ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่สาเหตุทั่วไปอย่างการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไปจนถึงโรคร้ายแรงเช่นมะเร็งตับ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณก็ควรรักษาอาการแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองที่บ้านก่อน แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือแย่กว่าเดิม คุณก็ควรเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง อาการปวดตับก็น่าจะบรรเทาลง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาอาการปวดตับเล็กน้อยที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในบางกรณี อาการปวดตับก็สามารถทุเลาลงได้ด้วยการเติมน้ำเข้าสู่ร่างกาย การดื่มน้ำอุ่นช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้นด้วยการช่วยกำจัดสารพิษออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การดื่มน้ำมากขึ้นเป็นวิธีที่ช่วยได้มากเป็นพิเศษหากอาการปวดตับเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาการปวดตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์นั้นมักจะเกิดจากการขาดน้ำ [1]
  2. ถ้าคุณรู้สึกปวดที่ตับ อาการก็มักจะทุเลาลงได้ด้วยการเปลี่ยนท่า การนอนลงหรือการยืดเหยียดร่างกายจะช่วยกำจัดความดันทางกายภาพที่ตับออกไป ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดลงได้ [3]
    • วิธีนี้เป็นวิธีบรรเทาอาการปวดตับชั่วคราวเท่านั้น
  3. หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ ของทอด และอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เนย และไข่อยู่มาก. อาหารเหล่านี้อาจจะทำให้ยิ่งปวดตับมากกว่าเดิม เพราะมันบังคับให้ตับต้องทำงานหนักกว่าที่ควร หนึ่งในหน้าที่ของตับก็คือการกำจัดไขมัน เพราะฉะนั้นการมีไขมันที่ต้องกำจัดเพิ่มขึ้นอาจทำให้ตับยิ่งอักเสบกว่าเดิม [4]
    • อย่างไรก็ตามอาหารบางชนิดก็ช่วยเสริมการทำงานของตับ เช่น ผลไม้ตระกูลส้มและผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว การรับประทานอาหารเหล่านี้อาจจะไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการปวดตับได้ในทันที แต่มันก็ช่วยบำรุงตับ [5]
  4. 4
    ลดการบริโภคน้ำตาล. ปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อตับหรือทำให้อาการที่เกี่ยวกับตับแย่ลง เช่น ตับคั่งไขมัน ขณะที่พยายามรักษาหรือบรรเทาอาการปวดที่ตับ ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี ได้แก่น้ำอัดลม ขนมอบ ไอศกรีม และซอสขวด [6]
  5. อย่ารับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป. แม้ว่าสัญชาตญาณแรกมักจะบอกเราว่าให้รับประทานยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวด แต่ไม่ใช่กับกรณีที่คุณปวดตับ เพราะยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะซีตะมิโนเฟนและไอบูโพรเฟนนั้นนอกจากจะไม่ช่วยบรรเทาอาการแล้ว ยังอาจทำให้ปวดตับหนักยิ่งกว่าเดิมด้วย เพราะมันจะทำให้ตับยิ่งต้องทำงานหนัก [7]
    • เป็นที่รู้กันว่าการรับประทานยาอะซีตะมิโนเฟนในปริมาณที่มากเกินไปอาจไปทำลายตับได้ ถ้าคุณจำเป็นต้องรับประทานจริงๆ ให้รับประทานตามปริมาณที่แนะนำหรือน้อยกว่านั้น [8]
  6. ถ้าคุณรู้สึกปวดตับเพราะคุณดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การงดดื่มแอลกอฮอล์สามารถยับยั้งอาการปวดได้ วิธีนี้จะทำให้ตับได้พักจากการทำงานหนักและกลับไปทำงานได้ตามปกติ
    • คุณเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับจากแอลกอฮอล์หากคุณดื่มแอลกอฮอล์เกิน 45 มล. ทุกวัน [9]
    • ปัญหาที่ตับบางอย่างที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์สามารถบรรเทาได้ด้วยการงดดื่ม เช่น ตับคั่งไขมันและตับอักเสบสามารถหายได้ภายใน 6 สัปดาห์ถ้าไม่ดื่มแอลกอฮอล์ แต่โรคตับที่รุนแรงที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น โรคตับแข็ง นั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยการงดดื่ม [10]
  7. มีวิธีการรักษาที่อาจช่วยให้อาการปวดตับทุเลาลงได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ว่าช่วยบรรเทาอาการปวดตับได้จริง ถ้าคุณรับประทานตามที่แนะนำก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพียงแต่ไม่รับประกันว่ามันจะช่วยให้อาการทุเลาลงได้อย่างแน่นอน [11]
    • เช่น รับประทานอาหารเสริมจากธรรมชาติที่กล่าวว่าออกแบบมาเพื่อช่วยบำรุงตับ ซึ่งโดยทั่วไปมักประกอบด้วยส่วนผสมของมิลค์ ทิสเซิล รากแดนดิไลออน และชิแซนดรา รวมทั้งวิตามินบี ซี และอี [12]
    • ถ้าคุณเป็นโรคตับหรือได้รับการวินิจัยว่ามีอาการผิดปกติที่ตับ คุณไม่ควรรับประทานอาหารเสริมจากธรรมชาติโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เข้ารับการรักษาอาการปวดตับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าคุณจะปวดตับแค่นิดหน่อย แต่คุณก็ควรปรึกษาแพทย์หากอาการยังคงอยู่ แพทย์จะสอบถามถึงอาการและตรวจร่างกาย ซึ่งการตรวจร่างกายโดยทั่วไปก็จะเป็นการตรวจสัญญาณสำคัญพื้นฐานและจับที่ตับเพื่อดูว่าตับอักเสบหรือไม่
    • ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคถุงน้ำดีหรือเปล่า ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิงที่น้ำหนักเกินยิ่งมีความเสี่ยงสูง
    • เรียกหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากอาการปวดรุนแรงมากและมีอาการคลื่นไส้ มึนงง หรือมีภาพหลอนร่วมด้วย เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [13]
  2. ถ้าแพทย์สงสัยว่าตับของคุณอาจจะมีปัญหา แพทย์ก็อาจจะทำตรวจตับด้วยวิธีการหลายอย่าง ซึ่งการตรวจที่ว่านี้ก็อาจจะมีทั้งตรวจการทำงานของตับและการถ่ายภาพตับ [14]
    • ถ้าผลการตรวจเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าตับมีปัญหา แพทย์ก็อาจจะสั่งตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจสอบเซลล์ของตับ
  3. ถ้าอาการปวดตับยังคงอยู่ คุณต้องปรึกษาแพทย์ว่าจะยับยั้งหรือบรรเทาอาการปวดต่อไปอย่างไร แพทย์อาจจะสามารถสั่งยาที่ปลอดภัยต่อตับและให้คำแนะนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อทุเลาอาการปวดได้ [15]
    • เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะต้องรับประทานยาและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตควบคู่กัน เช่น ลดน้ำหนักหรือรับประทานอาหารแบบพิเศษ เพื่อรักษาอาการปวดตับ
    • แพทย์อาจจะบอกให้คุณรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป คุณต้องรับประทานตามปริมาณที่แนะนำ เพราะการรับประทานมากกว่านั้นอาจทำให้ตับทำงานหนักได้
  4. ถ้าอาการปวดตับเกิดจากโรคอื่น การรักษาโรคนั้นให้หายก็น่าจะช่วยลดอาการปวดลงได้ ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านการรักษาของแพทย์และคอยรายงานความเปลี่ยนแปลงของโรคให้แพทย์ทราบ
    • วิธีการรักษาทางการแพทย์จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด ถ้าอาการปวดเกิดจากโรคที่ไม่ร้ายแรงนัก เช่น ตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ก็สามารถจัดการได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นและลดคอเลสเตอรอลเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งตับ ก็จะต้องเป็นการรักษาแบบจริงจังและคุกตาม เช่น การปลูกถ่ายตับ [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ระบุอาการปวดตับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตับจะอยู่ตรงช่องท้องด้านบน ใต้ปอดและเหนือกระเพาะอาหาร ถ้าคุณรู้สึกปวดบริเวณนี้ ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมาจากตับ [17]
  2. เนื่องจากตับอยู่ทางด้านขวามือของร่างกาย จึงเป็นไปได้ว่าอาการปวดตับของคุณน่าจะปวดรุนแรงตรงด้านขวามากกว่า แต่ถ้าเป็นอาการปวดรวมๆ ก็อาจจะมาจากอวัยวะอื่นก็ได้ [18]
  3. สงสัยว่าเป็นอาการปวดตับหากคุณเป็นโรคที่เกี่ยวข้อง. มีอาการป่วยต่างๆ มากมายที่มักจะทำให้รู้สึกปวดที่ตับ ถ้าคุณปวดท้องและเป็นโรคใดโรคหนึ่งต่อไปนี้ อาการปวดก็น่าจะมาจากตับ: [19]
    • โรคตับอักเสบ
    • โรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
    • โรคถุงน้ำดี
    • โรคตับแข็ง
    • กลุ่มอาการเรย์
    • ภาวะเหล็กเกิน
    • โรคมะเร็งตับ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,005 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา