ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ต้องปรุงให้สุกทั่วทั้งชิ้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วย โดยทั่วไปแล้วเนื้อหมูจะต้องทำสุกที่อุณหภูมิอย่างน้อย 63 องศาเซลเซียสเพื่อให้ปลอดภัยกับการรับประทาน (หรือ 71 องศาเซลเซียสถ้าเป็นหมูสับ) และเทอร์โมมิเตอร์ก็เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้คุณรู้อุณหภูมิของเนื้อหมูระหว่างทำอาหาร แต่ถ้าคุณไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ ก็ยังมีวิธีอื่นที่จะช่วยให้คุณรู้ว่า เนื้อหมูสุกดีพอที่จะรับประทานได้อย่างปลอดภัยแล้วหรือยัง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบอ่านค่าอุณหภูมิต่อเนื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื้อหมูต้องหนาพอที่จะเสียบเทอร์โมมิเตอร์แบบอ่านค่าอุณหภูมิต่อเนื่องระหว่างทำอาหารได้ เพราะฉะนั้นการหั่นชิ้นเนื้อหมูบางแบบก็อาจจะไม่เหมาะกับการเสียบเทอร์โมมิเตอร์ค้างไว้เพื่อบอกค่าอย่างต่อเนื่อง แต่เนื้อหมูที่หั่นชิ้นหนาตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไปนั้นถือว่าใช้ได้ [1]
    • เนื้อหมูที่หั่นชิ้นบางๆ ไม่เหมาะกับการเสียบเทอร์โมมิเตอร์ค้างไว้ตลอดการทำอาหาร
    • เนื้อซี่โครงและเบคอนอาจบางเกินกว่าจะใช้เทอร์โมมิเตอร์ได้
  2. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อ่านค่าอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องคือ การเสียบเทอร์โมมิเตอร์ค้างไว้ตลอดการทำอาหาร แต่คุณก็ต้องเตรียมขั้นตอนต่างๆ แช่น้ำเกลือ และอื่นๆ ก่อนเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไป [2]
    • คุณอาจจะเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปตั้งแต่แรกเลยก็ได้ แต่มันอาจจะเกะกะระหว่างเตรียมเนื้อหมู
  3. Watermark wikiHow to ดูว่าเนื้อหมูสุกทั่วหรือยัง
    เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปตรงส่วนที่หนาที่สุด. คุณต้องเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปตรงกลางชิ้นเนื้อ เพราะว่ามันเป็นส่วนสุดท้ายที่จะสุกถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม [3]
    • เสียบเทอร์โมมิเตอร์ให้ห่างจากกระดูกที่อยู่ในเนื้อหมู เพราะอาจมีผลต่อการอ่านค่าอุณหภูมิ
    • ถ้าเนื้อหมูชิ้นบางกว่า 1 นิ้ว คุณอาจจะเสียบเทอร์โมมิเตอร์จากด้านข้าง หรือไม่ก็เสียบจากด้านบนอาจจะง่ายกว่า
  4. รอจนกว่าเทอร์โมมิเตอร์จะอ่านค่าอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส. กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกากล่าวว่า เนื้อหมูจะต้องสุกที่อุณหภูมิ 63-71 องศาเซลเซียสถึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่คุณก็สามารถนำเนื้อหมูออกจากเตาอบได้ก่อนถึงอุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียสเล็กน้อยเพื่อไม่ให้สุกเกินไป [4]
    • อุณหภูมิภายในของเนื้อหมูจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่คุณนำออกมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะปรุกสุกในเตาอบหรือหม้อตุ๋นไฟฟ้าก็ตาม
    • อย่ารับประทานเนื้อหมูที่อุณหภูมิภายในไม่ถึง 63 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อยเด็ดขาด
    • ถ้าเป็นหมูสับ อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดควรจะเป็น 71 องศาเซลเซียส แทนที่จะเป็น 60 องศาเซลเซียส
  5. แม้ว่าคุณจะนำเนื้อหมูออกจากเตาอบก่อนถึงอุณหภูมิขั้นต่ำเล็กน้อย แต่ความร้อนจากเนื้อด้านนอกก็ยังคงกระจายเข้าไปตรงกลาง ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นแม้ว่าจะนำออกจากเตาอบมาแล้ว [5]
    • พักชิ้นเนื้อที่มีความหนา 1 นิ้ว (หรือมากกว่า) ไว้ 15 นาทีก่อนรับประทาน แต่ถ้าเนื้อบางกว่านั้นก็จะใช้เวลาพักน้อยกว่า
    • คอยดูเทอร์โมมิเตอร์ว่าถึง 63 องศาเซลเซียสแล้วค่อยเสิร์ฟ ถ้ายังไม่ถึง ให้อบต่อ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เช็กความสุกด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบบอกค่าทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรุงเนื้อหมูให้สุกพร้อมกับเตรียมเทอร์โมมิเตอร์ไว้. เทอร์โมมิเตอร์แบบบอกค่าทันทีจะไม่ได้เสียบค้างไว้ในชิ้นเนื้อระหว่างที่ปรุงสุก แต่คุณต้องคอยเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในเนื้อหมูเป็นระยะเพื่อเช็กอุณหภูมิข้างใน [6]
    • เทอร์โมมิเตอร์แบบอ่านค่าทันทีไม่เหมือนกับเทอร์โมมิเตอร์แบบอ่านค่าอุณหภูมิต่อเนื่องตรงที่ คุณต้องเสียบเข้าไปและดึงออกมาทุกครั้งที่เช็กอุณหภูมิ
    • อย่าใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่วัดค่าอุณหภูมิพื้นผิวทันที เพราะมันจะไม่สามารถบอกอุณหภูมิภายในได้
  2. Watermark wikiHow to ดูว่าเนื้อหมูสุกทั่วหรือยัง
    นำเนื้อหมูออกจากเตาอบเป็นระยะเพื่อเช็กอุณหภูมิ. แม้ว่าบางคนอาจจะเช็กอุณหภูมิเนื้อหมูโดยไม่นำถาดอบออกมาจากเตาทั้งหมด แต่ภายในเตาอบนั้นอุณหภูมิสูง การทำเช่นนั้นจึงไม่ปลอดภัย [7]
    • แม้ว่าคุณจะไม่ได้ใช้เตาอบ ก็ให้นำเนื้อหมูออกจากความร้อนก่อนเช็กอุณหภูมิ
    • การเช็กอุณหภูมิขณะที่เนื้อหมูยังอยู่บนเตาหรือในเตาอบอาจมีผลต่อการอ่านค่าอุณหภูมิ
  3. Watermark wikiHow to ดูว่าเนื้อหมูสุกทั่วหรือยัง
    เสียบเทอร์โมมิเตอร์แบบบอกค่าทันทีเข้าไปตรงกลางของเนื้อหมู. เช่นเดียวกับเทอร์โมมิเตอร์แบบอ่านค่าอุณหภูมิต่อเนื่อง คุณต้องเสียบเทอร์โมมิเตอร์แบบบอกค่าทันทีเข้าไปตรงส่วนที่หนาที่สุดของชิ้นเนื้อ โดยเสียบให้ห่างจากกระดูกเพราะมันอาจมีผลต่อค่าอุณหภูมิได้ [8]
    • ถ้าเนื้อหมูชิ้นบางกว่า 1 นิ้ว คุณอาจจะเสียบเทอร์โมมิเตอร์ในแนวขวางแทนที่จะเสียบจากด้านบน
    • อย่าลืมนำเทอร์โมมิเตอร์ออกอีกครั้งก่อนนำเนื้อหมูไปไว้ในเตาอบหรือโดนความร้อนอีกครั้ง
  4. ใส่เนื้อหมูกลับเข้าไปในเตาอบอีกครั้งจนกว่าอุณหภูมิจะถึง 60 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อย. ถ้าคุณทำตามสูตรอาหาร เขาก็อาจจะระบุแนวทางไว้ว่า คุณต้องปรุงเนื้อหมูให้สุกเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ แต่คุณไม่ควรยึดเวลาที่ระบุไว้เป็นหลัก แต่ให้เช็กอุณหภูมิของเนื้อหมูเป็นระยะและปรุงสุกต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงอุณหภูมิขั้นต่ำที่ 60 องศาเซลเซียสหรือ 71 องศาเซลเซียสสำหรับหมูสับ [9]
    • จำไว้ว่าเนื้อหมูจะยังสุกต่อหลังจากที่คุณนำเนื้อหมูออกจากความร้อนแล้ว
  5. เมื่อเนื้อหมูสุกถึงอุณหภูมิน้อยกว่าที่ต้องการ 15 องศาเซลเซียสแล้ว ให้นำออกจากความร้อนแล้วพักไว้สักครู่ก่อนเสิร์ฟ จำไว้ว่าอุณหภูมิภายในต้องถึง 63 องศาเซลเซียสเป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นคอยสังเกตเทอร์โมมิเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่ามันถึง [10]
    • อุณหภูมิภายในที่ 63 องศาเซลเซียสถือว่า “ดิบ” เพราะฉะนั้นคุณอาจจะอยากปรุงสุกนานกว่านี้
    • อุณหภูมิที่ 71 องศาเซลเซียสคือสุกทั่วถึงกันทุกส่วน
    • ถ้าเป็นหมูสับคุณไม่ต้องพักไว้หลังปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เช็กความสุกโดยไม่ใช้เทอร์โมมิเตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ดูว่าเนื้อหมูสุกทั่วหรือยัง
    แม้ว่าเทอร์โมมิเตอร์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะบอกว่า เนื้อหมูสุกแล้วหรือยัง แต่คุณก็สามารถประเมินความสุกของเนื้อหมูได้ด้วยการดูจากสีของน้ำที่ไหลออกมาเวลาที่คุณใช้มีดหรือส้อมจิ้มลงไป [11]
    • ถ้าน้ำที่ไหลออกจากเนื้อหมูเป็นน้ำใสๆ หรือเป็นสีชมพูจางมากๆ ก็แสดงว่าเนื้อหมูสุกแล้ว
    • ถ้าน้ำที่ไหลออกมาไม่ใส ให้ปรุงสุกต่อไปแล้วเช็กอีกครั้งทีหลัง
  2. Watermark wikiHow to ดูว่าเนื้อหมูสุกทั่วหรือยัง
    ใช้มีดยาวเพื่อดูว่าข้างในยังเหนียวอยู่หรือเปล่า. ถ้าคุณตุ๋นเนื้อหมูในหม้อตุ๋นไฟฟ้า อุณหภูมิภายในของเนื้อหมูจะถึงเกณฑ์ก่อนที่เนื้อจะนุ่มเท่าที่คุณต้องการ ใช้มีดยาวหรือไม้เสียบเสียบเข้าไปตรงกลางของเนื้อหมู และประเมินความเหนียวขณะที่คุณเสียบเข้าไป [12]
    • ถ้าคุณเสียบมีดหรือไม้เสียบเข้าและออกได้ง่ายๆ ก็แสดงว่าตรงกลางของเนื้อหมูนุ่มแล้ว
    • ถ้าคุณเสียบเข้าไปยาก ตุ๋นเนื้อหมูต่อสักครู่แล้วค่อยเช็กดูอีกครั้ง
  3. Watermark wikiHow to ดูว่าเนื้อหมูสุกทั่วหรือยัง
    สำหรับเนื้อหมูที่หนาไม่พอที่จะเช็กความสุกด้วยเทอร์โมมิเตอร์นั้น วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีเดียวที่สามารถประเมินความสุกได้ หั่นเข้าไปตรงส่วนที่หนาที่สุดของเนื้อหมู จากนั้นใช้มีดกับส้อมแยกชิ้นเนื้อออกจากกันเพื่อประเมินสีด้านใน [13]
    • เนื้อหมูควรจะเป็นสีทึบ (เป็นสีเดียวกันทั้งหมด) และอาจจะมีรอยสีชมพูจางๆ เมื่อสุกแล้ว
    • เนื้อหมูที่หั่นบางมากๆ เช่น เบคอนสไลด์ สามารถเช็กได้โดยไม่ต้องหั่นดูสีเนื้อข้างใน
  4. เปรียบเทียบความแข็งของเนื้อหมูกับฝ่ามือของคุณ. สำหรับชิ้นที่เป็นเนื้อหมูสันติดกระดูกและสเต็กนั้น คุณสามารถประเมินความสุกของเนื้อหมูได้ด้วยการใช้คีบหรือนิ้วมือกดลงบนเนื้อหมูแรงๆ เนื้อหมูที่สุกดีแล้วเนื้อจะแน่นและดีดตัวกลับเข้ารูปเดิมทันทีที่คุณเอานิ้วออก เนื้อหมูควรจะแข็งเหมือนตรงกลางของฝ่ามือเวลาที่คุณเหยียด [14]
    • ถ้ามีน้ำไหลออกมาและเป็นสีใสๆ ก็แสดงว่าเนื้อหมูสุกดีแล้ว
    • ถ้ากดลงบนเนื้อหมูแล้วมันนิ่ม แสดงว่ายังต้องปรุงให้สุกต่อ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เนื้อหมูที่อุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียสจะถือว่า “ดิบ” อุณหภูมิประมาณ 66-68 องศาเซลเซียสคือ “สุกปานกลาง” และอุณหภูมิ 71 องศาเซลเซียสคือ “สุกทั่วทั้งชิ้น”
  • ล้างมือหลังสัมผัสกับเนื้อหมูที่ยังไม่สุกหรือดิบเสมอ
  • เทอร์โมมิเตอร์ดิจิทัลเป็นวิธีการที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิด้านในของเนื้อหมูได้ถูกต้องที่สุด
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เทอร์โมมิเตอร์แบบอ่านค่าอุณหภูมิต่อเนื่องหรือแบบบอกค่าทันที
  • ถุงมือเตาอบ
  • ถาดอบหรือกระทะ
  • มีดหรือไม้เสียบ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,761 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา