ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การพูดคุยกับคนแปลกหน้าอาจทำให้คุณประหม่ามากๆ แต่การได้รู้จักคนที่คุณไม่เคยรู้จักมาก่อนก็เป็นเรื่องสนุกเหมือนกัน ถ้าคุณพร้อมที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่หรือแค่อยากจะคุยกับคนรอบข้าง ก็ให้เริ่มจากการเลือกประโยคเปิดบทสนทนาที่ดีก่อน แล้วค่อยต่อยอดประเด็นจากตรงนั้น และถ้าเป็นไปได้ก็ให้พูดคุยกับคนแปลกหน้าในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อที่คุณจะได้พบปะคนมากหน้าหลายตา ฝึกฝนทักษะดังต่อไปนี้ เผลอแป๊บเดียวคุณก็คุยกับคนแปลกหน้าได้แล้ว!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เริ่มต้นการสื่อสารและการสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสบตาแสดงถึงความสนใจและการเชื่อมโยงเข้าหากัน ถ้าเขาสบตาคุณ ก็เท่ากับว่าคุณเปิดการสนทนาได้ดี ยิ้มอย่างอ่อนโยนและเดินเข้าไปหาเขา แต่ถ้าเขามองไปทางอื่นหรือดูไม่สนใจ ก็ให้ลองสบตากับคนอื่นแทน [1]
    • มองจนกว่าเขาจะหันมาสบตา แต่ก็อย่ารีบมองไปทางอื่นหรือจ้องลงต่ำ และสบตาค้างไว้ไม่เกิน 2 วินาที
  2. เข้าหาคนที่ไม่ได้เอามือกอดอกหรือเอาขาไขว้กัน และไม่ได้ยุ่งอยู่หรือกำลังสนใจสิ่งอื่น (หรือคนอื่น) อยู่ [2] พอคุณเริ่มเข้าไปคุยแล้ว ให้สังเกตว่าเขาโน้มตัวมาหาคุณแล้วตั้งใจคุยกับคุณจริงๆ หรือเปล่า สังเกตภาษาท่าทางของเขาขณะคุยกันด้วย
    • คุณอาจจะสนใจแต่ความรู้สึกของตัวเองจนกลายเป็นว่าคุณพลาดสัญญาณจากอีกฝ่ายว่าเขารู้สึกอย่างไร ลองปรับความสนใจของตัวเองแล้วเปลี่ยนมาสังเกตว่าอีกฝ่ายดูเป็นอย่างไรและเขาดูสบายใจไหม [3]
  3. ถ้าคุณอยากเริ่มการสนทนา ให้ พูดคุยเรื่องสัพเพเหระ . ถ้าคุณเปิดบทสนทนาด้วยคำถามที่ส่วนตัวมากๆ หรือลึกมากๆ มันก็อาจจะชวนกระอักกระอ่วนอยู่สักหน่อย เพราะฉะนั้นให้ค่อยๆ เริ่มจากการคุยเรื่องสัพเพเหระก่อน พูดเรื่องดินฟ้าอากาศ ถามเขาเรื่องวันหยุดสุดสัปดาห์ (หรือว่าเขากะว่าจะทำอะไรในวันหยุดที่จะถึงนี้) และสนใจรอคำตอบของเขาจริงๆ คุณจะพูดเรื่องพื้นๆ ทั่วไปเลยก็ได้แล้วค่อยต่อยอดบทสนทนาจากตรงนั้น [4]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “โห ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าฝนจะตกหนักขนาดนี้! ถ้าจะตกขนาดนี้สงสัยต้องพกร่มชายหาดแล้วมั้ง!”
  4. ถามคำถามปลายเปิดเพื่อทำความรู้จักกับอีกฝ่าย. ไม่ว่าคุณจะกำลังคุยอยู่กับคนแปลกหน้าในคลินิกของหมอ พนักงานแคชเชียร์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือหนุ่ม/สาวน่ารักๆ บนเครื่องบิน หนึ่งในวิธีการเริ่มต้นบทสนทนาที่ดีที่สุดก็คือการถามคำถามปลายเปิด คุณอยากรู้จักเขาให้มากขึ้น แต่ก็อย่าเริ่มต้นด้วยคำถามส่วนตัว ถามคำถามสบายๆ ทั่วไป [5]
    • เช่น ถ้าคุณคุยกับพนักงานของซูเปอร์มาร์เก็ต ให้ลองถามเขาว่า “เคยลองชิมอันนี้ไหมคะ อร่อยไหม”
  5. ถ้ามีอะไรเกี่ยวกับตัวเขาที่คุณชอบ ก็ให้กล่าวชม. คนส่วนใหญ่ชอบคำชม มันก็เลยเป็นวิธีการที่ดีในการเริ่มต้นบทสนทนากับใครสักคน สังเกตสิ่งที่คุณชอบในตัวเขาแล้วกล่าวชมออกไป เพราะคำชมจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีและพร้อมที่จะเปิดใจพูดคุยมากขึ้น [6]
    • พูดว่า “กระเป๋าน่ารักจังเลยค่ะ เข้ากับชุดเลย”
    • ถ้าคุณอยากจะกล่าวชมแบบหยอดๆ สักหน่อย ให้ชมดวงตา รอยยิ้ม หรือผมของอีกฝ่าย ลองพูดว่า “คุณยิ้มสวยจังเลย” หรือ “สีผมคุณสวยจัง”
  6. เปิดเผยเรื่องราวของคุณสักเล็กน้อยหากคุณอยากทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจ. อย่าไปเล่าเรื่องแฟนเก่าหรือวันทำงานที่น่าเบื่อเสียยืดยาว แต่ให้เปิดเผยเรื่องของตัวเองเพียงเล็กน้อยเพื่อเริ่มการสนทนา การพูดเรื่องของตัวเองแสดงให้เห็นว่าคุณเปิดใจและจะทำให้อีกฝ่ายอยากเปิดใจด้วยเหมือนกัน [7]
    • เช่น พูดว่า “วันนี้จะได้หมามาเลี้ยงแล้วค่ะ ตื่นเต้นมากเลย คุณมีสัตว์เลี้ยงไหมคะ”
  7. หนึ่งในวิธีทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ ที่เร็วที่สุดก็คือการหาสิ่งที่คุณสองคนมีร่วมกัน อาจจะเป็นสิ่งที่คุณสังเกตเห็นได้ทันที (เช่น เขาใส่หมวกจากมหาวิทยาลัยที่คุณเคยเรียน) หรือคุณอาจจะถามเรื่องงานอดิเรกของเขาถ้าคุณเห็นถุงมือต่อยมวยหรือกระเป๋ายิม จากนั้นก็ให้เริ่มต้นบทสนทนาจากสิ่งที่คุณมีร่วมกัน [8]
    • เช่น พูดว่า “จักรยานเท่ดีนะ! ฉันก็มีแบบนี้เหมือนกัน นี่ปีไหนคะเนี่ย”
    • หรือคุณอาจจะพูดว่า “หมาของคุณกี่ขวบแล้วคะ ที่บ้านฉันก็มีลูกหมาอยู่ตัวนึง พลังเยอะมาก!”
  8. 8
    เคารพขอบเขตทางร่างกายของผู้อื่น. อย่าแตะเนื้อต้องตัวคนที่คุณเพิ่งพบเจอยกเว้นว่าสถานการณ์มันพาไป ในสถานการณ์ทั่วไปถ้ามีใครแนะนำคนอื่นให้เรารู้จัก เราก็มักจะไม่โดนตัวเขาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคุณจะจู่ๆ โผไปกอดเขาเลยไม่ได้ นอกจากนี้ถ้าคุณยืนใกล้ๆ หรือเอาตัวแนบชิดอีกฝ่ายมากเกินไป เขาก็อาจจะรู้สึกอึดอัดได้ [9]
    • หรือแม้แต่ถ้าคุณจะเสนอความช่วยเหลือที่ต้องโดนตัวใคร ก็ให้ขออนุญาตก่อนแตะตัวเขา เช่น ถ้าคุณเห็นใครสะดุดหกล้ม คุณก็อาจจะถามก่อนว่า “ให้ผมช่วยไหมครับ ขอมือหน่อยได้ไหม”
  9. คนแปลกหน้าบางคนก็อาจจะแฮปปี้ที่ได้คุยกับคุณ แต่บางคนเขาก็อยากได้พื้นที่ส่วนตัว ถ้าเขาดูไม่สนใจคุณอย่างชัดเจน ถอยห่างจากคุณ หรือถามคำตอบคำ ก็อาจจะได้เวลาเปลี่ยนคนคุย เพราะฉะนั้นให้เดินไปคุยกับคนอื่นแทน
    • คุณอาจจะขอบคุณที่เขาสละเวลาให้แล้วเดินจากมา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

พูดคุยกับคนแปลกหน้าในงานสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองเข้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อดูว่าคุณสบายใจที่จะอยู่ตรงไหนมากที่สุด. คนส่วนใหญ่มาร่วมงานสังคมเพราะคาดหวังว่าจะมีช่วงเวลาดีๆ ซึ่งโอกาสที่คุณจะได้คุยกับคนอื่นๆ น่าจะมีมากเพราะคนส่วนใหญ่เปิดใจที่จะคุยกับคนอื่นอยู่แล้ว ลองเข้าไปรวมกลุ่มกับคนอื่นแล้วหาคนที่คุณอยากจะคุยด้วยกันแค่สองคน
    • เป็นไปได้ว่าคุณจะมีโอกาสได้เข้าไปคุยกับคนอื่นๆ โดยไม่ต้องพยายามมากนัก ลองเข้าไปคุยกับคนที่เข้ากับคุณได้อย่างง่ายดายและทำให้คุณรู้สึกสบายใจ
  2. ขอให้เจ้าภาพหรือเพื่อนที่รู้จักคนอื่นในงานแนะนำคุณให้คนอื่นรู้จัก. การมีเพื่อนที่รู้จักคนอื่นในงานด้วยจะทำให้การไปงานปาร์ตี้หรืองานสังคมนั้นๆ ง่ายขึ้นมาก ถ้าคุณมีคนที่คุณรู้จักอยู่ในงานด้วยอยู่แล้ว ก็ให้เขาแนะนำคุณให้รู้จักกับคนใหม่ๆ และเล่าเรื่องของเขาให้คุณฟังสักเล็กน้อย วิธีนี้จะช่วยทะลายกำแพงและทำให้คุณได้ ‘เข้าถึง’ คนที่มาร่วมงานอีกคนหนึ่งด้วย คุณสามารถถามเขาได้ว่าเขารู้จักเพื่อนของคุณได้อย่างไรหรือว่าสองคนนั้นเจอกันได้อย่างไร [10]
    • เช่น เพื่อนของคุณอาจจะพูดว่า “อิม นี่แอนจ้ะ เธอสองคนชอบขี่จักรยานเสือภูเขาเหมือนกันเลย ฉันคิดว่าเธอสองคนน่าจะรู้จักกันไว้นะ”
  3. ตัวงานสังคมที่คุณมาเข้าร่วมก็เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนาที่ดีได้ ถามใครสักคนว่าเขารู้ข่าวงานนี้ได้อย่างไรหรือว่าเขารู้จักใครในงานอีกหรือเปล่า หรือคุณจะถามคำถามเกี่ยวกำหนดการในงานก็ได้ เช่น “คุณรู้หรือเปล่าคะว่างานจะเริ่มเมื่อไหร่” หรือ “ผู้บรรยายจะมากี่โมงเหรอคะ พอดีเพิ่งเคยมาครั้งแรกน่ะค่ะ”
    • เดินเข้าไปถามใครสักคนเลยว่า “คุณได้ข่าวปาร์ตี้นี้มาจากที่ไหนเหรอคะ” หรือ “ไม่ค่อยมีใครได้รับเชิญมางานนี้นะคะ คุณรู้จักใครอีกหรือเปล่าคะ”
  4. เดินไปรวมกลุ่มกับคนอื่นตรงอาหารหรือเครื่องดื่ม. มันมีเหตุผลว่าทำไมคนถึงชอบไปรวมกันอยู่แถวๆ อาหาร เพราะอาหารมักจะดึงคนมาอยู่รวมกันอยู่แล้ว [11] ถ้าคุณอยู่ที่งานสังคมและอยากจะพูดคุยกับคนใหม่ๆ ให้ไปทำความรู้จักกับเขาตรงใกล้ๆ โต๊ะอาหารหรือขอนั่ง (หรือยืน) ใกล้ๆ กับเขาตอนที่รับประทานอาหารด้วยกัน เพราะคุณสามารถวิจารณ์อาหารและต่อยอดบทสนทนาจากเรื่องนี้ได้อย่างง่ายดาย ถามเขาว่าเขาอยากได้เครื่องดื่มไหมแล้วก็เดินไปหยิบให้ หรือยืนถัดจากเขาในแถวเข้าคิวตักอาหารและเริ่มชวนเขาคุยเรื่องอาหาร
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันชอบเครื่องดื่มนี้มากเลยค่ะ คุณว่ามันอร่อยไหมคะ”
    • หรือคุณอาจจะพูดว่า “คุณคะ คุณลองทานขนมปังแล้วหรือยัง ลองสักชิ้นสิค่ะ คุณว่าเขาปรุงรสด้วยอะไร”
  5. ถ้าคุณเห็นคนอื่นกำลังจะเริ่มเล่นเกมหรือทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง ให้ขอเข้าไปร่วมวงด้วย การเริ่มจากการเข้าไปรวมกลุ่มเล็กๆ กับคนอื่นก่อนจะทำให้คุณสบายใจขึ้นและทำให้คุณเริ่มคุยกับใครสักคนเป็นพิเศษได้ง่ายขึ้น [12]
    • เช่น ถ้าคนอื่นกำลังจะดูรายการทีวีหรือคลิปวิดีโอด้วยกัน ก็ให้เข้าไปดูกับเขาด้วย จากนั้นก็ถามใครสักคนว่า “แล้วคุณดูรายการอะไรอีก” แล้วหารายการที่คุณสองคนดูเหมือนกันเพื่อหาเรื่องคุย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

พูดคุยกับคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ามีใครที่ดูเหมือนกำลังหลงทางและคุณรู้จักละแวกนั้นเป็นอย่างดี ก็เสนอตัวบอกทางให้เขา การช่วยเหลือผู้อื่นไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ดีเท่านั้น แต่ยังช่วยเปิดประเด็นการสนทนาได้ด้วย เพราะคุณสองคนอาจจะต้องไปทางเดียวกันและเดินไปด้วยกันก็ได้
    • ไม่ว่าเขาจะดูเหมือนกำลังหลงทางหรืออีกคนที่ดูเหมือนจะถือของพะรุงพะรัง ให้เสนอความช่วยเหลือให้เขาอย่างเต็มใจ เพราะมันอาจทำให้คุณได้เพื่อนใหม่ก็ได้
  2. โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอยู่ในเมืองใหญ่หรือที่ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย การถามว่าเขามาจากไหนเป็นสิ่งที่เปิดประเด็นการพูดคุยได้อย่างสวยงาม การถามเรื่องราวต่อว่าเขามาอยู่หรือมาเที่ยวที่นี่ได้อย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจเสมอ และเป็นจุดเริ่มต้นการสนทนาที่คุณสามารถต่อยอดไปได้ [13]
    • เช่น ถ้าคุณอยู่ที่คอนเสิร์ต ก็ให้ถามคนข้างๆ ว่ามาจากไหน เขาอาจจะเดินทางมาไกลมากหรืออาจจะแค่บังเอิญเข้ามาก็ได้
  3. อารมณ์ขันเป็นหนึ่งในวิธีการเข้าหาผู้คนที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าหาคนแปลกหน้า เพราะคนเรามักจะรู้สึกเปิดใจและสบายใจมากกว่าเวลาที่ตัวเองหัวเราะ [14] พูดถึงเรื่องราวตลกๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณและเล่าประสบการณ์ให้คนที่คุณไม่รู้จักฟัง [15]
    • เล่นมุก แสดงความคิดเห็น หรือเล่าอะไรตลกๆ ที่คุณสังเกตเห็นให้เขาฟัง
  4. ถ้าคุณอยู่ในพื้นที่สาธารณะกับคนหมู่มาก ให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์หรือกลุ่มคน เช่น ถ้ามีกลุ่มคนล้อมวงนั่งตีกลอง ก็ให้เข้าไปร่วมวงตีกลองกับเขาด้วย ถ้าคุณเห็นคนแสดงเปิดหมวก ก็ให้หยุดดูร่วมกับคนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่สนุกแล้ว ยังทำให้คุณได้ร่วมกลุ่มกับคนอื่นๆ ที่หยุดดูด้วย จากนั้นก็เริ่มต้นบทสนทนาถึงประสบการณ์ที่คุณมีร่วมกัน [16]
    • เข้าร่วมฟรีคอนเสิร์ตและเทศกาลอาหาร ดูว่ามีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นในชุมชนของคุณบ้างและไปเข้าร่วมงานด้วยความตั้งใจที่จะออกไปพบปะผู้คน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เข้าหาใครสักคนในบริบทของการทำงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน. เวลาที่พบปะกับใครในบริบทของการทำงาน ในช่วงแรกพยายามรักษาบรรยากาศให้เป็นเรื่องงานและเป็นมืออาชีพก่อน คุณอาจจะไม่ต้องไปตีสนิทเขาตั้งแต่แรกเพราะมันอาจจะดูไม่ค่อยเป็นมืออาชีพเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอยู่ในบริบททางธุรกิจ แต่ให้พูดคุยเรื่องงานและสิ่งที่คุณสองคนเหมือนกันแทน
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “เราอยู่โปรเจ็กต์เดียวกันนี่นา สวัสดีครับ ผมธนากรครับ”
  2. ถ้าคุณสังเกตว่าผลงานของใครดี ก็ให้แสดงความคิดเห็นออกไป ถ้าคุณเห็นด้วยกับใคร ให้พูดออกมาดังๆ ถ้าคุณอยู่ในห้องประชุม หลังจากประชุมเสร็จแล้วก็ให้ไปพูดคุยกับเขาเพื่อแสดงการเห็นด้วยหรือถกกันในเรื่องต่างๆ เพิ่มเติม [17]
    • เช่น พูดว่า “ผมชอบการพรีเซนต์ของคุณมากเลยครับ ปกติแล้วผมจะเบื่อนะ แต่คุณพรีเซนต์ได้น่าสนใจมากเลยแล้วก็ให้ข้อมูลเยอะด้วย คุณไปหาวิดีโอมาจากไหนครับ”
  3. 3
    ขอคำแนะนำ. ถ้าคุณรู้ว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่คุณอยากได้ความรู้เพิ่มเติม ให้ขอข้อมูลหรือเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์จากเขา คนส่วนใหญ่ชอบแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น และดีใจเมื่อมีคนสนใจในสิ่งที่เขาทำ
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “โอ้โห คุณตัดต่อภาพเก่งจัง คุณช่วยแนะนำซอฟต์แวร์สำหรับมือใหม่ได้ไหมครับ”
  4. หลีกเลี่ยงหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่อาจทำให้อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณ. มันมีบางหัวข้อที่หยาบคายหรือน่ารังเกียจเกินกว่าจะพูดคุยกับคนแปลกหน้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของหน้าที่การงาน เช่น อย่าเข้าไปหาผู้หญิงแล้วพูดเรื่องที่เธอตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ศาสนา รูปร่างหน้าตา (และเรื่องน้ำหนัก) หรือการเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของตัวเองมากเกินไป (เช่น คุณเพิ่งหย่าหรือลุงคุณเพิ่งเสีย) รักษาบรรยากาศการพูดคุยให้เป็นกลางและไม่มีประเด็นที่ต้องถกเถียงกัน [18]
    • เลือกหัวข้อที่น่าสนใจที่เป็นเรื่องกลางๆ เช่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับงาน การประชุม และเพื่อนที่คุณทั้งคู่รู้จัก
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,570 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา