570 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา