ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไอ เป็นอาการสามัญที่แสดงถึงการระคายเคือง เป็นได้ทั้งอาการที่เกิดขึ้นเพียงระยะสั้น หรือเป็นอาการไอเรื้อรัง สาเหตุของการไอระยะสั้น อาจเกิดขึ้นได้จากเชื้อไวรัส (เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดทั่วไป โรคคอตีบ และ การติดเชื้อไวรัส RSV) เชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ และ โรคเยื่อจมูกอักเสบ ส่วนอาการไอเรื้อรังที่เกิดขึ้นนานกว่า 8 สัปดาห์ อาจเกิดขึ้นได้จากอาการของ โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง โรคกรดไหลย้อน โรคหัวใจล้มเหลว ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด หรือ วัณโรค

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูแลร่างกายของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณกำลังป่วยเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไอ คุณหมอส่วนใหญ่จะไม่เต็มใจที่จะ “รักษา” อาการไอนั้น เพราะการไอกำลังทำหน้าที่สำคัญ คือการทำให้ทางเดินหายใจของคุณโล่งขึ้น ถ้าคุณรู้สึกเหมือนอาการไอเกิดขึ้นลึกลงไปถึงส่วนหน้าอก หรือไอแล้วมีเสมหะและมูกออกมาเรื่อยๆ นั่นเป็นสิ่งที่ดี แสดงว่าร่างกายของคุณมีความสามารถโดยธรรมชาติที่จะฟื้นฟูตัวเอง fi
    • ถ้าคุณมีอาการไอต่อเนื่องเกินกว่า 8 สัปดาห์ ถือว่าเข้าข่ายอาการ “ไอเรื้อรัง” คุณควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ สาเหตุทั่วไปของอาการไอเรื้อรังเกิดขึ้นได้จาก โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง โรคกรดไหลย้อน โรคหัวใจล้มเหลว ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด วัณโรค ยาบางชนิด เช่น ยาต้านแองจิโอเทนซิน คอนเวอร์ติ้ง เอนไซม์ (ACE) อาจมีผลข้างเคียงให้เกิดอาการไอ [1]
  2. อาการไอทำให้เราสูญเสียน้ำจากอัตราการหายใจที่เร็วขึ้นและการไอ และยิ่งถ้าอาการไอของคุณมีไข้ร่วมด้วย ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้นอีก ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำซุป หรือจิบน้ำที่ไม่ใช่น้ำส้ม การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยไม่ให้คุณเกิดอาการระคายเคืองในลำคอ ช่วยลดการเกิดเสมหะ และช่วยทำให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้น [2]
  3. จากการศึกษาพบว่า การทานอาหารที่มีใยอาหารสูง โดยเฉพาะใยอาหารจากผลไม้ จะช่วยลดอาการไอเรื้อรังและอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ [8]
    • ใยอาหารที่มาจากผลไม้ จะช่วยลดอาการไอได้มากกว่าใยอาหารที่เป็นอาหารเสริม ผลไม้จำพวก แอปเปิล และแพร์ยังมีสารฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยในการทำงานของปอดด้วย [9]
    • ผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เช่น ราสเบอรรี่ แพร์ แอปเปิล กล้วย ส้ม สตรอเบอรี่ [10]
  4. การหายใจเอาไอร้อนจากน้ำอุ่นเข้าไปจะช่วยทำให้ทางเดินหายใจของคุณชุ่มชื้น โล่งสบาย [11] และยังช่วยบรรเทาสาเหตุของอาการไอ [12]
    • เปิดน้ำร้อนไหลผ่านฝักบัว ปิดประตูห้องน้ำ และวางผ้าขนหนูไว้ระหว่างใต้ประตูกับพื้น ใช้เวลาประมาณ 15 -20 นาที เพื่อหายใจเอาไอน้ำที่เกิดขึ้นเข้าไป
    • หรือคุณจะใช้การบำบัดด้วยการสูดไอน้ำก็ได้ นำถ้วยทนความร้อนใส่น้ำเปล่าต้มเดือด วางบนโต๊ะเรียบ ยื่นหน้าไปเหนือชาม ระวังไอน้ำร้อนลวก นำผ้าขนหนูวางเหนือศีรษะแล้วหายใจลึกๆ สูดไอน้ำเข้าไป
      • ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้ชามน้ำร้อน เพราะอาจจะโดนลวกได้ วิธีที่ดีกว่าคือ ให้เด็กนั่งในห้องน้ำที่ปิดประตู แล้วเปิดน้ำร้อนจากฝักบัว เพื่อให้เด็กได้สูดไอน้ำเข้าไป
    • จำไว้ว่า เสมหะที่แห้งจะไม่ขยับ แต่เสมหะที่ชุ่มชื้นจะถูกขับออกจากปอดและทางเดินหายใจได้ดีกว่า
  5. คลายอาการหายใจไม่สะดวกด้วยเทคนิคการตบเป็นจังหวะ. ถ้าคุณอยู่ที่บ้านและมีคนช่วยได้ ใช้การตบหน้าอกเป็นจังหวะเพื่อช่วยให้หน้าอกโล่งขึ้น สามารถทำได้ทั้งในตอนเช้าและก่อนนอน [13]
    • นั่งหันหลังพิงพนักเก้าอี้หรือกำแพง ให้คู่ของคุณทำมือเป็นรูปถ้วย โดยงอนิ้วเข้ามา และตบลงที่หน้าอกส่วนบนของคุณแบบเร็วๆ ทำประมาณ 5 นาที
    • นอนคว่ำหน้าโดยรองหมอนไว้ที่ใต้สะโพก งอข้อศอกวางข้างลำตัว ให้คู่ของคุณทำมือเป็นรูปถ้วยแล้วตบเร็วๆ ที่ช่วงปีกหลังและ ไหล่ช่วงบน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
    • นอนหงาย รองหมอนไว้ใต้สะโพก วางแขนข้างลำตัว คู่ของคุณทำมือเป็นรูปถ้วยแล้วตบเร็วๆที่หน้าอกส่วนบนของคุณ ทำประมาณ 5 นาที
    • การ “ตบ” นี้ควรจะเกิดเสียงแบบมีลม ถ้าเสียงที่เกิดขึ้นดัง “แป๊ะๆ” ลองขอให้คู่ของคุณทำมือเป็นรูปถ้วยให้มากขึ้น
    • ห้ามตบลงบนกระดูกสันหลังและไต
  6. หากคุณรู้สึกเจ็บคอจากการไอไม่หยุด ลอง “ไอแรงๆ” เพื่อทำให้หยุดไอ [14]
    • ทำให้ปอดของคุณแฟบโดยการหายใจออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้น หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ เปิดปากไว้หลวมๆ ทำเป็นรูปตัวโอ
    • หดกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนบนเพื่อทำให้เกิด การไอสั้นๆ หายใจเข้าสั้นๆ แล้วไอสั้นๆ อีกครั้ง แล้วหายใจเข้าสั้นลงอีก และไอสั้นๆ อีกครั้ง
    • สุดท้าย ไอแรงๆ 1 ครั้ง คุณจะรู้สึกว่าเสมหะคลายตัวลง เนื่องจากว่าการไอสั้นๆ จะช่วยดันให้เสมหะค่อยๆ ขึ้นมาสู่ด้านบนของทางเดินหายใจ เพื่อที่คุณจะได้กำจัดมันออกไปได้ในการไอแรงๆ ครั้งสุดท้ายเพียงครั้งเดียว
  7. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการไอ อันที่จริงแล้วเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังเลย [15] และการสูบบุหรี่ยังส่งผลเสียกับสุขภาพของคุณด้วย การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยบรรเทาอาการไอ และเป็นการปล่อยให้ร่างกายได้เริ่มฟื้นฟูตัวเอง [16]
    • หลังจากคุณหยุดสูบบุหรี่ คุณอาจจะมีอาการไอ “มากขึ้น” ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะไปยับยั้งการทำงานของขน (Cilia) ในปอดของคุณ ยิ่งกว่านั้น การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในช่องทางเดินหายใจของคุณ เมื่อคุณหยุดสูบบุหรี่ ซีเลียจะทำงานได้ดีขึ้นและอาการอักเสบเหล่านั้นจะค่อยๆหายไป ร่างกายของคุณอาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์เพื่อปรับตัวเข้ากับการฟื้นฟูนี้ [17]
    • การหยุดสูบบุหรี่ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปอด โรคหัวใจ และการเกิดเส้นเลือดสมองอุดตัน ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ เช่นการไอเรื้อรัง [18]
    • การหยุดสูบบุหรี่ยังมีผลดีกับคนรอบข้างด้วย มีคนมากมายเกิดปัญหาสุขภาพเพราะสูดดมควันจากบุหรี่ที่ตนเองไม่ได้สูบ
  8. การไอทั่วๆ ไปจะดีขึ้นได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ แต่ถ้าหากไม่หายและยังไอบ่อยขึ้นและดูร้ายแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์ การไอต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเป็นสัญญาณบอกถึงโรคอื่นๆ หากคุณมีปัญหาทางด้านสุขภาพที่อาจทำให้ไอ (เช่น โรคหืด โรคปอด หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง) หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที [19]
    • เสมหะเหนียวและมีสีเขียว หรือเขียวเหลือง ต่อเนื่องหลายวัน ร่วมกับอาการปวดหัว หรือมีไข้
    • เสมหะมีเลือดปน
    • ไอแบบสำลัก
    • หายใจมีเสียงดัง วี๊ด หรือ “ไอกรน”
    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.5 องศาฟาเรนไฮต์) นานกว่า 3 วัน
    • หายใจได้สั้นๆ เจ็บหน้าอก
    • หายใจลำบาก กลืนน้ำลายลำบาก
    • ริมฝีปาก ใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า มีสีฟ้า หรือ ฟ้าอมเขียว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้การรักษาแบบธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำผึ้งเป็นยาระงับอาการไอตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองคอ และยังช่วยลดอาการภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังด้วย ผสมน้ำผึ้งลงในชาร้อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ [20] หรือจะทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ก่อนนอน เพื่อบรรเทาอาการไอก็ได้ [21]
  2. สเปรย์น้ำเกลือช่วยทำให้น้ำมูกในคอและลำคอไม่จับตัวเป็นก้อน จึงทำให้อาการไอลดลง คุณสามารถหาซื้อสเปรย์น้ำเกลือสำหรับล้างจมูกมาใช้ หรือจะทำเองก็ได้
    • การทำน้ำเกลือล้างจมูกเอง ให้ผสมเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ในน้ำอุ่น 4 ถ้วย คนจนเกลือละลายหมด ใช้กาล้างจมูกหรือสริงฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก [26] ใช้สเปรย์น้ำเกลือล้างจมูกนี้เมื่อคุณรู้สึกคัดจมูก โดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน
    • ใช้สเปรย์นี้ “ก่อน” ที่จะให้นมเด็ก
  3. การกลั้วคอด้วยน้ำอุ่น จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับคอของคุณ และทำให้อาการไอหายไป [27] คุณสามารถผสมน้ำเกลือกลั้วคอได้เองที่บ้าน [28] [29]
    • ผสมเกลือ ¼ - ½ ช้อนโต๊ะ ในน้ำอุ่นหรือน้ำต้มเดือด 8 ออนซ์
    • อมน้ำเกลือที่ได้และกลั้วคอประมาณ 1 นาที แล้วบ้วนออก ห้ามดื่มน้ำเกลือเข้าไป
  4. สารประกอบในเปปเปอร์มินท์ คือ เมนทอล ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาขับเสมหะ ช่วยละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ และไอแห้ง [30] เปปเปอร์มินท์หาซื้อได้ง่ายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหอมระเหย หรือชาสมุนไพร และคุณยังสามารถปลูกเปปเปอร์มินท์เองได้ง่ายๆ ด้วย
    • ดื่มชาเปปเปอร์มินท์ ช่วยบรรเทาอาการไอได้
    • ห้ามทานน้ำมันเปปเปอร์มินท์เข้าไป แค่นำมาทาบนหน้าอกก็จะทำให้รู้สึกหายใจสะดวกขึ้น
  5. ยูคาลิปตัสมีส่วนผสมของ “cineole” ซึ่งทำหน้าที่เป็นยาละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ [31] คุณสามารถพบยูคาลิปตัสได้ในผลิตภัณฑ์ทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น ยาน้ำแก้ไอ ยาอม ขี้ผึ้ง น้ำมันยูคาลิปตัสมีขายในร้ายขายยาและร้านขายของเพื่อสุขภาพทั่วๆ ไป
    • ห้ามนำน้ำมันยูคาลิปตัสเข้าปาก เพราะจะเป็นพิษกับระบบย่อยอาหาร ให้ทาน้ำมันเพียงเล็กน้อยใต้จมูกหรือบนหน้าอก เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก และอาการไอ
    • คุณสามารถลองใช้ยาแก้ไอแบบน้ำ หรือขี้ผึ้งเพื่อช่วยลดอาการไอดูบ้าง
    • ต้มชายูคาลิปตัส โดยใส่ใบยูคาลิปตัสสด หรือแบบแห้งลงไปในน้ำร้อน ประมาณ 15 นาที ดื่มชานี้อย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อวัน จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการไอ
    • ห้ามใช้ยูคาลิปตัส หากคุณมีอาการหอบหืด อาการชัก โรคตับ โรคไต หรือความดันโลหิตต่ำ
  6. ชาจากดอกคาโมมายล์ได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนที่รู้สึกไม่ค่อยสบาย มันสามารถช่วยรักษาอาการหลอดลมอักเสบและช่วยให้นอนหลับสนิท [32] คุณสามารถซื้อน้ำมันดอกคาโมมายล์ได้จากร้านอาหารเพื่อสุขภาพหรือร้านขายยาทั่วไป
    • หยดน้ำมันดอกคาโมมายล์ร่วมกับการสูดไอน้ำ จะช่วยบรรเทาอาการไอ และคุณยังสามารถผสมน้ำมันคาโมมายล์เข้าไปใน “สบู่ก้อนแช่ตัวฟองฟู่” เพื่อช่วยคลายอาการคัดจมูกและลดอาการไอได้อีกด้วย
  7. ขิงช่วยลดอาการไอได้ [33] ชงชาขิงร้อนๆ จิบทีละนิดก็ช่วยลดอาการไอเรื้อรัง [34]
    • ชงชาขิงผสมอบเชย โดยใช้ ขิงสดหั่นเป็นแว่น ½ ถ้วย และอบเชย 2 แท่งเคี่ยวในน้ำ 6 ถ้วย ประมาณ 20 นาที กรองเอาแต่น้ำเสริฟพร้อมน้ำผึ้งมะนาว [35]
  8. ใบไทม์เป็นยาขับเสมหะโดยธรรมชาติ ช่วยลดน้ำมูกได้ [36] การศึกษาบางชิ้นบอกว่า ใบไทม์ยังช่วยรักษาอาการหวัดลงคอและอาการไอเรื้อรังได้ด้วย [37]
    • ต้มชาจากใบไทม์เพื่อบรรเทาอาการไอ [38] แช่ใบไทม์ 3 กิ่ง ในน้ำ 8 ออนซ์ ประมาณ 10 นาที กรองเอาแต่น้ำ แล้วสมน้ำผึ้งลงไป 2 ช้อนโต๊ะ ดื่มเพื่อบรรเทาอาการไอ [39]
    • ห้ามกินน้ำมันจากใบไทม์ เพราะว่ามีพิษ และถ้าคุณทานยาเจือจางเลือดอยู่ คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ใบไทม์
  9. หมายถึงต้น “Althea officinalis” ไม่ใช่ขนมมาร์ชแมลโล่ว์นุ่มนิ่มที่คุณใส่ในโกโก้ร้อน ใบและรากของต้นมาร์ชแมลโล่ว์มีขายที่ร้านอาหารเพื่อสุขภาพหลายร้าน การทานอาหารเสริมจากต้นมาร์ชแมลโล่ว์ช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดจากการใช้ยาต้านแองจิโอเทนซิน คอนเวอร์ติ้ง เอนไซม์ (ACE) [40]
    • ชงชามาร์ชแมลโล่ว์ร้อนๆ เมื่อต้มน้ำกับใบและรากมาร์ชแมลโล่ว์ จะได้สารสกัดชนิดหนึ่งที่ช่วยเคลือบภายในลำคอของคุณและสารนี้จะช่วยลดการกระตุ้นให้เกิดอาการไอ [41] ต้มใบมาร์ชแมลโล่ว์ 2-3 ใบ พร้อมราก ในน้ำร้อน 10 นาที กรองเอาแต่น้ำแล้วดื่มได้เลย
  10. ฮอร์ฮาวด์เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ระงับอาการไอมาตั้งแต่สมัยโบราณ คุณสามารถทานฮอร์ฮาวด์ได้ทั้งแบบผงหรือเป็นน้ำสกัด หรือจะต้มเป็นชาจากรากของฮอร์ฮาวด์ก็ได้ [42]
    • วิธีต้มชาฮอร์ฮาวด์ ให้ต้มรากฮอร์ฮาวด์ในน้ำเดือด 8 ออนซ์ เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นกรองเอาแต่น้ำแล้วดื่มชาที่ได้ 3 ครั้ง ต่อวัน ชาที่ได้จากฮอร์ฮาวด์จะมีรสขมมาก ดังนั้นคุณอาจเติมน้ำผึ้งลงไปก็ได้
    • มียาอมหรือขี้ผึ้งบางอย่าง ที่มีฮอร์ฮาวด์เป็นส่วนผสม หากคุณมีอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้ยาอมพวกนี้ดู
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาโดยการใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์อาจจะต้องดูก่อนว่าคุณมีอาการไอมานานหรือยัง หรืออาการไอของคุณร้ายแรงไหม อาจจะถามถึงลักษณะการไอของคุณ และระยะเวลาที่คุณเริ่มมีอาการไอ อาจจะมีการตรวจศีรษะ คอ หน้าอก อาจจะมีการเก็บตัวอย่างเยื่อช่องจมูก [43] และช่องคอ บางครั้งอาจจะทำการเอกซเรย์ปอด [44] ตรวจเลือด หรือให้การพ่นยาเพื่อตรวจรักษา
    • ต้องทานยาตามที่หมอสั่ง ยิ่งถ้าเป็นยาปฏิชีวนะที่ต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย จะต้องทานยาให้หมดตามที่คุณหมอจ่ายมา เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อแบคทีเรียได้ตายหมดแล้ว ห้ามหยุดยาถึงแม้จะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม
  2. ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะทานยาใดๆ โดยเฉพาะถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง มีอาการแพ้ยา หรือทานยาอื่นๆอยู่ หรือหากคุณต้องให้ยาแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือมารดาที่ให้นมบุตร ควรปรึกษาผู้ดูแลก่อนทานยาทุกชนิด
    • จำไว้ว่าไม่มีการศึกษาชิ้นไหนที่แสดงถึงข้อดีของการซื้อยาแก้หวัดและยาแก้ไอทานเอง
  3. ยาแก้ไอจะช่วยขับสารคัดหลั่งออกมาจากทางเดินหายใจของคุณ ส่วนผสมที่ดีที่สุดในยาแก้ไอคือ ไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) หลังจากทานยาแก้ไอให้พยายามไอเมื่อต้องการไอ และบ้วนทุกอย่างที่ออกมาทิ้งไป [45]
    • ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของไกวเฟนิซิน เช่น ยี่ห้อ มูซิเน็กซ์ (Mucinex) และ โรบิทัสซิน (Robitussin) [46]
  4. ยาแก้แพ้จะช่วยรักษาอาการที่เกิดจากการแพ้ต่างๆ เช่น อาการไอ จาม หรือน้ำมูกไหล
    • ยาแก้แพ้ที่จะช่วยคุณได้ เช่น ยา Loratidine (Claritin), Fexofenadine (Allegra), Cetirizine (Zyrtec), Chlorpheniramine, and Diphenhydramine (Benadryl).
    • ต้องระวังไว้ว่า ยาแก้แพ้จะทำให้เกิดอาการง่วงนอน โดยเฉพาะตัวยา Chlorpheniramine, Benadryl, และ Zyrtec ขณะที่ตัวยา Claritin และ Allegra จะทำให้เกิดอาการง่วงน้อยกว่า หากต้องการลองใช้ยาตัวใหม่ให้ลองช่วงก่อนนอน และไม่ควรขับรถหรือควบคุมเครื่องจักรหนัก จนกว่าคุณจะแน่ใจว่ายามีผลกับคุณอย่างไร
  5. มียาลดอาการคัดจมูกมากมาย แต่ตัวยาสองชนิดที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ pseudoephedrine และ phenylpropanolamine แต่มีข้อควรระวังในการใช้ยานี้ คือ ถ้าคุณมีอาการคัดจมูกมาก และพึ่งทานยาลดอาการคัดจมูกไป น้ำมูกของคุณจะยิ่งมากขึ้น
    • คุณอาจจะหาซื้อยาที่มีส่วนผสมของตัวยา ซูโดเฟดริน (pseudoephedrine) ได้จากเภสัชกรเท่านั้น เพราะว่าเป็นยาเฉพาะทางที่จะเก็บไว้ด้านหลังเคาน์เตอร์ร้านขายยาเท่านั้น และควรปรึกษาแพทย์ด้วยว่ายานี้คุณสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่
    • ถ้าคุณต้องการกำจัดน้ำมูกข้นเหนียวและลดการคัดจมูกให้ได้ผลดีที่สุด คุณสามารถใช้ยาขับเสมหะ (Guaifenesin) ร่วมกับยาลดอาการคัดจมูกได้
  6. ถ้าอาการไอของคุณเป็นการไอเพื่อขับเสมหะ อย่าใช้ยาระงับอาการไอ แต่ถ้าคุณไอแห้งๆ ต่อเนื่อง ตอนนี้อาจจะเหมาะสมที่จะใช้ยาระงับอาการไอ
    • ยาระงับอาการไอที่หาซื้อได้ทั่วไปจะมีส่วนผสมตัวยา Dextromethorphan ซึ่งไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก หากคุณมีอาการไอรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้อาการร้ายแรงมากขึ้น และแพทย์อาจเขียนใบสั่งยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการไอแบบรุนแรงให้ (ซึ่งมักจะมีส่วนประกอบของตัวยา Codeine)
  7. ทำให้ลำคอของคุณรู้สึกเหมือนมีอะไรเคลือบไว้ เพื่อลดการกระตุ้นให้ไอแบบไม่เกิดผล (คือ การไอที่ไม่ได้ช่วยขับเสมหะ หรือเสลด ออกจากช่องทางเดินหายใจ) [47]
    • ทานยาแก้ไอแบบน้ำที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป.
    • อมขี้ผึ้งหรือยาอมแก้ไอ สารคล้ายเจลที่อยู่ในขี้ผึ้งจะช่วยเคลือบลำคอของคุณและบรรเทาอาการไอลง ยาอมที่เป็นเม็ดก็ช่วยได้เหมือนกัน
    • อย่าให้เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ อมขี้ผึ้ง หรือยาอมใดๆ เพราะอาจจะติดคอได้ [48] การอุดตันของหลอดลมเป็นอุบัติเหตุที่ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 [49]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเพิ่มความชื้นให้กับอากาศช่วยบรรเทาอาการไอได้ [50] คุณสามารถหาซื้อเครื่องสร้างความชื้นได้จากห้างสรรพสินค้า และร้านขายยา
    • ทำความสะอาดเครื่องสร้างความชื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสม่ำเสมอ เพราะความชื้นในเครื่องสร้างความชื้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราชั้นเยี่ยมหากไม่ได้รับการทำความสะอาด [51]
    • เครื่องสร้างความชื้นแบบไออุ่นหรือไอเย็นก็ให้ผลดีเท่ากัน แต่แบบไอเย็นจะปลอดภัยในการใช้กับเด็กมากกว่า
  2. ฝุ่น เศษผงในอากาศ (รวมถึงขนสัตว์เลี้ยงและรังแค) ควัน ล้วนทำให้เกิดอาการระคายเคืองลำคอ ทำให้เกิดอาการไอขึ้นได้ เพราะฉะนั้นควรทำสภาพแวดล้อมให้สะอาดปราศจากฝุ่นผงอยู่เสมอ [52]
    • ถ้าคุณทำงานในอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับฝุ่นหรือผงในอากาศอยู่เสมอ เช่น การก่อสร้าง ควรจะใส่หน้ากากอนามัยเพื่อหลีกเลี่ยงการหายใจเอาสิ่งระคายเคืองนี้เข้าไป [53]
  3. เพื่อหลีกเลี่ยงการสำลักเสมหะ ให้ใช้หมอนรองหนุนศีรษะให้สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการไอในช่วงกลางคืนลงด้วย [54]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สร้างนิสัยที่ถูกสุขลักษณะ หากคุณมีอาการไอหรืออยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการไอ ให้ล้างมือบ่อยๆ และอย่าใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น รวมถึงรักษาระยะห่างระหว่างคุณและผู้อื่น
  • หาความรู้เพิ่มเติม สมุนไพรและยาตามธรรมชาติหลายอย่างมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอ แต่บางอย่างก็ไม่ช่วย เช่น มีความเชื่อว่า สับปะรดสามารถช่วยลดอาการไอได้มากกว่ายาแก้ไอธรรมดาถึง 5 เท่า แต่จากการศึกษาพบว่า ความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง [55]
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เวลาป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ การใช้ร่างกายมากๆ จะยิ่งทำให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ช้าลงและยิ่งทำให้เกิดอาการไอมากขึ้น
  • ลองดื่ม “นมขมิ้น” (haldi doodh) ใส่ขมิ้น 1 หยิบมือ และน้ำตาล ลงในนม 1 แก้ว ต้มด้วยไฟอ่อน ประมาณ 10 – 15 นาที รอให้เย็นลงสักครู่ ดื่มตอนอุ่นๆ จะช่วยทำให้สบายคอขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการเข้าสู่ที่ที่มีอากาศร้อนทันทีหลังจากอยู่ในที่เย็น การเปลี่ยนแปลงอุณภูมิอย่างรวดเร็วจะทำให้ร่างกายเกิดความเครียดขึ้น และระบบปรับอากาศกลางที่ใช้การหมุนเวียนอากาศที่มีอยู่ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะแอร์จะแพร่เชื้อโรคและจุลินทรีย์ และยังทำให้ผิวแห้งอีกด้วย
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/high-fiber-foods/art-20050948
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3303983
  3. http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/cold-remedies
  4. http://www.uofmhealth.org/health-library/hw185489
  5. http://www.copdsupport.ie/about-copd/how-to-manage-with-c-o-p-d/controlled-coughing/cough-technique
  6. http://www.medicinenet.com/chronic_cough/page4.htm#are_there_home_remedies_for_chronic_cough
  7. http://www.emedicinehealth.com/coughs/page7_em.htm
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/quit-smoking/expert-answers/quit-smoking/faq-20057818
  9. http://www.cdc.gov/tobacco/data_statistics/fact_sheets/cessation/quitting/index.htm
  10. http://www.mayoclinic.org/symptoms/cough/basics/when-to-see-doctor/sym-20050846
  11. http://www.mayoclinic.com/health/honey/AN01799/METHOD=print
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/expert-answers/honey/faq-20058031
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18056558
  14. , http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/expert-answers/honey/faq-20058031
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18056558
  16. http://www.modernalternativehealth.com/2013/05/10/the-amazing-benefits-of-local-raw-honey/
  17. http://www.med.umich.edu/1libr/PedSurgery/ColorectalProgram/SalineSolution.pdf
  18. http://www.medicinenet.com/chronic_cough/page4.htm#are_there_home_remedies_for_chronic_cough
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  20. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/cough/treatment
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  22. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/eucalyptus
  23. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/german-chamomile
  24. http://www.medicinenet.com/ginger_zingiber_officinale-oral/article.htm#Uses
  25. http://www.medicinenet.com/chronic_cough/page4.htm#are_there_home_remedies_for_chronic_cough
  26. http://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/chicken_soup_and_recipes_for_cold?page=2
  27. https://www.ghc.org/kbase/topic.jhtml?docId=hn-2174009&print=true
  28. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/cough
  29. http://www.healthline.com/health/health-benefits-of-thyme
  30. http://abc.go.com/shows/the-chew/recipes/honey-thyme-tea-daphne-oz
  31. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-774-marshmallow.aspx?activeingredientid=774&activeingredientname=marshmallow
  32. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/marshmallow
  33. http://www.uofmhealth.org/health-library/hn-2109003
  34. http://www.cdc.gov/flu/professionals/diagnosis/rapidlab.htm
  35. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bronchitis/basics/tests-diagnosis/con-20014956
  36. http://www.emedicinehealth.com/coughs/page6_em.htm
  37. http://www.webmd.com/cold-and-flu/tc/coughs-home-treatment
  38. http://symptoms.webmd.com/cold-and-flu-map-tool/treating-your-cough
  39. http://www.nursingcenter.com/journalarticle?Article_ID=840619
  40. https://www.health.ny.gov/prevention/injury_prevention/choking_prevention_for_children.htm
  41. http://www.webmd.com/cold-and-flu/tc/coughs-home-treatment
  42. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/expert-answers/cool-mist-humidifiers/faq-20058199
  43. http://www.medicinenet.com/chronic_cough/page4.htm#are_there_home_remedies_for_chronic_cough
  44. http://www.webmd.com/cold-and-flu/tc/coughs-home-treatment
  45. http://www.webmd.com/cold-and-flu/tc/coughs-home-treatment
  46. http://www.snopes.com/medical/homecure/pineapple.asp

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,742 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา