ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การลวกมีขั้นตอนใหญ่ๆ อยู่ 2 ขั้นตอน ได้แก่ การต้มอาหารด้วยเวลาสั้นๆ จากนั้นนำไปแช่ลงในน้ำเย็นๆ ทันที [1] เมื่อคุณทำขั้นตอนพวกนี้อย่างถูกต้องกับถั่วแขก คุณจะได้ถั่วแขกลวกที่มีเนื้อกรอบ สีสด และรสชาติอร่อย ต่อไปนี้จะเป็นเคล็ดลับในการลวกถั่วแขก

  • เวลาเตรียม: 10 นาที
  • เวลาปรุงอาหาร: 20 นาที
  • เวลาทั้งหมด: 30 นาที
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การลวกถั่วแขก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ล้างถั่วแขกให้สะอาดแล้วเด็ดส่วนหัวและท้ายของแต่ละฝักออก
    • เด็ดส่วนหัวและท้ายออกประมาณครึ่งเซนติเมตร พยายามทำให้ฝักไม่แตกออกจากกัน
    • การเด็ดปลายฝักออกมากเกินไปจะทำให้ด้านในของถั่วแขกโดนอากาศ ซึ่งอาจทำให้เสียรสชาติและความกรอบเวลานำไปต้มในน้ำ [2]
  2. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    การใส่เกลือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการปรุงรสถั่วและรักษารสชาติตามธรรมชาติเอาไว้
    • แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องใส่เกลือลงในน้ำ แต่การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้สารอาหารและรสชาติซึมออกมาจากถั่วแขก [3] เนื่องจากน้ำเกลือจะมีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำที่อยู่ภายในถั่ว จึงทำให้สามารถกักเก็บรสชาติส่วนใหญ่ไว้ในถั่วได้ แทนที่จะปล่อยให้ไหลออกไปผสมกับน้ำเดือดๆ
    • ใส่เกลือลงไปเยอะๆ ได้เลย หลักการง่ายๆ ก็คือน้ำที่ใช้ลวกจะต้อง “เค็มกว่าน้ำทะเลสักสิบเท่า” หากคุณไม่รู้ว่าจะวัดรสชาติยังไง ก็ให้ใส่เกลือป่นหยาบ (Kosher Salt) สองถึงสามช้อนโต๊ะต่อน้ำในหม้อ 1 ลิตร [4]
    • การปรุงถั่วแขกด้วยเกลือจะช่วยรักษาสีเขียวสดของผัก ซึ่งเยี่ยมมากๆ หากคุณตั้งใจจะนำเสนออาหารที่มีสีสันน่าทาน [5] และยังช่วยให้แน่ใจว่าได้ปรุงรสถั่วแขกอย่างสม่ำเสมอกัน
    • ไม่ต้องกังวลว่าถั่วของคุณจะเค็มเกินไป เพราะว่าเราจะนำถั่วแขกลงไปลวกในน้ำเดือดแค่สักพักเดียว ซึ่งจะไม่ทำให้เกลือซึมเข้าไปมากเท่าที่คุณคิด [6]
  3. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ควรแน่ใจว่ามีปริมาณน้ำในหม้ออย่างน้อยสองเท่าของปริมาณถั่วแขกที่คุณต้องการลวก
    • แม้ว่าคุณจะลวกถั่วแขกในปริมาณไม่มาก ก็ควรใช้หม้อใบใหญ่ๆ เพราะจะช่วยร่นระยะเวลาต้มน้ำให้ลดลงได้ เป้าหมายของการลวกก็คือการปรุงถั่วแขกให้สุกให้เร็วที่สุดเพื่อเลี่ยงการสูญเสียความกรอบและสีของผัก [7]
    • ต้มน้ำให้เดือดอย่างสม่ำเสมอ คอยสังเกตฟองที่เกิดขึ้นในหม้อให้ดี ฟองเล็กๆ ที่ก่อตัวบริเวณขอบหม้อเป็นเพียงฟองอากาศที่อยู่ในน้ำเท่านั้น ไม่ได้จำเป็นต้องหมายความว่าน้ำที่คุณต้มนั้นเดือดแล้ว เมื่อเริ่มมีฟองใหญ่ๆ ลอยขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอจากก้นหม้อ ก็แสดงว่าน้ำเดือดพร้อมแล้ว [8]
  4. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    อ่างน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับขั้นตอนที่สองของการลวก ซึ่งก็คือการทำให้ถั่วแขกของคุณ “สะดุ้ง” ในน้ำเย็นเพื่อหยุดขั้นตอนการปรุงสุก [9]
    • เทน้ำเย็นหรือที่อุณหภูมิห้องลงในอ่างใบใหญ่ๆ นำน้ำแข็งก้อนออกมาจากช่องแช่แข็งและใส่ลงไปในน้ำให้กระจายออกไปเท่าๆ กัน
    • หลีกเลี่ยงการเตรียมอ่างน้ำแข็งตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของขั้นตอนการลวกถั่วแขก เป้าหมายของการสะดุ้งถั่วแขกในน้ำเย็นจัดก็คือการหยุดการปรุงสุกที่ยังระอุอยู่ภายในถั่วแขก การทิ้งอ่างน้ำแข็งไว้ที่อุณหภูมิห้องอาจลดประสิทธิภาพในการหยุดความร้อนภายในถั่วได้
    • อย่าเตรียมอ่างน้ำแข็งหลังจากทำให้ผักสุกแล้ว การสะดุ้งผักด้วยน้ำเย็นจะต้องเกิดขึ้น ทันที หลังจากลวกถั่วแขกเสร็จ เพื่อไม่ให้ผักสุกเกินไปจากความร้อนที่ยังคงระอุอยู่ด้านใน [10] นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการเตรียมอ่างน้ำแข็งในขณะกำลังลวกถั่วแขกอยู่ เนื่องจากการลวกจะใช้เวลาเพียงเล็กน้อย คุณจึงอาจลืมดูเวลาและต้มถั่วจนสุกเกินไปได้
  5. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ปล่อยทิ้งไว้ในน้ำประมาณ 2 นาที [11]
    • อย่าใส่ถั่วลงไปจนแน่นหม้อ การค่อยๆ ใส่ลงไปในหม้ออย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แน่ใจว่าถั่วแขกได้รับการปรุงรสและสุกอย่างเท่าๆ กัน
    • ลองชิมถั่วแขกหลังจากต้มเสร็จสักพัก ถั่วแขกที่ได้ควรมีเนื้อกรอบแต่ก็สุกพอดี [12]
    • หากถั่วแขกออกมานุ่ม แสดงว่าคุณต้มสุกเกินไป [13]
  6. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ค่อยๆ ใช้คีมคีบหรือกระชอนตักถั่วแขกออกจากน้ำเดือด
    • ไม่ต้องรีบร้อน เพราะแม้ว่าการลวกจำเป็นต้องใช้ความเร็ว แต่ความระมัดระวังก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน คุณจึงไม่จำเป็นต้องตักถั่วแขกออกมาให้หมดในครั้งเดียว
  7. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ในขณะที่คุณตักถั่วแขกออกมาจากหม้อต้ม ให้จุ่มถั่วแขกลงในอ่างน้ำเย็นให้สม่ำเสมอกัน
    • หลีกเลี่ยงการตั้งถั่วแขกไว้บนพื้นก่อนนำไปสะดุ้งในน้ำเย็น ยิ่งคุณปล่อยผักทิ้งไว้นานเท่าไหร่ ผักก็จะยิ่งสุกอยู่ด้านในไปเรื่อยๆ [14]
    • แช่ถั่วแขกไว้ในน้ำเย็นจนกว่าจะผักจะเย็นลงจนหมด การนำถั่วแขกออกก่อนที่จะเย็นลงทั้งหมดจะทำให้ถั่วแขกสุกไปเรื่อยๆ จากความร้อนด้านใน ซึ่งผลที่ได้ก็คือถั่วแขกที่สุกจนอ่อนปวกเปียก [15]
    • นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการแช่ถั่วแขกไว้ในอ่างน้ำแข็งนานเกินไป หากใช้ปลายนิ้วของคุณจับแล้วไม่รู้สึกความร้อน แสดงว่าถั่วแขกเย็นลงแล้วเช่นกัน การปล่อยถั่วแขกทิ้งไว้ในน้ำเย็นนานเกินไปอาจทำให้ได้ถั่วแขกที่เปียกและชื้นน้ำ [16]
  8. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ปล่อยให้แห้งสนิทก่อนนำมารับประทานหรือผสมกับอาหารชนิดอื่นๆ
    • ซับถั่วแขกในขณะที่ยังห่ออยู่ในกระดาษทิชชู่ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ถั่วแขกแห้งเร็วขึ้น [17]
    • การข้ามขั้นตอนการซับให้แห้งอาจทำให้ได้ถั่วแขกที่เปียกชื้นและทำลายวัตถุประสงค์ของการลวก ซึ่งก็คือเพื่อให้ได้เนื้อที่กรอบๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เทคนิคอื่นๆ ในการลวก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ใช้ชามก้นลึกสำหรับปรุงอาหารและไมโครเวฟแทนหม้อและเตาไฟ [18]
    • ขั้นตอนนี้โดยรวมแล้วก็เหมือนกันกับการลวกบนเตาไฟ เพียงแต่มีข้อแตกต่างอยู่เล็กน้อย นั่นคือ แทนที่จะปล่อยถั่วแขกไว้ทั้งฝัก ให้หั่นออกเป็นท่อนเล็กๆ และใส่เกลือลงบนถั่วแขกโดยตรงแทนที่จะใส่ลงไปในน้ำ
    • ใส่น้ำลงไปในชามก้นลึกสำหรับปรุงอาหารประมาณ 3 ลิตร จากนั้นใส่ถั่วแขกจำนวน 2 ถ้วยตวงลงในชามแล้วปิดฝา นำไปใส่ในไมโครเวฟประมาณ 5-6 นาที โดยให้หยุดเพื่อคนในชามอย่างน้อย 2 ครั้งระหว่างที่ปรุงให้สุก แล้วก็นำไปสะดุ้งน้ำเย็นและซับให้แห้งเหมือนกับที่ทำตามปกติหลังจากต้มเสร็จ [19]
    • เทคนิคนี้เหมาะสำหรับลวกถั่วแขกในปริมาณน้อยและสำหรับเวลาที่คุณไม่มีหม้อหรือเตาไฟให้ใช้ ควรทราบไว้ว่าการอบในไมโครเวฟอาจไม่ได้ผลดีเท่าการต้มบนเตาเมื่อต้องการให้ได้ถั่วแขกที่กรอบและสีน่ารับประทาน [20]
  2. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    ใช้ตะกร้านึ่งและไอน้ำแทนหม้อและน้ำ
    • ใช้หม้อที่มีฝาปิดสนิทและตะกร้าสำหรับนึ่งที่สามารถใส่อาหารได้เหนือหม้ออย่างน้อย 8 ซม. เทน้ำลงในหม้อประมาณ 3-5 ซม. จากนั้นต้มให้เดือด ใส่ถั่วแขกให้เรียงเป็นชั้นเดียวอย่างสม่ำเสมอกันเพื่อให้ไอน้ำไปถึงทุกๆ ส่วนเร็วๆ [21] ปิดฝาหม้อและเปิดไฟแรงประมาณ 3-4 นาที จากนั้นนำไปสะดุ้งในน้ำเย็นและซับให้แห้งตามปกติ
    • การลวกโดยใช้ไอน้ำนั้นแม้ว่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่อาจประหยัดไม่ได้เท่าการลวกด้วยน้ำ เนื่องจากวิธีนี้ต้องใช้เวลานานกว่าประมาณ 1 1/2 เท่าเพื่อลวกถั่วแขกเมื่อเทียบกับการลวกด้วยน้ำ [22]
    • การนึ่งด้วยไอน้ำเหมาะสำหรับผักบางชนิดเท่านั้น เช่น บร็อคโคลี่ หรือมันเทศ แม้ว่าคุณจะสามารถลวกผักทุกชนิดด้วยไอน้ำได้ การลวกถั่วแขกในน้ำนั้นเร็วกว่าและได้ผลดีกว่ามาก
  3. Watermark wikiHow to ลวกถั่วแขก
    แม้ว่าขั้นตอนนี้จะไม่ใช้วิธีที่ใช้แทนการลวกในน้ำ แต่การนำไปผัดจะช่วยเพิ่มรสชาติให้กับถั่วแขกที่กรอบอยู่แล้วของคุณได้ [23]
    • หลังจากซับถั่วแขกจนแห้ง ให้ตั้งกระทะที่ไฟกลาง ใส่น้ำมันและเนยลงไปแล้วผัดส่วนผสมทั้งสองอย่างนี้ให้เข้ากันประมาณ 30 วินาที ขั้นตอนนี้ไม่ได้มีการตวงปริมาณที่แน่นอน เพียงแค่ใส่น้ำมันและเนยให้พอเคลือบถั่วแขกของคุณได้ก็พอ จากนั้น ใส่ถั่วแขกลงไปและผัดไปเรื่อยๆ จนกว่าเนยจะเคลือบพอดีและร้อนเท่าๆ กัน นำถั่วแขกออกจากกระทะ และโรยด้วยผิวเลมอน เกลือ และพริกไทย
    • เพื่อให้รสชาติดียิ่งขึ้น ควรใส่พริกป่นและกระเทียมลงไปกับเนยด้วย ก่อนที่จะผัดถั่วแขก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หน้าร้อนเป็นฤดูที่ถั่วแขกงาม คุณจะหาถั่วแขกที่รสชาติเยี่ยมที่สุดก็ช่วงนี้แหละ
  • สนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นบ้างก็ดี หาซื้อถั่วแขกจากตลาดสหกรณ์การเกษตรหรือจากร้านค้าที่ขายพืชผลในท้องถิ่น ผลผลิตที่ปลูกในท้องถิ่นนั้นดีต่อสภาพแวดล้อม ชุมชนที่คุณอยู่อาศัย รวมทั้งร่างกายของคุณด้วย!
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังน้ำเดือดลวกมือด้วยล่ะ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,430 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา