ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การนอนกัดฟันรู้จักกันในทางการแพทย์ว่า bruxism และมักจะเกิดขึ้นในขณะที่คนเรากำลังหลับ [1] เมื่อผ่านไปนานๆ การนอนกัดฟันจะสามารถทำให้ฟันเกิดเสียหายหรือก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่นๆ แต่ไม่ต้องเป็นห่วง คุณสามารถลดอาการปวดด้วยการรักษาที่หาทำเองได้ที่บ้านหรือโดยการช่วยเหลือของทันตแพทย์

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ยืนยันว่าคุณนอนกัดฟัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การกัดฟันเป็นภาวะซึ่งคนผู้นั้นเคี้ยว ขบ หรือกดฟันเข้าด้วยกันอย่างไม่รู้สึกตัว การนอนกัดฟันเป็นภาวะที่มีการทำเช่นนั้นในตอนกลางคืน มักจะเกี่ยวข้องกับความเครียดในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม การกัดฟันอาจมาจากภาวะทางกายทั่วไปอย่างเช่นมีปัญหาด้านการบดเคี้ยวก็ได้ คนบางคนกัดฟันในตอนกลางวันด้วยซ้ำ แต่การกัดฟันส่วนใหญ่จะเกิดในเวลากลางคืนที่คนผู้นั้นหลับอยู่ เพราะเช่นนี้จึงยากที่เราจะวินิจฉัยภาวะการนอนกัดฟันด้วยตนเอง
  2. ตรวจสอบอาการเป็นอย่างแรกเมื่อคุณตื่นขึ้นมา. การกัดฟันเกิดขึ้นในตอนกลางคืน ดังนั้นคุณควรตรวจสอบดูในตอนเช้าว่าคุณมีอาการหรือไม่ มันอาจจะยากถ้าคุณต้องตรวจว่านอนกัดฟันเอง แต่นี่คือสัญญาณที่บ่งชี้ได้ว่าคุณนอนกัดฟัน: [2]
    • มีอาการปวดศีรษะตึบๆ อยู่ต่อเนื่อง
    • ปวดกรามอันเนื่องจากเกิดปวดกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยว (ปวดเมื่อคุณขยับเคี้ยว)
    • มีเสียงกัดฟันดังให้ได้ยินเมื่อคุณจะหลับ
    • ฟันรู้สึกไวต่อความร้อน ความเย็น หรือการแปรงฟัน
    • เหงือกอักเสบ
    • มีบาดแผลในกระพุ้งแก้ม (จากการกัด)
    • ฟันสึก (ผิวฟันดูต่างจากปกติ)
  3. หากคุณนอนบนเตียงเดียวกับคนรัก แค่ถามเขาหรือเธอว่าได้ยินเสียงนอนกัดฟันของคุณหรือไม่ ขอให้เขาตื่นเช้ากว่าคุณหรือเข้านอนสายกว่าเพื่อดูสัญญาณการนอนกัดฟันให้ ถ้าเขาเกิดตื่นกลางดึก ก็ให้เขาสังเกตอาการเช่นกัน
    • หากคุณนอนคนเดียวแต่อยากทราบให้แน่ชัดว่านอนกัดฟัน ก็อาจลองบันทึกเสียงตนเองในตอนหลับแล้วฟังว่ามีเสียงกัดฟันหรือไม่
  4. หากคุณสันนิษฐานว่านอนกัดฟัน ปรึกษาทันตแพทย์ดูสิ เขาอาจสามารถตรวจสอบปากกับกรามดูสัญญาณการนอนกัดฟันอย่างอาการกรามอักเสบหรือฟันสึกได้ พอคุณรู้ว่ามีอาการนอนกัดฟัน ก็มีการรักษาที่ทำเองลองเองได้ไปจนถึงเข้ารับการรักษาแบบมืออาชีพที่จะช่วยบรรเทาอาการได้ ทันตแพทย์จะตรวจให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เป็นอะไรอื่นที่ทำให้เกิดอาการปวดอย่างเดียวกัน อย่างเช่น: [3]
    • อาการผิดปกติของฟันที่มักทำให้เกิดอาการกรามค้าง (trismus)
    • อาการอักเสบหรือติดเชื้อในรูหู
    • TMJ หรือ TMD (Temporomandibular disorders) หรือความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ลองการรักษาที่ทำเองได้ที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลดความเครียด. ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการนอนกัดฟัน ดังนั้น คุณจึงควรตั้งเป้าจะลดความเครียด ซึ่งทำได้โดยการเข้าพบผู้ให้คำปรึกษาเรื่องความเครียด ออกกำลังกาย หรือทำสมาธิ คุณยังอาจลองมองหาการเยียวยาทางธรรมชาติ เช่น ใช้ชาคาโมไมล์หรือลาเวนเดอร์ ที่สามารถทำให้สงบผ่อนคลายได้ก่อนนอน นี่คือวิธีอื่นๆ ในการลดความเครียด: [4]
    • กำจัดต้นเหตุสำคัญของการเกิดความเครียดในชีวิต หากเครียดเพราะเพื่อนร่วมห้องหรืออยู่ในความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ ถึงเวลาแล้วที่จะเอาแหล่งการเกิดพลังลบเหล่านี้ออกจากชีวิตและเดินหน้า
    • เข้านอนและตื่นในเวลาเดิมทุกวัน จะได้มีพลังงานจัดการกับชีวิตประจำวัน
    • ออกไปสนุกกับเพื่อน ได้เวลาหัวเราะ ทำตัวงี่เง่า หรือแค่อยู่กับเพื่อนเฉยๆ นี่จะช่วยคุณปลดปล่อยตัวเอง
    • ทานอาหารที่ดี ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและครบทุกหมู่สามมื้อต่อวันจะทำให้คุณมีสมดุลดีขึ้นและรู้สึกแย่น้อยลง ให้แน่ใจว่าทุกมื้อมีผักผลไม้ประกอบด้วย จะช่วยลดการนอนกัดฟันได้
  2. เลิกดื่มกาแฟและเครื่องดื่มให้พลังงาน และพยายามอย่าทานช็อกโกแล็ตมากเกินไป คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้ผ่อนคลายจิตใจกับกล้ามเนื้อขากรรไกรได้ยากขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืนทำให้คุณกระวนกระวายไปทั้งวัน
  3. แอลกอฮอล์เป็นตัวทำให้ซึมเศร้าซึ่งจะทำให้นอนยากกว่าเดิม การกัดฟันมักแย่ลงหลังดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้มันจะทำให้คุณบางคนหลับง่ายขึ้น แต่ทำให้หลับแบบไม่พักผ่อนเต็มที่ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสนอนกัดฟันได้ [5] [6]
  4. หยุดพฤติกรรมคลายเครียดที่เกี่ยวข้องกับปาก การเคี้ยวอะไรที่ไม่ใช่อาหารเป็นสัญญาณของระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น เช่น หากคุณชอบกัดปลายดินสอหรือปากกาเวลาเครียด ควรเลิกนิสัยแบบนี้เสีย [7] ถ้ามันแก้ไม่หาย ลองเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมมิ้นต์เวลารู้สึกอยากเอาอะไรเข้าปากเคี้ยวเล่น แล้วค่อยๆ ลดมันลง
  5. หากคุณสังเกตว่ากรามเกร็งอยู่และฟันขบแน่น ฝึกผ่อนคลายมันโดยการสอดลิ้นเข้าไประหว่างฟัน [8]
  6. แคลเซียมกับแมกนีเซียมนั้นจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ถ้ามีไม่เพียงพอ อาจมีปัญหาเวลาเกร็ง ตึง หรือปัญหากล้ามเนื้ออื่นๆ ได้ [9] จำไว้ว่าหัวใจก็เป็นกล้ามเนื้อ และความเครียดหรือการขาดแคลเซียมก็มีผลกับมันเช่นกัน
    • การเยียวยาวิธีนี้อาจใช้เวลานานถึงห้าสัปดาห์ถึงจะเห็นผล [10]
  7. มันจำเป็นที่จะต้องคลายเครียดก่อนนอนเพื่อจะผ่อนคลายเต็มที่ในตอนนอน ดังนั้นจึงลดโอกาสนอนกัดฟันลง นี่คือบางวิธีที่ช่วยผ่อนคลายก่อนนอนและหลับได้สนิท: [11]
    • นวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า ต้นคอ และใบหน้าก่อนนอน [12] ใช้นิ้วและฝ่ามือนวดขมับ หน้าผากกับกรามในลักษณะวนเป็นวงกลม
    • ใช้ผ้าแช่น้ำร้อนมาวางบนแก้มทางด้านหน้าของติ่งหู นี่จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
    • ใช้ผ้าเช็ดหน้าอุ่นๆ มาวางปะบนใบหน้า นี่จะช่วยกล้ามเนื้อผ่อนคลายและให้ใจสงบ
    • เปิดเพลงเบาๆ หรือเสียงหึ่งที่จะช่วยสงบจิตใจก่อนนอน
    • อ่านหนังสือบนเตียงอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนเวลานอน จะช่วยเตรียมความพร้อมได้
    • ปิดโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และแสงจ้าอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนนอน ลดการรับรู้ทางประสาทสัมผัสก่อนเข้านอน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

มองหาการเยียวยาทางแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากปัญหาการนอนกัดฟันยังเกิดต่อเนื่อง คุณควรไปพบทันตแพทย์ เพราะการนอนกัดฟันเรื้อรังนั้นทำให้ฟันบิ่น โยก หรือหักได้ ถ้าคุณกัดฟันบ่อยเกินไป คุณอาจต้องทำการครอบฟัน ทำสะพานฟัน รักษารากฟัน อุดฟัน หรือกระทั่งใส่ฟันปลอม การใส่เหล็กดัดฟันก็อาจเป็นตัวเลือกถ้าฟันไม่เรียงตัวและทำให้เกิดการกัดฟันจากแรงกัดที่ไม่สมดุลกัน ทันตแพทย์จะสามารถประเมินว่าวิธีรักษาใดเหมาะกับคุณ นี่คือวิธีที่ทันตแพทย์อาจแนะนำขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ: [13]
    • ยาคลายกล้ามเนื้อ การนอนกัดฟันนั้นหาได้น้อยมากที่จะรักษาด้วยยา แต่บางทียาคลายกล้ามเนื้อและการโบท็อกซ์สามารถทำให้ขากรรไกรผ่อนคลายและป้องกันการกัดฟันได้ [14] การฉีดโบท็อกซ์เข้าไปที่กล้ามเนื้อเล็กน้อยหรือการใช้เครื่อง TENS ก็อาจได้ผลดี
    • เข้ารับการทำครอบฟัน ถ้าการนอนกัดฟันทำให้ฟันเสียหาย การขบฟันอาจไม่สบกัน ถ้าเป็นเช่นนี้ ทันตแพทย์อาจใช้การครอบฟันทำการปรับผิวฟันเสียใหม่เพื่อให้ขบได้ดี [15]
  2. ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยางกัดในตอนกลางคืนเพื่อปกป้องฟันจากการสึกหรอของการนอนกัดฟัน ข้อมูลบางอย่างของยางกัดมีดังนี้: [16] [17]
    • ยางกัดสามารถจัดทำเป็นพิเศษเฉพาะบุคคลโดยทันตแพทย์หรือหาซื้อแบบสำเร็จรูปก็ได้ อย่างไรก็ดี ยางกัดอาจนุ่มและหลุดออกได้ ยางกัดแบบสั่งทำจึงราคาแพงกว่าแบบสำเร็จรูป (ถึงแม้ค่าใช้จ่ายนั้นน่าจะครอบคลุมอยู่ในแผนประกัน) แต่มันจะเข้ากับรูปฟันดีกว่าและถูกต้องกว่า ทั้งยังใส่แล้วไม่รู้สึกขัดด้วย
    • ยางกัดแบบปรับเองได้ที่ทำจากเอเธอลีน ไวนิล อะซีเทต (ethylene vinyl acetate - EVA) เป็นตัวเลือกราคาไม่แพงก่อนลงทุนทำยางกัดเฉพาะตัว ยางกัดแบบนี้นำมาปั้นในน้ำร้อนและปรับให้เข้ากับการกัดของฟันเราได้ [18]
    • เฝือกสบฟันนั้นทำจากอะครีลิกแข็งและเข้าได้กับทั้งฟันบนหรือฟันล่าง จะต้องใส่มันในตอนนอนเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเสียหาย อย่างไรก็ดี พึงจำไว้ว่ามันแค่ช่วยปกป้องฟัน แต่ไม่ได้กำจัดพฤติกรรมการนอนกัดฟัน
  3. หากการนอนกัดฟันส่งผลต่อรูปลักษณ์ของฟันและคุณอยากเปลี่ยนแปลงมันเต็มที่ คุณสามารถหาทันตแพทย์ตกแต่งฟันเพื่อปรึกษาทางเลือกได้ หากฟันสั้นลงหรือสึกจากการกัดฟัน ทันตแพทย์แต่งฟันสามารถตกแต่งฟันขึ้นมาใหม่โดยการครอบฟันหรือเคลือบผิวหน้าฟันได้ [19] วิธีรักษาเหล่านี้จะทำให้ฟันดูสวยดังเดิมเพราะฟันยาวขึ้นและเรียบเสมอกันกว่าเดิม
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • เวลาปิดปาก อย่าให้ฟันแตะกัน มันควรแตะกันเฉพาะเวลาเคี้ยวหรือกลืน
  • แม้น้ำแข็งจะช่วยในการบรรเทาอาการปวด แต่ในกรณีนี้ต้องห้าม มันจะยิ่งทำให้ขากรรไกรเกร็ง ยิ่งเพิ่มความปวดขึ้นอีก ใช้แค่ผ้าอุ่นๆ ประคบใบหน้าตามที่แนะนำไว้ข้างต้น
  • หากปวดกราม สามารถใช้ยาแก้ปวดอย่างไอบูโปรเฟนช่วยบรรเทาได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือเท้าคาง จำให้ขึ้นใจว่าคุณจำเป็นต้องผ่อนคลาย ให้แน่ใจว่าได้ไปพบทันตแพทย์ด้วยเช่นกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • การกัดฟันขั้นรุนแรงสามารถทำให้ฟันบิ่น โยกคลอนหรือหักได้ มันยังส่งผลกระทบต่อขากรรไกร ทำให้เกิดขากรรไกรอักเสบ (TMD/TMJ) ดังนั้น หากพบว่าตนเองกัดฟันบ่อยๆ ควรไปพบทันตแพทย์ทันที
  • คนบางคนอาจเกิดภาวะการนอนกัดฟันหลังเริ่มใช้ยากล่อมประสาท หากเป็นกรณีนี้ ให้ติดต่อแพทย์ดูว่าจะขอเปลี่ยนยาหรือใช้ยาที่ต่อต้านการกัดฟันได้หรือไม่ [15]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 40,020 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา