PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เนื้อไก่นั้นสามารถใช้ทำอาหารที่ทั้งอร่อยและราคาถูกได้ แต่ก็มีสิทธิ์จะแห้งได้ถ้าหากว่านำที่เหลือมาอุ่นใหม่ ถ้าคุณทำอาหารด้วยไก่แล้วมันเหลือ และคุณอยากจะนำมาอุ่นใหม่ นี่ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะอุ่นได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะเก็บความชุ่มชื้นและความนุ่มของไก่เอาไว้ โดยไม่เป็นการไป"ทำให้ไก่สุกใหม่"อย่างการทอด

  • เวลาทั้งหมด(ในการอบไมโครเวฟ): 2-4 นาที
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การอุ่นในไมโครเวฟ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื้อไก่ โดยเฉพาะส่วนอก จะแห้งได้ง่ายมากถ้าอุ่นนานเกินไป การหั่นไก่ให้เป็นชิ้นเล็กๆ จะช่วยให้ใช้เวลาได้น้อยลงและป้องกันไม่ให้เนื้อไก่แห้ง
  2. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    [1] อย่าอบสิ่งใดก็ตามที่ใส่ภาชนะพลาสติกในไมโครเวฟ เรื่องที่ว่ามีพลาสติกที่ใช้กับไมโครเวฟได้กับเรื่องมะเร็งนั้นยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาตร์อย่างชัดเจน [2] ความเสี่ยงที่คุณจะได้รับคือ พลาสติกอาจละลายเข้าสู่อาหารของคุณได้
  3. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    เหมือนเดิม อย่าใช้เพียงแรปพลาสติกเก่าๆ ธรรมดา เพราะมันจะละลายเข้าอาหารคุณได้ และห้ามใช้ฟอยล์อลูมิเนียม เพราะมันจะเกิดประกายและทำให้ไฟไหม้ หรือทำไมโครเวฟคุณพังได้เลย
    • คุณจะซื้อฝาที่ใช้กับไมโครเวฟที่ทำจากพลาสติกที่นำเข้าไมโครเวฟได้มาใช้ก็ได้ [3]
    • ถ้าไม่มีอุปกรณ์ใดเลยจริงๆ จะใช้ทิชชู่แผ่นหนาคลุมไว้แทนก็ได้
  4. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    มีเนื้อไก่อยู่เท่าไรกันล่ะ? ถ้าหากว่าเนื้อไก่ที่เหลืออยู่นั้นน้อยมาก (สำหรับสักหนึ่งที่) ให้ใช้เวลาอุ่นเริ่มต้นที่หนึ่งนาทีครึ่ง โดยใช้ไฟตามปกติที่ไมโครเวฟตั้งค่าไว้ ซึ่งปกติจะอยู่ที่ 1,000 วัตต์ ถ้าคุณมีเนื้อไก่จำนวนมาก ให้เริ่มที่ 2 ½ ถึง 3 นาทีในการอบไมโครเวฟ และให้ตรวจสอบอุณหภูมิควบคู่ไปด้วยการใช้นิ้วแตะไก่ หรือกัดดูว่ามันอุ่นพอดีแล้วหรือยัง ให้อุ่นต่อทุกๆ 30 วินาทีในแต่ละครั้งจนกว่าจะได้อุณหภูมิที่เหมาะสม
  5. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    จำไว้ว่าภาชนะตอนนี้จะร้อนมาก ฉะนั้นให้ใช้ถุงมือกันความร้อนหรือที่จับหม้อค่อยๆ นำไก่ออกมาจากไมโครเวฟอย่างปลอดภัย ทิ้งให้ฝาหรือที่ปิดปิดไว้อย่างนั้นก่อน แล้วทิ้งไว้สักสองนาทีก่อนจะนำมาหั่นเพื่อเสิร์ฟ
  6. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    ระวังไว้ด้วยล่ะ เพราะมันอาจมีไอร้อนพุ่งออกมาได้ ให้ระวังใบหน้าและนิ้วของคุณเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแสบไหม้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การอุ่นด้วยเตาแก๊ส

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรใช้กระทะเทฟลอน (แบบที่อาหารจะไม่ติดกระทะ) ในการอุ่นไก่ โดยเฉพาะถ้ายังมีหนังไก่ติดอยู่บนเนื้อ เพราะหนังที่เต็มไปด้วยไขมันนี้อาจติดกับกระทะร้อนๆ ได้นั่นเอง
    • คุณควรรู้สึกถึงความร้อนเมื่อยื่นมือระยะห่างสองนิ้วเหนือกระทะดู
    • ไม่ต้องให้กระทะร้อนเหมือนตอนจะทอดไก่ดิบหรอก เพราะความร้อนระดับนั้นจะทำให้เนื้อไก่แห้งเอาได้
  2. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    ไขมันนิดหน่อยจะป้องกันไม่ให้เนื้อไก่แห้งบนกระทะ
  3. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    ใส่เนื้อไก่เย็นๆ ลงไปในกระทะแล้วจับตามองให้ดี เพื่อไม่ให้เนื้อไก่ไหม้ ให้ขยับเนื้อไปรอบๆ กระทะ เพื่อเนื้อจะได้ไม่ติดกระทะ โดยคอยกลับไก่เรื่อยๆ เพื่ออุ่นเนื้อทั้งสองด้าน
  4. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    ทิ้งให้เนื้อไก่ได้กระจายความชุ่มฉ่ำในเนื้อสักนาทีหรือสองนาที จากนั้นก็รับประทานได้!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

อุ่นเนื้อไก่ในเตาอบ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ละลายน้ำแข็งก่อน ถ้าหากว่ามันเป็นเนื้อไก่แช่แข็ง จากนั้นหั่นให้เป็นชิ้นเล็กเพื่อไม่ให้มันแห้งระหว่างที่กำลังอุ่นอยู่
  2. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    คุณไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิห้องในการทำให้อุณหภูมิเนื้อไก่แช่แข็งสูงขึ้นหรอก แค่ทำให้มันไม่แข็งแล้วก็พอ โดยใส่ในช่องแช่ธรรมดาของตู้เย็นสักหลายๆ (6-8) ชั่วโมง ก่อนที่จะนำมาอุ่น เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของเนื้อไก่ให้สูงขึ้นช้าๆ
    • ถ้าคุณอยากจะอุ่นเนื้อไก่ทันทีเลย ให้ใส่เนื้อไก่แช่แข็งไว้ในถุงซิปล็อคกันน้ำแล้วเปิดน้ำเย็นใส่จนกว่าน้ำแข็งจะละลาย
    • หรือจะละลายน้ำแข็งในไมโครเวฟโดยตั้งค่าในไมโครเวฟให้เป็น“ละลายน้ำแข็ง (Defrost)” ก็ได้
  3. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    วางเนื้อไก่ไว้บนจานหรือถาดที่สามารถนำเข้าเตาอบได้. ถาดอบคุกกี้ก็ดีเลยนะ ให้ตรวจสอบด้านล่างของจานเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะทนความร้อนสูงๆ ได้
    • กระจายเนื้อไก่ที่ยังไม่อุ่นไว้บนภาชนะ โดยเรียงให้เนื้อไก่มีระยะห่างระหว่างแต่ละชิ้นให้ออกมาดีที่สุด
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้ราดเนื้อไก่ด้วยน้ำมันกระทะที่เหลือ
    • คลุมจานหรือถาดไว้ด้วยฟอยล์อลูมิเนียม เพื่อกันไม่ให้เนื้อไก่แห้ง
  4. ตั้งเตาอบไว้ที่อุณหภูมิ 220 ถึง 245 องศาเซลเซียส. เตาอบที่ต่างกันก็จะใช้เวลาในการอุ่นต่างกัน ฉะนั้นให้ดูให้แน่ใจว่าได้ตั้งอุณหภูมิไว้ถูกต้องก่อนที่จะใส่ไก่เข้าไปอุ่น
  5. เมื่อวอร์มเตาอบเสร็จแล้ว ให้ใส่เนื้อไก่ในเตาอบได้เลย ถ้าได้หั่นเนื้อไก่เตรียมเป็นชิ้นเล็กๆ ไว้แล้ว ก็จะใช้เวลาไม่กี่นาทีในการอุ่น แต่ถ้าจะอุ่นเนื้อไก่ชิ้นใหญ่ อย่างอกไก่ทั้งชิ้น ก็ต้องรอนานขึ้นอีกหน่อย
    • ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิภายในและให้คุณแน่ใจว่าด้านในจะยังไม่เย็นอยู่
    • เนื้อไก่ควรมีอุณหภูมิด้านในขึ้นมาถึง 73.8 องศาเซลเซียส ก่อนที่จะนำไปเสิร์ฟได้ [4]
  6. ใช้ถุงมือกันความร้อนป้องกันมือของคุณตอนที่นำเนื้อไก่ออกมาจากเตาอบ และใช้ผ้าจับหม้อหรือที่ตั้งสามขาในการปกป้องเคาน์เตอร์ของคุณจากความร้อนที่ส่งมาจากภาชนะ
    • ถ้าคุณอุ่นเนื้อไก่ชิ้นใหญ่ ทิ้งเอาไว้สักสองสามนาทีก่อนที่จะหั่นเนื้อไก่ด้วยนะ มันจะทำให้น้ำในเนื้อไก่กระจายไปทั่ว แล้วคุณจะได้ไก่ที่ไม่แห้งและหยาบกลับมา
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

อุ่นไก่ทั้งตัวที่สุกแล้วในเตาอบ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 176 องศาเซลเซียส และปล่อยให้มันอุ่นจนเสร็จ เตาอบที่ต่างกันก็จะใช้เวลาในการอุ่นต่างกัน ฉะนั้นให้ดูให้แน่ใจว่าได้ตั้งอุณหภูมิไว้ถูกต้องก่อนที่จะทำการอุ่น
  2. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    เพราะไก่สุกแล้วจึงไม่ต้องใช้ถาดที่มีที่รองลึกๆ เพราะมันจะไม่มีน้ำไหลออกมาจากเนื้อไก่อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม ถาดย่างก็ยังเหมาะกับการนำมาอบไก่ทั้งตัวเพราะขนาดที่ดีนี่แหละ
    • ทาเนยหรือน้ำมันบนผิวของถาดย่าง หรือจะฉีดสเปรย์น้ำมันสำหรับทำอาหารเพื่อไม่ให้เนื้อไก่ติดกับถาดก็ได้
    • วางไก่ทั้งตัวเอาไว้บนถาดเลย
  3. ใส่ถาดเข้าไปในเตาอบที่วอร์มแล้ว ให้มั่นใจว่าได้ใส่ไปยังช่องตรงกลางเพื่อความร้อนที่ทั่วถึง คุณอาจต้องใช้เวลาที่น้อยหรือมากหน่อยก็ขึ้นอยู่กับว่าไก่ตัวใหญ่แค่ไหน แต่เวลาควรอยู่ที่ประมาณ 25 นาทีเพื่อให้เนื้อไก่อุ่นอย่างสมบูรณ์ [5]
    • ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดเนื้อเพื่อดูว่าภายในเนื้อมีอุณหภูมิถึง 73.8 องศาเซลเซียสแล้ว
    • เริ่มตรวจสอบอุณหภูมิไก่ได้สักไม่กี่นาทีก่อนอุ่นเสร็จ โดยเฉพาะถ้าไก่ของคุณตัวเล็กแล้วด้วยน่ะนะ
    • อย่าอุ่นไก่นานเกินไป เพราะมันจะเนื้อหยาบและแห้งได้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อสีขาว
  4. Watermark wikiHow to อุ่นเนื้อไก่
    นำไก่ออกจากเตาอบโดยใช้ถุงมือกันความร้อนและที่ตั้งสามขาเพื่อปกป้องมือและเคาน์เตอร์ห้องครัวจากภาชนะร้อนๆ พักไก่เอาไว้ในอุณหภูมิห้องสักห้านาทีก่อนจะนำมาหั่น การทำแบบนี้จะทำให้น้ำได้กระจายไปทั่วเนื้อไก่ ทำให้เนื้อไก่มีความชุ่มฉ่ำเมื่อถึงเวลาเสิร์ฟ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไมโครเวฟมักจะให้ความร้อนอาหารจากด้านนอกก่อน โดยเฉพาะอาหารที่มีความ"หนา" อย่างพวกไก่ทั้งตัว ให้หั่นไก่ที่เหลือไว้ให้เป็นชิ้นเล็กก่อนที่จะอบด้วยไมโครเวฟนะ
  • ไมโครเวฟอุ่นได้เร็วกว่า แต่เตาอบจะอุ่นได้ทั่วถึงกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • เป็นที่น่าสนใจว่ามีการถกเถียงกันเรื่องแรปพลาสติก แม้ว่าจะใช้กับไมโครเวฟได้ แต่ก็ยังไม่ดีกับอาหาร เพราะสารพิษจะสามารถเข้าไปในอาหารได้ขณะที่อบไมโครเวฟ ซึ่งเหมือนกรณีเดียวกับภาชนะพลาสติกที่นำเข้าไมโครเวฟได้ ในอินเทอร์เน็ตนั้นให้ข้อมูลที่เป็นทางเลือกสำหรับทั้งคู่เอาไว้ด้วย
  • ก่อนที่จะจับเนื้อไก่ที่เหลือ (หรืออาหารอื่นๆ) ให้แน่ใจว่าได้ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเปล่าแล้ว ถ้าคุณมีไข้หรืออาการแพ้ใดๆ ที่จะมีอาการไอหรือจาม ให้แน่ใจว่าตอนที่จะจามจะไอนั้นไม่ได้กำลังถืออาหารอยู่ เชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัสเป็นสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและผิวหนังของเรา โดยมันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษเมื่อเข้าไปปะปนกับอาหารและอะไรหลายๆ อย่าง
  • แม้กระทั่งอาหารที่สุกจริงๆ ก็ยังเป็นแหล่งของแบคทีเรียร้ายได้ เช่นแบคทีเรียซาลโมเนลลาเป็นต้น ขอให้แน่ใจว่าได้กำจัดพวกน้ำที่หมักไก่เอาไว้แล้ว และห้ามนำไปใช้กับอาหารอื่นๆ อีก
  • มีความเป็นไปได้สูงที่อาหารจะปะปนเชื้อแบคทีเรียบนผิวของมัน ไม่ใช่ภายใน ให้แน่ใจว่าได้คลุมอาหารทั้งหมดไว้ก่อนที่จะนำไปแช่เย็นแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนบนผิวอาหาร ปล่อยให้อาหารเย็นลงก่อนจะปิดฝากันอากาศเข้าและแช่เย็น ถ้าปิดฝากันอากาศเข้าครอบอาหารอุ่นๆ และร้อนๆ ล่ะก็ สภาพแวดล้อมภายในนั้นจะเป็นการช่วยให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเอาได้
  • ห้ามนำฟอยล์เข้าไมโครเวฟเป็นอันขาด!
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,835 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา