ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการเจ็บคอคือการเกิดอาการเจ็บแบบคันในลำคอที่ทำให้ยากแก่การกลืนหรือพูด อาการนี้สามารถชี้ถึงสาเหตุได้หลายประการ รวมไปถึงอาการขาดน้ำ อาการแพ้ และอาการปวดกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการเจ็บคอคือการติดเชื้อไวรัสกับแบคทีเรียอย่างเช่นเชื้อหวัดหรือคอหอยอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส [1] อาการเจ็บคอมักจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน แต่คุณอาจทำตามขั้นตอนตามต่อไปนี้เพื่อเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

ตรวจอาการเจ็บคอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [2] อาการที่เกิดต่อเนื่องของการเจ็บคอก็คือลำคอที่จะเจ็บขึ้นเมื่อพูดหรือกลืนอะไรลงไป มันยังอาจตามมาด้วยอาการคอแห้งหรือรู้สึกคันคอ อีกทั้งเสียงจะแหบหรือไม่มีเสียง คนบางคนอาจมีอาการต่อมตรงลำคอหรือกรามเกิดอักเสบและบวมขึ้น ถ้าคุณยังไม่ได้ผ่าทอนซิล มันจะบวมแดง หรือมีหย่อมฝ้าขาวหรือหนองเกิดขึ้นได้
  2. [3] อาการเจ็บคอส่วนมากเป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย คุณควรมองหาอาการติดเชื้อที่มีสิทธิเกิดควบคู่กับการเจ็บคอได้ อาการเหล่านี้ได้แก่:
    • มีไข้
    • หนาวสั่น
    • ไอ
    • มีน้ำมูก
    • จาม
    • ครั่นเนื้อครั่นตัว
    • ปวดศีรษะ
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  3. [4] อาการเจ็บคอจะหายไปเองภายในไม่กี่วันหรืออาจจะหนึ่งสัปดาห์โดยการรักษาตัวที่บ้านตามปกติ กระนั้น ถ้าหากอาการเจ็บนั้นมากเกินจะทนไหว คุณควรคิดถึงการไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจลำคอของคุณ ฟังการหายใจ และใช้ไม้กดลิ้นแตะผนังลำคอหาเชื้อ ถึงการใช้ไม้กดลิ้นจะไม่สร้างความเจ็บปวด แต่ก็อาจไม่ค่อยสบายกายนักจากการที่มันชวนให้รู้สึกอยากอาเจียน [5] ตัวอย่างที่ถูกจัดเก็บจากการใช้ไม้กดลิ้นหาเชื้อในลำคอคุณนั้นจะถูกส่งไปยังห้องวิจัยเพื่อหาตัวการของการติดเชื้อ เมื่อพบไวรัสหรือแบคทีเรียต้นเหตุแล้ว แพทย์จะสามารถแนะนำการรักษาแก่คุณได้
    • แพทย์อาจสั่งให้ตรวจและทำ CBC (การตรวจนับเม็ดเลือด) เพื่อหาอาการภูมิแพ้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

การดูแลอาการเจ็บคอที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดื่มน้ำช่วยป้องกันอาการขาดน้ำและทำให้ลำคอมีความชุ่มชื้นที่ช่วยลดอาการระคายเคืองได้ [6] คนส่วนใหญ่เลือกดื่มน้ำในแบบอุณหภูมิห้องเวลาที่เขาเจ็บคอ ทว่าถ้าน้ำร้อนหรือเย็นทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น ให้ดื่มมันแทนก็ได้
    • ดื่มน้ำในแก้วขนาด 8 ออนซ์อย่างน้อยแปดถึงสิบแก้วต่อวัน มากกว่านั้นถ้าคุณมีไข้
    • ลองเติมน้ำผึ้งสักช้อนชาลงไปในน้ำ น้ำผึ้งมีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรียและช่วยทำให้ชุ่มคอกับเคลือบลำคอได้ [7]
  2. [8] อากาศแห้งมีแต่จะทำให้อาการเจ็บคอแย่ลงทุกครั้งที่คุณหายใจเข้า ให้ลองเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศเพื่อช่วยให้ลำคอมีความชื้นและชุ่มชื่นขึ้น มันยิ่งจำเป็นมากถ้าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง
    • ลองคิดเรื่องการซื้อเครื่องเพิ่มความชื้นสำหรับในบ้านหรือออฟฟิศ
    • ถ้าเครื่องเพิ่มความชื้นไม่อยู่ในความคิด ให้ทิ้งชามใส่น้ำไว้ในห้องที่คุณใช้เวลาอยู่นานๆ
    • หากลำคอรู้สึกคันเป็นอย่างมาก ลองอาบน้ำอุ่นและใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำที่อบอวลด้วยไอน้ำ
  3. [9] [10] คำบอกเล่าเก่าๆ ที่ว่าด้วยการใช้ซุปไก่สู้โรคนั้นเป็นความจริง! จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าซุปไก่สามารถทำให้เซลภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการเคลื่อนไหวที่ช้าลง การเคลื่อนไหวที่ช้าลงของเซลเหล่านี้จะทำให้มันยิ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซุปไก่ยังช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของขนเล็กๆ ในจมูกที่ช่วยลดการติดเชื้อ คุณควรยึดอยู่กับอาหารที่รสนุ่มบางเบาและไม่เหนียวนักสักพักใหญ่
    • ตัวอย่างของอาหารอ่อนก็เช่นแอปเปิลซอส ข้าว ไข่คน พาสต้าที่ลวกจนสุก โอ๊ตมีล สมูทตี้ และถั่วที่ต้มจนเปื่อย
    • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดอย่างปีกไก่ พิซซ่าเปปเปอโรนี หรืออะไรก็ตามที่ใส่พริกแดง ผงกะหรี่ หรือกระเทียม
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียวที่อาจกลืนได้ยาก ตัวอย่างก็เช่น เนยถั่ว ขนมปังแห้ง ขนมปังปิ้ง หรือแครกเกอร์ ผักหรือผลไม้ดิบๆ และซีเรียลเปล่าๆ
  4. [11] ใช้ส้อมและมีดหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนนำเข้าปาก ให้แน่ใจว่าได้เคี้ยวละเอียดพอที่จะสลายมันเป็นชิ้นเล็กก่อนกลืนลงไป การเคี้ยวและให้น้ำลายมาทำให้อาหารในปากชุ่มฉ่ำจะทำให้กลืนลงได้ง่าย
    • คุณอาจใช้เครื่องปั่นอาหารมาทำให้อาหารมีเนื้อละเอียดเพื่อกลืนลงได้ง่ายก็ได้ [12]
  5. คุณสามารถพกเป็นขวดเล็กๆติดตัวไว้ใช้ยามต้องการได้ตลอดทั้งวัน เริ่มจากตวงน้ำสะอาด ¼ ถ้วยสำหรับสเปรย์ทุกๆ 2 ออนซ์ที่คุณคิดจะทำ จากนั้นเติมน้ำมันสกัดเมนทอล (ยาบรรเทาความเจ็บปวด), น้ำมันสกัดยูคาลิปตัส, และน้ำมันสกัดเซจ (ต่อต้านแบคทีเรีย, ต่อต้านเชื้อโรค, และต่อต้านการอักเสบ) ลงไปอย่างละสองหยด [13] [14] ผสมทั้งหมดให้เข้ากันและเทใส่ขวดสเปรย์ขนาดหนึ่งหรือสองออนซ์ นำส่วนที่เหลือไปแช่เย็นเพื่อเก็บไว้ใช้ในภายหลัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

รักษาอาการเจ็บคอด้วยการกลั้วคอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เติมเกลือสมุทรหรือเกลือสกัด 1 ช้อนชาลงในน้ำอุ่น 8 ออนซ์แล้วคนจนเกลือละลาย กลั้วคอประมาณ 30 วินาทีแล้วบ้วนทิ้ง ทำซ้ำทุกๆ ชั่วโมง [15] เกลือจะลดอาการบวมโดยการดึงน้ำออกจากเนื้อเยื่อที่กำลังบวมอยู่
  2. [16] ถึงแม้จะยังไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์มารองรับ แต่น้ำส้มสายชูแอปเปิลไซเดอร์ดูเหมือนจะใช้กำจัดแบคทีเรียได้ผลดีกว่าน้ำส้มสายชูชนิดอื่น น่าเสียดายที่รสชาติของมันอาจจะเต็มกลืนสำหรับบางคนอยู่บ้าง ฉะนั้นเตรียมตัวดื่มน้ำล้างปากหลังจากนั้น!
    • เติมน้ำส้มสายชูแอปเปิลไซเดอร์หนึ่งช้อนโต๊ะลงในน้ำอุ่นหนึ่งแก้ว ถ้าต้องการ คุณจะเติมน้ำผึ้งสักหนึ่งช้อนโต๊ะลงไปผสมเพื่อให้รสดีขึ้นก็ได้
    • นำมากลั้ววันละ 2-3 ครั้ง
    • อย่าให้น้ำผึ้งแก่เด็กที่อายุต่ำกว่าสองขวบ เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อภาวะโบทูลิซึมซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำผึ้ง [17]
  3. [18] ผงฟูมีคุณสมบัติเป็นด่าง ซึ่งจะช่วยให้อาการเจ็บคอทุเลาลง มันยังช่วยเปลี่ยนค่า pH ของลำคอ ซึ่งช่วยในการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย ผงฟูเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่อาจกลั้วคอด้วยน้ำส้มสายชูแอปเปิลไซเดอร์ไหว
    • เติมผงฟู ½ ช้อนชาในน้ำอุ่นหนึ่งแก้ว
    • เติมเกลือ ½ ช้อนชา
    • นำส่วนผสมนี้มากลั้วคอทุกๆ 2 ชั่วโมง
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

ดื่มชาเพื่อบรรเทาอาการของลำคอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้คุณจะควรเลี่ยงอาหารรสเผ็ด ทว่าชาพริกชี้ฟ้าป่นสามารถทำให้อาการเจ็บคอทุเลาลง พริกชี้ฟ้าทำหน้าที่เสมือนตัวสร้างความระคายโต้กลับ นั่นคือมันเป็นตัวสร้างความระคายตัวที่สองที่จะไปตอบโต้ตัวสร้างความระคายเดิม [19] มันยังไปหยุดชะงักการทำงานของ “สาร P” ในร่างกาย สาร P นั้นเป็นสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับอาการบวมแดงและอาการเจ็บปวด [20] [21]
    • คนพริกชี้ฟ้าป่น ⅛- ¼ ช้อนชาลงไปในน้ำเดือดหนึ่งแก้ว
    • ผสมน้ำผึ้ง (เพื่อเพิ่มรสชาติ) ประมาณ 1-2 ช้อนชาและจิบบ่อยๆ
    • คนเครื่องดื่มนี้อยู่เสมอเพื่อไม่ให้พริกนอนก้น
  2. [22] นี่ไม่ใช่ชะเอมสีดำหรือสีแดงที่มาในรูปแบบลูกอม ชารากชะเอมนั้นทำมาจากต้นชะเอม (Glycerrhiza glabra) รากชะเอมมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัส ต่อต้านแบคทีเรีย และต่อต้านอาการอักเสบ [23] [24] [25] มันเหมาะต่อการรักษาอาการเจ็บคอทุกแบบ ไม่ว่าจะเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ร้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีชาสมุนไพรขายและชารากชะเอมก็หาได้ทั่วไป ใช้ถุงชาหนึ่งถุงต่อน้ำเดือดหนึ่งแก้วแล้วเติมน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มรสชาติ
  3. [26] เป็นที่ทราบกันว่ากานพลูกับขิงล้วนมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัสและต่อต้านแบคทีเรีย [27] [28] [29] [30] ต่อให้คุณไม่มีอาการเจ็บคอ ก็ยังสามารถดื่มด่ำรสชาติชุ่มคอและความหอมของชาเหล่านี้ได้
    • สำหรับชากานพลู เติมกานพลูทั้งก้านหนึ่งช้อนชาหรือกานพลูป่น ½ ช้อนชาลงในน้ำเดือดหนึ่งแก้ว
    • สำหรับชาขิง เติมขิงป่น ½ ช้อนชาลงในน้ำร้อน ถ้าใช้ขิงสด (วิธีนี้ดีที่สุด!) ให้ใช้ขิงปอกเปลือกและสับจำนวน ½ ช้อนชา
    • เติมน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มรสชาติ
  4. อบเชยนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่สูงและมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัสกับแบคทีเรีย (16) คุณจะใส่แท่งอบเชยลงในน้ำเดือดเพื่อทำชาอบเชย หรือใช้มันเป็นแท่งคนชากับชาชนิดอื่นก็ได้ ไม่เพียงแต่มันช่วยต่อต้านการอักเสบ มันยังเพิ่มรสชาติที่มีมิติมากขึ้นให้กับชาของคุณด้วย!
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

รักษาอาการเจ็บคอในเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณควรรับรู้ก่อนว่าอุณหภูมิที่เย็นจะทำให้อาการเจ็บคอกำเริบขึ้นได้ หากเด็กไม่ได้ตอบสนองดีต่อการรักษารูปแบบนี้ ก็หยุดใช้มันซะ วัตถุดิบที่ต้องจัดเตรียมคือ กรีกโยเกิร์ตสองถ้วย น้ำผึ้งสองถึงสามช้อนโต๊ะ และอบเชยป่นหนึ่งช้อนชา โยเกิร์ตมีแบคทีเรียดีที่จะช่วยเพิ่มพูนระบบภูมิคุ้มกัน โยเกิร์ตสไตล์กรีกนั้นจะเปรี้ยวกว่าและข้นกว่า ตอนละลายเลยไม่เหลวเป็นหยด คุณจะใช้โยเกิร์ตธรรมดาหรือรสผลไม้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบของเด็ก
    • ผสมส่วนประกอบทั้งหมดลงในเครื่องปั่นอาหารปั่นจนกระทั่งมันละเอียดเป็นเนื้อเดียว
    • เทส่วนผสมลงในแม่พิมพ์ไอศกรีมแท่ง ให้เหลือพื้นที่ราว ½ นิ้วจากด้านบน
    • เสียบแท่งไม้ลงไปแล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็งประมาณ 6-8 ชั่วโมง
  2. ถ้าคุณลองดึงไอศกรีมแท่งออกจากแม่พิมพ์ทันทีที่นำออกมาจากช่องแช่แข็ง คุณจะพบว่าตัวเองกำลังถือแท่งไม้ไอศกรีมเปล่าๆ โดยไร้ไอศกรีมติดมา ก่อนจะดึงออกจากแม่พิมพ์ ให้นำแม่พิมพ์ไปจุ่มในน้ำร้อนราวห้าวินาที มันจะช่วยให้ไอศกรีมคลายตัวลงเล็กน้อย ทำให้เอาออกมาจากแม่พิมพ์ได้ง่ายขึ้น
  3. คุณสามารถนำชาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นมาแช่แข็งได้เหมือนกัน แค่เทชาพริกชี้ฟ้า รากชะเอม กานพลู หรือขิงลงในแม่พิมพ์และแช่ไว้สักสี่ถึงหกชั่วโมง คุณอาจอยากเติมความหวานให้ไอศกรีมด้วยน้ำผึ้งและ/หรืออบเชยโดยเฉพาะเพื่อเอาใจเด็กๆ
  4. ทำลูกอมแบบโฮมเมดสำหรับเด็กที่อายุมากกว่าห้าขวบ. เวลาใช้กับเด็กเล็ก ลูกอมอาจเป็นของอันตรายที่อาจติดคอได้ กระนั้นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ พวกมันจะช่วยเพิ่มการไหลของน้ำลาย ช่วยให้ลำคอชุ่มชื่น ลูกอมเหล่านี้ยังเติมส่วนผสมที่ช่วยบรรเทาหรือรักษาอาการเจ็บคอ หากเก็บไว้ในที่แห้งเย็นและแดดไม่ส่องแล้ว ลูกอมเหล่านี้สามารถอยู่ได้นานถึงหกเดือน วิธีทำก็ให้รวบรวมส่วนผสมดังต่อไปนี้: ผงมาร์ชมาลโลว์รูท ½ ช้อนชา, ผงเปลือกไม้สลิปเปอร์รี่เอล์ม ½ ถ้วย, น้ำร้อนที่กรองแล้ว ¼ ถ้วย, น้ำผึ้งสองช้อนโต๊ะ
    • ละลายผงมาร์ชมาลโลว์รูทลงในน้ำร้อน
    • ใส่น้ำผึ้งสองช้อนโต๊ะที่ว่าลงในแก้วตวงและเติมน้ำมาร์ชมาลโลว์ร้อนๆ ลงไปจนได้ ½ แก้วพอดี เทส่วนที่ได้ลงในชามผสมและทิ้งที่เหลือไป
    • เติมผงเปลือกไม้สลิปเปอร์รี่เอล์ม ½ แก้วลงในชามผสม ทำหลุมตรงกลางของกองผง
    • เทน้ำผสมน้ำผึ้ง/มาร์ชมาลโลว์ลงไปในหลุมนั้นแล้วคลุกส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน มันควรจะก่อตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดประมาณองุ่น
    • กลิ้งลูกอมในผงเปลือกไม้สลิปเปอร์รี่เอล์มเพิ่มเพื่อลด “ความเหนียว” ของมัน แล้วนำมาวางในถาดทิ้งไว้ให้มันแห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
    • พอแห้งแล้ว ห่อลูกอมแต่ละเม็ดในกระดาษไขหรือกระดาษรองอบ เวลาจะใช้ ก็แค่แกะห่อลูกอมมาอมโดยปล่อยให้ค่อยๆ ละลายในปาก
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

รักษาอาการเจ็บคอด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าเมื่อไหร่สมควรต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที. [31] อาการเจ็บคอส่วนมากจะบรรเทาได้ด้วยการรักษาที่บ้านภายในเวลาไม่กี่วันไปจนถึงสองสัปดาห์ ถ้ามันยังมีอาการนานกว่านั้น บ่งบอกว่าอาจเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงพอจะต้องรับการรักษา ยิ่งกว่านั้น สมควรพาเด็กไปพบแพทย์หากอาการเจ็บคอไม่หายไปจากการดื่มน้ำในตอนเช้า โทรหาแพทย์ทันทีถ้าเด็กมีปัญหาในการหายใจหรือกลืนอาหาร หากมีน้ำลายไหลอย่างผิดปกติเกิดร่วมกับอาการเจ็บคอ ก็ให้รีบพาไปตรวจทันที ผู้ใหญ่นั้นทนทายาดกว่า คุณสามารถรอดูอาการที่บ้านได้หลายวัน แต่ไปพบแพทย์หากคุณพบว่า: [32]
    • มีอาการเจ็บคอนานเกินหนึ่งสัปดาห์หรือดูแย่ลง
    • กลืนอะไรลำบาก
    • หายใจติดขัด
    • อ้าปากลำบากหรือรู้สึกปวดบริเวณขากรรไกร
    • ปวดตามข้อต่อ โดยเฉพาะเพิ่งปวดเพิ่ม
    • ปวดหู
    • มีผื่นขึ้น
    • มีไข้ที่สูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียส (101 องศาฟาเรนไฮต์)
    • น้ำลายหรือเสมหะมีเลือดผสม
    • มีอาการเจ็บคออยู่บ่อยๆ
    • มีก้อนหรือตุ่มที่ลำคอ
    • มีเสียงแหบนานเกินสองสัปดาห์
  2. พิจารณาว่าการติดเชื้อนี้มาจากไวรัสหรือแบคทีเรีย. [33] อาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัสนั้นโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา มันควรหายเองภายในห้าถึงเจ็ดวัน แต่ทว่าการติดเชื้อจากแบคทีเรียนั้นจะรักษาให้หายได้ง่ายมากโดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่สั่งจ่ายโดยแพทย์
    • การวิเคราะห์เชื้อที่ป้ายจากลำคอคุณโดยห้องวิจัยจะตัดสินได้ว่าการติดเชื้อนี้เป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย
  3. ใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียตามคำแนะนำ. [34] คุณจะต้องรับประทานยาให้ครบแผงสำหรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ถึงแม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม หากคุณไม่รับประทานยานานเท่ากับที่แพทย์สั่ง อาการนั้นอาจหวนกลับคืนมา ทั้งนี้เป็นเพราะแบคทีเรียบางตัวที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอาจมีชีวิตรอดในการทานยาไม่ครบแผงได้ หากเป็นเช่นนั้น มันจะสามารถขยายจำนวนของแบคทีเรียที่ดื้อยาในตัวคุณ จึงทำให้คุณเสี่ยงต่อการกลับมาติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นได้
    • หากแบคทีเรียดื้อยามีชีวิตรอดในร่างกายคุณ คุณมีสิทธิจะกลับมาติดเชื้ออีก คราวนี้จะต้องใช้ยาขนานแรงกว่าเดิมเพื่อฆ่าแบคทีเรียเหล่านั้น
  4. รับประทานโยเกิร์ตซึ่งผลิตวันต่อวันในระหว่างใช้ยาปฏิชีวนะ. ยาปฏิชีวนะจะทำลายแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ แต่มันก็กำจัดแบคทีเรียดีที่อยู่ในลำไส้ไปด้วย [35] [36] ร่างกายของคุณต้องการแบคทีเรียดีในลำไส้เพื่อการย่อยอาหารอย่างถูกสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง แบคทีเรียดีนี้ยังจำเป็นสำหรับการผลิตวิตามินบางตัว โยเกิร์ตที่มี “ผลิตวันต่อวัน” จะมีโปรไบโอติคหรือแบคทีเรียดีในลำไส้นี้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในช่วงทานยาปฏิชีวนะจะทำให้คุณมีสุขภาพดีในขณะที่ยาปฏิชีวนะกำลังทำงานของมันไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผู้คนส่วนใหญ่พบว่าการดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ ช่วยบรรเทาได้ แต่นั่นไม่ใช่กฎตายตัว ถ้าคุณรู้สึกดีกว่าหากจะดื่มชาแบบไม่ร้อนหรือแบบเย็น ก็เชิญตามสบายเลย เครื่องดื่มใส่น้ำแข็งก็ยังอาจมีประโยชน์ โดยเฉพาะถ้าเกิดคุณมีไข้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้น้ำผึ้งกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ถึงจะเกิดได้ยาก แต่อาการโบทูลิซึมในทารกนั้นก็เป็นความเสี่ยงเพราะบางครั้งน้ำผึ้งจะมีละอองแบคทีเรียผสมอยู่และทารกก็ยังไม่ได้พัฒนาระบบภูมิคุ้มกันตัวเองขึ้นมาเต็มที่
  • ให้แน่ใจว่าไปพบแพทย์หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน


โฆษณา
  1. http://well.blogs.nytimes.com/2007/10/12/the-science-of-chicken-soup/?_r=0
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003116.htm
  3. http://www.drugs.com/cg/soft-diet.html
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3609378/
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4003706/
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sore-throat/basics/treatment/con-20027360
  7. Cavender, A;, Folk medical uses of plant foods in southern Appalachia, United States. J Ethnopharmacol; 108 (1) 74-84, 2006.
  8. http://kidshealth.org/parent/infections/bacterial_viral/botulism.html
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sore-throat/basics/treatment/con-20027360
  10. http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/counterirritant
  11. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15334652
  12. Sandhu, D., Heinrich, M. The Use of Health Foods, Spices and other Botanicals in the Sikh Community in London. Phytotherapy Res., 19, 633-642, 2005
  13. https://www.researchgate.net/publication/7332760_Antibacterial_Compounds_from_Glycyrrhiza_u_ralensis
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9055991
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3870067/
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16353966
  17. Sandhu, D., Heinrich, M. The Use of Health Foods, Spices and other Botanicals in the Sikh Community in London. Phytotherapy Res., 19, 633-642, 2005
  18. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17380552
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23123794
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16366855
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3074903/
  22. http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/general-health/Pages/sore-throat.aspx
  23. https://www.entnet.org/?q=node/1451
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sore-throat/basics/treatment/con-20027360
  25. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/in-depth/antibiotics/art-20045720?pg=2
  26. http://goaskalice.columbia.edu/lactobacillus-acidophilus-diarrhea
  27. http://www.mayoclinic.org/probiotics/expert-answers/faq-20058065
  28. http://www.health.harvard.edu/blog/probiotics-may-help-prevent-diarrhea-due-to-antibiotic-use-201205094664

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,486 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา