ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหาเงินอาจเป็นเรื่องยากสุดๆ ถ้าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม ความเครียดในการสัมภาษณ์งานอาจทำให้ได้งานยากเข้าไปใหญ่ และความวิตกกังวลก็อาจทำให้คุณทำงานต่อไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้างานนั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์และต้องทำหลายอย่างพร้อมกันมากๆ อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมสามารถประกอบอาชีพที่เจริญรุ่งเรืองได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ลองนึกถึง Bill Gates Albert Einstein J.K. Rowling หรือ Warren Buffett ดูสิ เพื่อให้คุณเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากที่สุด คุณจะต้องรับมือกับความวิตกกังวลของคุณ เลือกงานให้ถูกประเภท และเรียนรู้ที่จะนำเสนอตัวเองให้ว่าที่เจ้านายประทับใจ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เลือกงานที่เป็นมิตรกับความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม การหางานที่ไม่เจอคนเลยไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะจะยิ่งแยกตัวคุณออกจากผู้คนและเพิ่มความกลัวให้คุณมากขึ้นไปอีก ให้คุณหางานที่ทำให้คุณได้ติดต่อกับคนอื่นทุกวันแต่ไม่มากจนเกินไป ให้หางานที่: [1] [2]
    • ระดับความเครียดต่ำ เลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เคร่งเครียด แรงกดดันสูงที่จะทำให้คุณวิตกกังวลมากขึ้นกว่าเดิม
    • ระดับเสียงต่ำ สำหรับหลายคนเสียงดังกระตุ้นความวิตกกังวล
    • มีสิ่งรบกวนน้อย การทำงานหลายอย่างมากเกินไปเป็นอีกสิ่งที่มักกระตุ้นความวิตกกังวล หางานที่คุณสามารถจดจ่อกับงานได้ทีละอย่าง
    • มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นจำกัด แม้ว่าคุณจะไม่อยากได้งานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นตลอดเวลา (เช่นแคชเชียร์หรือพนักงานรับโทรศัพท์) คุณก็ไม่อยากทำงานที่โดดเดี่ยวด้วยเช่นกัน หางานที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับคนทีละคน
    • โปรเจ็กต์กลุ่มน้อย โปรเจ็กต์กลุ่มไม่ได้แค่บังคับให้คุณต้องมีปฏิสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังเพิ่มความไม่แน่นอนซึ่งเป็นอีกแหล่งที่มาของความวิตกกังวลด้วย [3]
  2. งานเขียนหรืองานที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานที่เหมาะกับธรรมชาติของคนขี้กังวล แต่คุณก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้างทุกวัน ไม่อย่างนั้นงานเหล่านี้จะยิ่งทำให้ความกลัวของคุณแย่ลงได้ ตัวอย่างงานที่มีปฏิสัมพันธ์ในระดับต่ำดีๆ ที่ยังให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้างได้แก่: [4]
    • นักวิเคราะห์ประจำห้องแล็บ
    • นักคณิตศาสตร์ประกันภัย/นักบัญชี
    • นักวิเคราะห์การเงิน
    • ผู้ควบคุมการก่อสร้าง
    • กราฟฟิกดีไซเนอร์
    • คนสร้างเว็บไซต์
    • พนักงานทำความสะอาด
  3. คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมพบว่า ตัวเองสามารถรับมือกับการมีปฏิสัมพันธ์ได้มากกว่าถ้าเป็นปฏิสัมพันธ์ครั้งละ 1 คนและไม่มีความกดดันเรื่องเวลา ตัวอย่างงานที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับคนทีละคนและไม่มีอะไรมาแทรก ได้แก่: [5]
    • ติวเตอร์
    • ที่ปรึกษา
    • ผู้ให้คำแนะนำด้านการเงิน
    • ช่างไฟ ช่างประปา ช่างก่ออิฐ เป็นต้น
    • พี่เลี้ยงเด็กหรือผู้ดูแลคนป่วย/คนแก่
  4. การดูแลเด็กแม้จะดูเครียด แต่หลายคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมพบว่าการอยู่กับเด็กๆ นั้นง่ายกว่า เช่นเดียวกับการทำงานกับสัตว์ (สัตวแพทย์หรือศูนย์พักพิง) หรือกับธรรมชาติ (นักออกแบบภูมิทัศน์ ศูนย์เพาะพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ดูแลป่า) เป็นงานที่น่าสบายใจสำหรับคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคม [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หางาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กุญแจสำคัญของการหางานคือ ดูว่าคุณต้องให้อะไรเขา จำไว้ว่าการสมัครงานไม่ใช่ข้อตกลงทางเดียว คุณต้องทำให้เขาเชื่อว่าคุณเป็นผู้สมัครที่เหมาะกับตำแหน่งนี้ แต่พวกเขาก็ต้องทำให้คุณเชื่อด้วยว่างานนี้เหมาะกับคุณเช่นกัน
  2. อย่าอดไม่ได้ที่จะบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม. จดหมายแนะนำตัว เรซูเม และการสัมภาษณ์มีไว้แสดงความสามารถของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องพูดถึงหรือขอโทษขอโพยเรื่องความวิตกกังวลของตัวเอง จำไว้ว่า คนขี้อายและเงียบขรึมนั้นโดยทั่วไปมักจะถูกมองว่าเป็นคนที่น่าไว้ใจมากกว่า เพราะฉะนั้นการสงวนท่าทีของคุณอาจเป็นประโยชน์กับคุณตอนสัมภาษณ์งานก็ได้ [7] แต่คุณจะพูดถึงเรื่องความวิตกกังวลก็ได้ถ้า: [8]
    • คุณสมัครงานในบริษัทมีชื่อเสียงด้านการต้อนรับคนพิการและสนับสนุนแรงงานที่หลากหลาย การเปิดใจคุยกับเจ้านายอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพวกเขาง่ายขึ้นมาก [9]
    • คุณเชื่อว่าเจ้านายของคุณจะสังเกตได้ถึงความวิตกกังวลและตั้งคำถามในเรื่องนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้พูดถึงความวิตกกังวลของคุณและทำให้มันกลายเป็นเรื่องดี เช่น "วันนี้ดิฉันประหม่านิดหน่อยนะคะ แต่ว่าดิฉันก็อยากบังคับตัวเองให้ทำออกมาดีให้ได้แม้ว่าจะกังวล เพราะว่ามันเป็นวิธีที่ดีที่ดิฉันจะได้เติบโตและพัฒนาตัวเองค่ะ" [10]
    • คุณเชื่อว่าคุณต้องการที่ทำงานแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น บริเวณในออฟฟิศที่ไม่มีสิ่งรบกวน [11]
  3. ยาแก้พิษความประหม่าขณะสัมภาษณ์งานที่ดีที่สุดก็คือ คุณต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี จากนั้นถ้ามีความคิดลบเข้ามา เช่น ฉันประหม่ามากเลย...พังแน่งานนี้ ให้หยุดแล้วเตือนตัวเองว่า คุณเตรียมตัวมาดีแล้ว [12]
    • เตรียมพร้อมที่จะอธิบายช่องว่างในเรซูเมของคุณ เช่น "ใช่ค่ะ ดิฉันเคยทำงานพาร์ตไทม์มาหลายงาน จนดิฉันมานึกได้ว่าดิฉันจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของตัวเอง ดิฉันก็เลยไปฝึกอบรมเพิ่มเติมมาค่ะ" คุณจะพูดถึงเรื่องการเรียนในช่วงระหว่างว่างงานด้วยก็ได้
    • เตรียมพร้อมตอบคำถามทั่วไป เช่น อะไรคือจุดอ่อนที่สุดของคุณ คุณคิดว่าอีก 5 ปีตัวคุณจะอยู่ที่ไหน ทำไมคุณถึงสนใจตำแหน่งนี้ ทำไมคุณถึงลาออก/จะลาออกจากที่ทำงานล่าสุด/ปัจจุบัน [13]
    • นำเสนอคำตอบด้วยรูปแบบของเรื่องสั้น คุณควรจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับเส้นทางการทำงานที่น่าตื่นเต้นหรือทักษะบางอย่างที่คุณได้เรียนมา ยกตัวอย่างเจาะจงจากสถานการณ์ทำงานจริงเสมอเพื่อให้สิ่งที่คุณพูดสมเหตุสมผล [14]
  4. งานวิจัยชี้ว่าการให้คนอื่นอ้างอิงถึงเรานั้นมีประสิทธิภาพกว่าการสมัครงานโดยตรง 5 ถึง 10 เท่า แต่การสร้างเครือข่ายอาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมเป็นพิเศษ ตัวอย่างเคล็ดลับในการสร้างเครือข่ายก็เช่น :
    • ใช้ LinkedIn เชื่อมต่อกับคนที่สามารถช่วยคุณได้และอัปเดตโปรไฟล์อยู่เสมอ
    • จัดระเบียบ เขียนตารางข้อมูลติดต่อของคนที่คุณนับถือและอยากร่วมงานด้วย ในส่วนนี้ข้อมูลเชิงลึกนั้นสำคัญกว่าภาพกว้างๆ [15]
    • เขียนตารางติดตามผล จดไว้ในปฏิทินเพื่อเตือนคุณให้ติดต่อกับคนที่อยู่ในรายการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร แค่เขียนอีเมลทั่วไปเพื่อถามว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมีอะไรให้คุณช่วยบ้างไหมก็พอแล้ว [16]
    • ติดต่อกับคนที่อยู่ในรายการอย่างสร้างสรรค์ ติดต่อกับพวกเขาใน LinkedIn อยู่เรื่อยๆ ถ้าพวกเขาได้เลื่อนตำแหน่งหรือได้งานใหม่ ให้แสดงความยินดีกับพวกเขา ถ้าคุณบังเอิญไปเจอข่าวหรือบล็อกที่พวกเขาอาจจะสนใจ ก็ให้ส่งไปให้พวกเขา ถ้าคุณมีงานอดิเรกเดียวกัน ก็ส่งบทความเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ไปให้พวกเขาอ่านก็ได้ [17]
    • อย่าลืมพูดขอบคุณคนในรายการทุกครั้งที่คุณได้รับคำแนะนำจากพวกเขาและคำแนะนำนั้นช่วยคุณได้ การแสดงความขอบคุณเล็กๆ น้อยๆ นั้นส่งผลระยะยาว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับมือกับโรคกลัวการเข้าสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบำบัดความคิดและพฤติกรรมได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพมากในการลดความวิตกกังวลในการเข้าสังคม นักบำบัดช่วยให้คุณตระหนักถึงความกลัวของคุณ สอนเคล็ดลับการผ่อนคลายเพื่อรับมือกับความกลัว และช่วยให้คุณเอาชนะมันด้วยการเผชิญหน้ากับมันไปทีละขั้น ในกรณีรุนแรงนักบำบัดอาจสั่งยาต้านอาการซึมเศร้าเพื่อช่วยลดระดับความกังวลเพื่อที่การบำบัดจะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าคุณเป็นโรคกลัวการเข้าสังคม การพูดคุยกับนักบำบัดอาจเป็นสิ่งแรกๆ ที่คุณทำ [18]
  2. ไม่ว่าใครต่างก็รู้สึกกังวล เพราะมันเป็นการตอบสนองต่อความเครียดหรืออันตรายตามธรรมชาติของร่างกาย แต่บางคนก็อาจพัฒนาการตอบสนองนี้มากเกินไป โชคดีที่มีเทคนิคที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ควบคุมความวิตกกังวลได้ [19]
  3. การไปถึงที่ทำงานก่อนเวลาทำให้คุณมีเวลาตั้งตัวและเตรียมพร้อมสำหรับวันใหม่ นอกจากนี้คุณยังมีโอกาสเจอคนอื่นๆ ขณะที่เขาเข้ามาทีละคนมากกว่าที่จะเดินเข้าออฟฟิศโดยที่ทุกคนมากันหมดแล้ว [20]
  4. โรคกลัวการเข้าสังคมเกิดขึ้นจากความกลัวที่เกินจริง เช่น ทุกคนกำลังจ้องมาที่ฉัน...งานนี้เละแน่...ฉันฟังดูเหมือนเป็นยัยงั่งเลย การเขียนความคิดเหล่านี้ลงไปจะช่วยให้คุณระบุและต่อสู้กับความกลัวที่เกินจริงนั้นได้ และแทนที่มันด้วยการคาดการณ์ตามจริง
    • เช่น ถ้าคุณกำลังจะนำเสนองาน คุณอาจจะกังวลว่ามันจะแย่ คุณจะดูประหม่ามากเกินไป จะไม่มีใครฟังคุณ เป็นต้น แทนที่ความคิดเหล่านี้ด้วยการคาดการณ์ตามความจริงมากขึ้น เช่น ฉันเตรียมตัวมาดีและสิ่งที่ฉันจะนำเสนอก็ฟังดูมีเหตุผลอยู่ ถ้ามันออกมาไม่ดี โลกนี้ก็ยังไม่แตกสักหน่อย
  5. อาการวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจที่เร็วขึ้น ความตื่นตัวพุ่งสูงขึ้น แนวโน้มที่จะเหงื่อแตกนั้นเหมือนกับอาการตื่นเต้นไม่มากก็น้อย มันอาจจะฟังดูไร้สาระ แต่วิธีที่คุณคิดว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไรนั้นสำคัญ แทนที่จะคิดว่าคุณกังวล ให้คิดว่านี่คือความตื่นเต้น วิธีนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจแทนที่จะเป็นความกลัว
  6. การหายใจเข้าออกลึกๆ และสม่ำเสมอกระตุ้นปฏิกิริยาสงบที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และความตึงของกล้ามเนื้อ [21] ฝึกเทคนิคการหายใจเหล่านี้ที่บ้านเพื่อที่คุณจะได้มีเทคนิคต่อสู้กับความวิตกกังวลติดตัวไปด้วยทุกที่:
    • หายใจเข้าออกช้าๆ หายใจเข้านับถึง 4 ค้างไว้ 1 – 2 วินาที จากนั้นหายใจออกนับถึง 4 วิธีนี้ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทได้ [22] [23]
    • หายใจแบบมีแรงต้าน การสร้างแรงต้านขณะที่คุณหายใจออกนั้นช่วยสร้างความผ่อนคลาย วิธีนี้สามารถทำได้ด้วยการหายใจออกทางจมูก ห่อริมฝีปากขณะที่คุณหายใจออก (เหมือนว่ากำลังจะเป่าลม) หรือด้วยการทำเสียงเวลาที่คุณหายใจออก (เช่น "โอม" หรือคำว่า "ผ่อนคลาย") [24]
  7. ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นขณะที่คุณเฝ้าสังเกตการทำงานของตัวเอง เช่น ฉันฟังดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเลย มือฉันมีแต่เหงื่อ ฉันประหม่าสุดๆ ต้องพังเละแน่เลย การหันเหความสนใจไปที่สิ่งรอบข้างอาจช่วยคุณได้ วิธีนี้ช่วยดึงความสนใจของคุณออกจากตัวเองและทำให้คุณจดจ่อกับปัจจุบันมากกว่าจะกังวลถึงเรื่องในอนาคต [25]
    • บรรยายสิ่งของรอบตัวคุณ จดจ่อไปที่สภาพแวดล้อม พรม กำแพง เฟอร์นิเจอร์ บรรยายให้ละเอียด เช่น โต๊ะนี้ทำจากไม้โอ๊ก แข็งมาก เคลือบด้วยสีเข้ม บางครั้งการสัมผัสของที่คุณกำลังบรรยายก็ช่วยได้เหมือนกัน [26]
    • สนใจคนรอบข้าง ตั้งใจฟังว่าเขาพูดว่าอะไร สังเกตจริตจะก้านหรือเสื้อผ้าของพวกเขา [27]
  8. ไม่ว่าคุณจะรู้เทคนิคการรับมือกับความวิตกกังวลมากแค่ไหน ก็จะต้องมีช่วงที่คุณกังวลบ้างเป็นธรรมดา ใครๆ ก็เป็นกัน บางครั้งคุณต้องยอมรับความอึดอัดใจเพื่อทำบางอย่างที่คุ้มค่ากับความพยายาม พิจารณาว่าทำไมคุณถึงกำลังทำสิ่งนี้ เช่น "ฉันประหม่านะ แต่มันก็คุ้มกับการได้งานนี้" หรือ "ฉันกังวลนะ แต่ว่ามันก็คุ้มที่จะต่อยอดหน้าที่การงานของฉัน" [28]
    โฆษณา
  1. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201304/job-hunting-tips-people-anxiety
  2. http://www.adaa.org/managing-stress-anxiety-in-workplace/anxiety-disorders-in-workplace
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201304/job-hunting-tips-people-anxiety
  4. http://money.usnews.com/money/blogs/outside-voices-careers/2011/01/24/the-10-most-common-job-interview-questions
  5. https://www.linkedin.com/pulse/20130911212503-15454-10-things-job-seekers-must-do-to-get-a-better-job
  6. http://www.thesimpledollar.com/maintaining-professional-bridges/
  7. http://www.thesimpledollar.com/maintaining-professional-bridges/
  8. http://www.itworld.com/article/2724674/careers/10-ways-to-maintain-your-professional-connections.html
  9. http://psychcentral.com/lib/social-anxiety-disorder-treatment/
  10. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201305/must-have-coping-strategies-social-anxiety
  11. http://overcomingsocialanxiety.com/how-to-manage-social-anxiety-at-work/
  12. http://www.anxieties.com/57/panic-step4# .VmM-f2CFE3Q
  13. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/07/22/reduce-your-anxiety-this-minute-3-different-types-of-deep-breathing/
  14. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/CalmBreathing.pdf
  15. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/07/22/reduce-your-anxiety-this-minute-3-different-types-of-deep-breathing/
  16. https://socialanxietyinstitute.org/focus-externally
  17. https://www.psychologytoday.com/blog/living-the-questions/201302/3-tricks-stop-anxiety-now
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/living-the-questions/201302/3-tricks-stop-anxiety-now
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201305/must-have-coping-strategies-social-anxiety

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,636 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา