ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

วิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาหัวใจให้แข็งแรง หัวใจนั้นเป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่จะส่งสารอาหารไปทั่วร่างกาย และไม่ต่างจากกล้ามเนื้ออื่นๆ มันจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้วยการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ดังนั้น การตระหนักว่าการจะดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรงนั้นหมายถึงต้องตัดพฤติกรรมความเสี่ยงสูงในชีวิตทิ้งไปมากมายเท่าที่จะทำได้ สำหรับบางคนมันอาจหมายถึงการเปลี่ยนแทบทุกอย่างในชีวิตประจำวันชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ แม้แต่การกำจัดปัจจัยเสี่ยงไม่กี่อย่างเพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นก็นับว่าได้ประโยชน์หลายอย่างแล้ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ใช้วิถีชีวิตที่ทำให้หัวใจแข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้ยาสูบจะเพิ่มความเสี่ยงให้หัวใจเกิดความเสียหาย ทั้งยาสูบกับสารนิโคตินมีสารเคมีมากมายที่จะก่ออันตรายแก่หลอดเลือดกับหัวใจ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งก็คือมีการก่อตัวสะสมของคราบที่เกิดจากคอเลสเตอรอล ไขมัน และแคลเซียมภายในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบ ลดอัตราการไหลเวียนของเลือดลง [1]
    • คาร์บอนมอนน็อกไซด์ในควันบุหรี่ถูกจับเชื่อมโยงกับความตายมานาน [2] มันจะไปรบกวนออกซิเจน ทำให้หัวใจถูกกดดันให้จำเป็นต้องสูบฉีดออกซิเจนเพิ่มเข้าไปทดแทน หลอดเลือดที่ตีบลงบวกกับความเครียดในหัวใจล้วนส่งผลต่อการเกิดหัวใจวาย วิธีเดียวที่จะหยุดภาระหนักนี้ของหัวใจและทำให้มันแข็งแรงขึ้นก็คือเลิกสูบบุหรี่
    • ประมาณว่าการเสียชีวิต 1 ในทุก 5 รายในสหรัฐนั้นมีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาตินั้น การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักในสหรัฐที่สามารถป้องกันได้ [3]
  2. วิธีหนึ่งที่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นคือใช้มันออกกำลังกายสิ ความข้อนี้เป็นจริงกับหัวใจคุณเช่นกัน นี่คือสิ่งที่สมาคมหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำ: [4]
    • ออกกำลังกายแบบแอโรบิคระดับความเข้มข้นปานกลางอย่างน้อย 30 ต่อวันเพื่อให้เลือดลมสูบฉีดและทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ถ้าเป็นไปได้ควรทำเช่นนี้ 5 วันต่อสัปดาห์ ให้ได้เวลาการออกกำลังกายแบบแอโรบิครวมทั้งสิ้น 150 นาที
    • อีกทางเลือกหนึ่ง คุณสามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิคระดับความเข้มข้นสูง 25 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ให้ได้เวลารวม 75 นาที
    • คุณควรผสานการฝึกแบบใช้แรงต้าน (ฝึกยกเวท) เข้าไปในการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 วันทุกสัปดาห์นอกเหนือจากคาร์ดิโอ
    • ค่อยๆ ออกกำลังหนักขึ้นสู่การมีชีวิตที่แข็งแรงเสมอ! เพียงแต่เริ่มต้นเท่าที่คุณจะทำไหว แล้วค่อยเพิ่มความยากตามลำดับเมื่อคุณสามารถรับมือไหว การออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงเร็วเกินไปอาจทำให้หัวใจรู้สึกเครียดแล้วกลายเป็นทำลายจุดประสงค์ของเราแทน ถ้าคุณมีภาวะหัวใจใดๆ ให้ปรึกษากับแพทย์ก่อนจะเริ่มการออกกำลังกาย
  3. น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้ร่างกายบังคับหัวใจให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาระดับการเต้นพื้นฐานในตอนพักผ่อน ความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องต่อหัวใจนี้จะสะสมและทบทวีเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต การออกกำลังกายและการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยให้คุณลดน้ำหนักที่ทำให้หัวใจเกิดความตึงเครียด ปัญหาอันตรายต่อหัวใจที่อาจเกิดขึ้นจากการมีน้ำหนักตัวสูงเกินปกติได้แก่: [5]
    • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease) – สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นจากคราบที่ก่อตัวภายในหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ คราบจะทำให้หลอดเลือดตีบแคบเมื่อมันโตขึ้นและจะลดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย ลดปริมาณของออกซิเจนที่จะต้องกระจายสู่ร่างกาย ยิ่งกว่านั้น หัวใจจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อดันเลือดฝ่าช่องที่ตีบแคบลงนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดเค้นหัวใจ (อาการปวดหน้าอกจากการขาดออกซิเจน) หรือกระทั่งหัวใจวาย
    • ความดันโลหิตสูง – หากหัวใจต้องสูบฉีดหนักขึ้นเพื่อจะได้ส่งออกซิเจนกับสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสมไปทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดและหัวใจอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป ความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงจะยิ่งมากขึ้นถ้าคุณมีรูปร่างอ้วนหรือน้ำหนักเกินกว่าปกติ
    • โรคสมองขาดเลือด (Stroke) – ถ้าคราบที่ก่อตัวในหลอดเลือดแดงนั้นเกิดแตกตัว คราบนั้นอาจจับตัวเป็นลิ่มเลือด หากลิ่มเลือดเกิดขึ้นในบริเวณใกล้กับสมอง สมองอาจได้รับเลือดกับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการสมองขาดเลือด
  4. ทำการตรวจความดันโลหิตกับระดับคอเลสเตอรอลให้ติดเป็นนิสัย. การทำเช่นนี้จะทำให้คุณมีข้อมูลสุขภาพของหัวใจคุณและจะทำให้ได้ลงมือแก้ไขก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
    • การตรวจหาค่าความดันโลหิต – คุณควรตรวจวัดความดันโลหิตทุกสองปี หากค่าความดันโลหิตสูงเกิน 120/80 แพทย์อาจแนะนำให้คุณต้องเข้าตรวจทุกปี (หรือบ่อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับความสูงของค่าที่ได้หรือถ้าคุณมีปัญหาไต โรคหัวใจ เป็นต้น) [6] ที่ทำงานหรือโรงพยาบาลบางแห่งอาจมีเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติให้ตรวจฟรี ใช้มันให้บ่อยเท่าที่ต้องการเพื่อไม่ต้องไปหาแพทย์ หากความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 และแพทย์ไม่ทราบ จำเป็นที่คุณต้องพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
    • การตรวจหาค่าคอเลสเตอรอล – ผู้ชายทุกคนที่มีอายุเกิน 34 ปีควรเข้ารับการตรวจทุกห้าปี แพทย์จะขอตัวอย่างเลือดมาทดสอบหาระดับคอเลสเตอรอลและชี้แจงให้คุณฟัง ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้คุณน่าจะมีคอเลสเตอรอลสูง ก็ขอแนะนำให้คุณไปตรวจเสียเนิ่นๆ ตั้งแต่ในช่วงอายุ 20 กว่า ปัจจัยเสี่ยงอาจได้แก่ ประวัติการเป็นในครอบครัว โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจในภาวะเริ่มต้น [7] แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้าตรวจบ่อยขึ้น ขึ้นอยู่กับผลการตรวจทางการแพทย์อย่างครบถ้วน [8]
  5. ความเครียดมีบทบาทอย่างมากในเรื่องสุขภาพของหัวใจ ความเครียดที่เพิ่มขึ้นจะหลั่งคอร์ติซอล (cortisol) กับอะดรีนาลีน (adrenaline) ซึ่งทำให้ความดันโลหิตกับคอเลสเตอรอลพุ่งสูงขึ้น พฤติกรรมที่เกี่ยวพันกับความเครียดยังส่งผลด้านลบต่อสุขภาพอีกด้วย ทำให้คุณสูบบุหรี่หนักขึ้น ดื่มมากขึ้น ทานมากไป และไม่ได้ออกกำลังกาย พฤติกรรมทั้งหลายเหล่านี้ส่งผลทางลบต่อสุขภาพหัวใจ [9]
  6. สภาวะของสุขภาพจิตสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหัวใจ อย่างเช่นอาการซึมเศร้าและความกังวลใจ รวมไปถึงโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วกับโรคย้ำคิดย้ำทำ พฤติกรรมเหล่านี้อาจแสดงออกมาร่วมกับอาการของการทานอาหารมากเกินไป การทานอาหารน้อยลง ความไม่รู้สึกยินดียินร้าย การทำตัวเฉื่อยแฉะ ความเครียด การมีความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และอาการอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อหัวใจ [11] [12]
    • ถ้าคุณได้รับการตรวจพบอาการทางจิตใดๆ หรือเชื่อว่าคุณเองเป็นเช่นนั้น ให้แน่ใจว่าได้ไปพบแพทย์ในทันที มีแต่แพทย์ที่จะรักษาอาการทางจิตอย่างได้ผล เช่นเดียวกับการตรวจหาผลกระทบที่มันส่งผลต่อสุขภาพกาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทานอาหารที่ดีต่อหัวใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกการควบคุมอาหารที่หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวกับไขมันทรานส์ เช่น เนื้อแดง อาหารฟาสต์ฟู้ดแบบทอดน้ำมันและอาหารแปรรูป คุณยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือกับคอเลสเตอรอลสูง ส่วนปลาที่มีกรดไขมันโอเมกา-3 อย่างปลาแม็คเคอเรลกับแซลมอน สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวได้ สมาคมหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำให้อาหารที่คุณทานควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ (ดูส่วนถัดไปถ้าต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง): [13]
    • ผักและผลไม้
    • ธัญพืชเต็มเมล็ด
    • ผลิตภัณฑ์จากนมแบบพร่องมันเนย
    • เนื้อสัตว์ปีก
    • ถั่วเปลือกแข็งกับปลา
  2. เน้นที่การเพิ่ม “ซูเปอร์ฟู้ดส์” ที่ดีต่อสุขภาพเข้าไปในแผนควบคุมอาหาร. ซูเปอร์ฟู้ดส์เป็นอาหารกลุ่มหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพซึ่งสื่อนำมาเผยแพร่จนได้รับความนิยม ปกติแพทย์ที่อยู่ในวงการของสารอาหารจะไม่ใช้ศัพท์คำนี้ อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของสารอาหารอยู่สูงและหลายตัวอาจดีต่อสุขภาพมากกว่าตัวเลือกอาหารธรรมดาทั่วๆ ไป ตัวอย่างของอาหารเหล่านี้ได้แก่: [14]
    • อะโวคาโด – อะโวคาโดถูกนับว่าเป็น “ซูเปอร์ฟู้ดส์” เนื่องเพราะไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่มีอยู่ในปริมาณสูงของมัน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวนั้นไม่เหมือนกับไขมันอิ่มตัวตรงที่มันจะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องและมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล อะโวคาโดยังโดดเด่นตรงที่มันมีไฟโตสเตอรอล (phytosterols) ซึ่งจะแย่งกันดูดซึมกับคอเลสเตอรอลในร่างกาย เมื่อแย่งกับคอเลสเตอรอล ก็หมายความว่าคุณจะดูดซึมคอเลสเตอรอลได้น้อยลง เป็นการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดไปโดยปริยาย
    • น้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ (Extra-virgin olive oil) - น้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ นั้นอุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิด “เลว” (LDL) น้ำมันมะกอกยังแสดงให้เห็นว่าช่วยปกป้องการเกิดลิ่มเลือดเช่นเดียวกับช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
    • ถั่วเปลือกแข็ง – ถั่วลิสงกับถั่วเปลือกแข็งจำพวกที่เป็นลำต้น (พีแคน พิสตาชิโอ วอลนัท เป็นต้น) เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารพฤกษเคมี วิตามิน ใยอาหาร แร่ธาตุ และไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งผลการศึกษาได้แสดงว่าทั้งหมดนี้มีประโยชน์ต่อหัวใจโดยจะเพิ่ม HDL (คอเลสเตอรอลดี), ลด LDL (คอเลสเตอรอลเลว), และลดระดับความดันโลหิต
    • ควินัว – ควินัวเป็นอาหารจากพืชที่แพร่หลายจากทวีปอเมริกาใต้ อาหารชนิดนี้มีโปรตีนสูงและอุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร
    • ดาร์คช็อกโกแล็ต – ดาร์คช็อกโกแล็ตนั้นจะต้องมีโกโก้เป็นส่วนผสมอย่างน้อย 70% ช็อกโกแล็ตชนิดนี้มีฟลาวานอยด์ (flavanoid) อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต แต่ถึงแม้มันจะผลดีต่อสุขภาพของหัวใจ ทว่ามันก็มีแคลอรี่สูง จึงไม่ควรทานในปริมาณมาก
    • แซลมอน – ปลาแซลมอนเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพแถมยังมีกรดไขมันโอเมกา-3 กับน้ำมันปลาในระดับสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจมีสุขภาพดี
    • ข้าวโอ๊ต – ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดที่มีใยอาหารสูงซึ่งจะช่วยหยุดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ข้าวโอ๊ตบดจะให้ประโยชน์สูงที่สุด เพราะต้องใช้เวลาย่อยนาน และมันมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำนั้นจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้พุ่งสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคหัวใจในระยะยาว
    • ส้ม – ส้มอุดมด้วยกากใยที่ย่อยได้ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล พวกมันยังมีโปตัสเซียม (ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของโซเดียมในร่างกาย) กับวิตามินซี
    • ถั่วแบบเมล็ด – ถั่วแบบเมล็ดเกือบจะทุกชนิดให้โปรตีน ใยอาหาร และแร่ธาตุในปริมาณสูง ถั่วยังให้ประโยชน์ไม่ต่างจากข้าวโอ๊ตบด คือช่วยลดคอเลสเตอรอลกับความดันโลหิตด้วยการมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
  3. คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ น้ำเชื่อมที่มีฟรุกโตสสูง น้ำตาล และคอเลสเตอรอลเสมอ นั่นหมายถึงอาหารพวกเนื้อแดง ฟาสต์ฟู้ดส์ มันฝรั่งทอด น้ำอัดลม เนย เป็นต้น คนส่วนใหญ่รู้ตัวดีเวลาทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้น จงใช้การตัดสินใจและสามัญสำนึกให้ดี อ่านฉลากกำกับอาหารที่จะแสดงปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน
  4. จำกัดแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่ยังดีต่อสุขภาพ. ตามสมาคมหัวใจแห่งอเมริกานั้น ผู้ชายสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สองแก้วต่อวันและผู้หญิงดื่มได้หนึ่งแก้วถึงจะดีต่อหัวใจ [15] ถ้ามากกว่านั้นจะส่งผลตรงกันข้าม
    • แอลกอฮอล์จะทำความเสียหายต่อหัวใจโดยการทำให้ความดันโลหิตสูง สมองขาดเลือด และอ้วนหากไม่บริโภคแต่พอดี [16]
    • ยิ่งไปกว่านั้น แอลกอฮอล์สามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เพิ่มขึ้น มันเป็นไขมันชนิดพิเศษที่สามารถก่อให้เกิดภาวะอย่างโรคตับอ่อนอักเสบได้ การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความเสียหายต่อตับอ่อนชนิดรักษาให้กลับคืนดังเดิมมิได้ (โรคตับแข็ง) [17]
  5. ในขณะที่คุณควรได้รับสารอาหารจากอาหารเป็นหลัก อาหารเสริมสามารถช่วยเติมเต็มการขาดสารอาหารเล็กน้อยของธาตุบางตัวได้ อาหารเสริมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้พบได้ในซูเปอร์ฟู้ดส์ที่บอกไปด้านบนและมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจ: [18]
    • วิตามินกับแร่ธาตุ – การทานวิตามินทุกวันเป็นอาหารเสริมที่ดีให้คุณได้รับวิตามินบี 3 (ไนอาซิน), วิตามินเค, วิตามินอี และแมกนีเซียมที่ล้วนดีต่อหัวใจ
    • สมุนไพร – เชื่อกันว่ากระเทียม เอคไคนาเซีย และโสมมีประโยชน์กับหัวใจ
    • อื่นๆ – มีหลายคนที่ไม่ชอบทานปลา ซึ่งมีประโยชน์ต่อหัวใจ ทางเลือกก็คือลองทานกรดไขมันโอเมกา-3 แบบเม็ดร่วมกับโคเอนไซม์ คิว 10
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,118 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา