ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV คือโรคติดต่อที่คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 25 ล้านคนตั้งแต่ปี ค.ศ 1980 ในปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่า 33.4 ล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อ HIV หรือเป็นโรคเอดส์ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของเชื้อ HIV ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ นั่นหมายความว่า “การป้องกัน” เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อ HIV ว่าติดต่ออย่างไรและคุณจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

เข้าใจการติดต่อของเชื้อ HIV

ดาวน์โหลดบทความ
  1. HIV จะเข้าไปในร่างกายและทำลายทีเซลล์หรือ CD4 เซลล์ ที่มีหน้าที่ป้องกันเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ [1] เชื้อไวรัสHIV ต้องการทีเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวน และจะตายหากอยู่ในที่ที่ไม่มีเซลล์เลือด เช่น ผม หรือผิวหนัง
    • ใครก็ตามที่ติดเชื้อไวรัส HIV จะถูกเรียกว่า “เลือดบวก หรือ “HIV+” ใครก็ตามที่เป็นโรคเอดส์คือคนที่สูญเสียภูมิคุ้มกันเกือบทั้งหมดจนพวกเขาอยู่ในสภาวะ “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” [2]
  2. การพูดคุยหรือจับมือกับผู้ป่วยจะไม่เป็นอันตราย ดังนั้นคุณไม่ต้องกังวลว่าคนที่คุณพบเจอจะแพร่โรคมาหรือเปล่า ไวรัสชนิดนี้ไม่สามารถอยู่รอดในอากาศ น้ำ หรือสสารอื่นๆ นอกร่างกายมนุษย์ ดังนั้นการทานอาหารด้วยกัน อาบน้ำห้องเดียวกัน ว่ายน้ำสระเดียวกันกับผู้ป่วยจะไม่ทำให้คุณติดเชื้อ
  3. HIV ติดต่อทางของเหลวจากร่างกาย แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ของเหลวเหล่านั้นคือ เลือด น้ำเชื้อ น้ำหล่อลื่น และน้ำนมจากเต้า [3] การสัมผัสโดยตรงกับของเหลวเหล่านี้จะทำให้ติดเชื้อได้ อ่านด้านล่างเพื่อเข้าใจการป้องกันตัวเองจากการติดโรคในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์
    • จำไว้ว่าน้ำลายหรือเสมหะไม่มีเชื้อไวรัส หมายความว่าการจูบ จาม หรือไอ จะไม่ทำให้ติดเชื้อ เว้นเสียแต่ว่ามีเลือดติดออกมาด้วย แต่อย่างไรก็ตามการติดเชื้อก็ยังเกิดได้ยาก [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

ลดโอกาสการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะมีโอกาสน้อยที่จะติดเชื้อ หากคุณไม่มีเพศสัมพันธ์ ลดจำนวนคู่นอนของคุณลง ให้คู่นอนไปตรวจเลือด และมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่ผู้ป่วยเท่านั้นและเขาต้องไม่ไปมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นที่ไม่ใช่คุณอีกด้วย เลือกทำข้อใดข้อหนึ่งดังที่กล่าวมาก็จะช่วยคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทำร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย ดังนี้
    • หากมีคู่นอนคนเดียวในระยะยาว ควรตรวจหาเชื้อ HIV ก่อนการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตนเองมีเชื้อ [5]
  2. ป้องกันการแลกเปลี่ยนของเหลวระหว่างการมีเพศสัมพันธ์. HIV สามารถติดต่อทางปาก อวัยวะเพศหญิง และทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีวิธีลดความเสี่ยงการติดเชื้อ แต่ไม่ใช่กำจัดโอกาสการติดเชื้อเสียทีเดียว ใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนคนใหม่ ควรใส่ถุงยางก่อนทุกครั้งก่อนจะใช้ปากกับอวัยวะเพศเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
    • คำเตือน ถุงยางจากลำไส้สัตว์ “ไม่” ช่วยป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากตัวถุงยางจะมีรูเล็กๆ ที่เชื้อสามารถแทรกซึมเข้าไปได้ และถุงยางพลาสติกอาจไม่ได้ผลดีเท่ากับถุงยางจากยางธรรมชาติ [6]
  3. ฝึกสวมใส่และถอดถุงยางของผู้ชายและของผู้หญิงก่อนที่จะใช้จริงกับการมีเพศสัมพันธ์ พูดคุยกับคู่นอนของคุณก่อนการมีเพศสัมพันธ์ว่าจะใช้ถุงยาง ดีกว่ามารีบร้อนหาเอาตอนนาทีสุดท้าย และต้องมั่นใจว่าได้สวมใส่ถุงยางก่อนการสัมผัสใดๆ จะเกิดขึ้น [7] ถุงยางของผู้ชายควรบีบที่ปลายก่อนการสวมใส่ เพื่อที่จะได้มีเนื้อที่พอหลังการหลั่งน้ำอสุจิ ต้องมั่นใจว่าคุณไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับถุงยางที่ผ่านการใช้งานแล้วขณะถอดออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีแผลที่มือ ทำตามขั้นตอนดังนี้เพื่อความปลอดภัย [8] [9]
    • ถุงยางอนามัยต้องไม่ฉีกขาด ต้องเป็นของใหม่ ยังไม่หมดอายุ ห้ามใช้ซ้ำ หรือใช้เกิน 20 นาทีต่อครั้ง
    • ใช้สารหล่อลื่นลงไปที่ถุงยางหากจำเป็น เพื่อป้องกันการแห้งและฉีกขาดของถุงยาง ห้ามใช้ออยล์หรือโลชั่นเนื่องจากจะทำให้ถุงยางเสียหาย
    • ควรถอนอวัยวะเพศชายที่ใส่ถุงยางอยู่ออกจากอวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนักก่อนที่จะอ่อนตัวเนื่องจากจะทำให้ถุงยางหลุดออกได้
    • เก็บถุงยางไว้ในที่แห้งและปลอดแสง เปลี่ยนถุงยางที่เก็บไว้ในรถหรือในกระเป๋าเงินของคุณทุกๆ 1-2 สัปดาห์
  4. มีเรื่องเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับเรื่องที่ถูกต้อง ว่าเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบกับคนที่มีเชื้อมีความเสี่ยงที่จะทำให้คุณติดเชื้อได้ และถุงยางคือตัวช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เชื่อถือได้
    • คุณไม่สามารถป้องกันโรคจากวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ ได้ นอกจากการใช้ถุงยาง
    • คุณไม่สามารถป้องกันได้จากการขลิบ การวิจัยพบว่าผู้ชายที่ขลิบจะลดโอกาสการรับเชื้อจากผู้หญิงที่มีเชื้อ [10] อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ไม่เพียงพอต่อ “เพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย” และไม่ช่วยป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายด้วยกัน หรือลดความเสี่ยงการติดเชื้อของผู้หญิงจากผู้ชาย
    • ไม่มีสารหล่อลื่นชนิดพิเศษ ยาหรือวัคซีนที่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัส HIV ได้ [11] สารหล่อลื่นมีส่วนช่วยแค่ไม่ให้ถุงยางขาด จึงมีส่วนช่วยการป้องกันการติดเชื้อ แต่ไม่มีส่วนในการป้องกันเชื้อด้วยตัวมันเอง
  5. ต้องเข้าใจว่าการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ชนิดใด ช่วยลดแต่ไม่ได้กำจัดโอกาสติดเชื้อ. ในขณะที่การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางอวัยวะเพศหญิงชาย หรือทางทวารหนักไม่ปลอดภัย แต่ก็มีบางอย่างที่ความเสี่ยงน้อยกว่าและอาจเป็นที่ชื่นชอบหากคุณตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการวิจัยอย่างชัดเจน การใช้ปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างปากกับอวัยวะเพศหญิง มีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าวิธีอื่นๆ [12] การสอดใส่นิ้วหรือเซ็กส์ทอยไปในอวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนักมีโอกาสน้อยที่จะติดเชื้อหากนิ้วมือไม่มีบาดแผล [13]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อผ่านทางเข็มฉีดยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หยุดการฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือดหากเป็นได้. คุณสามารถติดเชื้อ HIV ได้จากการใช้เข็มร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ ถึงแม้ว่าเข็มดูสะอาดก็ติดเชื้อได้ เนื่องจากการฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือดจะทำให้ติด ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะรู้ว่าเข็มนั้นไม่ปลอดภัย คุณก็ยังมีโอกาสที่จะฉีดเข้าไปอยู่ดี คุณควรเข้าโปรแกรมบำบัดให้เร็วที่สุด
  2. ให้ใช้เข็มใหม่เสมอ หรือต้องสอบถามให้แน่ใจจากช่างสักก่อนว่าเขาใช้เข็มเล่มใหม่ ต้องมั่นใจว่าได้เข็มมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ห้ามใช้สารใดๆ หรือยาใดๆ ที่อาจมีเลือดของผู้ติดเชื้อเจือปน หลังจากการใช้เข็มให้ทิ้งเข็มโดยใส่ในขวดที่มีฉลากเขียนว่า ห้ามใช้ซ้ำ [14]
    • บางแห่งมีมูลนิธิที่แลกเปลี่ยนเข็มที่ใช้แล้วกับเข็มใหม่ ลองหาดูว่าในระแวกบ้านของคุณมีมูลนิธินี้อยู่หรือไม่
  3. ฆ่าเชื้อโรคจากเข็มหากคุณไม่สามารถหาเข็มใหม่ได้. หากคุณไม่สามารถหาเข็มเล่มใหม่ได้ ล้างเข็มให้สะอาดด้วยการฆ่าเชื้อ “วิธีนี้ไม่ได้ช่วยให้ปลอดภัย เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงเท่านั้น” ขั้นแรกให้เติมหลอดฉีดยาด้วยน้ำสะอาด เขย่า แล้วฉีดออก ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกระทั้งไม่มีเลือดให้เห็นแล้ว หลังจากนั้นให้ใส่สารฆ่าเชื้อ เช่น น้ำยาฟอกขาวและปล่อยทิ้งไว้ 30 วินาที ฉีดออกและล้างให้สะอาดเพื่อฆ่าเชื้อ [15]
    • สารฟอกขาวที่เก็บในที่ร้อนและแสงแดดส่องถึงจะเสื่อมสภาพและประสิทธิภาพลดลง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ป้องกันการติดเชื้อ HIV หากทำงานด้านสุขภาพหรือเป็นเพื่อนกับคนที่ติดเชื้อ HIV

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลดการสัมผัสโดยตรงหากคุณทำงานกับของเหลวในร่างกาย. ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือใครก็ตามที่ต้องสัมผัสกับของเหลวในร่างกายควรระวังให้มากในการทำงาน ห้ามสัมผัสกับสิ่งที่มีคม (ไซริงจ์ มีดผ่าตัด และอื่นๆ) หลังจาการใช้ ต้องทิ้งสิ่งของแหลมคมในภาชนะใสเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยบังเอิญ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน (ถุงมือ เสื้อกราวน์ แว่นตา และอื่นๆ) เมื่อทำงานกับของเหลวในร่างกาย ต้องคิดว่าของเหลวและเลือดทุกชิ้นมีเชื้ออยู่
  2. ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ทำงานด้านสุขภาพที่ถูกเลือดของคนไข้ หรือคุณมีเพศสัมพันธ์แล้วถุงยางฉีกขาดก็ตาม คุณต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
    • หากคุณกำลังตั้งครรภ์ ให้พุดคุยกับแพทย์เรื่องการลดความเสี่ยงการติดต่อไปยังเด็ก
  3. หากคุณรู้ว่าคู่นอนของคุณมีเชื้อ HIV หาทางลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ใช้ถุงยางเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ต้องแลกเปลี่ยนของเหลวในร่างกาย เช่น การใช้นิ้วหรือเซ็กส์ทอยแทนการใช้อวัยวะเพศ ลองเสิร์ช “เพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย” เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
  4. ค้นคว้าหาทางเลือกหากคุณต้องการมีบุตรกับผู้ติดเชื้อ HIV. ลดความเสี่ยงการติดเชื้อของผู้หญิงและเด็กทารกจากผู้ชายที่มีเชื้อ โดยการรับบุตรบุญธรรมหรือใช้อสุจิจากผู้บริจาค หากผู้หญิงมีเชื้อ HIV ให้ใช้วิธีอุ้มบุญ ไม่ควรใช้อสุจิของผู้ติดเชื้อ แต่สามารถใช้เทคนิคทางการแพทย์เพื่อ “ลด” แต่ไม่ได้กำจัดเชื้อ HIV ก่อนที่จะทำการผสมเทียม หรือทำเด็กหลอดแก้ว [16] การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ติดเชื้อ HIV มีความเสี่ยงสูงมากที่จะติดเชื้อ ต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการตัดสินใจ และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่กำลังจะตกไข่
  5. ยาชนิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ PrEP ซึ่งเป็นยาที่ทานทุกวันเพื่อป้องกันโรคสำหรับผู้ที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ เช่น คนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเป็นประจำ อาจมีคำแนะนำอื่นสำหรับผู้ที่มีคู่นอนระยะยาวเป็นผู้ติดเชื้อ เนื่องจากยาไม่มีผลป้องกัน 100% และควรใช้ร่วมกับวิธีป้องกันอื่นๆ เช่น ถุงยาง การทานยาทุกวันก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ไม่เช่นนั้นยาจะไม่แสดงผล [17] [18]
    • หากคุณไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ คุณก็ไม่ควรทานยาชนิดนี้ คุณอาจประสบกับสถานการณ์ไม่คาดฝันได้ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อหลังจากการสัมผัสของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

จัดการเมื่อคุณสัมผัสโดยตรงกับเชื้อ HIV

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณสัมผัสโดยตรงหรือกลัวว่าจะสัมผัสกับของเหลวที่มีเชื้อ คุณจะสามารถใช้ยาที่ป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัสได้ ซึ่งคือ PEP ซึ่งควรใช้ทันทีหลังการสัมผัส หรือภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้เป็นอย่างมาก
    • ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำว่าผู้ที่สัมผัสโดยตรงกับเชื้อควรใช้ยาชนิดนี้ แต่การใช้เกินขนาดจะเป็นอันตราย ยาชนิดไม่ได้รักษา HIV แต่จะช่วยให้ใครก็ตามที่สัมผัสโดยตรงกับเชื้อไม่ติดเชื้อได้
  2. สองถึงสี่สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหวัด เรียนกว่า ARS (acute retro-viral syndrome) และถูกเรียกว่า “ไข้หวัดมหาภัย” คนไข้อาจมีอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ และมีผื่นขึ้น กลุ่มอาการเหล่านี้อาจเป็นนานมากกว่าสี่สัปดาห์ [19] หากมีอาการดังนี้ควรรับการตรวจในทันที
  3. การตรวจหาโรคคือวิธีที่จะรู้สถานะของคุณ เมื่อคุณไปตรวจ คุณจะมักถูกตรวจเลือด ถึงแม้ว่าการตรวจปัสสาวะหรือของเหลวอื่นๆ จะตรวจหาได้ก็ตาม และคุณจะได้รับผลหลังจากนั้นสองถึงสามวันหรือในเวลาเพียงไม่ถึงยี่สิบนาที ขึ้นอยู่กับสถานที่ๆ คุณไปรับการตรวจ หากผลออกมาว่าคุณมีเชื้อ ให้รับการรักษาให้เร็วที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

รับการรักษา HIV หรือโรคเอดส์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อติดเชื้อแล้ว ไวรัสจะไม่มีทางหมดไปจากร่างกายได้ อย่างไรก็ตามทางการแพทย์ก็มีวิธีที่จะชะลอการติดเชื้อ ซึ่งจะนำไปสู่อาการขั้นสุดท้ายที่เรียกว่า “เอดส์” ยาสมัยใหม่สามารถชะลอการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและช่วยคนไข้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ก็ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด การแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องระวังถึงแม้ว่าคนไข้มีอาการแข็งแรงเป็นเวลาหลายปี หรือหลายสิบปีก็ตาม
  2. พบแพทย์ที่เชี่ยวชาญพิเศษด้านการรักษาโรคเอดส์หรือเชื้อ HIV. หาแพทย์ผู้เชี่ยวในใกล้บ้านคุณ หรือถามแพทย์ท่านใดก็ได้ให้พาคุณไปพบกับผู้เชี่ยวชาญพิเศษ อาจมีการเชิญคุณไปพบกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้วินิจฉัยอาการของคุณ หากคุณทำตามที่แพทย์สั่งและเข้าถึงการรักษาที่ดี คุณสามารถป้องกันการพัฒนาของเชื้อ HIV เป็นโรคเอดส์และใช้ชีวิตอย่างปกติได้
  3. เขียนรายการสิ่งที่สงสัย กลุ่มอาการหรืออื่นๆ ที่คุณสงสัย วิธีนี้จะช่วยในบทสนทนาระหว่างคุณกับแพทย์ การรักษาก็แตกต่างกันไป แพทย์อาจต้องตรวจเช็คประวัติการรักษาของคุณเพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาที่ให้กับคุณเป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุด และการมีผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาของคุณจะช่วยให้คุณลดความเครียดลงได้ ช่วยคุณมีข้อมูลมากเพียงพอที่จะวางแผนอนาคตของคุณได้
    • รับรู้การวินิจฉัยโรคของคุณ ทำการค้นคว้า ไม่มีคำถามไหนที่ไม่สำคัญ เชื้อ HIV จะเปลี่ยนชีวิตคุณ ดังนั้นยิ่งคุณมีข้อมูลมากเท่าไร คุณก็จะสามารถจัดการกับอาการโรคของคุณได้ดีเท่านั้น
  4. ต้องยอมรับว่าการหาการรักษาที่เข้ากับคุณได้ใช้เวลา. เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ จะมีการลองผิดลองถูกเพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ต้องมั่นใจว่าตัวเองเปิดกว้างต่อการรักษา บอกแพทย์เกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนต่างๆ อย่างชัดเจน อย่าหมดกำลังใจ อาการข้างเคียงบางอย่างอาจไม่เป็นที่พอใจ แต่การแพทย์แผนปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต สุขภาพและการใช้ชีวิตของผู้ป่วย HIV
  5. เนื่องจากเชื้อ HIV ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณ การสัมผัสโดยตรงกับโรคติดต่อจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ควรป้องกันตัวเองเมื่อถึงฤดูหวัดหรือคุณรู้สึกว่ากำลังจะเผชิญกับไวรัส
  6. โรคเอดส์อาจเป็นโรคร้ายแรง คนส่วนใหญ่ต้องจัดการกับความเครียดและความไม่แน่นอน ควรเข้าร่วมกลุ่มคนติดเชื้อ HIV หรือพูดคุยกับเพื่อนๆ และคนในครอบครัว และจิตแพทย์เพื่อจัดการกับความเครียด
  7. หากคุณเก็บเรื่องที่คุณติดเชื้อไว้เป็นความลับดั่งเช่นหลายๆ คน หากเป็นเช่นนั้นการป้องกันการสัมผัสกับผู้คนรอบข้างก็เป็นหน้าที่ของคุณ ต้องให้คู่นอนของคุณรู้ว่าคุณมีเชื้อเสมอก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ ต้องให้พวกเขาตัดสินใจเองทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
  8. ทานยาให้ครบและตรงเวลา และห้ามลืมเด็ดขาด ต้องมั่นใจว่าปริมาณไวรัสในเลือดต่ำ วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นและป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
  9. หากคุณตั้งครรภ์ ลองหาทางออกกับแพทย์ดู ยังคงมีทางเลือกการรักษาที่ช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อสู่เด็กได้ ทั้งทางสายเลือดและทางการให้นม ถึงแม้ว่าจะไม่ 100 % ก็ตามแต่ก็ช่วยได้
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,988 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา