ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณฐานของลำคอ มีรูปทรงคล้ายโบว์หูกระต่ายหรือผีเสื้อที่โอบล้อมด้านล่างลำคอไว้ ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญมาก มันผลิตฮอร์โมนไทร็อกซิน ซึ่งช่วยควบคุมกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็ก [1] การที่ต่อมไทรอยด์เสียสมดุลจะทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ คุณสามารถเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ด้วยการกินอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย พักผ่อน และกำจัดความเครียด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กินอาหารอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจความสัมพันธ์ของโภชนาการกับการทำงานของต่อมไทรอยด์. การที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับการกินอาหารด้วย ต้องได้รับไอโอดีน ซีลีเนียม และวิตามินที่ต้องการ ถ้าโภชนาการไม่สมดุล ต่อมไทรอยด์ก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่
    • ใส่ใจเรื่องโภชนาการ แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่การทำอาหารเองจะทำให้คุณและครอบครัวได้ประโยชน์ และเป็นการสนับสนุนให้คนในครอบครัวกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  2. กระบวนการแปรรูปอาหารโดยทั่วไปมักจะใส่น้ำตาลลงไป ซึ่งจะทำให้ปัญหาไทรอยด์ยิ่งแย่ลงได้ มันอาจต้องอาศัยการฝึกฝนและวางแผน แต่ยิ่งคุณเตรียมอาหารเองได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี การปรุงอาหารโดยไม่ใช้อาหารแปรรูปจะช่วยคงวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่นๆ เอาไว้ได้
    • หลักการง่ายๆ อย่างหนึ่งคือ ถ้าอาหารนั้นมีสีขาวเกิน เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้าสีขาว แสดงว่ามันผ่านกระบวนการแปรรูปมามาก ควรเลือกกินขนมปังโฮลเกรน ข้าวกล้องไม่ขัดสี และพาสต้าโฮลเกรนแทน
  3. พยายามเลือกกินพืชผักออร์แกนิกท้องถิ่นตามฤดูกาล ยิ่งสดเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ไม่ต้องกังวลเรื่องการสรรหามานัก เพราะการกินผักผลไม้อะไรก็ได้ย่อมดีกว่าไม่กินเลย แม้แต่ผักผลไม้แช่แข็งก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  4. พยายามกินเนื้อให้น้อยลง โดยเฉพาะเนื้อแดง [2] ถ้าจะกินเนื้อ ควรเป็นเนื้อไม่ติดมัน (ควรเป็นวัวที่กินหญ้า เพราะเนื้อจะมีปริมาณไขมันโอเมก้า 3 และ 6 จากธรรมชาติมากกว่า) และถ้าเป็นเนื้อสัตว์ปีกให้เอาหนังออก
    • เนื้อทุกชนิดที่บริโภคต้องมาจากสัตว์ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ฮอร์โมนและยาปฏิชีวนะ เนื้อสัตว์ส่วนมากจะระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ว่าปลอดฮอร์โมน ถ้าไม่ระบุไว้ก็อาจแปลว่าใช้ฮอร์โมน ลองดูตามแผนกสินค้าออร์แกนิกเพื่อเลือกซื้อเนื้อปลอดฮอร์โมน
  5. เนื้อปลาเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และมักจะมีไขมันโอเมก้า 3 สูง [3] โดยทั่วไปแล้วเนื้อปลาจะไม่มีมัน และนำมาเตรียมอาหารได้ค่อนข้างง่าย
    • ควรระวังในการเลือกปลา ปลาที่มีสารปรอทปนเปื้อนสูงจะส่งผลเสียต่อต่อมไทรอยด์ [4]
  6. ถั่วเมล็ดแห้งรวมถึงพวกถั่วเลนทิลด้วย ซึ่งมีวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่ต่อมไทรอยด์ต้องการใช้เพื่อผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน นอกจากนี้ถั่วยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอดสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมการกินเนื้อหรือผู้ที่ไม่กินเนื้อ
  7. เลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างธัญพืชเต็มเมล็ดเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้ต่ำ หลีกเลี่ยงน้ำตาลและสารให้ความหวานแทนน้ำตาล น้ำตาลธรรมดาๆ ไม่ว่าจะน้ำตาลทราย หรือน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง ล้วนเปรียบเสมือนสิ่งเสพติด [5] ถ้าคุณเลิกกินของหวานไม่ได้จริงๆ ลองใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
    • ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องรับการตรวจไทรอยด์ ส่วนผู้ป่วยไทรอยด์ก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะสองโรคนี้ (โรคเบาหวานและโรคเกี่ยวกับไทรอยด์) มักจะมาคู่กัน
  8. ถ้าคุณกินอาหารที่มีเกลือในปริมาณที่พอเหมาะ และกินเนื้อแดงบ้าง คุณก็จะได้รับไอโอดีนปริมาณมากแล้ว แต่ถ้าคุณไม่กินเกลือเพราะต้องการควบคุมความดันโลหิต คุณควรมีแหล่งไอโอดีนอื่นเผื่อไว้ด้วย ต่อมไทรอยด์ต้องการสารไอโอดีนเพื่อช่วยในการทำงาน ถ้าจำเป็น ให้กินอาหารเสริมคุณภาพดีที่มีไอโอดีนอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน คุณสามารถกินอาหารที่เป็นแหล่งไอโอดีนเหล่านี้เพิ่มด้วยก็ได้ [6]
    • สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล (เคลป์ วากาเมะ และโดส)
    • อาหารทะเลและปลา
    • โยเกิร์ต
    • นม
    • ไข่
  9. พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับข้อดีของการกินอาหารเสริมที่มีธาตุซิงค์และซีลีเนียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้เป็นปกติ และปรึกษาเกี่ยวกับการกินวิตามินดี 3 เสริม (2,000 ไอยู ทุกวัน) [7] โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองจะสัมพันธ์กับการได้รับวิตามินดีต่ำ
  10. รักษาความชุ่มชื้นให้ร่างกายด้วยการดื่มน้ำ มันจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติและทำให้สุขภาพโดยรวมดี
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ออกกำลังกายและพักผ่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจความสำคัญของการออกกำลังกายกับการทำงานของต่อมไทรอยด์. ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาที คุณไม่จำเป็นต้องเข้มงวดมากหรือต้องไปเข้ายิมเท่านั้น แค่เดินเร็ว 30 นาทีต่อวันก็เพียงพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสุขภาพของคุณได้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าต้องการออกกำลังให้เข้มข้นขึ้น คุณอาจจะเพิ่มความเร็วหรือระยะทางก็ได้
  2. ถ้าคุณมีปัญหากับการกระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกาย ลองเข้าร่วมกลุ่มออกกำลังดู มีหลายวิธีที่จะเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ เช่น โยคะ ไทชิ และชี่กง ซึ่งล้วนแต่เป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกายและปกป้องต่อมไทรอยด์
    • การออกกำลังกายทำให้เลือดหมุนเวียนดี ซึ่งจะช่วยให้ไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าถึงทุกๆ เซลล์ [8]
  3. กำหนดขอบเขตความเครียดในชีวิตและการทำงานเพื่อลดผลกระทบของมัน คุณอาจต้องตัดข้อผูกมัดหรือหน้าที่บางอย่างไปเพื่อรักษาสุขภาพของตัวเอง ลองฝึกสมาธิด้วยการฝึกหายใจ ฝึกสร้างภาพในใจ หรือฝึกนับลมหายใจ
  4. นั่งในที่เงียบสงบและจินตนาการถึงแสงสีฟ้าที่เข้าไปในร่างกายตรงตำแหน่งของต่อมไทรอยด์ ทุกครั้งที่หายใจเข้า แสงนั้นจะสว่างขึ้นและสีชัดขึ้น เมื่อหายใจออก แสงจะจางลง คิดภาพแบบนี้ไปเรื่อยๆ ติดต่อกันให้นานเท่าที่ทำได้ พยายามทำให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 นาที
    • ตามความเชื่อโบราณเรื่องพลังจักระ ต่อมไทรอยด์ตรงกับตำแหน่งของจักระที่ 5 (วิสุทธิจักระ) และแทนด้วยสีน้ำเงินหรือฟ้า [9]
  5. ควรนอนหลับอย่างเพียงพอในช่วงกลางคืน และพักผ่อนระหว่างวันบ้าง ต่อมไทรอยด์นั้นไวต่อความเครียดมาก เพราะมันเป็นหนึ่งในต่อมที่ตอบสนองต่อความเครียด ด้วยเหตุนี้มันจึงต้องการเวลาพัก การพักและผ่อนคลายจะเป็นการให้เวลากับต่อมไทรอยด์ด้วย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เข้าใจการทำงานของไทรอยด์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้จักภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (hypothyroidism). ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส ความเสียหายจากการฉายรังสี การใช้ยาบางตัว การตั้งครรภ์ และสาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่มาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับไอโอดีนน้อยเกินไป ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้โดยดูจากอาการและทำการตรวจ (เช่น ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน หรือ TSH สูง) อาการของภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนมีดังนี้
    • อ่อนเพลีย
    • รอบเดือนคลาดเคลื่อน
    • ท้องผูก
    • ซึมเศร้า
    • ผมแห้งหยาบ
    • ผมร่วง
    • ผิวแห้ง
    • นอนไม่ค่อยหลับ นอนได้น้อยกว่าปกติ
    • ทนความเย็นไม่ได้
    • อัตราการเต้นของหัวใจลดลง
    • ต่อมไทรอยด์โต (โรคคอพอก)
    • น้ำหนักขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุ หรือลดน้ำหนักยาก
  2. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน มักจะพบในโรคเกรฟส์ (Grave’s disease) และอาจเกิดจากปุ่มเนื้อที่เกิดในต่อมไทรอยด์ได้ด้วย ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้โดยดูจากอาการและทำการตรวจ (เช่น TSH ต่ำ) หากไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินนี้อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ กระดูก และภาวะร้ายแรงอย่างไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤตได้ อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินมีดังนี้
    • อัตราการเต้นของหัวใจถี่
    • อัตราการหายใจสูงขึ้น
    • ถ่ายอุจจาระบ่อยและถ่ายเหลว
    • สุขภาพผมปกติ แต่อาจขาดหลุดร่วง
    • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • มีอาการตื่นตัว รู้สึกมีแรง
    • หงุดหงิดง่าย
    • ทนความร้อนไม่ได้
    • เหงื่อออกมาก
    • ผิวหนังมีผื่นแดงและอาจคัน
  3. ถึงแม้คุณจะเปลี่ยนอาหารหรือไลฟ์สไตล์เพื่อให้ไทรอยด์แข็งแรงขึ้น ทางที่ดีควรจะไปพบแพทย์หากคิดว่าตนเองมีภาวะขาดไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หากอาการเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษา อาจจะพัฒนาถึงขั้นเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นโดยการวินิจฉัยที่แม่นยำกว่าเพื่อคุณจะได้รับการรักษาที่ถูก [10]
    • บอกอาการกับแพทย์อย่างละเอียด
    • บอกความกังวลเรื่องไทรอยด์ให้แพทย์รับรู้ เพื่อเขาได้รู้ว่าคุณคิดว่าไทรอยด์คือต้นเหตุของปัญหา
  4. 4
    ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของ TSH และไทร็อกซิน. แพทย์จะทำการเจาะเลือดเอาตัวอย่าง ส่งไปหาระดับค่าของ TSH และไทร็อกซิน ไทร็อกซินที่ต่ำและ TSH ที่สูงหมายถึงคุณอาจเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ [11] ในทางตรงข้าม ถ้าไทร็อกซินสูงและ TSH ต่ำ อาจหมายถึงคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน [12]
    • แพทย์มักจะทำการตรวจ TSH ก่อน แล้วคอยทดสอบครั้งที่สองหากสงสัยว่าคุณมีภาวะไทรอยด์

    ความเป็นไปได้อื่นๆ: หากผลเลือดแสดงว่าคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน แพทย์อาจตรวจเพิ่มเพื่อหาตัวต้นเหตุ นั่นอาจหมายถึงการอัลตราซาวนด์ไทรอยด์ สแกนไทรอยด์ หรือใช้เรดิโอไอโอดีนที่จะวัดว่าไอโอดีนที่คุณทานเข้าไปจะสะสมอยู่ในไทรอยด์ภายในช่วง 24 ชั่วโมงมากแค่ไหน

  5. 5
    ปรึกษาแพทย์เรื่องฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อบรรเทาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ. วิธีรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำที่ง่ายที่สุดคือใช้ยาสร้างสมดุลของระดับไทรอยด์ คุณจะรู้สึกดีขึ้นไม่นานหลังเข้ารับการรักษาครั้งแรก ให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์ระหว่างใช้ยา [13]
    • ปกติแพทย์จะสั่งจ่ายฮอร์โมนไทรอยด์ชดเชยเลโวไทร็อกซิน (levothyroxine) อย่าง Levo-T, Synthroid ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ มันจะช่วยทำให้ระับไทรอยด์สมดุล
    • แพทย์จะนัดให้คุณมาตรวจอาการเรื่อยๆ เพื่อจะได้ตรวจวัดระดับฮอร์โมนของคุณ
  6. 6
    ถามถึงการรักษาที่จะลดไทรอยด์ถ้าคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน. แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยา เช่น ไอโอดีนรังสี เมธิมาโซน (methimazole) อย่าง Tapazole หรือโพรพีลลิธิอูราซิล (propylithiouracil) เพื่อหดไทรอยด์ลง นอกจากนั้นก็ใช้ยาควบคู่ในการลดอาการ อย่างยาต้านเบต้า (beta-blockers) สำหรับอาการหัวใจเต้นผิดปกติ [14]
    • คุณควรรู้สึกดีขึ้นไม่นานหลังเข้ารับการรักษาครั้งแรก
    • ในกรณีที่หาได้ยาก แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดเพื่อเอาไทรอยด์ออกบางส่วน กระนั้น ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดก็ต่อเมื่อเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังวิธีอื่นๆ ล้มเหลวเท่านั้น
  7. ถ้าต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ คุณก็ควรทำตามคำแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนตามที่บอกไว้ในบทความนี้ต่อไปด้วยเพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ดี พูดคุยปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีเหล่านี้ด้วยก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำมักจะมาในรูปของโรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ระบบภูมิคุ้มกันจะเกิดความผิดปกติและเริ่มทำลายเซลล์ในร่างกาย ซึ่งในที่นี้ก็คือเซลล์ในต่อมไทรอยด์ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ เป็นหมัน หรือเป็นโรคอ้วน และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองโรคอื่นๆ ได้
  • คุณอาจเคยได้ยินว่าถ้ามีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ต้องหลีกเลี่ยงการกินบร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ลูกพีช และลูกแพร์ เพราะมันมีสารกอยโตรเจน (goitrogens) ซึ่งจะไปลดการผลิตฮอร์โมน T4 แต่ถ้าคุณกินในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป ประโยชน์ของมันจะมีมากกว่าโทษเสียอีก
  • ถ้าคุณสนใจเรื่องการใช้สมุนไพรช่วยรักษาไทรอยด์ ลองปรึกษาแพทย์ธรรมชาติบำบัดหรือแพทย์สมุนไพร พวกเขาจะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้
  • ลองใช้หม้อตุ๋นทำอาหารเพื่อสุขภาพแบบง่ายๆ ช้าๆ หรือทำให้สุกก่อนนำไปปรุง หรือเมนูข้าวกล้อง ถั่วต่างๆ
  • อบหรือนึ่งผักแทนการต้มเพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณมี อาการใดอาการหนึ่ง ตามที่กล่าวข้างต้น ควรโทรนัดพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจไทรอยด์ ถ้าตรวจแค่ระดับ TSH แล้วผลทุกอย่างออกมาดีหรือเป็นปกติ แต่คุณยังมีอาการเหล่านั้นอยู่ ลองตรวจระดับฮอร์โมน T4 (ไทร็อกซิน) และ T3 (ไตรไอโอโดไธโรนีน) กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางดู บางคนอาจจะมีระดับ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่แปลงฮอร์โมน T4 เป็น T3 (ฮอร์โมนที่ทำงานดีกว่า) ได้ไม่ดีนัก แบบนี้เรียกว่าภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแบบไม่มีอาการ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,562 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา