ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อดีตคือความทรงจำที่เคยเกิดขึ้นแล้วแม้ว่าบางครั้งอาจเป็นเรื่องยากที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า เช่น หลังจากเหตุการณ์ที่เจ็บปวด แต่ชีวิตคุณกำลังเสียไปโดยเปล่าประโยชน์หากคุณใช้เวลาอยู่กับอดีตมากเกินไป


วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ระบุสาเหตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไตร่ตรองดูว่าอะไรที่ยึดคุณไว้อยู่ คุณกลัวที่จะมีความสัมพันธ์ใหม่เพราะคุณเคยมีประสบการณ์แย่ๆ ในอดีตใช่ไหม? คุณติดอยู่กับการคิดในสิ่งเลวร้ายที่คุณเคยทำมาและไม่รู้ว่าจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างไรใช่ไหม? คุณคิดถึงช่วงวัยเด็กและการมีภาระที่น้อยลงกว่านี้หรือเปล่า? คุณคิดถึงการมีช่วงเวลาดีๆ กับเพื่อนเก่าใช่ไหม?
    • การหาสาเหตุของสิ่งที่ยึดคุณไว้เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญต่อการก้าวไปข้างหน้า
  2. ขณะคุณกำลังไตร่ตรองดูว่าอะไรที่อาจจะยึดเหนี่ยวคุณไว้ ลองให้ความสนใจกับความทรงจำว่ามันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร ถ้ามีบางสิ่งที่กระทบกระเทือนใจคุณมากเป็นพิเศษ (ไม่ว่าจะดีหรือแย่) นั่นอาจเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น [1]
    • หากคุณพบว่าตัวเองรู้สึกอย่างนี้ เช่น มีความสุขและคิดถึงความหลังช่วงวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ลองตั้งคำถามกับตัวเองซึ่งสามารถช่วยให้คุณประเมินได้ว่าการคิดถึงอดีตอาจส่งผลดีหรือร้ายต่อตัวคุณก็เป็นได้และมันคือตัวถ่วงในชีวิตคุณ [2]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะถามตัวเองได้ว่าคุณพูดถึงช่วงวัยรุ่นเยอะมากแทนที่จะพูดเรื่องอื่นๆ ในชีวิตหรือเรื่องอนาคตหรือเปล่า
    • นอกจากนั้น คุณอาจจะถามตัวเองว่าความทรงจำในช่วงวัยรุ่นนั้นกำลังกีดกั้นคุณในทางใดทางหนึ่งหรือไม่ เช่น ถามตัวเองว่าการคิดถึงเรื่องราวในอดีตกำลังนำคุณออกจากการพยายามทำสิ่งใหม่ๆ หรือไม่
  3. ทันทีที่คุณชี้ได้ว่าอะไรที่ยึดคุณไว้ให้เขียนมันลงไป มันจะทำหน้าที่เป็นสิ่งเตือนใจในขณะที่คุณต้องก้าวไปข้างหน้า
    • เขียนมันลงไปซะ หากสาเหตุของสิ่งที่กำลังยึดเหนี่ยวคุณไว้คือ คุณพบเห็นเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจมากๆ เช่น การทำร้ายร่างกายและคุณกลัวว่าเรื่องทำนองเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับคุณ
    • คุณอาจจะเขียนว่าคุณกลัวการถูกทำร้ายหรือคุณกังวลว่าจะตกอยู่สภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ในสถานการณ์ที่กำหนดไว้
    • การบันทึกสาเหตุของสิ่งที่ไม่ให้คุณก้าวต่อไปได้นั้น ยังสามารถทำให้คุณผ่านมันไปได้ง่ายขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกของคุณ [3]
  4. แม้ว่าคุณจะใช้เวลาคิดถึงสาเหตุซึ่งก็คือการถูกทำร้ายในอดีตที่ผ่านมา แต่จำให้ขึ้นใจว่าในท้ายที่สุดแล้วคุณจะต้องก้าวต่อไป
    • พยายามเตือนตัวเองถึงเป้าหมายสูงสุดในขณะที่คุณคิดไตร่ตรองถึงเรื่องราวในอดีต
    • หยุดพักจากสถานการณ์ที่มีสิ่งรบกวนการพักผ่อนของคุณ หากเริ่มรู้สึกเหมือนทุกอย่างกำลังถาโถมเข้ามาใส่ [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การเปลี่ยนวิธีคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถพยายามก้าวต่อไปข้างหน้าได้ด้วยการคิดให้แตกต่างเกี่ยวกับสิ่งที่ยึดคุณไว้ ตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นการจู่โจมเข้าทำร้ายและรู้สึกกลัวว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับคุณ ลองถามตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณ [5]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะถามตัวเองว่าการถูกทำร้ายในเมืองหรือประเทศของคุณพบเจอยากแค่ไหน ซึ่งคุณสามารถหาอ่านคำตอบได้ในอินเทอร์เน็ต สิ่งนี้จะช่วยให้คุณตระหนักได้ว่าความเป็นไปได้ในการที่คุณจะถูกทำร้ายนั้นอยู่ในระดับต่ำมาก
    • นอกจากนี้คุณอาจจะถามตัวเองได้ว่ากี่ครั้งแล้วที่คุณออกไปข้างนอกโดยไม่พบเห็นการการจู่โจมเข้าทำร้าย คำถามนี้จะช่วยสนับสนุนความคิดที่ว่าเหตุการณ์อันตรายนี้หาพบได้ยากแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้คุณก้าวต่อไปข้างหน้าได้โดยเปลี่ยนการประเมินสถานการณ์ในเชิงลบ [6]
  2. เป็นเรื่องดีถ้าได้รู้ความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ของสถานการณ์ เช่นทำให้รู้ว่าคุณสามารถควบคุมความคิดและพฤติกรรมของตัวเองได้หากคุณถูกทำร้ายจิตใจ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ฟังดูเข้าท่าที่จะไม่ให้ความสำคัญในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณมากเกินไป แต่ให้คุณแจกแจงสิ่งที่คุณสามารถทำและก้าวต่อไปข้างหน้าได้แทน [7]
    • อย่าออกนอกลู่นอกทางและคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณคือความผิดพลาดของตัวเอง แต่กลับกันให้คิดว่าอะไรที่คุณสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้นได้และไม่สนใจคนที่ตำหนิคุณในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและก้าวต่อไป
  3. นี่อาจจะเป็นวันสุดท้ายในชีวิตของคุณ แต่ละวันเป็นสิ่งมีค่าและเวลาก็ผ่านไปเร็วเสมอซึ่งคุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคุณจะตายเมื่อไร ดังนั้นใช้ชีวิตแต่ละวันให้เต็มที่ แม้ว่ามันอาจฟังดูเป็นสำนวนเชยๆ แต่มันคือความจริงเสมอ เพราะฉะนั้นทำไมมันจะต้องเป็นวันธรรมดาๆ ด้วยล่ะ! มีวิธีมากมายที่จะทำให้มีสติมากขึ้น คุณสามารถพยายามทำสิ่งเหล่านั้นได้ดังนี้ เช่น [8]  :
    • ลิ้มลองประสบการณ์โดยการใส่ใจกับความรู้สึกธรรมดาๆ ที่มีในแต่ละวันให้ดีที่สุด ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการลิ้มรส ดมกลิ่นและวิธีในการมองเห็นและรู้สึกถึงทุกสิ่งทุกอย่าง
    • หายใจเข้าออกลึกๆ และสังเกตอย่างใกล้ชิดว่าความรู้สึกและเสียงตอนหายใจเป็นอย่างไร
    • มองโลกจากมุมมองใหม่ๆ โดยการจินตนาการว่าคุณไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่ทำ คือให้จินตนาการกลับกันว่าคุณกำลังเห็นสภาพแวดล้อมนี้ครั้งแรกโดยที่คุณไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย
  4. การก้าวไปข้างหน้านั้นเป็นเรื่องยากมาก บางครั้งคุณอาจพบว่าคุณสามารถควบคุมจิตใจตัวเองได้น้อยมากขณะที่มันเดินล่องลอยไปในอดีตหรืออนาคตเมื่อคุณต้องการอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน [9]
    • พยายามหลีกเลี่ยงที่จะรู้สึกท้อหรือหมดกำลังใจโดยการตัดตัวเองออกจากความเหนื่อยหน่ายเมื่อคุณพบว่าตัวเองกำลังครุ่นคิดหรือไม่ก้าวต่อไปสักที
    • จำไว้ให้ขึ้นใจว่าการก้าวไปข้างหน้านั้นคือการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคุณจึงไม่ได้ล้มเหลวตราบใดที่ดูแล้วยังไปต่อได้ อย่าอารมณ์เสียจากความผิดพลาดเพียงแค่อย่างเดียว กลับกันให้คุณมองไปยังแนวโน้มทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของคุณ
  5. หากคุณมีประสบการณ์บางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจและกำลังประสบปัญหาในการก้าวต่อไปข้างหน้า ให้ลองคิดเผชิญหน้ากับความกลัวโดยตรงเพื่อช่วยให้คุณเอาชนะมันได้ [10]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับอุบัติเหตุร้ายแรงทางรถยนต์ คุณไม่สามารถลืมมันได้และจะไม่ขับรถอีกต่อไป ลองค่อยๆ เปิดใจให้กับรถและการขับรถอีกครั้ง [11]
    • ตัวอย่างเช่น คุณสามารถนั่งในที่จอดรถสัก 2 นาที หลังจากนั้นคุณอาจจะขับรถไปรอบๆ บริเวณใกล้เคียงตอนกลางคืนหรือเมื่อไหร่ก็ตามที่จะไม่มีการจราจรติดขัด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจได้ประโยชน์จากการพบนักจิตวิทยาซึ่งสามารถช่วยคุณจัดการปัญหาที่คุณไม่สามารถเดินหน้าต่อไปในชีวิตได้
    • พบกับนักจิตวิทยาได้ที่เว็บไซต์นี้: http://locator.apa.org/
  2. คุณอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งการครุ่นคิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าคืออาการอย่างหนึ่ง [12] . ในกรณีนี้อาจคุ้มค่าที่จะปรึกษาแพทย์ของคุณถึงความเป็นไปได้ในการลองใช้ยาต้านสภาวะซึมเศร้า [13]
    • สัญญาณที่บอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง ความเมินเฉย การไม่มีความรู้สึกสนใจในกิจกรรมหรืออนาคต การคิดช้า ความรู้สึกกระสับกระส่าย ความกังวลหรือไม่มีเรี่ยวแรง [14]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ซึ่งคือลักษณะอาการของความกังวลอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นหลังจากประสบหรือพบเห็นเหตุการณ์ที่เจ็บปวด [15]
  3. หากคุณตัดสินใจที่จะแสวงหาการรักษาทางการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพทางจิต จดอาการประเภทต่างๆ ที่เกิดกับคุณลงไปและเกิดภายใต้สภาวะใดบ้างเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดในการเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ [16]
    • อย่ากลัวที่จะเขียนรายละเอียดลงไป การให้ข้อมูลที่มากเกินยังดีกว่าให้น้อยเกินไป
  4. เพื่อให้แน่ใจว่าได้เตรียมตัวมาตามนัดโดยการเขียนคำถามบางคำถามที่คุณสามารถอ้างถึงได้ในระหว่างการนัดพบแพทย์ [17] คุณอาจจะถามเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้:
    • ยาที่คุณสามารถใช้ได้
    • ผลดีและผลเสียของยาที่แตกต่างกัน
    • ทางเลือกในการใช้ยาเช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (เช่น ออกกำลังกายหรือกินอาหารเพื่อสุขภาพ)
    • ผลข้างเคียงของยาที่แนะนำคืออะไร
    • สาเหตุที่แท้จริงของโรคซึมเศร้าหรืออาการผิดปกติที่เกิดหลังเรื่องสะเทือนใจ
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ให้เวลากับทุกสิ่งทุกอย่างเพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณตอนนี้ไม่ใช่สิ่งที่คงอยู่ตลอดไป
โฆษณา

คำเตือน

  • การยึดติดอยู่กับอดีตหรือกังวลเกี่ยวกับอนาคตมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าได้


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,841 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา