ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยประสบปัญหาจากอาการ airplane ear ไหม? มันก็คือตอนที่คุณหูอื้อหูลั่นจนรำคาญหรือบางครั้งถึงขั้นปวดหูไปหมดนั่นแหละ เป็นอาการที่เกิดตอนความดันอากาศเปลี่ยนจนส่งผลต่อหูชั้นในของคุณ โดยเฉพาะตอนเครื่องขึ้น-ลง บางทีก็เกิดตอนคุณกำลังดำน้ำ โชคดีที่อาการแบบนี้กันไว้ก่อนได้ด้วยทริคง่ายๆ ทั้งคุณและน้องๆ หนูๆ จะได้ไม่ต้องนั่งปวดหูอีกต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กันไว้ก่อนไม่ให้หูลั่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อไหร่ก็ตามที่ความดันอากาศรอบตัวคุณเปลี่ยนแปลง อย่างตอนคุณนั่งเครื่องบินที่กำลังไต่ระดับขึ้น-ลง หรือตอนคุณดำน้ำ ความดันในหูของคุณจริงๆ แล้วก็ต้องเปลี่ยนตาม แต่เวลาอากาศเปลี่ยนแบบปัจจุบันทันด่วน บางทีความดันในหูของคุณก็เปลี่ยนตามไม่ทัน พอความดันข้างนอกกับข้างในหูนั้นแตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า barotrauma (การบาดเจ็บจากแรงดัน) คุณก็จะหูอื้อหรือถึงขั้นหูลั่นปวดหู เกิดอาการดังต่อไปนี้ [1]
    • เจ็บหรือไม่สบายหู
    • รู้สึกแน่นๆ เหมือนมีแรงดันในหู
    • หูอื้อ ได้ยินเสียงวิ้งๆ (tinnitus)
    • ได้ยินไม่ค่อยชัด เกือบจะเหมือนคุณกำลังดำน้ำอยู่ เสียงที่ได้ยินจะอู้ๆ
    • ถ้าอาการหนักหน่อย จะถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน เลือดออกหู หรืออาเจียนได้
  2. วิธีป้องกันไม่ให้หูลั่นจนแน่นหรือเจ็บไปหมด ก็คือคุณต้องพยายามปรับความดันข้างนอกกับข้างในหูให้เท่ากัน โดยการหาวและกลืนน้ำลาย ซึ่งจะทำให้ท่อยูสเตเชียนในหูของคุณเปิด จนสามารถปรับความดันในหูให้เท่ากับความดันข้างนอกได้
    • กลืนน้ำลายด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง อมๆ ดูดๆ ลูกอม หรือค่อยๆ ดื่มน้ำเข้าไป เหล่านี้จะช่วยให้คุณกลืนน้ำลายได้เรื่อยๆ โดยไม่ฝืนเกินไป
  3. ด้วยวิธีง่ายๆ คือหุบปาก บีบจมูก แล้วพ่นลมทางจมูกเหมือนเวลาสั่งน้ำมูกเบาๆ แบบนี้อากาศจะไม่มีทางออก เลยไปกดท่อยูสเตเชียนแทน ทำให้ความดันในหูลดลง [2]
    • ระวังอย่าสั่งน้ำมูกแรงไป เพราะถ้าสั่งน้ำมูกแรงไปเดี๋ยวจะเจ็บหู จนอาจรุนแรงถึงขั้นแก้วหูฉีกได้ ให้พ่นลมทางจมูกเบาๆ พอให้ได้ยินเสียงดัง "ป๊อป" แล้วหูหายอื้อก็พอ
    • ทำซ้ำหลายๆ รอบ โดยเฉพาะตอนเครื่องขึ้น-ลง
  4. ที่อุดหูแบบนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้ค่อยๆ ปรับความดันในหูของคุณตอนเครื่องขึ้น-ลง ความดันจะได้ไม่แตกต่างกันกะทันหันจนปวดหู
  5. Barotrauma หรือ การบาดเจ็บจากแรงดันนั้นจะยิ่งแย่ถ้าคุณกำลังเป็นหวัด ไซนัสอักเสบ หรือคัดจมูก เพราะถ้าท่อยูสเตเชียนในหูอักเสบเพราะโรคภูมิแพ้หรือหวัดก็จะตีบตันไม่ถ่ายเท ถ้าก่อนขึ้นเครื่องหรือก่อนดำน้ำคุณรู้สึกแน่นหัวแน่นจมูก ให้กินยาแก้แพ้หรือลดน้ำมูกกันไว้ก่อนเลย
    • ให้กินยาลดน้ำมูก อย่าง Sudafed ทุก 6 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการไซนัสอักเสบหรือเจ็บแน่นในหู อย่าลืมอ่านคำแนะนำการใช้ยาทุกครั้งอย่างเคร่งครัด [4]
    • คุณใช้ยาพ่นจมูกสำหรับเด็กได้ตามคำแนะนำการใช้ที่ระบุบนฉลาก ยาสูตรสำหรับเด็กจะช่วยเปิดท่อยูสเตเชียนของคุณให้โล่งแบบไม่ต้องใช้ยาแรงๆ จนอาจเกิดผลข้างเคียง
    • ห้ามกินยาลดน้ำมูกก่อนหรือระหว่างดำน้ำ เพราะยาจะออกฤทธิ์ต่างออกไปตอนร่างกายคุณแช่อยู่ในน้ำ ดังนั้นถ้าไปกินก่อนดำน้ำเดี๋ยวจะเป็นอันตราย
    • ถ้าคุณคัดจมูกค่อนข้างหนัก จะดีกว่าถ้าเลื่อนทริปหรือการดำน้ำออกไปก่อน ค่อยจัดทริปกันใหม่ตอนคุณอาการดีขึ้นแล้ว โดยเฉพาะถ้าคุณเคยมีประวัติได้รับบาดเจ็บจากแรงดันแบบร้ายแรงมาก่อน [5]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วิธีป้องกันสำหรับน้องๆ หนูๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจคิดว่าดีกว่าถ้ากล่อมให้เขาหลับไประหว่างเครื่องขึ้นหรือลง แต่จริงๆ แล้วถ้าเขาตื่นอยู่จะดีกว่า คุณจะได้ช่วยไม่ให้เขาหูอื้อปวดหูได้ [6]
    • หาอะไรให้เขาทำ จะได้ไม่ว่างจนผล็อยหลับไปตอนความดันอากาศเปลี่ยนแปลง ลองชี้ชวนให้เขามองดูคนนั้นคนนี้ หรืออ่านหนังสือนิทานด้วยกันก็ได้
    • ยิ่งเป็นเด็กเล็ก ต้องบอกให้เขารู้แต่เนิ่นๆ ว่าเดี๋ยวตอนเครื่องบินขึ้นหรือลงอาจจะมีเสียงดังหรือกระเด้งกระดอน เขาจะได้ไม่ตกใจกลัว ส่วนถ้าเป็นเด็กทารกที่ยังไม่รู้เรื่อง ให้ลองปลอบโยนด้วยวิธีอื่น อย่างการยิ้มให้หรือพูดกล่อมให้เขารู้สึกปลอดภัย
  2. ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารก เด็กอ่อน หรือเด็กเล็ก คุณก็ช่วยกระตุ้นให้เขากลืนน้ำลายได้ ด้วยการหาอะไรให้เขาดูด ทำแบบนี้ทั้งตอนเครื่องขึ้นและลง หรือตอนไหนก็ได้ที่เขาบ่นว่าเจ็บหูหรือหูอื้อ
    • การให้นมก็ช่วยได้ ถ้าเด็กยังดูดนมแม่อยู่ แต่ถ้าเด็กโตขึ้นมาหน่อยหรือให้นมไม่สะดวก ก็ให้เขาดูดจุกนมหรือดูดจากขวดแทน
    • สำหรับเด็กที่โตขึ้นมา ให้เขาค่อยๆ ดื่มน้ำจากถ้วยเด็กไปเรื่อยๆ หรือจะใช้หลอดดูดก็ได้ ไม่ก็ให้เขาดูดอมยิ้ม อะไรก็ได้ที่จะทำให้เขาดูดและกลืนน้ำลายลงไป เพราะฉะนั้นสำหรับเด็กที่โตพอ ต้องสอนเขาให้รู้จักเตรียมตัวไว้ พอถึงเวลาจริงจะได้รู้ว่าต้องทำยังไง
  3. ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่าทำไม แต่พอเราเห็นใครหาว เราก็มักจะหาวตามไม่รู้ตัว เพราะงั้นถ้าเด็กเห็นคุณหาว (แบบแกล้งๆ) เดี๋ยวเดียวเด็กก็จะหาวตามเอง
    • การหาวเป็นการเปิดท่อยูสเตเชียนในหูของเด็ก ความดันในหูจะได้ปรับมาเท่ากันกับความดันในเครื่องบิน
  4. โดยเฉพาะเด็กที่เคยมีปัญหาการบาดเจ็บจากแรงดันมาก่อน [7]
    • เด็กเล็กๆ ไม่ควรให้กินยาลดน้ำมูก เพราะฉะนั้นถ้าเขาเป็นหวัดคัดจมูกหรือไซนัสอักเสบ ถ้าเลื่อนการเดินทางได้ก็เลื่อนไปก่อนจะดีกว่า จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากความดัน ที่สำคัญคือโรคที่เป็นอยู่จะได้ไม่แพร่กระจายไปยังผู้โดยสารคนอื่นๆ
    • แต่ถ้าเขาเคยขึ้นเครื่องบินมาก่อน และไม่เคยแสดงอาการกระสับกระส่ายหรือเจ็บปวด ก็อาจไม่จำเป็นต้องเลื่อนการเดินทางแต่อย่างใด
  5. ยาหยอดหูแบบแพทย์สั่งช่วยทำให้ในหูชาได้ เด็กจะได้ไม่ต้องเจ็บหรือแน่นหูตอนความดันอากาศเปลี่ยนแปลง [8]
    • ปกติวิธีนี้ถือเป็นหนึ่งในวิธีท้ายๆ ที่คุณควรเลือก เพราะฉะนั้นขอให้สงวนไว้ใช้เฉพาะกับเด็กที่หูลั่น หูอื้อ หรือปวดหูมากเป็นพิเศษเท่านั้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รับมือกับอาการหูอื้อปวดหูตอนนั่งเครื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณหูลั่นตอนนั่งเครื่องหรือดำน้ำ พอเครื่องแตะพื้นหรือคุณกลับขึ้นมาบนบกเมื่อไหร่ก็หายเจ็บหูเอง
    • ถึงความดันจะไม่กลับมาคงที่ในทันทีทันใด แต่หลังผ่านไปสัก 1 - 2 ชั่วโมง หูของคุณก็น่าจะกลับมาเป็นปกติแล้ว ระหว่างนั้นก็หาวกับกลืนน้ำลายไปพลางๆ ก่อน จะได้รู้สึกดีขึ้นเร็วๆ
    • แต่หลายคนก็ต้องใช้เวลา 2 - 3 วันกว่าหูจะกลับมาเป็นปกติ ระหว่างนั้นก็อาจจะได้ยินเสียงอู้ๆ ไม่ค่อยชัดบ้าง แต่ก็พบไม่บ่อย ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นแบบนี้
  2. ถ้าอาการหนักขึ้นหรือเป็นนานเกินกว่า 1 วัน ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน อาการบาดเจ็บจากความดันแบบร้ายแรงนั้นไม่ได้เกิดกันบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นแล้วก็อันตรายถึงขั้นหูหนวกถาวรได้ ในรายที่หนักๆ ความดันอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ปกติแล้วอาการบาดเจ็บในหูมักหายขาดไปเอง แต่ทางที่ดีก็ควรไปหาหมอเผื่อไว้ จะได้ตรวจเช็คว่ามีอาการหรือปัญหาอื่นเพิ่มเติมหรือเปล่า ถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ละก็ แปลว่าหูชั้นในของคุณอาจฉีกขาด ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน [9]
    • ปวดหรือแน่นหูนานหลายชั่วโมง
    • เจ็บหรือปวดหูมากจนทนไม่ไหว
    • มีเลือดไหลจากในรูหู
    • ได้ยินไม่ค่อยชัดหรือไม่ได้ยินติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. มีบางกรณีที่ถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อปรับความดันในหู เป็นการกรีดผ่าเยื่อแก้วหูเพื่อระบายความดันหรือของเหลวภายใน [10] ถ้าคุณเจ็บหรือปวดหูมากไม่ยอมหาย ต้องไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจว่าจำเป็นต้องรับการผ่าตัดหรือเปล่า
    • ระหว่างนั้น ห้ามขึ้นเครื่องบิน ดำน้ำ หรือทำกิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงเด็ดขาด เพราะถ้าหูอื้อหูลั่นซ้ำอีกละก็ คราวนี้อาการอาจลุกลามไปกว่าเดิม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาหาวคุณไม่จำเป็นต้องออกเสียงประกอบ แต่ให้หาวค้างไว้ตอนอ้ากว้างสุด แล้วขยับกรามไปมาซ้าย-ขวาสักทีสองที ถ้ายังไม่หายก็ลองทำซ้ำดู
  • เริ่มใช้เทคนิคป้องกันหูลั่นตั้งแต่เริ่มรู้สึกความดันที่เปลี่ยนแปลง และทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องจะลงหรือความดันเริ่มคงที่
  • บางเทคนิคในบทความนี้ก็ใช้กับกรณีที่คุณดำน้ำไม่ได้
  • ตอนอยู่บนเครื่อง จะใส่หูฟังไว้หรือฟังเพลงไปด้วยก็ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ดำน้ำหลังกินยาลดน้ำมูกไปอาจเกิดอันตรายได้
  • การเปลี่ยนความดันอากาศกะทันหันตอนคุณกำลังภูมิแพ้กำเริบหรือเป็นหวัดคัดจมูก อาจเป็นอันตรายได้
  • ถ้าคุณหูลั่นเปรี๊ยะหรือได้ยินเสียงดังป๊อปของอากาศ เป็นไปได้ว่าคุณอาจมีขี้หูหรือเส้นขนติดอยู่ที่แก้วหู ควรไปพบแพทย์เพื่อเอาออกโดยด่วน เพราะอาจเกิดอาการอื่นที่เป็นอันตรายได้
  • ถ้าคุณรู้ตัวว่าอาจหูลั่นหรือปวดหูเพราะกำลังเป็นหวัดคัดจมูก จะปลอดภัยกว่าถ้าคุณ เลื่อนการเดินทาง ออกไปก่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น เพราะไม่ใช่แค่หูของคุณเท่านั้นที่อาจเกิดอันตรายจากความดัน โพรงไซนัสที่อุดตันก็อาจทำให้คุณเจ็บปวดรุนแรงได้ระหว่างความดันเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น ตอนเครื่องบินขึ้นหรือลง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,290 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา