ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาที่คุณกำลังจะรับใครสักคนเข้ามาทำงาน หรือเวลาที่คุณได้พบกับคนใหม่ๆ บางครั้งมันก็ยากที่จะดูว่าคนเหล่านั้นเชื่อถือได้หรือเปล่า และถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกประทับใจเมื่อตอนที่พบกับกันในครั้งแรก แต่บางทีความประทับใจแรกของคุณเองก็อาจจะผิดพลาดหรือได้รับรู้มาแบบผิดๆ ก็ได้ [1] ฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการที่จะดูว่าใครเชื่อถือได้บ้าง ทั้งในเรื่องบทบาทการทำงานหรือบทบาทส่วนตัวก็คือ คุณจะต้องสังเกตพฤติกรรมของพวกเขาและรวบรวมข้อพิสูจน์ต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยของพวกเขาจากบุคคลต่างๆ ที่สามารถให้ข้อมูลอ้างอิงกับคุณได้ รวมไปถึงคำอ้างอิงที่ส่งต่อจากนายจ้างเก่า และการรับรองต่างๆ ด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตจากพฤติกรรมของคนๆ นั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนเชื่อว่าคนเราสามารถดูได้ว่าใครกำลังโกหกหรือไม่โกหก ด้วยการดูว่าดวงตาของอีกฝ่ายขยับไปทิศทางไหน ถ้าขึ้นไปทางขวา แสดงว่าพูดความจริง ถ้าขึ้นไปทางซ้าย แสดงว่ากำลังโกหกอยู่ แต่เกรงว่าวิธีการนี้อาจจะใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว เพราะมีงานวิจัยจากหลายที่ได้ออกมาบอกว่ายังไม่พบหลักฐานที่จะมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ได้ [2] และการที่ใครสักคนสบตาเวลาพูดก็ไม่ได้ความว่าคนๆ นั้นจะพูดแต่ความจริง และคนพูดโกหกก็ไม่จำเป็นต้องหลบเลี่ยงสายตาเสมอไป [3] แต่อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถใช้วิธีการมองที่รูม่านตาของอีกฝ่ายได้อยู่ เพราะใครก็ตามที่กำลังพูดโกหกมักจะมีรูม่านตาที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงความเกร็งและการเพ่งสมาธิของอีกฝ่ายนั่นเอง [4]
    • ทั้งคนที่พูดโกหกและคนที่เชื่อถือได้นั้นมีแนวโน้มที่จะหันหน้าหนีไปทางอื่นได้เหมือนกัน หากคุณถามพวกเขาด้วยคำถามที่ยาก ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าการคิดหาคำตอบต้องอาศัยสมาธิมากๆ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่กำลังพูดโกหกมักจะชอบหันหน้าหนีไปทางอื่นแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น ในขณะที่คนที่กำลังจะพูดความจริงอาจใช้เวลามากกว่า เพราะพวกเขาต้องใช้เวลาเพื่อเรียบเรียงคำตอบของตัวเองออกมา [5]
    • แม้ว่าการสบตากันเวลาพูดจะไม่ใช่สิ่งเดียวที่สามารถบ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือได้ แต่การที่ใครคนหนึ่งสบตาเวลาที่พูดคุยกัน นั่นอาจจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นเป็นผู้สื่อสารที่ดี และอาจจะไม่ได้รู้สึกอึดอัดใจอะไรเวลาที่ต้องแสดงความรู้สึกจริงๆ ของตัวเองออกไป [6]
  2. วิธีการหลักๆ วิธีหนึ่งในการที่จะดูว่าคนๆ นั้นเชื่อถือได้หรือไม่ คือให้คุณคอยสังเกตภาษากายของอีกฝ่ายและดูว่าเขาวางตัวอย่างไรต่อหน้าคนอื่น อย่างไรก็ตาม คุณจะต้องไม่ด่วนตัดสินทุกสิ่งอย่างแค่จากภาษากายเพียงอย่างเดียว เพราะโดยทั่วไปของภาษากายที่แสดงออกมาให้เราเห็น มักจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความตึงเครียดและความกังวลใจของคนๆ นั้น ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวที่ชี้ว่าอีกฝ่ายกำลังโกหกอยู่ หรืออาจจะแค่ชี้ให้เห็นว่าคนๆ นั้นรู้สึกอึดอัดใจเฉยๆ ก็ได้ [7]
    • คนที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่จะแสดงภาษากายแบบเปิดเผย โดยที่พวกเขาจะวางมือทั้งสองข้างไว้ที่ด้านข้างของตัวเอง และหันตัวเข้าหาคุณ ฉะนั้น ถ้าสังเกตเห็นว่าคนๆ นั้นกอดอก ทำหลังโกง หรือหันตัวหนีไปทางอื่นเวลาที่คุณกำลังพูดกับเขา นั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคนๆ นั้นไม่แน่ใจในตัวเอง และอาจจะไม่ได้ใส่ใจหรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณพูด หรือไม่ก็อาจจะปิดบังบางสิ่งบางอย่างเอาไว้ [8]
    • หากภาษากายที่อีกฝ่ายแสดงออกมาดูเกร็งและเหมือนคนระแวง นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าเขาแค่รู้สึกกังวลใจเฉยๆ ก็ได้ แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า คนเราจะแสดงความตึงเครียดทางร่างกายออกมามากขึ้นเวลาที่กำลังพูดโกหกอยู่ [9]
    • คนที่กำลังพูดโกหกอาจจะเม้มปากตัวเองเวลาที่คุณถามคำถามที่เซนซิทีฟกับตัวเขา นอกจากนี้พวกเขาอาจจะแสดงอาการออกมาด้วยการเล่นผม ถูเล็บตัวเอง หรือไม่ก็ทำไม้ทำมือเข้าหาตัวเองอีกด้วย [10]
  3. คอยสังเกตดูว่าอีกฝ่ายใส่ใจที่จะทำตามคำพูดหรือไม่. ส่วนใหญ่แล้วคนที่เชื่อถือได้มักจะเป็นคนที่มาทำงานหรือมานัดหมายตรงเวลา เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวพวกเขาให้ความสำคัญกับเวลาของคนอื่น ดังนั้น ถ้าเกิดว่าคนๆ นั้นชอบมาเลท โดยที่ไม่โทรมาบอกให้คุณรู้ก่อนว่าตัวเองจะมาเลท หรือว่าผิดนัดไปเลย นี่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคนๆ นั้นไม่ใช่คนที่คุณสามารถที่จะไว้ใจได้ว่าพวกเขาจะซื่อสัตย์กับสิ่งที่ตัวเองพูด [11]
    • และเช่นเดียวกัน ถ้าเกิดว่าพวกเขาชอบยกเลิกแผนการหรือเปลี่ยนเวลานัดหมายโดยที่ไม่แจ้งให้คนอื่นรู้ก่อน นั่นอาจจะแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านั้นไม่ให้ความสำคัญกับเวลาของคนอื่นให้มากเท่าที่ควร และอาจจะเป็นคนที่มีปัญหาในการบริหารจัดการเวลาของตัวเอง ซึ่งในแง่ของการทำงาน พฤติกรรมลักษณะนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพอีกด้วย ส่วนในแง่ที่นอกเหนือจากงาน ในหมู่ของเพื่อนกันเอง การที่อยู่ดีๆ มีใครคนหนึ่งมายกเลิกนัดเอาจนวินาทีสุดท้ายนั้น แสดงให้เห็นว่าเพื่อนคนนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลาของคุณ และอาจจะเป็นคนๆ หนึ่งที่คุณไม่อาจจะเชื่อใจได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตีความจากปฏิกิริยาที่โต้ตอบกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คอยสังเกตวิธีที่พวกเขาตอบคำถามยากๆ หรือคำถามแนวลองเชิงดู. หากคุณกำลังสัมภาษณ์งานคนๆ นั้นอยู่ คุณอาจจะต้องลองตั้งคำถามที่ยากและท้าทายไป แล้วคอยจดไว้ว่าพวกเขามีวิธีการตอบแบบไหน โดยคำถามที่คุณใช้นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคำถามที่ดูคุกคามหรือทำให้เกิดความสับสน แต่ให้คุณใช้คำถามแบบปลายเปิดที่ต้องอาศัยการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์และการวิเคราะห์แทน และจำไว้เสมอว่า คุณควรจะเปิดโอกาสให้คนๆ นั้นได้ตอบคำถามของคุณอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาด้วย [12]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะถามไปว่า อะไรคือสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นเรื่องที่ท้ายทายสำหรับตัวเองมากที่สุดในตอนที่ยังทำงานเดิมอยู่ หรือไม่คุณก็อาจจะถามว่า พวกเขาได้ประสบปัญหาอะไรกับทักษะหรือความคาดหวังต่างๆ ในบทบาทเดิมของตัวเองบ้างหรือเปล่า ซึ่งคำถามลักษณะนี้เป็นคำถามที่คนตอบอาจจะต้องใช้เวลาคิด ฉะนั้น ให้คุณคอยสังเกตไว้ด้วยว่าพวกเขาเลือกที่จะเปลี่ยนเรื่องคุยหรือเลี่ยงที่จะตอบคำถามหรือเปล่า เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าพวกเขากำลังปิดบังอะไรบางอย่างเกี่ยวกับงานเดิมของตัวเองเอาไว้หรือเปล่า หรือไม่ก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่อยากที่จะต้องใช้ความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทบาทเดิมของตัวเอง
  2. คำถามปลายเปิดคือคำถามที่ต้องการให้คนตอบได้บอกรายละเอียดเพิ่มเติมออกมา [13] ซึ่งคำถามอย่างเช่น “คุณช่วยบอกฉันเพิ่มเติมเกี่ยวกับ.....ได้ไหม?” และ “คุณช่วยเล่าเรื่องเกี่ยวกับ......ทีสิ” เป็นคำถามที่กระตุ้นคนตอบได้อย่างดี ดังนั้น หากคุณสงสัยว่าคนๆ นั้นอาจจะกำลังพูดโกหกอยู่ ให้คุณถามเขาด้วยคำถามทั่วไปก่อน แล้วหลังจากนั้นก็ให้ถามด้วยคำถามที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น จากนั้นให้คอยจับตาดูความคัดแย้งกันเองในคำตอบที่อีกฝ่ายให้มา จำไว้ว่า คนที่พูดโกหกมักจะไม่สามารถพูดเรื่องต่างๆ ออกมาให้สอดคล้องกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เรื่องราวต่างๆ เริ่มซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ
    • คนที่พูดโกหกมักมีแนวโน้มที่จะย้อนบทสนทนากลับมาที่คุณ [14] ฉะนั้น หากคุณรู้สึกว่าคุณไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากเกี่ยวกับคนๆ นั้นเลย ถึงแม้ว่าคุณและเขาจะได้พูดคุยกันมาสักพักแล้วก็ตาม หรือรู้สึกว่าตัวคุณเองกลับเป็นฝ่ายที่ต้องคอยเปิดเผยเรื่องราวของตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว มากกว่าที่คุณได้เรียนรู้เรื่องราวของอีกฝ่าย นั่นก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งก็ได้
  3. มีงานวิจัยชี้ว่า คนที่พูดโกหกมักจะชอบพูดแบบสำบัดสำนวน ดังนั้น ไม่ใช่แค่ว่าคุณต้องคอยจับตาดูสิ่งที่พวกเขาพูดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ให้คุณดูวิธีการที่พวกเขาพูดออกมาด้วย ซึ่งสิ่งที่คุณต้องคอยจับตาดูก็จะมีดังต่อไปนี้ [15]
    • ไม่ค่อยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เพราะคนที่พูดโกหกนั้นมักจะไม่ค่อยใช้คำเรียกแทนตัวเองว่า “ฉัน” สักเท่าไร และนั่นอาจจะเป็นเพราะว่าพวกเขาต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตัวเอง หรือพยายามจะรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองและเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าพวกเขาไม่อยากจะทำให้ดูเหมือนกับว่าตัวเองนั้นมีส่วนสำคัญกับเรื่องต่างๆ ที่พูดมา
    • ใช้คำที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์เชิงลบ มีงานวิจัยชี้ว่าคนที่มีปัญหาในการพูดความจริงมักจะชอบรู้สึกกังวลและรู้สึกผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงออกมาให้เห็นจากการเลือกใช้คำพูดของพวกเขาเอง และแนวโน้มของคำพูดที่ใช้ก็มักจะเป็นคำพูดที่สื่ออารมณ์ในด้านลบ เช่น “เกลียด ไร้ค่า และเศร้า”
    • ไม่ค่อยใช้คำที่แยกให้เห็นถึงความแตกต่างในสิ่งที่พูด อย่างเช่นคำว่า ยกเว้น แต่ว่า ไม่ใช่ โดยคำเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าคนพูดกำลังต้องการจะแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งคนที่พูดโกหกมักจะมีปัญหากับความซับซ้อนในลักษณะนี้ และไม่ใช้คำเหล่านี้บ่อยนัก
    • ให้รายละเอียดที่ดูผิดปกติ ซึ่งคนที่พูดโกหกอาจจะใช้รายระเอียดที่น้อยกว่าปกติเมื่อพูดถึงบางสิ่งบางอย่าง [16] และบางทีก็อาจจะอ้างเหตุผลให้กับคำตอบของตัวเองด้วย ถึงแม้ว่ายังไม่มีใครขอให้บอกเลยก็ตาม [17]
  4. คนที่เชื่อถือได้มักเคารพซึ่งกันและกันและให้ความร่วมมือเวลาที่สื่อสารกัน ฉะนั้น หากคุณรู้สึกเหมือนว่าตัวเองเป็นคนถามหาข้อมูลสำคัญอยู่ตลอดเวลา หรือต้องคอยพยายามไถ่ถามเรื่องราวส่วนตัวอยู่ฝ่ายเดียว หรือว่าไม่เคยได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากอีกฝ่ายเวลาที่คุณขอร้องไปเลย นั่นอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคนที่คุณพูดคุยด้วยไม่ใช่คนที่น่าเชื่อถือเท่าไร [18]
  5. ให้พิจารณาดูว่าพวกเขาเข้าหาตัวคุณแบบรวดเร็วมากแค่ไหน. การเข้ามาทำความคุ้นเคยกันแบบรวดเร็วจนเกินไปนั้น คือสัญญาณที่เตือนว่าคนๆ นั้นอาจจะเป็นบุคคลอันตรายก็ได้ [19] ดังนั้น หากคนๆ นั้นบีบคั้นให้คุณยอมรับตัวเขาให้ได้เร็วๆ หรือชอบมาจอแจกับคุณอยู่ตลอดเวลา หรือพยายามจะแยกคุณให้ออกห่างจากเพื่อนๆ และครอบครัวเพื่อที่คุณจะได้ “อยู่แต่กับเขา” นั่นมีแนวโน้มว่าคนๆ นั้นน่าจะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้
  6. บางครั้งคนที่ไม่น่าไว้วางใจอาจจะมีความพยายามเป็นพิเศษ เพื่อที่จะพิสูจน์ตัวเองให้คุณเห็น และทำให้ดูเหมือนว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณและเขานั้นเป็นไปได้ด้วยดี แต่อย่างไรก็ตาม การที่ต้องคอยเก็บความลับของสิ่งที่ซ่อนเร้นเอาไว้นั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเลยทีเดียว และมันก็มักจะล้มเหลวในที่สุด ฉะนั้น ให้คุณคอยสังเกตวิธีที่คนๆ นั้นปฏิบัติกับคนอื่น ดูว่าเขาชอบซุบซิบนินทาเพื่อนร่วมงานหรือเปล่า? ปฏิบัติกับพนักงานในร้านอาหารแบบแย่ๆ หรือไม่? ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เวลาที่อยู่กับคนอื่นบ้างหรือเปล่า? เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคนๆ นั้นอาจจะไม่ใช่คนที่น่าไว้ใจก็เป็นได้ [20]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รวบรวมข้อพิสูจน์ต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยของคนๆ นั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีมันก็ยากที่จะปกปิดด้านแย่ๆ ของตัวเองเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เราต่างก็เชื่อมต่อกับโลกโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยๆ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ยกตัวอย่างอีกว่าโปรไฟล์บน Facebook นั้นมีแนวโน้มที่จะสะท้อนถึงตัวตนที่แท้จริงของคนๆ นั้นได้มากกว่าที่เราเห็นกันจากลักษณะภายนอกที่เห็นกันในชีวิตจริง [21] ฉะนั้น หากคุณสงสัยว่าคนๆ นั้นเชื่อถือได้หรือเปล่า ก็ให้คุณดูจากแอคเคานท์ในโซเชียลมีเดียของเขา แล้วดูว่าคนที่คุณเจอกันในชีวิตจริงนั้นสอดคล้องกับคนที่อยู่ในภาพหรือเปล่า [22]
    • มีงานวิจัยชี้ว่าคนส่วนใหญ่มักจะชอบ “โกหกขาว” โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเว็บไซต์หาคู่ ซึ่งมันคือความพยายามเล็กๆ น้อยๆ ที่จะได้นำเสนอตัวเองออกมาให้ดูดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่างเช่น ใส่น้ำหนักหรืออายุของตัวเองให้น้อยเกินความจริง หรือบอกว่าตัวเองสูงและได้เงินเดือนที่เยอะเกินไปจากความเป็นจริง ซึ่งคนเรามักจะโกหกเวลาที่ตัวเองกำลังมองหาคู่มากกว่าในสถานการณ์ทางสังคมอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม คำโกหกต่างๆ อาจจะไม่ได้เป็นในแง่นั้นเสมอไปก็ได้ [23]
  2. ให้ขอข้อมูลอ้างอิงจากที่อื่นอย่างน้อย 3 แหล่ง. หากคุณกำลังสัมภาษณ์งานคนๆ นั้นอยู่ หรือกำลังพิจารณาเรื่องการรับคนๆ นั้นเข้ามาทำงาน คุณก็ควรขอแหล่งอ้างอิงอย่างน้อยสัก 3 แหล่ง โดยให้ 2 แหล่งนั้นเกี่ยวกับเรื่องการทำงาน ส่วนอีก 1 แหล่งให้เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นการส่วนตัว [24]
    • คุณควรจะคอยสังเกตไว้ด้วยว่าคนๆ นั้นชอบปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอ้างอิงเวลาที่คุณขอ หรือหลีกเลี่ยงที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งอ้างอิงของตัวเองบ้างหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นผู้สมัครที่เชื่อถือได้จริงๆ คนๆ นั้นคงยินดีที่จะให้ข้อมูลต่างๆ เพราะพวกเขาไม่ได้กังวลอะไรเกี่ยวกับข้อมูลของตัวเองที่กำลังจะบอกออกไป
    • ให้คอยจับตาดูผู้สมัครที่ได้ให้ข้อมูลส่วนตัวกับคุณเอาไว้ อย่างเช่น สมาชิกในครอบครัว คู่สมรส หรือเพื่อนสนิท เพราะแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ดีมักจะมาจากคนที่ผู้สมัครคนนั้นรู้จักในระดับที่เป็นการส่วนตัวและระดับอาชีพการงาน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้แหละที่จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของผู้สมัครได้แบบไม่มีอคติได้
  3. ขอการรับรองอุปนิสัยจากคนที่สามารถให้ข้อมูลอ้างอิงได้. เมื่อคุณรู้แล้วว่าจะสามารถขอข้อมูลอ้างอิงได้จากใครบ้าง ให้คุณหาทางติดต่อไปหาคนเหล่านั้น แล้วถามคำถามพื้นฐานทั่วไปที่พอจะทำให้คุณรู้จักลักษณะอุปนิสัยของผู้สมัครได้มากขึ้น โดยในคำถามที่คุณใช้อาจจะรวมไปถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เช่น พวกเขาเห็นว่าผู้สมัครคนนี้เป็นยังไงบ้างทั้งในเรื่องการทำงานและ/หรือเรื่องส่วนตัว และพวกเขารู้จักผู้สมัครคนนี้มานานเท่าไรแล้ว นอกจากนี้ คุณอาจจะถามถึงเหตุผลที่ว่าทำไมพวกเขาถึงแนะนำให้คุณรับผู้สมัครคนนั้นเข้าทำงานด้วยก็ได้ และลองขอให้พวกเขายกตัวอย่างมา เพื่อแสดงให้เห็นว่าทำไมผู้สมัครคนนี้ถึงได้เหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้ [25]
    • ให้คอยสังเกตว่าแหล่งอ้างอิงที่คุณไปถามนั้นได้พูดอะไรที่เหมือนเป็นการให้ร้ายผู้สมัคร หรือให้ข้อมูลอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้คุณสงสัยในความน่าเชื่อถือของผู้สมัครบ้างหรือเปล่า [26] ถ้าเป็นแบบนั้น คุณควรจะติดต่อไปที่ผู้สมัครคนนั้น แล้วสอบถามถึงสิ่งที่แหล่งอ้างอิงได้แสดงความคิดเห็นมา การทำแบบนี้ก็เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้อธิบายตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังคิดอย่างจริงจังแล้วว่าจะรับผู้สมัครคนนี้เข้ามาทำงาน
  4. ขอขอมูลส่วนตัวอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบภูมิหลัง (Background check) หรือรายชื่อของนายจ้างคนเก่า. หากคุณยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยของผู้สมัคร คุณอาจจะขอข้อมูลส่วนตัวเพิ่มในรูปแบบของการตรวจสอบภูมิหลัง หรือรายชื่อนายจ้างคนเก่าๆ ของผู้สมัครก็ได้ จำไว้ว่า ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะไม่กลัวเรื่องการตรวจสอบภูมิหลังเท่าไร ถ้าเกิดว่าพวกเขารู้อยู่แล้วว่าตัวเองมีประวัติที่ใสสะอาดและไม่มีอะไรที่ต้องแอบซ่อนไว้ [27]
    • รายชื่อของนายจ้างคนเก่าๆ รวมถึงข้อมูลการติดต่อนั้นสามารถนำไปใช้เพื่อเช็คดูว่าคนๆ นั้นไม่มีอะไรที่ดูน่าเสื่อมเสียอยู่ในประวัติการทำงาน และยินดีที่จะให้นายจ้างเก่าของตัวเองได้พูดคุยกับคุณ
    • หากคุณมีความสงสัยเกี่ยวกับใครสักคนที่คุณได้พบเจอกันในทางสังคม คุณสามารถตรวจสอบประวัติส่วนตัวแบบออนไลน์ได้
    โฆษณา
  1. http://newsroom.ucla.edu/releases/how-to-tell-when-someone-s-lying-202644
  2. http://www.expressivecounseling.com/trustworthy-people/
  3. http://www.jobacle.com/blog/3-tips-to-determine-if-your-future-employees-are-trustworthy.html
  4. http://newsroom.ucla.edu/releases/how-to-tell-when-someone-s-lying-202644
  5. http://www.sciencedirect.com.proxy-remote.galib.uga.edu/science/article/pii/S0378720614000640
  6. http://www.apa.org/monitor/julaug04/detecting.aspx
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12555795
  8. http://newsroom.ucla.edu/releases/how-to-tell-when-someone-s-lying-202644
  9. http://www.gpb.org/blogs/working-and-career/2011/10/11/signs-you-cant-trust-your-co-workers
  10. http://nnedv.org/resources/stats/gethelp/redflagsofabuse.html
  11. http://nnedv.org/resources/stats/gethelp/redflagsofabuse.html
  12. http://www.cnn.com/2013/01/13/opinion/hancock-technology-lying/
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/close-encounters/201407/can-you-really-trust-the-people-you-meet-online
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/close-encounters/201407/can-you-really-trust-the-people-you-meet-online
  15. http://www.forbes.com/sites/gaurisharma/2013/05/21/how-to-grow-a-small-team-nine-hiring-best-practices/
  16. http://www.jobacle.com/blog/3-tips-to-determine-if-your-future-employees-are-trustworthy.html
  17. http://www.forbes.com/sites/gaurisharma/2013/05/21/how-to-grow-a-small-team-nine-hiring-best-practices/
  18. http://www.jobacle.com/blog/3-tips-to-determine-if-your-future-employees-are-trustworthy.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,568 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา